วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ในวันนั้นถ้าฉันไม่ลืมเธอวันนี้ฉันคงต้องทุกข์ใจเปล่า

ในวันนั้นถ้าฉันไม่ลืมเธอ
วันนี้ฉันคงต้องทุกข์ใจเปล่า
_________________
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

ไฉนเล่า เราจึงไปรวมธรรมทั้งหลายว่าเป็นอัตตาตัวตน อารมณ์เป็นตัวเป็นตน
ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา แต่นี่ยังย้อนกลับไปยึดถือ ยึดมั่นถือหมั่นเอาไว้ ด้วยอำนาจเพลินในตัณหา ยังไม่รู้ตัวอีก

ว่าหลงไปกับโลกที่๖อย่างจังๆ จะฉิบหายแล้ว
ยังไม่พอ ยังหลงไปกับโลกที่๑ ที่๒
ที่๕

ให้รู้ตัวเร็วๆ
ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาอยู่แล้วถ้าละอายจริง สำนึกจริง

แต่ถ้าเรายังถือมั่นในทิฐิ ตัวบันดาลว่าต้องทุกข์
เราน้อมรับเชื่อ ไม่ยอมคลาย เราฉิบหายเอง

อย่าให้เรื่องเศร้าแค่ครั้งเดียว เอาจิตทั้งดวงของคุณไป ในโลกทั้ง๖

เพราะสิ่งที่จะยั่วยวนให้เกิดตัณหานั้น
มีมากมายหลายสิ่ง 
_____________
น้ำรดให้รีบตัก
มีเรือมารับให้รีบขึ้น
เมื่อเรือรั่วให้รีบขนของใส่
____________
ออกบวช ละบาปได้แค่ทางกายกับทางวาจา

แต่ทางใจสามข้อนี้
โลภ    ต้องแก้ด้วย จาคะสละ
พยาบาต  ต้องแก้ด้วย มองว่าเป็นกรรมธรรมชาติของเขา ที่ตกอยู่ใต้กิเลสไม่ฝืนย่อมต้องเป็นไปตามดวงดาว
ให้สำรวมอินทรีย ต่อโลกทั้งหก

มิจฉาทิฐิ เห็นผิด ต้องแก้ด้วย การศึกษาจากผู้รู้ คือตำราหรือเสียง

__________
ไม่ได้เตี้ย..แค่เกิดมาขาสั้น มันอันเดียวกันกับเตี้ยหรือเปล่า?

"ขาสั้นเพราะกรรมที่
ที่ชอบทำตัวกรางอวดศักดาไปทั่ว กูๆ
คือว่านอำนาจกระจ่ายไปทั่ว กูใหญ่ๆๆๆ อวดศักดาแผ่พังพานไปทั่ว ใครใหญ่ๆ กูใหญ่ๆ ด้วยทางกายหรือทางวาจา  เกิดชาติใหม่จะถือกำเนิดในร่างอ้วนเตี้ย
ขาสั้น..เหมือนขาตั้งโต๊ะสนุ๊ก

และถ้าเป็นผู้ชายที่ชอบกดขี่ข่มเหงผู้หญิง
เป็นประจำ ไม่ว่ากระทำด้วยกาย หรือด้วยการพูด เมื่อกรรมเผล็ดผล
ภพชาติชาติใหม่เกิดมาจะรูปร่างเล็กบาง
ดูน่ารังแก 

แต่ถ้านิสัยชาติปัจจุบันกลับ เป็นคนชอบช่วยคนอื่นด้วยมือ
หรือด้วยกระทำทางกาย คราวต่อไปก็จะเป็นเหตุให้ได้
เป็นผู้ที่มือใหญ่ นิ้วใหญ่
ดูเป็นผู้นำ เป็นผู้ที่มีพวกหรือมีบริวารมาก
___________

ผีมีสีจากที่ฟัง
สีเทา สีดำ สีเหลือง
________
ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 01 วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2549
ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 02 วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 03 วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฏาคม 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 4

ครั้งที่ 04 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 5

ครั้งที่ 05 วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 06 วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 7

ครั้งที่ 07 วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2549

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 8

ครั้งที่ 08 วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2550

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 09 วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2550

######
1. แสดงธรรม เรื่อง วิธีการปฏิบัติ ที่สวนสันติธรรม วันที่ 13 กรกฎาคม 2549 %
2. แสดงธรรม ที่ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 1 วันที่ 21 พฤษภาคม 2549 %
3. แสดงธรรม ที่ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 3 วันที่ 16 กรกฎาคม 2549 %
4. แสดงธรรม ที่ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 8 วันที่ 21 มกราคม 2550 %
5. แสดงธรรม ที่ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 16 วันที่ 16 ธันวาคม 2550 %
6. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 15 เมษายน 2550 %
7. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 13 พฤษภาคม 2550 %
8. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 %
9. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 24 มีนาคม 2550 %
10. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 19 กันยายน 2550 %
11. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 15 มิถุนายน 2550% ช่วงที่ 1
12. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 15 มิถุนายน 2550 %ช่วงที่ 2
13. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 2 มีนาคม 2550 %
14. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 30 กรกฎาคม 2549 %
15. ธรรมเทศนา ที่สวนสันติธรรม วันที่ 5 พฤษภาคม 2550 %
______________
ขอ id app BBL ที่ ATM

