วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

นี้คือผู้ที่ถือเอาประโยชน์จากการเกิดได้

นี้คือผู้ที่ถือเอาประโยชน์จากการเกิดได้


_________

กิจที่ควรทำ ก็ได้ทำเสร็จแล้ว
คือกิจละกิเลสนั้นเอง

____
เขาเห็นความคิดที่ฟุ่งผ่านมา ผ่านไป เป็นสายๆ  หลวงพ่อพุธบอกว่า เขามีสติสัมปฌัญญะนะนั้น
จากนั้น จะไหลโน้มไปปฐมฌานเอง

#หลวงพ่อพุทธพูดประมาณนี้

ปัญญาเปรียบเหมือนมีด ที่ฟันกิเลส
เข้าไปพักด้านสมาธิ คือลับมีดให้คม

"อ๋อ เข้าใจแล้ว  จิตที่มีการอบรมด้วยสมาธิแระกอบด้วย
จะเป็นเหตุให้เห็นสภาวะธรรมชัดแจ้งกว่าเดิม)

ญาณพิจารณา: แต่ก่อนจะปฐมฌาน มันจะรวม มันจะคลาย มันจะรวม มันจะคลาย มันจะรวม สลับอยู่อย่างนี้ซ้ำๆ
แต่ระยะเวลาที่มันรวม มันจะถี่ ย่นย่อ ใช้เวลาสั้น หรือน้อยกว่าเดิม จาก 30 นาที
ก็จะ 25 นาที จาก25นาที ก็จะ 20 นาที
อย่างนี้เรื่อยๆ จน 1 นาที
จนเข้าภวัง ถอนออกจากภวัง
เข้าภวัง ออกภวัง

#ลองปฏิบัติ 

____________

ครูบาอาจารย์ มาเข้าฝัน บอกชี้ช่องทางให้แก้ไข

1.เรื่องเกี่ยวกับวาจาและสัจจะ
ไม่คุณสมบัตินั้นๆ แต่กล่าวนัยยะอ้อมๆว่ามี
ไม่เห็นกล่าวว่าเห็น ไม่รู้กล่าวว่ารู้
พูดไปแล้วรักษาสัจจะไม่ได้ นี้ไม่ไหวเลย
เพราะธรรมชาติ ขีดสัจจะเป็นสิ่งสูงสุด"
ก่อนปล่อยสัจจะออกมาต้องคิดให้ดีก่อน


2.เรื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบ
สละบาติ เพราะขี้เกลียดไปเอา นี้ใช้ไม่ได้
เพราะว่าจะเอาอะไรไปหากิน
สละจีวร เพราะขี้เกลียดไปเอา นี้ก็ใช้ไม่ได้
เพราะถ้ามันหายไปจริงๆ จะเอาอะไรห่ม
ถ้าจะสละเพราะเห็นว่า ควรสละ เพราะมันจะเป็นเหตุให้จิตยึดติดจมลง
นี้ควรสละ
แต่ถ้าสละเพราะความขี้เกลียดไปเอา นี้ใช้ไม่ได้ ดูไม่มีความรับผิดชอบ_____________

มีรักมันเป็นทุกข์..
เห็นไหมเขาร้องเพลง
มีแต่เพลงที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกที่ผิดหวังของเขา

_______

1.ศึกษาและลงมือปฏิบัติ ให้เข้าใจธรรมะด้วยตัวของเราเอง
(ไม่งั้นจะเป็นการเผ่ยแผ่มิจฉาทิฏฐิ)

2.บอกต่อเผ่ยแผ่
3.มีความสามารถด้วย ประกอบด้วยเมตตา
มีเมตตาจริงไหม

มีฝีมือมีวิธีการในการเผ่ยแผ่

ถ้าเผ่ยแผ่เพื่อจะหาผลประโยชน์
หรือเผ่ยแผ่ แบบ กูเก่ง

ถ้ามิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นต้องสู้ได้ มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่อุเบกขานะ
ศาสนาค่อยๆหมดไป

______

2428 บาท

ซื้อ 2 แถม 1 ราคา 699 บาท

ปัจจุบัน เครื่องละ 280 บาท
2 เครื่อง 

1729 บาท  - 300 บาท =1429 บาท

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ นายศรันย์ ไมตรีเวช
ธนาคารไทยพาณิชย์
สาขาเทสโก้ โลตัส สุขาภิบาล ๓
เลขที่ 4066475603


เผิ๋ง ศุกร์ 30 กันยา 2537

_________

#ขอเชิญดาวโหลด "พระเวสสันดรมหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ "
ไปเปิดฟังให้แช่มชื่นใจเป็นกุศลกันครับ
อานิสงค์ของการฟังเทศมหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์
โบราณเขียนไว้ว่า 
CD193 พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์ที่ 13 )
ดาวโหลดคลิก :  bit.ly/1MpeEH5

เนื้อหากัณฑ์เทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์โดยย่อ

 เนื้อหากัณฑ์เทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์โดย...
 ก่อนที่จะมาเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมารนั้นแล 
การเทศน์มหาชาติได้กำหนดเอาเรื่องราวของพระเวสสันดรโดยมี

เนื้อหากัณฑ์เทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์โดยย่อมาเล่าแบบเบา ๆ บ้าน ๆ มีดังนี้

1.กัณฑ์ทศพร ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าหวนกลับบ้านเกิดเมืองนอนคือเมืองกบิลพัสดุ์ อยู่วัดต้นไทรย้อย ได้แสดงฤทธิ์แก่มวลญาติเกิดฝนตกลงมาห่าใหญ่ พระสาวกเห็นเป็นอัศจรรย์ได้ถามและพระองค์ก็เล่านิทานเมื่อครั้งเกิดเป็นพระเวสสันดร

2. กัณฑ์หิมพานต์  ว่าด้วยเรื่องเทพธิดาลงมาเกิดเป็นลูกกษัตริย์มัทราชได้ชื่อว่า ผุสดี พออายุ 16 ปีได้แต่งงานกับพระเจ้ากรุงสญชัยเมืองสีพี เกิดมีครรภ์พอครบ 10 เดือนพระนางผุสดีก็คลอดพระโพธิสัตว์นามว่าพระเวสสันดร มีช้างคู่บารมีชื่อปัจจัยนาเคน พออายุ 16 ปีก็แต่งงานกับพระนางมัทรี มีลูกน้อยชื่อชาลีและกัณหา

    ต่อมาเมืองกลิงคะเกิดข้าวยากหมากแพง ชาวเมืองมาขอช้างจากพระเวสสันดร  พระองค์ให้ทานช้าง  ทำให้ชาวเมืองไม่พอใจไปขอพระเจ้ากรุงสณชัยให้เนรเทศพระเวสสันดรไปเขาวงกต

3. กัณฑ์ทานกัณฑ์  ว่าด้วยเรื่องพระมารดาร้องขออภัยโทษพระเวสสันดรแต่ผิดหวัง  พระเวสสันดรให้ทานใหญ่แล้วขออำลาไป

4. กัณฑ์วนปเวสน์  ว่าด้วยเรื่อง 4 กษัตริย์เดินดงไปเขาวงกต แคว้นเจตราช พระเจ้าเจตราชสั่งให้พรานเจตบุตรรักษาด่านไว้ไม่ให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร

5 . กัณฑ์ชูชก  ว่าด้วยเรื่องเฒ่าชูชกขอทานได้เอาไปฝากเพื่อน  พอมาทวงคืนเพื่อนได้ใช้เงินหมดแล้วเลยยกลูกสาวชื่ออมิตตดา  ต่อมานางให้ชูชกไปขอชาลีกัณหาเพื่อเอามาเป็นทาสรับใช้

6 . กัณฑ์จุลพน ว่าด้วยเรื่องป่าน้อยชูชกไปเจอพรานเจตบุตรลวงให้เชื่อว่านำสารของพระเจ้ากรุงสณชัยมาส่งให้พระเวสสันดรเพื่อกลับคืนพระนครและพรานป่าก็เชื่อด้วยนะ

7 . กัณฑ์มหาพน  ว่าด้วยเรื่องป่าใหญ่ ที่ชูชกไปพบพระอจุตฤาษีลวงว่าเป็นนักบวชจะมาคุยธรรมะกับพระเวสสันดร พระฤาษีก็หลงเชื่อให้ที่พักค้างคืนซ้ำบอกแนะนำเส้นทาง ไปเขาวงกตด้วย

