วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

Imported post: Facebook Post: 2018-01-28T18:37:36

ถาม# เมื่อดำรงจิตให้เป็นลักษณะอุปจาระสมาธิหรืออัปนาสมาธิ แล้วเพื่อเป็นบาทฐานให้มีกำลัง... แล้วน้อมจิตให้เป็นลักษณะพิจารณาวิญญาณขันธ์(ธร รมชาติรู้แจ้ง) ว่ามีการแปรปรวน ไม่ใช่เรา สังขารขันธ์ (เจตนาความคิดความนึก และการปรุงแต่ง) ว่ามีการแปรปรวน ไม่ใช่เรา สัญญาขันธ์(กำหนดหมายบัญญัติ) ว่ามีการแปรปรวน ไม่ ใช่เรา เวทนาขันธ์ (ความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขความไม่ทุกข์) ว่ามีการแปรปรวน รูปขันธ์ (ร่างกาย) ไม่ใช่เรา ขันธ์ทั้งปวงมีการแปรปรวน ไม่ใช่เรา เมื่อน้อมจิตไปเป็นลักษณะนี้ก็จะไม่เหลือเราเลย หมดกันไม่มีอะไรเหลือให้เป็นเราเลย เหลือแต่ขันธ์ที่แปรปรวน เหลือแต่สิ่งที่แปรปรวน ใช่อย่างนี้หรือเปล่าที่ในคัมภีร์ท่านว่า น้อมจิตไปเพื่ออ าสวักขยญาณ แต่นี้มันไม่ใช่อยู่ในฌานสี่ มันจะเป็นตะทังควิมุติ(หลุดพ้นชั่วคราว) ถ้าฐานจิตเป็นอุ ปจาระสมาธิ แต่ถ้าฐานจิตเป็นอัปนา อาจทะลุตทังควิมุติไปสู่สมุทเสธวิมุติ( หลุดพ้นอย่างสิ้นอาวสะ) ใช่ ใช่ไหมครับ คำตอบ# อุปจาระสมาธิก็บรรลุธรรมได้ แต่ปัญญาต้องแรง และสร้างฐานอุปจาระสมาธิไว้นานๆเพื่อให้มีกำลังให้มาก แม้ ไม่ถึงอัปนาก็สามารถตัดกิเลสได้ เพียงแต่ต้องมั่นขยันน้อมจิตไปในลักษณะนั้นให้คล่องแคล้ว...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น