ซื้อ พระพุทธเจ้ามหาศาสนาดาโลก 7
_____________
แผ่นที่ 19 500223A


https://archive.org/details/Dmwork
__________
ความรักเกิดขึ้นด้วยเหตุ2ประการ
1เคยอยู่ร่วมกันมาก่อนในอดีตชาติ
2ได้เกื่อหนุนเกื่อกูลกันในปัจจุบัน
"เหมือนบัวอุบล กับ โคนตม)

อย่างคนที่เคยผูกพันธ์กับใครเข้ามากๆ
กับทั้งทำอะไรร่วมกันต่างๆนาๆไว้มาก
พูดคุยกันเรื่องทุกข์สุขดิบอยู่กันเป็นประจำได้โดยไม่ต้องเกรงใจเกรงหูกันและกันเลย
เสมือนท้องฟ้ากับก้อนเมฆ
แต่ก้อนเมฆนั้นที่สุดก็ต้องเคลื่อนย้ายแปรเปลี่ยนตำแหน่ง ด้วยอำนาจของแรงลมตามธรรมชาติที่ต้องแปรเปลี่ยนไปไม่อยู่คงที่คงเดิม แม้ชีวิตคู่ของมนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือนกัน กรรมไม่สัมพันธ์กันก็ไม่ได้ มาเจอกันรู้จักกันพูดคุยกัน
เมื่อรู้จักกันแล้วไม่รีบสร้างเส้นทางบุญกรรมอันดีไปในทิศทางแนวเดียวกัน
เพื่อเสริมต่อให้สนิทติดเกี่ยวพันธ์กันให้ยืดยาวออกไปอีกหน่อย
จะได้เป็นเหมือนดอกบัวที่อาศัยโคลนตมได้นานๆ
แต่เมื่อกรรมที่สัมพันธ์ที่โยงให้ได้มาเจอกัน
เมื่อถึงเวลาหมดเหตุปัจจัยที่ต้องเกี่ยวโยงกันต่อ จะต้องแปรเปลี่ยนแบบนี้ ต้องคลีคลายกันธรรมดา เป็นธรรดาของชีวิตมนุษย์ที่แสวงคู่ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มันก็เป็นอย่างนี้แหละ

แม้คิดพิจารณาการพลัดพรากจากกัน
ไม่เขาจากเรา เราก็จากเขา
ไม่เราจากเขา เขาก็จากเรา เหมือนอย่างนี้แหละ 
บางคู่จากกันแบบดิบๆ บางคู่รักจากกันปานจะกลืนกัน
พอตายแบบสุกๆลงทั้ง2คน
ด้วยอำนาจศีลและบุญไม่เสมอกัน
ศรัทธาความเชื่อก็ไม่เสมอกัน
เกิดชาติใหม่ก็แยกย้ายกลายเป็นคู่ของคนอื่น
บางทีล่นไปเสวยภพที่ต่ำ
ที่สูงต่างกัน
ฝ่ายชายไปเป็นมนุษย์ ฝ่ายหญิงไปเป็นเทพธิดา
เสวยอารมณ์อันเป็นทิพย์
และอารมณ์รักๆใคร่ๆที่เคยผูกกันตอนที่เป็นมนุษย์นั้น
ไม่อาจเทียบกันได้กับอารมณ์ทิพย์

ถึงคุณจะยังปรถานาจะเจอเขาให้ได้ในภพชาติใหม่
มันเหมือนเข็มหล่นลงใน
น้ำมหาสมุทรไปแล้ว
ก็ร้องรำพึงเสียดายเข็ม
แต่จะหานั้นก็ไม่ยาก
แต่จะติดตรงที่ จะพบหรือไม่

เหมือนคนบ้าไม่รู้อะไร
แก้วน้ำหล่นลงดิน
แล้วน้ำไหลออกหมด
เขาต้องต้องการให้มีน้ำในแก้ว
เพื่อจะดื่ม 

การเวี่ยนว่ายตายเกิดนี้
ไม่ใช่ง่ายๆเลยที่จะได้เกิดเป็นแต่มนุษย์ และไม่ใช่ง่ายๆเลย
ที่จะขอเกิดเจอคู่รักคู่เก่าที่ชอบคอชอบใจกัน ติดตามกันไปตลอดทุกภพทุกชาติเหมือนหนังละครนิยาย

ในระว่างที่เราต่างเวียนว่ายตายเกิด
ไปในภพน้อยภพใหญ่นี่ 
เราต่างเคยจับคู่กับสัตว์กับคนมานับต่อนับมากมายนับไม่ถ้วนนับไม่ได้เลย
เมื่อไปเป็นเกิดสัตว์เดรัจฉานก็มีคู่แบบเดรัจฉาน เสพกามแบบเดรัจฉาน ทุกข์แบบเดรัจฉาน
ถ้านับแต่ชาติที่เราไปเป็นเดรัจฉาน ไม่อาจนับได้เลยว่ากี่แสนกี่ล้านครั้งแล้ว พอตายเกิดใหม่ก็ลืมเรื่องตนเองเคยเป็นเดรัจฉานที่เคยมีคู่แบบนั้น ทุกข์แบบนั้น ลืมหายไปหมด