8 . กัณฑ์กุมาร  ว่าด้วยเรื่อง ชูชกไปถึงที่อยู่พระเวสสันดรช่วงพระนางมัทรีไปป่าหาผลไม้ก็รีบไปขอสองลูกน้อย ทั้งชาลีและกัณหาได้ยินพากันหนีลงไปในสระบัวบังกายไว้ พระองค์ไปเรียกหาเอามายกให้ชูชก

9 . กัณฑ์มัทรี  ว่าด้วยเรื่อง พระอินทร์สั่งให้เทวดาแปลงกายมาเป็น 3 เสือขวางทางไม่ให้พระนางมัทรีกลับมาทันเหตุการณ์การยกลูกให้เป็นทาน เมื่อกลับมาถึงหาลูกน้อยไม่พบ พระเวสสันดรก็ไม่ตอบ  พระนางเป็นลมสลบเมื่อฟื้นขึ้นมาพระเวสสันดรเลยบอกความจริง

10 . กัณฑ์สักกบรรพ ว่าด้วยเรื่องพระอินทร์แปลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี เมื่อพระเวสสันดรยกให้แล้วก็ฝากไว้ให้รับใช้พระเวสสันดรตามเดิมแล้วปรากฏตนเป็นพระอินทร์

11 . กัณฑ์มหาราช  ว่าด้วยเรื่องชูชกพาชาลีกัณหาเดินดงหลงเข้าไปกรุงสีพีเพราะเทวดาดลใจ พระเจ้าปู่เลยไถ่เอาหลานไว้ พร้อมเลี้ยงดูชูชก แกกินมากจนท้องแตกตาย ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัยได้จัดกองทัพไปอัญเชิญพระเวสสันดรกลับคืนวังและชาวเมืองกลิงคะก็คืนช้างคู่บารมีพอดี

12 . กัณฑ์ฉกษัตริย์  ว่าด้วยเรื่อง 6 กษัตริย์มาพบกันเกิดสลบไปทั้งหมด  ร้อนถึงพระอินทร์รู้เหตุเลยบันดาลให้ฝนตกใหญ่ ( ฝนโบกขรพรรษ ) เมื่อทั้งหมดฟื้นคืนชีพแล้วได้ขออภัยต่อพระเวสสันดรและเชิญเข้าไปปกครองกรุงสีพี

13 . กัณฑ์นครกัณฑ์  ว่าด้วยเรื่องผลแห่งทาน  ผลแห่งศีล  และผลแห่งพระบารมี 30 ทัศ ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ เมื่อกลับมาถึงกรุงสีพีแล้วบังเกิดฝนใหญ่ตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นร่มเย็นแก่ชาวเมืองสีพี

พระเวสสันดรครองนครสีพีจนอายุ 120 ปีจึงสวรรคต ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่าสันตุสิต อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตก่อนที่จะมาเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมารนั้นแล.ช่วงนี้ภาคอีสาน เตรียมงานบุญวเวสสันดร
ภาคอีสานเรียก "บุญ-ผะ-เว๋ด"  ก็จะนิมนต์พระขึ้นเทศ เวสสันดรชากดก

______
มนุษย์ทั้งโลก
เขาสุข เขาทุกข์ เขาเฉยๆ
ด้วยเหตุ1 คือผลของกรรมเก่า ที่เคยทำในอตีตให้ผล

เลยมีแต่ เจตสิก สุข ไหลมาให้เสวย

ทุกข์ ก็เหมือนกัน
อทุกขมสุขก็เหมือนกัน


และด้วยเหตุ2 คือ ในขณะที่ อายนะ12กระทบเกิดผัสสะ เขาน้อมจิตไปหาทุกข์เอง(โน้มจิตไปปรุ่งแต่งทุกข์)

สุขก็เหมือนกัน   
อทุกขสุขก็เหมือนกัน


#การโน้มน้อมไป หาทุกข์
พระพุทธเจ้า เรียก อนุสัย ก็คืออาการความเคยชินที่ไม่ดี

สุข ยังไม่พิจารณาให้ชัด เอาให้ชัดๆ


#ส่วนอุเบกขา คือ อุปนิสัย


ต่อ
ทาตา เห็นรูปธาตุ --->ผัสสะสภาวะธาตุในระดับนี้ มันจึงจะน่อมไป"ความทุกข์"

หู เสียง
จมูก กลิ่น

________
"อย่าให้จิตที่มี (สติ) กลายเป็นจิตที่มี"โมหะ"(ความหลง) ไหลไป(โทสะ)ปรุงความโกรธ * ความขัดคือง * ความคับแค้น *
โกรธคนนั้นที โกรธคนโน้นที กลายเป็น"จอมอสูรกายพาลนักโกรธ"
โกรธคน โกรธสัตว์ โกรธสิ่งของไปทั่ว

โกรธคนเดิน โกรธคนนั้ง โกรธคนนอน
โกรธคนที่ทำท่าคลื่อนไหวต่างๆทางกาย

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเห็นได้ด้วยตา
มันก็ต้องมีความเคลือนไหวเป็นธรรมดา
ใจมันหลงอยากโกรธ เราอย่าโกรธตามมัน
ใจเป็นธาตุอย่างหนึ่ง เรียกว่า(มโนธาตุ) ที่เราบางครั้งก็บังคับมันได้นะ
เช่น ใจดวงที่แล้วมันประกอบด้วยโมหะ ความหลง จะสร้างการใหญ่คือความโกรธขึ้นมาเผาตนเอง นี่คือมันหลง

แต่เราจิตดวง ณ ปัจจุบันนี้
ประกอบขึ้นด้วยสติ เมื่อมีสติ ปัญญาจะตามมา
เราจะไม่ยอมน้อมไปไม่ยอมสานต่อ ไม่สร้างผลงานความโกรธขึ้นมาไหม้ต่อ

แต่เราจะทำให้มอดลงดับมันด้วย"สติ" 
ความโกรธคือไฟทางใจ เราจะเอาน้ำเย็นคือ สติ เทใส่มัน
รดใส่มัน ราดใส่มัน ด้วยน้ำสติ จนในที่สุดมันก็จะค่อยมอดลง
เราก็จะเป็นผู้เย็นเป็นผู้ชนะ"

ถึงจะดับเชื้อ คือ โมหะความหลง หลงไปโกรธ หลงไปเกลียด หลงขัดเคือง ถึงจะดับเชื้อ คือ โมหะ ออกจากสันดานขันธ์ยังไม่หมด แต่ก็ควรจะภูมิใจว่า ตนได้ทำความเพียร ตามพระพุทธเจ้าสอนแล้ว ทำตามพระธรรมคำสอนเราไม่ไปทางเสื่อมแน่นอน

ถ้าเข้าใจแล้วว่า ความโกรธมันร้อน ไม่น่าปราถนา เราอย่า

บ้างครั้งก็บังคับมันไม่ได้
เช่น มันขาดสติ 

อย่าให้จิตที่มี(สติ) กลายเป็นจิตที่มี"โมหะ(ความหลง) ไหลไป(โทสะ)โกรธ .. โกรธเสียงที่ได้ยินด้วยหู
ไม่ว่าจะเป็นเสียงนินทา 
เสียงว่าเสียงด่า
เสียงในหัวที่คิดไปทางโกรธแค้น ขัดเคือง
เราอย่าโกรธตามที่มันชวน

 เสียงที่ยั่วให้หลงโกรธตอบนั้นมีมากมาย

อย่าให้จิตที่มี(สติ) กลายเป็นจิตที่มี*โมหะ(ความหลง) ไหลไป(ราคะ) ชอบเพลิดเพลิน .. รูปที่เห็นด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นรูปผัวเอ่ย รูปเมียเอ่ย รูปชายหล่อๆเอ่ย รูปผู้หญิงสวยๆเอ่ย 


อย่าให้จิตที่มี(สติ) กลายเป็นจิตที่มี*โมหะ(ความหลง) ไหลไป(ราคะ)ชอบเพลิดเพลิน .. กับเสียงที่ได้ยินด้วยหู ไม่ว่าจะเป็นเสียงผู้ชายหรือเสียงผู้หญิง
ที่ไพเราะ เสียงสรรเสริญเอ่ย เสียงชมเอ่ย

"อย่าโกรธเขา
ที่เขาไม่ได้ทำในสิ่งที่เราขีดเส้นไว้
ทำเหมือนเรา"

