๔. เสขิยกัณฑ์ (ว่าด้วยวัตรและจรรยามารยาทที่ภิกษุจะต้องศึกษา)
ต้นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบททุกข้อทั้งเจ็ดสิบห้าข้อในเสขิยกัณฑ์นี้ เนื่องมาแต่ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุพวก ๖) ทำความไม่ดีไม่งามไว้ทั้งสิ้น ในตัวสิกขาบทมิได้ปรับอาบัติไว้ เพียงแต่กล่าวว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบทระบุว่า ถ้าทำเข้าต้องอาบัติทุกกฏ (ซึ่งแปลว่าทำชั่ว) พร้อมทั้งแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติไว้ด้วย ในที่นี้จะรวบรัดกล่าวเฉพาะตัวสิกขาบท ส่วนวัตถุประสงค์ที่บัญญัติสิกขาบทนั้น ตลอดจนคำอธิบายท้ายสิกขาบท ข้อใดควรกล่าวไว้ก็จะกล่าวไว้ในวงเล็บ อนึ่ง เมื่อจัดหมวดใหญ่ ๆ ไว้แล้ว ยังจัดวรรคไว้คาบเกี่ยวระหว่างหมวดใหญ่ ๆ อีกด้วย ในที่นี้จึงเลือกแสดงไว้แต่หมวดใหญ่เพื่อกันความฟั่นเฝือ การจัดวรรคอาจสะดวกในการสวดก็ได้ แต่ในปัจจุบันการสวดปาฏิโมกข์ของพระมิได้ระบุวรรคไว้ด้วย คงออกชื่อแต่หมวดใหญ่ ๆ.
(๑) สารูป
(หมวดว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศ)
มี ๒๖ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล (เบื้องล่างปิดเข่า เบื้องบนปิดสะดือ ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง).
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง.
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่เปิดกาย).
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้า).
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน (คือไม่มองไปทางโน้นทางนี้ เหมือนจะค้นหาอะไร).
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน (คือไม่ยกผ้าขึ้นด้านเดียวหรือ ๒ ด้าน).
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน.
จบหมวดสารูป ๒๖ สิกขาบท
(๒) โภชนปฏิสังยุต
(หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร)
มี ๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร รับบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป).
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตพอสมเสมอขอบปากบาตร.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่ฉันแกงมากเกินไป).
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน.
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว.
สิกขาบทที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก.
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว.
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
สิกขาบทที่ ๒๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร๑.
สิกขาบทที่ ๒๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
สิกขาบทที่ ๒๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.
สิกขาบทที่ ๓๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น