เมื่อเป็นเปตรก็มีคู่แบบเปตร
เมื่อเป็นเทพพะยะดา เทพธิดา
ก็มีคู่แบบกายทิพย์ที่ไม่ซ้ำกัน
สลับหมุนวนเวียนไปเรื่อยๆ
เมื่อพากันจุติ อุบัติเกิดใหม่แล้วก็ลืมเรื่องหมด สิ่งที่เคยยึดก็หายไปหมดในความจำ
ต้องยึดใหม่ แฟนฉัน ผัวฉัน ญาติฉัน บ้านฉัน 
พอตายแล้วเกิดใหม่เท่านั้นแหละ
ไอ้แฟน ผัวฉัน ในชาติก่อน
ถูกลบไปเลย ด้วยอำนาจของธรรมชาติที่เหมือนจะขี้โกงแบบนี้
คอยกลั่นแกล้งมนุษย์ให้ลืมอยู่แบบนี้


ผู้ใดเกิดมาแล้ว ต้องการให้ได้ดั่งใจไปซะทุกเรื่อง
โดยเฉพาะเรื่องความรัก เรื่องคู่ครอง เรื่องกิเลสทั้งหลายที่แทงใจสัตว์ให้เป็นทุกข์
ผู้นั้นชื่อว่าเกิดมาผิดวัตถุประสงค์
ของการเกิดเป็นมนุษย์  การเกิดมนุษย์เขาให้เกิดมาบำเพ็ญบุญกุศลบารมี โลกมนุษย์มันไม่ใช่ที่อยู่จริง
มันเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญ
ถ้าใครหลงไปติด ลาภ ยศ สรรเสิญ สุข รัก เศร้า รวย 
ถือว่าเกิดมาโมฆะชีวิต
เขาให้รีบบำเพ็ญมหาบารมีใหญ่ คือเจริญสติดูกายดูใจ ว่าไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ แปรปรวน  เพื่อให้รู้ว่ากายใจนี้ อารมรณ์ต่างๆนี้ ไม่ใช่เรา
เพื่อเป็นโสดาบัน พ้นนรกเปตรอสูรกายเดรัจฉาน ทุกชาติภพ  ให้เกิดตายอยู่ในวงจำกัด
แค่สวรรค์กับมนุษย์ เท่านั้น
ไม่พลาดตกลงภพต่ำ
และ
เพื่อออกจากการเวียนว่ายตายๆเกิดๆแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่อีกต่อไป
ถึงที่สุดแห่งบรมสุขคือพระนิพพาน

เป็นมนุษย์แล้ว ต้องแสวงหาหนทาง
เพื่อให้ตนเองเป็น" โสดาบัน" ให้ได้
นี่คือแก่นแท้ของชีวิตเป็นโอกาสทองเลยก็ว่าได้ และชาติทั้งหลายที่เคยเวียนว่ายตายเกิดผ่านมาแล้ว
ชาตินี้ถือเป็นชาติที่โชคดีที่สุด
ที่ได้เป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา
ถ้าเขาสนปฏิบัติ เจริญสติ ดูกายใจไม่เที่ยง จนเห็นชัดแจ่มแจ่งด้วยจิตในภายใน เป็นโสดาบัน เขาจะเป็นคนที่โชคดีที่สุดในโลก
__________
ให้ดูหรือรู้สภาวะอาการของจิต ให้ดูหรือให้รู้สภาวะธรรมของจิต
(ธรรมมาอนัตตา)

ถ้ายืนอยู่ดินทราย
อาการของจิตเป็นอย่างไร

ถ้ายืนอยู่หญ้า
อาการของจิตเป็นอย่างไร

ถ้านั่งอยู่ระเบียง
อาการของจิตเป็นอย่างไร


ถ้ามองพื้นดิน
อาการของจิตเป็นอย่างไร

ถ้ามขึ้นไปดูท้องฟ้า
อาการของจิตเป็นอย่างไรๆๆ

อย่างนี้เรียกว่าดูอาการของจิต




แต่ถ้าอีกแบบหนึ่งคือ
วางเฉยต่อ สภาวะธรรม(ธาตุ)ต่างๆ
เหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมด

เราเป็นผู้รู้
___________
เวทนา
ตัณหา >ความยาก,ความไม่ยาก
ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์

ก็จะเข้ากับพระสูตร
-ตากระทบรูปภิกษุพึง ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะในอรรถ
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ใน
หู.จมูก.ลิ้น.กาย
ภิกษุพึงไม่ถือโดยอนุพยัชนะในอรรถ ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายในธรรมมารมณ์
กามตัณหา-ความยากในกามคุณ๕