"อย่าเศร้า..
หลวงปู่มัน 

________
น้ำตาลก้อนถุงหนึ่ง ถูกมดเข้าไปกัดเข้าไปกิน ทั้งๆที่เอาซ่อนไว้ ในโจ๋กแล้วก็เอาโจ๋กใบเล็กมาครอบไว้

เมื่อนำถุงก้อนน้ำตาลออกมา ก็เจอมดไต่ในก้อนน้ำตาลที่อยู่ในถุง
เห็นแล้วก็หลงไปโทสะโกรธขัดเคืองมัน นิดหน่อย แล้วก็รู้ทันว่า หลงไปแล้ว หลงไปโกรธมดแล้ว


"ก็เลยอุทานในใจ ว่า ขนาดซ่อนปกปิดไว้ขนาดนี้ มดพวกนี้ยังขวานขวายจนหาเจอ

ธรรมที่หลุดจากอาสวะกิเลส
พระพุทธเจ้าเอามาเปิดเผยขนาดนี้ มันยังไม่สนใจกันน้อมมาปฏิบัติ


#มดก็แสดงหาไปทางกามคุณ
#มนุษย์น่าจะแสวงหานิพพาน


______
ทางตา เห็นรูปธาตุ --->ผัสสะสภาวะธาตุในระดับนี้ มันจึงจะน่อมไป"ความทุกข์"

หู เสียง
จมูก กลิ่น

_________

    วิธีปฏิบัติใน อริยสัจ๔
 ทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาในที่มีน้ำน้อย  มีน้ำนิดหน่อย มีน้ำแห้ง
ไป ฉันใด หมู่สัตว์แม้ผู้ที่มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน
คือ ย่อมดิ้นรน เมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความ
แปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน
ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง
เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ใน
น้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป.
     [๕๘] คำว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความ
ว่า เห็นแล้ว คือประสบ เทียบเคียง พิจารณา ตรวจตรา ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษนั้น ใน
เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า พึงเป็นผู้ไม่
ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง
คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึด
ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ นรชนพึงละความยึดถือว่า
ของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ยึดถือว่าของเรา ซึ่งจักษุ
โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต
อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐสุตมุตวิญญาตัพพธรรม พึงประพฤติไป คือ พึงอยู่ เป็นไป หมุนไป
รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ...
พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ.
     [๕๙] คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย มีความว่าในภพทั้งหลาย
คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาเรียกว่าเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด
กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย
คือ ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือ ไม่ทำซึ่งความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ความ
ชอบใจ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะในภพทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้
มีพระภาคจึงตรัสว่า
          ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่า ของเรา
          เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษ
          แม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่
          ยึดถือว่าของเราประพฤติ.
     [๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้
          ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐา
          รมณ์และสุตารมณ์.
     [๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง มีความว่า ที่สุด คือ ผัสสะเป็นที่
สุดอัน ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. อดีตเป็นที่สุดอัน ๑ อนาคตเป็นที่สุดอัน ๒. สุขเวทนา
เป็นที่สุดอัน ๑ ทุกขเวทนาเป็นที่สุดอัน ๒. นามเป็นที่สุดอัน ๑ รูปเป็นที่สุดอัน ๒. อายตนะ
ภายใน ๖ เป็นที่สุดอัน ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอัน ๒. สักกายะเป็นที่สุดอัน ๑
สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด
คือความใคร่ ความเพลินคือความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หา
ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ
ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุด
ทั้งสอง คือพึงกำจัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความ
ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุดทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง.

                       ว่าด้วยผัสสะต่างๆ
     [๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะได้แก่ จักขุ
สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส (สัมผัส
ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะ
อันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต
ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะ
เป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต
ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้อง
พร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่ากำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง
ผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
                    ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ
     ญาตปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้จักขุสัมผัส นี้
โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส  นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆ
สัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่
ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะ
อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต
นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็น
อัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต
นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่าญาตปริญญา.
     ตีรณปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือ ย่อม
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ
ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์
เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน
เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก
เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุง
แต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ
เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส
เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น
ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.
     ปหานปริญญาเป็นไฉน? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้
ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่าน
ทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว  ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย
หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.
     คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้
ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ.
บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบัน
กาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอก
ปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน
ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.
     [๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น 
ย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำ
และเพราะไม่กระทำ.
     ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างไร? ธีรชนย่อมติเตียน
ตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำ
มโนสุจริต. เราทำปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน ไม่ทำความ
งดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท
ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุส
วาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
เราทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมา
ทิฏฐิ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อม
ติเตียนตนว่า เราไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติ
ปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕
ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค
ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตน เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. ไม่ทำกรรมที่
ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น.
     [๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ มีความว่า ความติด ได้แก่
ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วย
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง ผู้ดำเนิน
ด้วยปัญญา (บัณฑิต) ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย
กิเลส. ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้า
ไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
ในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
          ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง 

____________
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก
          นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.
                  สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
     [๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อม
เห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง
พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู
[ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา
ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วย
ความดิ้นรนเพราะความประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต
ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว ด้วยมานะเป็นเครื่อง
ผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วย
อนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ ด้วยความเสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ
ด้วยนินทา ด้วยสุข ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือความเกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์
มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความคลอดจาก
ครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว
ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ด้วยทุกข์
อันเกิดแต่ทุกขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วย
ทุกข์เพราะโรคทางจักษุ โรคทางตา โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรค
ทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่อมซึม
โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรค

     [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า คำว่าหมู่สัตว์ เป็น
ชื่อของสัตว์. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธัมมตัณหา. คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่
ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว คำว่า
ในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหมู่สัตว์นี้ผู้ไปใน
ตัณหาในภพทั้งหลาย.

_____

"วิริยังค์...อันการที่จะหาเรื่อง
กังวลใส่ตัวองนั้น ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
ควรจะพิจารณาเมื่อเห็นหญิงสาว
ให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียด
และพึงพิจารณามิให้มันเข้ามาอยู่ในใจ
ว่าเป็นของสวยงาม ทั้งตัวเราและตัวเขา"
_______
ถาม:ถ้าผมจะบวชเพื่อศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา แล้วต้องปล่อยให้พ่อและแม่เป็นภาระของน้องสาว ซึ่งผมจะให้เงินก้อนนึง แต่ไม่ได้มากมายน่ะครับ เพื่อเอาไว้ดูแลพ่อแม่ แล้วตนเองไปบวช ผมจะบาปมั้ยครับ หรือจะอกตัญญูมั้ยครับ
Like6More · Yesterday at 8:45am
Dungtrin
>> พัทชกฤษณ์ เฟื่องนันทน์ชัย

เป็นบุญ หากพ่อแม่และน้องเห็นดีเห็นงามตาม
เพราะเท่ากับช่วยให้พวกเขายินดีในสิ่งที่ควรยินดี
และเสริมฐานที่พึ่งที่แท้จริงให้พวกเขา
อันได้แก่ การมีศรัทธามั่นคง
เห็นการเข้าถึงพระศาสนาเป็นแก่นสารชีวิต

แต่การบวชอาจไม่ทำให้สบายใจ
หากรู้ว่าพ่อแม่และน้องสาวไม่เต็มใจ
ซึ่งนั่นก็เหมือนกับลดทอนกำลังศรัทธาพวกเขา
เพราะฉะนั้น สรุปได้ว่า
ถ้าจะบวชให้ได้บุญ ให้ได้ทางนิพพาน
ก็ต้องค่อยๆป้อน ค่อยๆใส่ความเข้าใจ
ตลอดจนฐานที่มั่นให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย
ในการใช้ชีวิตแบบโลกๆด้วยครับ
_____
ถาม:กราบสวัสดีครับท่านอาจารย์ดังตฤณ
รักษาศีล5 
ข้อ1 ถ้าเราต้องหุงข้าวแต่มีแมลงมอดเยอะมาก เราต้องล้างน้ำทั้งๆที่รู้ว่ามันจะตาย อย่างนี้ถือว่าศีลขาดมั้ยครับ
ข้อ5 ถ้าเราแค่จิบเหล้าเมื่อผู้ใหญ่หรือเพื่อน ยกแก้วให้ตามมารยาทเพราะเมื่อก่อนเราเคยดื่มคุ้นเคยกันมาก แต่ไม่ทำให้เรารู้สึกมึน อย่างนี้ถือว่าศีลขาดมั้ยครับ
ขอบพระคุณมากๆครับ 

ตอบ:ดูว่าใจเราอยู่ตรงไหน
อยู่กับเจตนาล้างน้ำ
หรืออยู่กับเจตนาฆ่าสัตว์
ถ้าอยู่กับเจตนาล้างน้ำ
ก็อยู่ต่อไป อย่าไปอยู่กับเจตนาฆ่าสัตว์

