วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธีmp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธีAudio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรีหลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้วแต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกันเห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดูแล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่นCD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖File: 511221.mp3ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี


mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี
Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี
หลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้ว
แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์
พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้
เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่
เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้
อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกัน
เห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดู
แล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น