ภวตัณหา-ตัณหาความเป็นไปในภพ.
ความยากมี อยากเป็น อยากเกิด ไปในภพ อยากเกิด
"ข้อน่าสังเกตคือ คำว่าภพในที่นี้หมายถึง

ภพ คือ อารมณ์
อย่างที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์เทศ


วิภวตัณหา-
ความปรถนาในความไม่มีไม่เป็น


""
ความพยาบาท มาจาก"ผัสสะ "

ถ้ามีคนเปล่งเสียงออกมา แล้วหูได้ยินเสียงนั้น

เกิดเวทนา๓
สุข๑
ทุกข์๑
อทุกขมสุข๑
_________
[เหตุพยาบาท ] ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาบาทธาตุ

ความดำริ[คิด]ในพยาบาท
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท

ความพอใจในพยาบาทบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริ[คิด]ในพยาบาท 

ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท 

การ
แสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท

 ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวง
หาพยาบาทย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ 
### 

##ผลของ กาม/พยาบาท/วิหิงสา
[๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง  ถ้าหากเขาไม่รีบ
ดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึง
ความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทาไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวน
อันบังเกิดขึ้นแล้วสมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน
ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้ )

##
ความหมายรู้ในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ

ความดำริในอัพยาบาท
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในอัพยาบาท
 ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความดำริในอัพยาบาท
 ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท

การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท 

อริยสาวกผู้ได้สดับ
เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓คือ กาย วาจา ใจ

##ผลของ เนกขัมมะ=ออกจากกาม
อัพยาบาท=ไม่อาฆาตแค้น
อวิหิงสา=ไม่คิดเบียดเบียน
[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขาจึงรีบดับ
คบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สัตว์ มีชีวิตทั้งหลายบรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่
ไม่พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบบรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวน
อันบังเกิดขึ้นแล้วเขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน
เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒ )
_________________
กรรมพยากรณ์

เกมกรรม

รักแท้มีจริง

23 กรฏฏา 2548 ออโต้

9 กันยา 2548 ฮาว

14 สิงหาคม 2546  บีม

1 ธันวาคม 2548 อุ๋ม

7 สิงหาคม 2547  อู้
__________
แสงดาวส่องทาง
star4life.com
________
ในโลกธาตุนี้
ล้วนมีแต่ธาตุที่มาทำให้มนุษย์มายัวให้มนุษย์ชวนหลง ขาดสติ
________
ทำอีก 63 แผ่น

แต่ถ้าเอาไว้วัด 30 เล่ม
__________"
บารมี30 (ไม่มั่นใจว่าคนเขียน จับถูกส่วนไหม ในพระไตรปีฏก)

ทาน (ปรมัต ทานได้แม้กระทั้งชีวิต)

ศีล (เป็นพยานาคยอมตายเพราะรักษาศีล)


เนกขำมะ (ออกบวชแม้ กระทั้งมีตัวดึงคือลูกคือเมีย ทั้งกามคุณ  ทั้งจะได้เป็นพระราชา)


ปัญญา (เคยใช้ปัญญาช่วยแก้ปัญาคน ที่จะโดนงูกัด จึงรอดเพราะปัญญาพระองค์)


วิริยะ (พระองค์ไหว้น้ำในมหาสมุท7วัน)


ขันติ (พระองค์ถูกพระราชา ตัดขา2ข้าง แขน2ข้าง ปลายจมูก และหู2ข้าง ด้วยธรรมขันติ)


สัจจะ  (ปรมัตคือพระองค์โดนจับ
จะถูกกินแต่ขอ ไปฟังธรรมพรามก่อนแล้วจะกลับมาให้กิน
เพราะเป็นคนเชิญพรามมา)


อธิฐาน ( พระเตมีใบ้ จะไม่กล่าว ไม่ผิดคำอธิฐาน เพราะไม่อยากตกนรก)


เมตตา (เมตตากับคนที่จับพระองค์ห้อยหัวลง
และจะฆ่าพระองค์)


อุเบกขา ( เพราะทนร้อน ทนหนาว ทนฝน)
________
จะได้ประโยชน์อะไร
ก็ถ้าไปเป็นเทวดา แล้วเพลิดเพลิน
ไม่มีประโยชน์หาสาระแก่นธรรมอะไรไม่ได้

ก็แล้วถ้าเป็นมนุษย์อยู่นี่
ไม่แสวงหาแก่นธรรม
จะไม่เป็นบุรุษเปล่าหรือ
โมฆะบุรุษ

ก็เมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้ายังปรากฏมีอยู
่และยังรู้แก่นธรรมที่สุดของพระองค
์ก็ทำไมไม เอาประโยชน์ที่สูงสุดที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้เปิดเผยไว้แล้ว
__________
พระอรหันต์ยังหัวเราะยิ้มได้