สัตว์เล็กสัตว์น้อย
มีวิถีชีวิตแบบเกิดง่ายตายง่ายไม่รู้ตัวอยู่แล้ว
ขอเพียงเราไม่ได้มีเจตนาเบียดเบียนมัน
ก็ให้เป็นเรื่องที่มันต้องถึงเวลาไปของมัน

สมัยผมอยู่กับหลวงพ่อพุธ
ผมไม่สบายใจเลยตอนกวาดใบไม้
เพราะตาเห็นอยู่ว่ามีมดหลายตัวถูกกวาด
ไม่แน่ใจว่ามัจะต้องตายหรือเปล่า
พอไปถามหลวงพ่อพุธ
ท่านก็บอกว่าดูที่เจตนา
ถ้าเราเจตนากวาดใบไม้
เราก็ไม่ได้ทำปาณาติบาต
จากนั้นมาผมเลยกวาดใบไม้อย่างสบายใจ
แต่ถ้าระวังได้ก็ระวังสุดความสามารถ
เพื่อไม่ให้กลายเป็นการแกล้งให้สัตว์ตายครับ
_____
ถาม:พ่อป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมค่ะ ตอนนี้ป่วยเป็นโรคร้ายระยะสุดท้าย เกรงว่า หากพ่อหมดบุญ กลัวพ่อไม่มีสติ จำไม่ได้ ในการรวมจิตเพื่อไปสู่ภพภูมิดีๆ ลูกหลานควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อช่วยพ่อในวาระสุดท้ายให้ครองสติได้..ขอบพระคุณค่ะ

Dungtrin : ตอบ
เท่าที่เคยให้คนทดลองมาแล้วได้ผล 
คือให้ญาติสนิททั้งหลาย
ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีกับผู้ป่วย
มาช่วยกันสวดอิติปิโสให้ผู้ป่วยได้ยิน
วันละรอบเดียวก็พอ แต่ยิ่งมากรอบยิ่งดี
ขอให้เปล่งเสียงสวดเต็มปากเต็มคำพร้อมกันเถอะ
ผลที่ได้จะเกิดทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น

๑) กระชับสายใยด้านดีร่วมกัน
ปกติคนที่เคยสนิทคุ้นเคย
และร่วมเหตุการณ์ดีๆมามากกว่าเหตุการณ์แย่ๆ
จะมีคลื่นจิตที่พร้อมจะสื่อสารกันอยู่
พอมากระชับสายใยด้วยบทสวดอันศักดิ์สิทธิ์
และแผ่ผายไปในทางเมตตา
เปิดรับพระพุทธคุณได้เต็มที่อย่างบทอิติปิโส
ก็จะกลายเป็นความรู้สึกสว่างร่วมกัน
เมื่อพุ่งเป้าร่วมกันว่า จะช่วยให้คนป่วยรู้สึกดีขึ้น
ความสว่างย่อมมีพลังเฉพาะทาง
ทำหน้าที่เฉพาะกิจ
คือปรุงแต่งจิตให้ผู้ป่วยสว่าง 
เป็นไปใจทางกุศลได้จริง

๒) ละลายความสัมพันธ์ด้านลบด้านร้ายที่เคยมีต่อกัน
ปกติญาติๆนั้น ที่ไม่เคยกระทบกระทั่งกันนั้นไม่มี
อย่างไรก็ต้องรู้สึกเคืองๆ หรือมีเรื่องเก็บๆอยู่ในใจบ้าง
พอมาสวดมนต์ร่วมกัน คล้อยไปในทิศทางเมตตาเดียวกัน
ความรู้สึกที่เป็นปมแน่นๆจะคลายออก
เป็นอภัยโดยไม่ต้องฝืน
และเมื่อปมหลายๆปมคลี่คลายจากหลายๆคน
ก็แปรรูปเป็นทางเปิด ทางโล่ง 
ให้กับผู้ป่วยซึงเป็นเป้าหมายได้
อันนี้สำคัญ เพราะประสบการณ์ใกล้ตายนั้น
จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับญาติสนิทมิตรสหาย
อันเคยเป็นทั้งนาบุญและนาบาปต่อกันและกันเยอะแยะ
พอมีกระแสอภัยทานก่อตัวขึ้นเป็นดวงสว่างอย่างใหญ่
นิมิตที่ปรากฏในใจผู้ป่วยจะเป็นไปในทางดีได้อย่างน่าประหลาด

๓) เป็นพลังกุศลพยุงจิตช่วงเข้าด้ายเข้าเข็มได้
พลังกุศลที่มาจากภายนอกผ่านโสตประสาทนั้น 
นับว่าดีและค่อยๆซึมเข้าไปได้โดยไม่ต้องรู้ตัวเต็มที่
อิติปิโสเป็นพุทธพจน์ที่จาระไนคุณวิเศษ
ของเหล่าพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
จึงมีพลังความเป็นมหากุศลแรงกล้า
โดยเฉพาะในช่วงที่จิตกำลังเคว้งคว้างไร้ที่เกาะ
ผู้ป่วยจะได้สัญญาณนำร่อง
รู้สึกเหมือนเกิดแสงสว่างแบบพุทธ
ซึ่งมีลักษณะโปร่งใส 
เจิดจ้าอย่างมีสำนึกคิดอ่านเป็นเหตุเป็นผล
และหลุดพ้นจากการครอบงำของศรัทธาแบบมืดบอด
จึงยกจิตยกใจให้พ้นอบายได้ค่อนข้างแน่นอน
(ในกรณีที่จิตสามารถเกาะแสงสว่างแบบพุทธได้)
กับทั้งมีทิศทางที่จะดิ่งกลับมาสู่ร่มเงาความเป็นพุทธอีก

หลังจากญาติๆสวดร่วมกันสักอาทิตย์หนึ่ง
คุณจะรู้สึกว่าสีหน้าสีตาของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
คือมีลักษณะของบุญ เบิกบาน เปล่งประกายความสดใส
แม้จะยังไม่รู้ตัว จำอะไรไม่ได้
แต่พอถึงเวลาท่านต้องจากไป
คุณจะรู้สึกดี ไม่รู้สึกห่วง
และไม่รู้สึกว่าเป็นวาระสุดท้าย
แต่เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดีกว่าเดิมมากครับ
Like49More
__________
ขนาดบวชเข้ามาเป็นพระ
บวขเป็นพระแล้ว เป็นหยังคือยังมีทุกข์อยู่นอ...

ทุกข์หย้อนบ่อเฮ็ดตาม บ่อทำตามปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้ 
ผู้ใด๋เฮ็ดตามเพิลดำเนินแนวทางตามที่เพิลประทานไว้ให้ได้
คนนั้นจิตกะมีแต่สิโนมไปทาง อรหันต์

ผู้ใดเฮ็ดตามเพิลบ่อได้ บ่อมุ่งจิตไปในทางสิ้นทุกข์ กะอยู่ได้บอโดนดอก 
________
ในมหาเวสสันดรชาดก
ผู้ที่เกิดในชาติเวสสันดรชาดก แล้วได้กลับมาเกิดร่วมชาติ
ในสมัยที่พระโพธิ์สัตว์เจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
มีใครบ้าง..ท่านแสดงได้ดังนี้

๑.  พระเจ้ากรุงสัญชัย กลับชาติมา คือ
พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา

๒.  พระนางผุสดี กลับชาติมา คือ
พระนางสิริมหามายา พุทธมารดา

๓.  พระนางมัทรี กลับชาติมา คือ
พระนางยโสธราพิมพา มารดาพระราหุล

๔.  พระชาลี กลับชาติมา คือ พระราหุล พุทธชิโนรส

๕.  พระกัณหา กลับชาติมา คือ นางอุบลวรรณาเถรี

๖.  พระอจุตฤาษี กลับชาติมา คือ พระสารีบุตร
อัครสาวกเบื้องขวา

๗.  ท้าวสักกะ (พระอินทร์) กลับชาติมา คือ
พระอนุรุทธเถระ

๘.  วิสสุกรรมเทพบุตร (เลขาพระอินทร์) กลับชาติมา คือ
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย

๙. พรานเจตบุตร กลับชาติมา คือ พระฉันนะเถระ

๑๐.พราหมณ์ชูชก กลับชาติมา คือพระเทวทัตต์

๑๑.นางอมิตตดา กลับชาติมา คือ นางจิญจมาณวิกิ
สาวิกาเดียรญีย์

๑๒.เทวดาที่แปลงเป็นพระยาพยัคฆราช(เสือโคร่ง)
กลับชาติมา คือ พระสิมพลีเถระ

๑๓.เทวดาที่แปลงร่างเป็นพระยาทีปิราช(เสือเหลือง)
กลับชาติมา คือ พระจุลนาคเถระ

๑๔.เทวดาผู้ชายที่มาดูแลกัณหาชาลี กลับชาติมา คือ
พระมหากัจจายนะเถระ

๑๕.เทวดาผู้หญิงที่มาดูแลกัณหาชาลี กลับชาติมา คือ
นางวิสาขาอุบาสิกา

๑๖.เทวดาที่แปลงเป็นพระยาไกรสรราช(ราชสีห์)
กลับชาติมา คือ พระอุบาลีเถระ

๑๗.ช้างปัจจัยนาค กลับชาติมา คือ
พระมหากัสสปะเถระ

๑๘.มารดาช้างปัจจัยนาค กลับชาติมา คือ
นางกีสา โคตมี

๑๙.กษัตริย์มัททราช กลับชาติมา คือ
พระยามหานามศากยราช

๒๐.อำมาตย์ที่ทูลข่าวเนรเทศ กลับชาตมา คือ
พระอานนทเถระ

๒๑.เสนาคุตตอำมาตย์ กลับชาติมา คือ
อนาถปิณฑิกเศรษฐี

๒๒.สหชาติโยธีทั้งหกหมื่น กลับชาติมา คือ พุทธบริษัท
ทั้งหลายในปัจจุบัน

๒๒.พระเวสสันดร บรมโพธิสัตว์ กลับชาติมา คือ
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

#ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง
เป็นสามัญลักษณะแม้กระทั่งนามสมมุติ
ชื่อเสียงนามโคตรก็เช่นกัน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป
แคว้นสีพี...
ครั้นล่วงมาถึงยุคพุทธกาลก็เปลี่ยนเป็นสักกชนบท ,
นครเชตุดร ก็เปลี่ยนเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ ,ราชวงศ์สีวีราช
ก็เปลี่ยนเป็นศากยะราช 

"ดูกรอานนท์ เธอจงดูเถิด
สังขารทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว 
แปรปวนไปแล้ว หายไปแล้ว
ดูกรอานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล
 สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล
 สังขารทั้งหลาย ไม่น่ายินดีอย่างนี้แล 
ดูกรอานนท์ 
ข้อนี้สัตว์ทั้งหลายควรจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว ควรแท้ที่จะคลายกำหนัด เพื่อจะหลุดพ้นไป
________
กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมือ
กินผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ
กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง
กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร  ถ้าเลือกได้กินเนื้อสัตว์ไท่ติดมัน
หวานจัด เค็มจัด งดหรือลดเลย
________
สัญญาวิปะลาส
เช่น เข้าเมนูแอพ  
เห็นแอพ Google map
เป็นแอพ ADM นี้เรียกว่า สัญญาวิปลาส
_________
น่าสงสาร พระที่อยู่ในสำนักนั้น
เฉพาะพระที่เป็นมิจฉาทิฐิเห็นผิดแผกออกไปจากธรรมของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นสัมมาทิฐิปนอยู่ในนั้นก็น่าจะมีมาก
ข้าพระเจ้าคิดว่า พระในวัดธรรมกายหรือในเครื่อข่ายธรรมกาย หลายจังหวัด
เป็นสัมมาทิฐิก็มี แต่ไม่มีกำลังพอที่จะ....
จึงยอมโอนเอน เอ่อออ ไปตามธรรมกาย เพราะเหตุปัจจัยอะไรข้าพระเจ้าก็ไม่รู้


ผู้ที่อยู่ในศาสนานี้ มี4จำพวก
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมะของพระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ถ้าไม่ใช่ในธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว
ก็จะเป็น ภิกษุอลัชชี ภิกษุปริภาชก ภิกษุเดียถีย์ ภิกษุนอกรีต
(ไม่ควรใช้ชื่อว่า ภิกษุเลย เพราะมันเป็นชื่อที่ควรเรียกเฉพาะผู้ที่อยู่ทำตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า)

หิริ โอตตัปปะ
เป็นเชื้อแห่งความดีขั้นต้น ที่กั้นไว้ไม่ล่วงลงอบาย และตรงกันข้าม หิริ โอตตับปะ ก็เป็นเชื้อแห่งความสว่างที่จะส่องไปให้ลุถึงพระนิพพาน

ถ้าพระเถระหรือพระหน้าไหนปราศจาก หิริ และ โอตตัปปะแล้ว
ชาตินี้ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้กระทำความมืดแทรกความสว่างของตนเองที่มาจากบุญในกาลก่อน และทำความมืดให้บดบังตนเองในชาติถัดไป




ถ้าไม่ใช่ ภิกษุณีในธรรมของ วินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว
ก็จะเป็น ภิกษุณีอลัชชี ภิกษุณีปริภาชก
ภิกษุณีเดียรถีย์ ภิกษุณีนอกรีต
(ไม่ควรใช้ชื่อว่า ภิกษุณีเลยเพราะเป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะใน มนุษย์หญิงที่บวชอุทิศตนแล้วทำตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า)

ถ้าไม่ใช่ อุบาสกในธรรมวินัยตามแบบของพระพุทธแล้ว
ก็จะเป็น อุบาสกอลัชชี อุบาสกปริภาชก
อุบาสกเดียรถีย์ อุบาสกนอกรีต
(ไม่ควรใช้ชื่อ อุบาสก เลย เพราะมันเป็นชื่อที่ควรเรียกเฉพาะมนุษย์ผู้ชายที่อยู่ในธรรมวินัยทำตามธรรมของพระพุทธเจ้า)

ถ้าไม่ใช่ อุบาสิกา ในธรรมวินัยตามแบบของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเป็นอุบาสิกาอลัชชี อุบาสิกาปริภาชก อุบาสิกาเดียรถีย์ อุบาสิกา นอกรีต
(ไม่ควรใช้ชื่อ อุบาสิกา เลย
เพราะมันเป็นชื่อที่ควรเรียกเฉพาะมนุษย์หญิงที่อยู่ในธรรมวินัยทำตามธรรมของพระพุทธเจ้า)

1.ตนเองทำผิด ยังไม่รู้ว่าตนเองผิด นี่น่าสงสารมาก ไม่ดีเลย..ไม่น่ายินดีเลย..สงสารที่เขายังไม่รู้ว่าตนผิด

2.ตนเองทำผิด และรู้ว่าตนเองทำผิด แต่ยังไม่เปลี่ยนแก้ให้เป็นไปทางที่ถูก นี่น่าสงสารกว่า

3.ส่วนผู้ที่ทำผิด รู้ว่าตนเองกำลังทำผิด แล้วแก้ตัวใหม่ ให้มาในทางถูกธรรมของพระพุทธเจ้า
นี่น่ายินดีน่าสรรเสริญด้วยความกล้าหารของเขามากๆ



*๑.เปรียบเหมือน
บุรุษกลุ่มหนึ่งหิวน้ำกำลังพากันเดินทางไปที่แห่งหนึ่งเพื่อหวังว่าจะได้กินน้ำอันเย็นสบาย จากบ่อน้ำของหลวงแห่งหนึ่งที่เขาพอรู้จัก
........
และมีชายคนหนึ่งซึ่งเป็น(ผู้ใหม่)ที่เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับบ่อน้ำนี้
........
และบุรุษกลุ่มนั้นก็ได้เดินทางมาถึงบ่อน้ำนี้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าน้ำเป็นน้ำที่มีพิษร้ายแรง ดื่มเขาไปแล้วใจจะวิปริต เห็นว่าผิดในสิ่งที่ถูก เห็นว่าถูกในสิ่งที่ผิด แล้วก็จะตายไปพร้อมกับมิจฉาทิฐิคือความเข้าใจผิดในธรรมขั้นแรก และในธรรมขั้นสูง นั้นในชาตินี้ 

#"ขั้นแรกนั้น คือระดับทาน
"ทาน แปลว่า การให้" มิใช่แปลว่า "เอารวยคืนมาแลก" แต่ให้ทานเพื่อละความยึดมั่นถือมั่นละความตระหนี่ อันเป็นวัตถุของโลกที่ควรปล่อยวาง ตามฐานะของตนที่จะทำได้

