วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สัตว์เดรัจฉานนั้นแปลตามความหมายทางภาษาบาลีว่า สัตว์ผู้ที่มีลำตัวหรือกระดูกสันหลังไปในทางขวางต่อพื้นโลก หรือสัตว์ผู้มีแนวทางการใช้ชีวิตที่ขัดขวางต่อพระนิพพาน คือสัตว์เดรัจฉานนั้นจะมีสัญญาหรือความจำแค่ ๓ อย่างคือ ๑)กามสัญญา รู้จักเสพกาม ๒)โคจรสัญญา รู้จักกินและนอน เคลื่อนไหวร่างกาย ๓)มรณสัญญา รู้จักกลัวความตาย ซึ่งสัตว์เดรัจฉานนั้นจะไม่มีสติสัมปชัญญะ และ ปัญญาในการใคร่ครวญหาเหตุผล ความรู้สึกผิดชอบชั่่วดี และปัญญาในการตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ชั่วคือมีชีวิตที่ไม่สามารถทำตนให้ถึงพระนิพพานได้ถือว่าเป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง มนุษย์นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัตว์ประเสริฐ ซึ่งสามารถแปลตามบาลีได้ว่า สัตว์ผู้ที่มีลำตัวหรือกระดูกสันหลังตั้งตรงต่อพื้นโลก หรือสัตว์ที่มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เข้าถึงนิพพานหรือเป็นไปตามหนทางของพระนิพพานได้ ซึ่งมนุษย์หรือสัตว์ประเสริฐนั้นมีสัญญาที่เหมือนสัตว์เดรัจฉานอยู่ ๓ อย่างและยังมีสัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่าสัตว์เดรัจฉานขึ้นไปอีก เช่น มนุษย์จะมีสติสัมปชัญญะและปัญญาในการใคร่ครวญหาเหตุผล ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และปัญญาในการตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ชั่ว คือมีชีวิตที่สามารถทำตนให้เข้าถึงหนทางแห่งพระนิพพานได้ ถือว่าเป็นกุศลกรรมหรือบุญอย่างหนึ่งในการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นการที่คนเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วนั้น หากใช้ชีวิตแบบอยู่ไปวันๆ เคลื่อนไหวร่างกายไปมา กินและนอน เสพกามตลอดชีวิต และไม่รู้จักแยกแยะดีชั่ว ทำลายทำร้ายชีวิตคนและสัตว์ไปวันๆ แล้วไซร้ มันก็คงจะมีชีวิตที่ไม่ได้วิเศษดีเลิศ หรือแปลกแตกต่างไปกว่าสัตว์เดรัจฉานสักเท่าไรเลย ดังนั้นมนุษย์จึงมีความดีเลิศและแปลกแตกต่างกว่าสัตว์เดรัจฉานตรงที่ มีสติสัมปชัญญะในทุกๆอิริยาบถ กินและนอนอย่างมีสติ ไม่เสพกามตลอดชีวิต รู้จักแยกแยะดีชั่ว ไม่เที่ยวไปทำลายทำร้ายชีวิตคนและสัตว์ มันก็พอจะมีทางที่จะเข้าถึงนิพพานได้บ้าง

สัตว์เดรัจฉานนั้นแปลตามความหมายทางภาษาบาลีว่า    สัตว์ผู้ที่มีลำตัวหรือกระดูกสันหลังไปในทางขวางต่อพื้นโลก   หรือสัตว์ผู้มีแนวทางการใช้ชีวิตที่ขัดขวางต่อพระนิพพาน      คือสัตว์เดรัจฉานนั้นจะมีสัญญาหรือความจำแค่ ๓ อย่างคือ  
   ๑)กามสัญญา รู้จักเสพกาม
   ๒)โคจรสัญญา รู้จักกินและนอน   เคลื่อนไหวร่างกาย
   ๓)มรณสัญญา รู้จักกลัวความตาย
          ซึ่งสัตว์เดรัจฉานนั้นจะไม่มีสติสัมปชัญญะ  และ  ปัญญาในการใคร่ครวญหาเหตุผล   ความรู้สึกผิดชอบชั่่วดี    และปัญญาในการตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดี   สิ่งนี้ชั่วคือมีชีวิตที่ไม่สามารถทำตนให้ถึงพระนิพพานได้ถือว่าเป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง


                มนุษย์นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัตว์ประเสริฐ     ซึ่งสามารถแปลตามบาลีได้ว่า   สัตว์ผู้ที่มีลำตัวหรือกระดูกสันหลังตั้งตรงต่อพื้นโลก   หรือสัตว์ที่มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เข้าถึงนิพพานหรือเป็นไปตามหนทางของพระนิพพานได้      ซึ่งมนุษย์หรือสัตว์ประเสริฐนั้นมีสัญญาที่เหมือนสัตว์เดรัจฉานอยู่ ๓ อย่างและยังมีสัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่าสัตว์เดรัจฉานขึ้นไปอีก       เช่น   มนุษย์จะมีสติสัมปชัญญะและปัญญาในการใคร่ครวญหาเหตุผล   ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี    และปัญญาในการตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดี   สิ่งนี้ชั่ว       คือมีชีวิตที่สามารถทำตนให้เข้าถึงหนทางแห่งพระนิพพานได้    ถือว่าเป็นกุศลกรรมหรือบุญอย่างหนึ่งในการเกิดมาเป็นมนุษย์   

               เพราะฉะนั้นการที่คนเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วนั้น   หากใช้ชีวิตแบบอยู่ไปวันๆ   เคลื่อนไหวร่างกายไปมา  กินและนอน    เสพกามตลอดชีวิต    และไม่รู้จักแยกแยะดีชั่ว     ทำลายทำร้ายชีวิตคนและสัตว์ไปวันๆ    แล้วไซร้    มันก็คงจะมีชีวิตที่ไม่ได้วิเศษดีเลิศ  หรือแปลกแตกต่างไปกว่าสัตว์เดรัจฉานสักเท่าไรเลย       ดังนั้นมนุษย์จึงมีความดีเลิศและแปลกแตกต่างกว่าสัตว์เดรัจฉานตรงที่     มีสติสัมปชัญญะในทุกๆอิริยาบถ   กินและนอนอย่างมีสติ    ไม่เสพกามตลอดชีวิต   รู้จักแยกแยะดีชั่ว   ไม่เที่ยวไปทำลายทำร้ายชีวิตคนและสัตว์  
มันก็พอจะมีทางที่จะเข้าถึงนิพพานได้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น