๙. อริยสาวกสูตรที่ ๑
             [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ...
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล  เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น,  เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี,  เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี,  เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี,  เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี,  เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี,  เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี,  เมื่ออะไรมี ภพจึงมี,  เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี,  เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ
             [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้  โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า  เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี,  เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,  เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี,  เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี,  เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี,  เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี,  เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี,  เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี,  เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี, เมื่อภพมี ชาติจึงมี,  เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี,  อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลก(หมายถึงทุกข์)นี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯ
             [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล  เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ  เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี  เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ฯ
             [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า  เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี  เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ  เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี  เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ  อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี  เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี  อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลก(หมายถึงทุกข์)นี้ย่อมดับอย่างนี้ ฯ
             [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและความดับไปแห่งโลก(หมายถึงทุกข์)ตามเป็นจริงอย่างนี้  ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง  เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง  เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง  เห็นสัทธรรมนี้บ้าง  เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง  เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง  เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง  เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง  ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. อริยสาวกสูตรที่ ๒
(เหมือนอริยสาวกสูตรที่ ๑  เพียงแต่กล่าวเริ่มต้นแสดงที่ อวิชชา)
             [๑๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ...
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล  เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น  เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี  เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี  เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี  เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี  เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี  เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี  เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี  เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี  เมื่ออะไรมี ภพจึงมี  เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี  เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ
             [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ หยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี  เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี  เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี  เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี  เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี  เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี  เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี  เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี  เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี  เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี  เมื่อภพมี ชาติจึงมี  เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี  อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯ
             [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมไม่มีความสงสัยอย่าง นี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่อ อะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นาม รูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่อ อะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ฯลฯ อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ฯ
             [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้สดับย่อมมีญาณหยั่งรู้ ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่ง นี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติ ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับ อย่างนี้ ฯ
             [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงทั้งเหตุเกิด และความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วย วิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
๑. ปริวีมังสนสูตร
             [๑๘๘] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณา พึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาคเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
             [๑๘๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่างๆ มากมาย เกิดขึ้นในโลก  ทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ  มีอะไรเป็นสมุทัย  มีอะไรเป็นกำเนิด  มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอแล  เมื่ออะไรมี ชราและมรณะ(ทุกข์)จึงมี  เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะ(ทุกข์)จึงไม่มี  
ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะ มีประการต่างๆ มากมาย เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ  มีชาติเป็นสมุทัย  มีชาติเป็นกำเนิด  มีชาติเป็นแดนเกิด  เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี  เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี  ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ ฯ (พึงพิจารณาในปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นสำคัญ)
             [๑๙๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ชาตินี้มี อะไรเป็นเหตุ  มีอะไรเป็นสมุทัย  มีอะไรเป็นกำเนิด  มีอะไรเป็นแดนเกิด  เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประ จักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทา อันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติ ธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย ประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ ฯ
             [๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ภพนี้มี อะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็สฬายตนะนี้มีอะไร เป็นเหตุ ฯลฯ   ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ   ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ  มีอะไรเป็นสมุทัย  มีอะไรเป็นกำเนิด  มีอะไรเป็นแดน เกิด  เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี  เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี  
ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็น กำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร   ดูกรภิกษุทั้งหลาย (ดังนั้นเมื่อ)บุคคลตกอยู่ในอวิชชา(แล้ว)ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ  ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป  ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา(คือ เกิดรูปภพ อรูปภพ ทั้งหลายในภพของปฏิจจสมุปบาทธรรม) ฯ
             [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น  เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน  ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  
ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา  
(แต่)ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา  
(และ)ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา,   
(กล่าวคือ)ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป   ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป   ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป   
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย   เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต(จึงหมายถึงภาวะสอุปาทิเสสนิพพานธาตุของพระอรหันต์ผู้ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่)   (และ)รู้ชัดว่าเวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้วจักเป็นของเย็น (เมื่อ)สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น(ใน)เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ (จึงหมายถึงภาวะอนุปาทิเสสนิพพานธาตุของพระอรหันต์ผู้ดับขันธ์ หรือสิ้นชีวิตแล้ว)
             [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึง(ย่อม)หายไป  (มีแต่)หม้อกระเบื้องยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย   เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต   รู้ชัดว่าเวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น  สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น(เหมือนดังหม้อ)เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
             [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุผู้ขีณาสพ  พึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง  ทำกรรมเป็นบาปบ้าง  ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้าง  หรือหนอ ฯ
             ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ  (กล่าวคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกรรมทั้ง ในดี ในชั่ว แม้ในสุขแต่ฌานสมาธิ ที่หมายถึง ไม่ยึดมั่นยึดถือแม้ดีชั่ว บุญบาป ฌานสมาธิ)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะสังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เพราะสังขารไม่มี  วิญญาณย่อมไม่ปรากฏขึ้นมา รู้แจ้ง ในสังขารนั้นๆ)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะวิญญาณดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. (เพราะวิญญาณดับ  นามรูปหรือชีวิตจึงยังไม่ครบองค์ของชีวิต  จึง)ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะนามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เพราะนามรูปยังดับอยู่  สฬายตนะจึงย่อมยังไม่ตื่นตัวขึ้นทำหน้าที่ของตน)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เพราะสฬายตนะดับอยู่  จึงย่อมไม่ครบองค์ของการผัสสะ)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ  (เมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้น  เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้น)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เมื่อเวทนาไม่มี  จะไปมีตัณหาในสิ่งใด!)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เมื่อตัณหาไม่มีหรือดับ  จะไปเกิดอุปาทานความยึดมั่นด้วยกิเลสเพื่อตน ในสิ่งใด!)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะอุปาทาน ดับ ภพพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เมื่ออุปาทานไม่มีหรือเกิดขึ้น  จะเกิดภพหรือที่อยู่ของจิตได้อย่างไร!)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะภพดับ ชาติ พึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ (เมื่อไม่มีภพที่อยู่อาศัยแล้ว  จะมีการเกิด[ชาติ]ขึ้นได้อย่างไร)
             พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะชาติดับ  ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ  (เมื่อไม่มีการเกิดหรือชาติปรากฏขึ้นแล้ว  จะมีการแปรปรวนและดับไปได้อย่างไร)
             [๑๙๕] ดีละๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้ อย่างนั้นเถิด
พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลง สงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. อุปาทานสูตร
             [๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ...
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ  เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน  เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ  เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ  เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ (เป็นการดำเนินไปในปฏิจจสมุปบาทธรรม)
             [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบ เล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้ง ในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่  ตัณหาย่อมดับไป เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบ เล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ ไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห่งในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะ สิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็น โทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๒
________________
ต้นโพธิ์หน้ากุฏีแปดแสน
มีเทวดาหญิงอยู่ ร่างกายสมบูรณ์ทุกส่วน
ไม่ผอมเลย
ไม่อ้วน เกือบจะอวบ
ก็คือสมบูรณ์