#"ขั้นสูงคือ สอนเรื่องนิพพาน
ธรรมกายสอนว่า นิพพานคือสถานที่ดินแดนแห่งหนึ่ง มีมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์และเหล่าพระอรหันต์รวมอยู่ตรงนั้น
"ทั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานนั้นไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มี สี แสง เสียง กลิ่น ความยาว ความสั่น ความหนา ความบาง และไม่ใช่ อัตตา"

#ผู้ใหม่ ข้าพระเจ้าหมายถึง คนที่เพิ่งจะเข้ามาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า แล้วไปสอนผิด คนรับฟังก็เข้าใจผิด  จากธรรมของพระพุทธเจ้า เห็นผิดเป็นขบวนเลย
คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่น่าสงสารมากๆ คนกลุ่มนี้จัดเป็น
ตนเองทางผิด ยังไม่รู้ว่าตนเองเดินผิดทาง นี่น่าสงสารมาก ไม่ดีเลย..ไม่น่ายินดีเลย..สงสารที่เขายังไม่รู้



*๒.เปรียบเหมือนคนกลุ่มหนึ่งจะเดินทางไปต่างประเทศด้วยรถไฟราง
เขาจึงขึ้นรถไฟนั้นเดินทางไป
รถไฟได้ผ่านสถานีที่1 สถานีที่2 สถานีที่3 สถานีที่4 สถานีที่5 สถานีที่6 สถานีที่7 พอผ่านสถานีที่7แล้ว ก็มีเสียงข่าวดังขึ้นจากลำโพงวิทยุสื่อสารในรถไฟ ที่ติดอยู่ข้างที่นั้งผู้โดยสารทุกคน
รับข่าวมาจาก (ผ.อ. รถไฟๆ ได้ประกาศว่า ก่อนจะถึงสถานีที่9นั้น จะเป็นร่างที่ทอดผ่านอากาศข้ามเหวลึก กว่าจะถึงฝั่งนั้นระยะทางก็1กิโลเมตร
ใน1กิโลเมตรกลางเหวนั้นชำรุดมาก
รถไฟทุกคันอย่าไปทางนั้นมันอันตรายมาก พร้อมกับชี้ให้ดูเลยว่า รางนี้ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้อีกแล้วแม้แต่น้ำหนักของบุรุษคนเดียวก็รับไม่ได้
............
แต่เพราะคนขับรถไฟ(คนใหม่)นั้นไม่รู้
จึงบอกว่าปลอดภัย..ปลอดภัยแน่ ผมเคยขับเครื่องบินเก่งมากๆเลย
..........
คนกลุ่มนั้นรู้ว่า ผ.อ พูดจริงแน่ๆ ถ้าเราไม่ลงสถานีที่8 ที่จะถึงข้างหน้านี้  รถไฟจะเลยสถานีที่8ไป ก่อนจะถึงสถานีที9 รถไฟคันนี้จะไต่เหยียบราง แล้วร่างก็จะเอนและหัก 
ทั้งรถไฟและรางก็จะตกลงเหวลึกนั้นด้วยกัน เราอาจจะบาดเจ็บหรือถึงกับคอหักตายแน่
.........
เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว พอถึงสถานีที่8 ก็ไม่ยอมลง ต่างพูดอ้างกันและกันว่า
เราลงไม่ได้ เพราะขึ้นมาผ่านหลายสถานีแล้ว"


=คนที่เป็น(ผ.อ ข้าพระเจ้าขออุปมาไปที่ พระพรหมคุณาภรณ์)

=คนใหม่ข้าพระเจ้าขอ อุปมาไปที่ คนที่เห็นผิดในธรรมกาย เพิ่งมาจากศาตร์อื่นทางโลก ยังมีจิตหมุ่นไปทางโลก
แล้วมาสอนธรรมะ
ในธรรมกายผู้ที่เห็นผิดต่อธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วประกาศสอนผู้อื่น)

=กลุ่มผู้โดยสารหมายถึง คนที่เลื่อมใส่ศรัทธาเคารพซื่อตรงต่อธรรมะของพระพุทธเจ้า ใคร่อยากจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
แต่เจอครูที่มีความรู้ผิดเอามาสอน)

=ลงไม่ได้ หมายถึง
ถือกันเอากันมานานแล้ว ตั้งแต่อายุยังน้อย
หรือ รู้สึกสบายใจในธรรม
แสดงว่าสอนถูก 
บุคคลที่อยู่ในระดับนี้ใครก็สอนถูกที่เป็นธรรมระดับนี้ เปรียบเหมือนบุรุษกายร้อนอบอ้าว กายสกปรก ใคร่อยากจะอาบน้ำ
และได้มีครูคนหนึ่ง พูดกับเขาว่า ท่านจงไปอาบน้ำสะอาดที่เย็นสบายตรงนั้น ครั้นแล้วบุรุษที่ตัวร้อนอบอ้าวทั้งสกปรกนั้น ทำตาม
คำของคนที่บอกให้ไปอาบน้้ำ ครั้งเขาทำตาม
เขาจึงมีเนื้อตัวที่สะอาดสบายเย็น

นี่ก็ฉันนั้นธรรมะระดับแบบนี้ใครก็สอนได้
แต่ธรรมระดับสูงขึ้นไป จะให้คนที่เห็นผิดมาสอนนั้น
ย่อมไม่ได้เลย

ตนเองทำผิด และรู้ว่าตนเองทำผิด แต่ยังไม่เปลี่ยนแก้ให้เป็นไปทางที่ถูก นี่น่าสงสารยิ่งกว่า



*เปรียบเหมือน
บุรุษคนหนึ่งคลอดออกทางปากของ(บิดา)
เขาเป็นนักปราชมีความรู้มากในหลายศาสตร์
เขาฆ่าพระบิดาของตนเอง แทงด้วยปาก
แต่บิดาของเขาก็ยังไม่ตายทันที
ต่อมาเขารู้ว่า การที่เราฆ่าบิดาของตนนั้นไม่ดีเลย
เราควรหยุดฆ่า และบำรุงเสียจะดีกว่าเพื่อชดใช้ความผิด

=คลอดออกทางปากพระบิดา หมายถึง
ออกมาจากธรรมะของพระพุทธเจ้า มีความรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว แล้วได้ใช้ความรู้นั้นทำร้ายพระพุทธเจ้า

=แทงด้วยปาก หมายถึง จะฆ่าธรรม วินัยของพระพุทธเจ้า 

=จากฆ่า แล้วหันมาบำรุงพระบิดา หมายถึง
ผู้ที่ทำผิด รู้ว่าตนเองกำลังทำผิด แล้วแก้ตัวใหม่ ให้มาในทางถูกธรรมของพระพุทธเจ้า
นี่น่ายินดีน่าสรรเสริญความกล้าหารของเขามากๆ
_____
ฆราวาสคับแคบ เพราะไม่รู้จักกรรมขาว เพราะไม่รู้จักกรรมดำ
ไม่รู้จักกฏแห่งกรรม
ไม่รู้อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ในสังสารวัฏ
_____
ถ้าเขาใจผู้เฒ่า เฮากะสิบอทุกข์ไปกับมันหลาย

คือจังเรื่องหนึ่ง
มีชายคนหนึ่งเดินทางไปทำงาน
ในระหว่างทางก็มีคนกลุ่มหนึ่งเขาซุ๊บซิบนินทาหรือด่า ทุกวันๆเขาชายคนนี้โดนด่าตลอด

พอกลับถึงบ้านก็ทุกข์ใจ
คับแค้นใจ ทรมาณใจ ว่าทำไมเพื่อนบ้านถึงด่าเราหนอ
นอนก็นอนไม่หลับ

ชายคนนั้นก็มาตรวจดูความประพฤของตน ว่าตนมีความประพฤไม่ดีอะไรหนอ
ก็เห็นว่าไม่มี 

พอผ่านไป 1 อาทิตย์ จึงเข้าไปถาม เขาด่าเราเรื่องอะไรกันนะ

จึงเดินเข้าไปถาม
ขณะที่คนเดินส่วนมัน มันก็ด่าหมดทุกคน

จึงถามคนที่ถูกด่าด้วยกันว่า
ทำไมเขาถึงด่าท่าน

โอ้ย..คนบ้ามันก็ด่าของมันอย่างนี้แหละ
ใครเดินผ่านมันก็ด่าหมด จนเป็นเรื่องปกติ

พอพูดเสร็จมันก็ด่าว่าให้อีก จึงได้รู้ว่า มันเป็นคนบ้าเสียสติ

หลังจากนั้นชายนั้นเดินผ่านไปทำงาน โดนด่าทุกวัน ก็ไม่มีทุกข์เพราะการด่าของคนบ้านั้น