เทวดาหญิงนี้ เดิมที่ชาติก่อนจะตายมาเป็นเทวดาหญิง ตายตอนแกใส่ชุดขาว

น่าจะเคยเข้าวัดรักษาอุโบสถศีล
แล้วตายตอนแก
__________
เวทนาไม่ได้เกิดนอกกายนอกใจ

เวทนากายก็เกิดในกาย

เวทนาใจอาการของใจก็เกิดในใจ

การทำสมาธิ เป็นเหตุให้ เห็นสภาวะชัดละเอียด

เพราะการทำสมาธิมันคือการ ให้จิตตะล่อมอยู่ในกายหรือไม่ก็ใจ


เปรียบเหมือนบุรุษ
มาสำรวจหมู่บ้าน

ต่อมากาลภายหลัง
บุรุษนั้น ได้สำรวจซ้ำอีก จึงเห็นอะไรเพิ่มขึ้นอีก จากครั้งก่อยที่เคยมายังไม่เคยเห็นเคยสะดุดเลยก็มี
___________
บันทึกจิต
สภาวะอาการของจิต)

13:19  26อาการของจิตคือ แสบๆตามแขน มึนๆในหัว เหนื่อยๆเพียๆ


10:23 27อาการของจิตคือ
ง่วงๆซึมๆ ต้องการความสงบ


10:30 01อาการของจิตคือ
กระวนกระวายวาย ดิ้นๆ อยากหนีออกไป
(เพราะอยู่กับหญิงสองต่อสอง)


14:00 01อาการของจิตคือ
อยากเอาตัวรอด เห็นแก่ตัว


13:00 01อาการของจิตคือ
อยากเบ่งอยากโชว์ อยากโชว์กิเลส กิเลสคาบไปกิน


16:00 01อาการของจิตคือ
ราคะย้อม ใคร่ผูกพันธ์กับเด็กสตรีหญิง
________
บุคคลนั้นเป็นคนลักษณะ
ที่เวลารู้อะไรที่เป็นประโยชน์ อยากให้คนอื่นเขารู้ประโยชน์ความจริงนั้นตาม
โดยไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย


เพราะหวังแค่อยากจะให้เขาได้รู้


(แต่เมื่อกำลังทำไป จะมีความคิดขึ้นยั่งว่า
ตัวเองยังไม่ปลอดภัย
ต้องติดงาน"

ความคิดก็จะดิ้นขึ้น "อยากจะหลุดพ้นๆ หลุดออกจากพรรธนาการวุ่นวาย


เบื่อ..

อยากมุ่งทำสมาธิ บำเพ็ญ สมถะวิปัสนาอย่างตรงทางพระนิพพานเสียที 




แต่ลึกๆมามองย้อนดูแล้ว
จิตที่มันอยากให้คนอื่นรู้ความจริง
เป็นจิตที่อนุเคราะห์ อยากให้เขารู้

จึงเกิดการทำCD

แต่พอทำไป รู้สึกขึ้น ว่า สติตัวรู้ดับ

มันยิ่งอยากจะหลุดพ้น บำเพ็ญสมาธิ วิปัสนาแต่ทาเดียว



##
คนแบบนี้ถ้าบรรลุอรหันต์แล้ว

ถ้ามีศิษย์จะมุ่งมั่นอยากช่วยให้ศิษย์เข้าใจรู้ความจริงมาก

จะไม่เห็นแกเหน็ดแก่เหนื่อย

จะไม่มีความคิดว่า ยังไม่ปลอดภัยมายัง ถดถอดใจ

เพราะบรรลุอรหันต์

#


แต่ ถ้าบารมียังไม่ถึง
ก็ต้องทำแบบนี้หรือเปล่า?

แต่เมื่อก่อนก็เห็นแต่พระพุทธเจ้าบอกภิกษุ แค่ทำทำวินัยและธรรม แค่นั้น ตามหน้าที่ สมาธิ วิปัสนา
___________
ความรู้มีไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางช่วยให้พ้นจากทุกข์
ไม่ได้มีไว้อวด ยกย่อยกย่อง ชูหน้าชูตากิเลส เบ่งกิเลส
เบ่งอวิชชา โชว์โง

่ความรู้สุตะ มีไว้กำจัด ความไม่รู้ในสุตะ ไม่รู้ในแนวทาง ความสำเร็จในการพ้นทุกข์

จำไว้ ว่าไม่ได้มีไว้เบ่งกิเลส โชว์โง่ อวดโง่ ตัวโง่ตัวใหญ่ๆ คือเบ่งกิเลส
________
กายคตาสติ รู้ลม รู้ปัจจุบัน
หรือ กาย เวทนา จิต ธรรม
ิอยู่กับอุเบกขา หรืออยู่กับผู้รู้เฉยๆ
หรือเห็นความไม่เที่ยงความดับไป

วิญญาณเกิดดับตลอดเวลา
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งอุเบกขาให้มาก
สร้างความคุ้นเคยกับอารมณ์อันนี้
อย่าไปสร้างความคุ้นเคยกับความพอใจ/ไม่พอใจ
อย่าไปสร้างความคุ้นเคยกับอดีต อนาคต ให้วางนะ
อยู่กับปัจจุบันให้มาก
สร้างความคุ้นเคยอยู่กับปัจจุบันให้มาก

#รู้สึกถึงอาการของจิตในปัจจุบัน




การนั่งสมาธิกายต้องสงบระงับ
วสจาสบง
จิตสงบ
รู้จักจิตสังขารปรุงแต่ง
(คิดว่าแล้วจิตตะสังขารจะระงับเอง)
แล้วทำจิตสังขารให่ระงับ

###
สมัยใดสติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วเป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
เราตั้งอะไรไว้ละ?
ถ้าเราตั้งไว้ลมหายใจ
ก็ ธรรมชาติไม่ลืมหลงในลมหายใจ

ถ้าตั้งอุเบกขาก็อย่าลืมอุเบกขา

เราตั้งอะไรไว้ กายเวทนาจิตธรรมอย่ลืมตัวนั้น

ถ้าตั้งไว้ซึ่งจิตผู้รู้ก็อย่าลืมผู้รู้

ภิกษุนั้นย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้นย่อมทำการใคร่ครวนธรรมนี้นด้วยปัญญา

ไม่ต้องไปใครครวนอะไร
ใคร่ครวนอยู่กับลมหายใจที่เข้าออกนี้แหละ ที่จิตรู้ลมหายใจเข้าออก
แค่รู้ลมหายใจ ธรรมก็จะไล่มาตามลำดับ
ถึงวิชาวิมุตเอง
_________
นั่งสมาธินั้น เขานั้งเพื่อให้เห็นสภาะต่างๆที่ปรากฏได้ชัด
เห็นอาการของจิตได้ชัด
เห็นเวทนา ๓ ได้ชัด
สุขเวทนา
ทุกข์ดวทนา
อทุกขมสุขเวทนา

และเพื่อให้จิตมีกำลัง พิจารณกายใจ

(พระพุทธเจ้าตรัส
เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วจิตจะมีกำลัง
เมื่อมีกำลังแล่วน้อมจิตไปในธาตุเอนกปริยาย เรื่องต่างๆจะแทงตลอดด้วยดี)
___________
ดู "อ.สมภพ โชติปัญโญ นิทานชาดกสำหรับเด็ก" บน YouTu