เพราะเรารู้จักว่า ตามความเป็นจริงว่า เขาเป็นคนบ้า

ฉันใดก็ฉันนั้น 
ถ้าเรารู้จักสุขตามความเป็นจริงว่า
มัน ไม่เที่ยง ทนอยู่สภาวะสุขแช่ตลอดอย่างนั้นไม่ได้

ถ้าเรารู้จักทุกข์ตามความเป็นจริงว่า
มันไม่เที่ยง ทนอยู่สภาวะทุกข์แช่ตลอดอย่างนั้นไม่ได้

เราก็จะไม่เป็นบ้าเหมือนชาย
______
รูปตัณหา  สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา


ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความที่จิตเป็นดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ในรูป  ความกระจายไปในเสียง
ความกระจายไปในกลิ่น 
ความกระจายไปในรส ความกระจายไปในโผฏฐัพพะ
ความกระจายไปในธรรมารมณ์

ความหวังในรูป คือ รูปตัณหา
ความหวังในเสียง คือ สัททตัณหา
ความหวังในกลิ่น คือ คันธตัณหา
ความหวังในรส คือรสตัณหา
ความหวังในโผฏฐัพพะ คือโผฏฐัพพะตัณหา
ความหวังในธรรมารมณ์ คือธัมมตัณหา

อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะ
เหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า
ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ไม่ได้
ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีโสตดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ ... มี
กลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้
มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้
บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความ
มุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิต
___________
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจักเศร้าหมองด้วยตนเอง
          ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง
          ความบริสุทธิ์ และความไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึง
__________
สุขุมสูตร
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่
น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง
ในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่  แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว
(หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว
ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น
เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น
สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่าฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจ
บาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้ว ก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ
ของภิกษุเหล่านี้บ้าง
บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางหู ของภิกษุเหล่านี้บ้าง 
บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจมูก
ของภิกษุเหล่านี้บ้าง
บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางลิ้น ของภิกษุเหล่านี้บ้าง
บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางกาย ของภิกษุเหล่านี้บ้าง บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางใจ ของภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิตน่ะ อย่าถืออนุพยัญชนะน่ะ จงปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ท่านจงเป็นผู้ครอบงำรูป นี้ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว อย่าถือนิมิตนะ
อย่าถืออนุพยัญชนะน่ะ จงปฏิบัติ
เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ท่านจงเป็นผู้ครอบงำเสียง นี้ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตะทรีย์
ด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม
แล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา
มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีก
จากท่านทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


[๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่อิงอาศัย
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใดผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและ
ขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ




พ. เธอเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ
อ.ไม่ใช่อย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. สาธุ สาธุ อนุราธะ ดูกรอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ในบัดนี้ด้วย  เราย่อมบัญญัติ
ทุกข์และความดับแห่งทุกข์ ฯ


[๗๘๑] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่
มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในรูป ผู้รู้เห็นความดับแห่งรูป ตามความเป็นจริง ความเห็น
ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็มี



#ภพ/ตัณหา/อุปาทาน/ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน  ความ/

#           ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ
           เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มี


สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ บุคคลนั้น
หนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว จักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรจุนทะ
บุคคลนั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลสด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่นให้ฝึกฝน ให้อบรม
ให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้. สัตว์เหล่านั้นไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ไม่มีใครๆ อื่นที่จะยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึงพ้นได้ไซร้
สัตว์เหล่านั้นก็ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ
_______
เทศฆ่ามิจฉาทิฏฐิ สิ่งที่เห็นผิด
_____
มองดูภาพบุคคลเหล่าอื่น ถ้ารู้ด้วยตา
มักจะมีราคะมาแทรก หรือไม่ก็โทสะ
มักจะเกิดความกำหนัด หรือไม่ก็ขัดเคือง

มองด้วยปัญญาจะ พอเห็นว่า สภาวะของเขาเหล่านั้น
ก็สภาวะไม่ต่างอะไรกับเรา

เขามีอารมณ์แปรปรวนไม่เที่ยงอย่างไร
ไม่ต้องไปดูเขา มาย้อนดูสภาวะตนเอง
ให้มันชัด
____________
มองดูภาพบุคคลเหล่าอื่น ถ้ารู้ด้วยตา
มักจะมีราคะมาแทรก หรือไม่ก็โทสะ
มักจะเกิดความกำหนัด หรือไม่ก็ขัดเคือง

มองด้วยปัญญาจะ พอเห็นว่า สภาวะของเขาเหล่านั้น
ก็สภาวะไม่ต่างอะไรกับเรา

เขามีอารมณ์แปรปรวนไม่เที่ยงอย่างไร
ไม่ต้องไปดูเขา มาย้อนดูสภาวะตนเอง
ให้มันชัด
________
ความโลภเป็นเหตุให้เสื่อมลาภ
สำนวนไทยเขากล่าว "โลภนัก ลาภหาย"

มีอย่างไรก็แสดงไปอย่างนั้น
คือแสดงตามที่เป็นจริง
แสดงตามความจริงอย่างนั้น


เมื่อเช้าเห็นพระขวานขวายเอาขนม ในกระทอเพิ่ม ทั้งที่ในบาติของตนก็เยอะพอประมาณแล้ว
(แม้ในบาติเราขนมก็เยอะเหมือนพระองค์นั้น) 
อีกองค์หนึ่ง ขวานขวาย กับแห้ง(ปลาปลิ้ง)
ทั้งที่ สำรับถาดนั้นมิใช้ของอุปฐากตน
ก็ใช้มือยื่นไปคว้าเอามาเลย

(เขาก็คงจะรู้ว่าเป็นเรื่องไม่ควร แต่ถ้าไม่ถือโอกาสจะไม่ได้ ปลาแห้ง จึงกล้ากระทำ"

ข้าพระเจ้านึกธรรมนี้ขึ้นมาได้" แต่มิอาจจะบัญญัติให้เป็นคำพูด ที่เหมาะลงตัวเข้ากันได้
อ่านพระไตรปิฏกไป เจอคำนี้
"มีความโลภ เพราะความติดพัน
หรือความข้อง"
นี่แหละๆ ธรรมที่ข้าพระเจ้า บัญญัติเป็นคำพูดไม่ได้ แต่อ่านเจอ คำบัญญัติคนอื่น จึงเอามาใช้
____
อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือด
_______
ทำยังไงดี อย่างไรก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าทำน้อย ได้บุญน้อย?
Open or Close
๖๐ บาทหรือ ๕ บาท ก็มีค่ามากกว่าอิฐทองคำก้อนหนึ่งครับ 
เวลาเรานำมาทำให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เอาไว้สำหรับกราบไหว้บูชาแก่สาธารณะ
 
ต่อไปเวลาคิดถึงเงินที่ร่วมบุญ
อย่าคิดเป็นตัวเลข อย่าคิดเป็นค่าเงินบาท
ให้คิดถึงอิฐทองคำก้อนเล็กๆ ๕ ก้อนบ้าง ๖๐ ก้อนบ้าง
ที่เรานำมาเรียงรวมกับอิฐทองคำก้อนอื่น
แล้วคุณจะรู้สึกแสนดีมากมาย
_______
อานิสงส์ของการถวายพระประธานในโครงการนี้คืออย่างไร?
Open or Close
เอาความรู้สึกของผมเอง
ช่วงที่ผ่านมานับแต่กองทัพพระประธานหล่อสำเร็จ
ก็มีความสุขใจอย่างล้นเหลือ
หัวแล่น กระตือรือร้น เข้าสมาธิง่าย
ตัดสินใจถูก เลือกถูก คิดแต่เรื่องดี จำแต่เรื่องดี
ตั้งใจทำอะไรก็เสร็จสำเร็จดีไปหมด
และฟังจากหลายๆคนที่ร่วมโครงการด้วยใจปีติ
ก็เหมือนจะเห็นนิมิตหมายดีๆหลายอย่างปรากฏเช่นกัน
นี่แค่ผลระยะใกล้จากการ ‘สร้างสุขใหม่’ ให้คนอื่น
ในวาระขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ เท่านั้น
 
แค่เข้าถึงความสุขอันเกิดจากการให้เปล่าทั่วประเทศ
ก็คุ้มชีวิตในปีนี้และปีต่อๆไปที่เหลือแล้วหรือไม่?
 