https://www.youtube.com/watch?v=kKj_v_L8lp8&feature=youtube_gdata_player
_______
ทุกขวรรคที่ ๖
๑. ปริวีมังสนสูตร
[๑๘๘] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ด้วยเหตุเท่าไรหนอแลภิกษุเมื่อพิจารณา พึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ
ทั้งปวงภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาค
แล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เมื่อพิจารณา
ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือ[แก่]ชราและมรณะ[ตาย]มีประการต่างๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้มีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย[ต้นเหตุ] มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมี [แก่]ชรา
และมรณะ[ตาย]จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า
ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่างๆ มากมาย เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติ
เป็นสมุทัย[ต้นเหตุ] มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมีเมื่อชาติไม่มี
ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดชราและมรณะ
ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวงเพื่อ
ความดับแห่งชราและมรณะ
[๑๙๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ชาตินี้มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี
ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพ
เป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิดเมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อม
รู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์
ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรม
อันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อ
ความดับแห่งชาติ ฯ
[๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
 ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้น
เมื่อพิจารณาย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มีสังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้
ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขารย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้
ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประ
พฤติธรรมอันสมควรภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ
ทั้งปวงเพื่อความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็น
บุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป ถ้าสังขาร
ที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ
[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ใน
กาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอก
อวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำเมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
 ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า
สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวย
ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลิน
แล้วด้วยตัณหาถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด
ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนาก็วางใจเฉย
เสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนา
ที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหา
ไม่เพลิดเพลินแล้วจักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต
 เพราะความแตกแห่งกาย ฯ
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อวางไว้ที่พื้นดิน
อันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้ง
ปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้า
ตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุผู้ขีณาสพพึงทำ
กรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้างหรือหนอ ฯ
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับวิญญาณพึง
ปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ นามรูปพึง
ปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับสฬายตนะ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ
พึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับเวทนาพึง
ปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับตัณหาพึงปรากฏ
หรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับอุปาทาน
พึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ ภพพึง
ปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึงปรากฏหรือ
หนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะพึง
ปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
[๑๙๕] ดีละๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด
พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็น
ที่สุดทุกข์ ฯ
จบสูตร ๑

๒. อุปาทานสูตร
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง
สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง
 และใส่ไม้แห้ง ในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น
มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ
เนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับไป เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับเพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง
สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง
และไม่ใส่ไม้แห่งในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น ไม่มี
อาหาร พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เมื่อเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับฉันนั้นเหมือน
กัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
จบสูตร๒

๓. ปฐมสังโยชนสูตร
[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษพึง
เติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ประทีปน้ำมันนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย  อันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับเพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึง
เติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มี
อาหารพึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
เห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือน
กัน เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
จบสูตร ๓

๔. ทุติยสังโยชนสูตร
[๒๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมัน
พึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้นมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลแม้ฉันใด
 ภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่
ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษไม่เติม
น้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหาร
พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
โทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ปฐมมหารุกขสูตร
[๒๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
ความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆรากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น
พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี
อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับเพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่อย่างนั้น ที่นั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะมา
 ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น
บุรุษนั้นพึงทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้วเจียกให้เป็นชิ้นๆ ครั้นเจียก
ให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลมตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผา
แล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำมีกระแส
อันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ใน
ธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. ทุติยมหารุกขสูตร
[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลายเมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหา
ย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๒๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ
มา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้วคุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝก
ขึ้น ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวเมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดเอารากขึ้น
แล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วนถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้  ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. ตรุณรุกขสูตร
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
[๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่ บุรุษพึงพรวนดินใส่ปุ๋ย รดน้ำเสมอๆ
 ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ
มา ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ต้นไม้อ่อนนั้น ถูกตัดเอารากขึ้น
แล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายเมื่อ
ภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้น
เหมือนกันเพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. นามรูปสูตร
[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง
 เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น
พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่นามรูปก็หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ
มา ฯลฯ ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลงฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๘

๙. วิญญาณสูตร
[๒๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็หยั่ง
ลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ ฯลฯแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่
 วิญญาณก็หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ
มา ฯลฯ ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. นิทานสูตร
[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
 ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วได้กลาบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบาทนี้
เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ
แก่ข้าพระองค์ ฯ
[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ดูกรอานนท์
เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้
ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้าย
ที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ฯ
[๒๒๖] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีชาติเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๗] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อม
ดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น
พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
 อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๘] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับเพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
 ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๙] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะมา
ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น
บุรุษนั้น ทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว เจียกเป็นชิ้นๆ ครั้น
เจียกให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดดครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้น
เอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่าครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำมี
กระแสอันเชี่ยวก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้น
แล้วถูกทำให้เป็น ดั่งตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ
ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญ
ก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกาย
นั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้างปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็น
ต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้
ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา  ดังนี้
ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น
ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอัน
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดย
ความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
เมื่อดำรงอยู่   ปีหนึ่งบ้าง   สองปีบ้าง   สามปีบ้าง   สี่ปีบ้าง   ห้าปีบ้าง   สิบปีบ้าง
 ยี่สิบปีบ้าง   สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง
ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืน และกลางวัน
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
 ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุม
แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุป
บาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็น
ปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
 เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้  ย่อมหน่าย
แม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑



๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒
[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคตัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า


๔. เวทนาสูตร
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล 
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะภิกษุว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ
มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ
[๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะเป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส ความต่าง
แห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. โนเวทนาสูตร
[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ
ต่างแห่งเวทนาหามิได้ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้
ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
[๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น  เพราะอาศัยความต่าง
แห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะความต่างแห่งผัสสะ
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ
ต่างแห่งผัสสะหามิได้ เป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชา
เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา
หามิได้ จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้ ฯลฯ มโน
__________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น