ผมทราบว่าปีที่ผ่านมาสำหรับหลายต่อหลายคน
เป็นปีแห่งความเบื่อหน่าย
ปีแห่งความอัดอั้นตันใจ
หรือกระทั่งเป็นปีแห่งความสิ้นศรัทธาในพระศาสนา
หากทำอะไรแล้วหายเบื่อ โล่งใจหายอัดอั้น
หรือกระทั่งฟื้นฟูความเลื่อมใสศรัทธาในพระธรรม
ด้วยความเห็นชัดว่า ให้เอง สุขเอง
เพียงเท่านี้ก็น่าจะคุ้มกว่าลงทุนในทางอื่น
ที่ไม่มีอะไรประกันว่าจะอิ่มสุขระดับเดียวกันหรือไม่?
 
การให้ในครั้งนี้ เป็นการให้กับคนที่ไม่รู้จักหน้าค่าตากันมาก่อน
ให้กับคนที่เรารู้ว่าเป็นเพื่อนร่วมศาสนาเดียวกัน
แถมยังถวายแด่พระสงฆ์ไม่เลือกหน้า
อันจัดเป็นสังฆทานแท้ คือไม่เจาะจงว่าให้ท่านใด
แต่คิดว่าจะให้เป็นของกลางแก่พระศาสนา
อันว่าสังฆทานนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีอานิสงส์ไม่สิ้นสุด
คือ แม้พระสัพพัญญุตญาณก็ไม่อาจหยั่งถึงที่สุดของอานิสงส์
ฉะนั้น หากใครพยากรณ์ได้ว่า ถวายพระประธานครั้งนี้
จะได้นั่นได้นี่ไปถึงไหน ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อ
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคิดเอาเอง หรือฟังใครมาอีกที
ที่น่าจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก
 
ในกินททสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า
บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง 
ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้สุข (สะดวกสบาย)
ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
ผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง
ผู้ที่พร่ำสอนธรรม (อันตรง) ชื่อว่าให้อมฤตธรรม
 
ในที่นี้ พวกเราถวายพระประธาน
อันเป็นที่รู้กันว่าจะยังความปลาบปลื้มโสมนัส
ให้บังเกิดแก่สาธุชนผู้กราบไหว้ไม่จำกัดจำนวน
ก็ย่อมนับว่าเราเป็นผู้ให้ความปลาบปลื้ม
ผลย่อมเป็นความปลาบปลื้มทวีคูณ นับอนันต์
ตามจำนวนที่นับไม่ได้ของผู้มีสิทธิ์
กราบไหว้พระประธานกันทั่วประเทศด้วย

______
เอาจิตไปจับ ตรงที่ เนื้อลม นิ่งๆนั้นไว้
ส่วนลมที่เข้าที่ออกก็ช่างมัน
ส่วนเราถ้ามุ่งทำสมถะ เอาจิตไปจับ ตรงที่ เนื้อลม นิ่งๆนั้นไว

             (    )( * )   ตรงนี้ข้างใดข้างหนึ่ง
รู้จมูกซ้าย      รู้จมูกขวา

_________
ทำบุญมากได้บุญมาก ทำบุญน้อยได้บุญน้อย

บ้างคนทำบุญแค่ร้อยก็คิดแล้วคิดอีก บางคนทำบุญแค่พันคิดแล้วคิดอีก
บางคนทำบุญแค่หมื่นคิดแล้วคิดอีก
บางคนทำบุญทำยิ่งกว่านั้นเป็นแสนเป็นล้าน ไม่เคยคิดแล้วคิดอีก

มีร้อยนิทำร้อยนิยากที่คนจะทำได้
มีร้อยทำยี่สิบนิง่าย
เรามีแค่สิบบาทเนี๊ยะโยมแล้วเราทำแค่สิบบาทนี้มันยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะมันมีเท่านั้น
มีแสนให้ร้อยถือว่ามันกระจี๊ดหนึ่ง มันก็ไม่ค่อยชุ่มชื่นเจ้าของ คือให้แบบธรรมดา เห็นไหมโยม
นั้นบุคคลที่ให้สิ่งที่ให้ยาก คนอื่นตระลึงเขาทำได้ไง
แต่คนไม่ดี อิจฉา วาสนาจะอาภัพในวันหน้าไม่ยอมยินดีกับคนทำบุญ
________

จะจนหรือรวย จะสวยหรือหล่อ
ระหว่างที่เกิดถึงตายนี้
สาระของเขาอยู่สามสิ่งนี้
๑.บุญ
๒.กุศล
๓.สติ 
ว่ามีมากแค่ไหน 
ในโลกนี้สิ่งที่ประเสริฐที่สุดคือ"สติ"
บุญเป็นสิ่งที่ประเสริฐอยู่นะ ไม่ใช่ว่าไม่ประเสริฐ
แต่ไม่ประเสริฐเท่ากุศล
กุศลเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าบุญนะ
แต่กุศลก็ยังไม่ประเสริฐเท่า"สติ"

รวมความแล้ว "สติ" เป็นสิ่งที่ประเสริญสุดในไตรภพทุกโลกธาตุในทุกภพภูมิ

(สติในสติปัฏฐานสี่
บุญส่งได้ถึง สวรรค์ชั้นกามภพ

บุญเป็นทางมาแห่งกุศล
กุศลเป็นทางมาแห่งสติ


#ส่วนกามคุณ ๕ คือยาพิษ
______
merit บุญกุศล
teacher ครู
________
สนิมเกิดจากเหล็ก
ย่อมกัดเหล็กฉันใด
ความชัวเมื่อเกิดแล้ว
ย่อมทำลายตัวเอง

#โอวาทหลวงปู่ขาว อนาลโย
______________
สิ่งที่ประเสริฐที่สุด ในด้านนามธรรมคือ
๑.บุญ
๒.กุศล
๓.สติ

เมื่อรู้ว่าสติ ประเสริฐที่สุด
เราจะทำอย่างไร

เมื่อคิดที่จะทำกุศล จะเป็นบุญ
ต่อเมื่อได้กระทำลงไป จึงจะเป็นกุศล
เมื่อกุศลเกิดแล้ว สติจึงจะเกิด



#พระมีอยู่หลายประเภท
๑จิตใจเป็นพระ กายก็เป็นพระ
๒.จิตใจเป็นพระ กายไม่เป็นพระ
๓.จิตใจไม่ได้เป็นพระ แต่กายเป็นพระ
๔.จิตใจไม่ได้เป็นพระ และกายก็ไม่ได้เป็นพระ

๑จิตใจเป็นพระ กายก็เป็นพระ
คือ บุคคลที่พยายามปราภพความเพียรทำลายอาสวะกิเลสภายในจิตใจสันดานของตนเองตลอดเวลา
และดำรงเพศบรรพชิดนุ่งห่มผ้าเหลืองผ้ากาสาวพัด

๒จิตใจเป็นพระ กายไม่ได้เป็นพระ
คือ บุคคลที่ ปรารภความเพียรเผากิเลสภาสในจิตใจสันดานของตนอยู่ตลอดเวลา
แต่ดำรงเพศฆราวาสนุ่งห่มผ้าแบบคฤหัส

๓จิตใจไม่ได้เป็นพระ แต่กายเป็นพระ
คือ บุคคลที่ทุศีลเป็นคนเน่าใน ไม่ปรารภความเพียรทางจิต
แต่นุ่งห่มเหลืองคือผ้ากาสาวพัดของพระพุทธเจ้า

๔จิตใจก็มิได้เป็นพระ กายก็มิได้เป็นพระ
คือ บุคคลที่ทุศีลเป็นคนเน่าใน
ไม่ปรารภความเพียร และนุ่งห่มผ่าแบบฆราวาส
_________
กิเลสคือความเศร้าหมอง.แม้น้อยนิดก็เป็นภัย เป็นจุดเริ่มต้น ของอนุสัยทางแห่งความเคยชินที่ไม่ดี
และเป็นนิวรณ์เครื่องกั้นจิต
ไม่ให้รู้เห็นตามเป็นจริง
หลงไปกับ สังขารที่มันปรุง คือโมหะ

#แท้ที่จริงแล้ว
ความคิด,ความเศร้าหมอง,
เจตนา,ตัณหา,อยากทำนั้นทำนี่

มาจากสังขารจิต
คล้ายๆ
#คิดให้เป็นไฟเผาตัวเอง ก็เป็นไฟ
#คิดแล้วรู้ทันว่า กำลังคิดเป็นไฟเผาตนเองนี้เรียกว่าวิชชา
________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น