วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสรู้ในอดีตกาลอันยาวนานหาที่สุดไม่ได้

หมวดหลัก > พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี
พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสรู้
ในอดีตกาล
(1/10) > >>
Webmaster :
พระอดีตวงศ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ได้มาตรัสรู้ในอดีตกาลอันยาวนานหาที่สุดไม่ได้
พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า จำนวนพระพุทธเจ้ามีมากมาย
กว่าจำนวนเม็ดทรายในมหาสมุทร
Webmaster :
ขอนำเสนอเรื่องราวของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึงในอดีตที่
เป็นที่รู้จักกันดี
เรื่องของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
และที่เกี่ยวข้องกับสุเมธดาบส(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันครั้งยัง
เป็นพระโพธิสัตว์)ขอนำเสนอเป็นพุทธบูชา
ในที่สุดสี่อสงไขยด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี
ในนครนั้นมีพราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี
มีครรภ์อันบริสุทธิ์ทั้งทางฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่ว
ตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ
มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา
ไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์
บิดาและมารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม
ต่อมา อำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำเอาบัญชีทรัพย์สินมา
เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น บอก
ให้ ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สิน
เท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและ
ทวดแล้วเรียนว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่
เป็นต้น ของเราสะสมทรัพยนี้ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะ
ถือเอาทรัพย์แม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วยหามีไม่
แต่เราควรกระทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้
แล้วกราบทูลแด่พระ ราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร
ให้ทานแก่มหาชนแล้วออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้
ความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธ
กถาไว้ในที่นี้ด้วย แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่
เพราะเล่าเรื่องประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก
เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจักกล่าวพร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์
เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่องสงไขยยิ่ง
ด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร
อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ใน
พุทธวงศ์ ว่า
ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร
เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ
อึกทึกไปด้วยเสียง ๑0 เสียง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า
อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้คือ เสียงช้าง เสียงม้า
เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์
เสียงกังดาล เสียงที่ ๑ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือ
เอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียง เหล่านั้นจึงกล่าวคาถานี้ไว้
ในพุทธวงศ์ว่า
กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์และเสียงรถ
เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม
แล้วกล่าวว่า
พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ เข้าถึงความ
เป็นพระนครที่มีสิ่งที่ต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ
ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชนต่างๆมั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัย
อยู่ของเหล่าผู้มีบุญ พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้น
ได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน
ทรงมนต์ ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์
ในลักขณศาสตร์ อิติศาสตร์ และ สัทธรรม
ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ
พื้นปราสาทชั้นบนนั่งขัดสมาธิคิดว่า
นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีกชื่อว่าการ ถือปฏิสนธิเป็นทุกข์
การแตกดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้วก็เป็นทุกข์เช่นกัน
และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่ธรรมดา มี
ความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา ควรที่เราผู้
เป็นเช่นนี้จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่ มีทุกข์
มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้น
จากภพมีปรกตินำไปสู่พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเข้าไปสู่ที่เร้นนั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิด
ใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับของสรีระก็เป็น
ทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มี
ความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจักแสวงหา
พระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม ไฉนหนอเราพึง
ไม่มีเยื่อใย ไร้ความต้องการทิ้งร่างกายเน่าซึ่งเต็มไป
ด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสียได้แล้วไปทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทาง
นั้นอันใครๆไม่อาจที่จะไม่ให้มีได้ เราจักแสวง
หาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้ ดังนี้
ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่
เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่แม้ สิ่งที่ปราศ
จากภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อ
ความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะระงับความร้อนนั้น ต้องมีฉันใด
แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้นก็พึงมีฉันนั้น ธรรมที่
ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอัน ลามก ย่อมมี
อยู่ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความ
ไม่เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉัน นั้น ดังนี้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อภพมีอยู่
แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อความร้อนมี
อยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมีฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่
พระนิพพานก็ควรปรารถนาฉันนั้น เมื่อ
สิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมี ฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้ความ
ไม่เกิด ก็ควรปรารถนาฉันนั้น ดังนี้
ท่านยังคิดข้ออื่นๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระ
ใหญ่ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่แสวงหาสระนั้น
คิดว่า เราควรจะไปที่สระนั้นโดยทางไหนหนอ การ
ไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่ แต่เป็น
ความผิดของบุรุษ นั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพาน
เป็นที่ชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็น
ความผิดของสระ ใหญ่คืออมตนิพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้น
เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม
เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้า เขาไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทาง
ไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้นฉันใด บุรุษ
ผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็น
เป็นที่สู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็น
ความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น เท่านั้น ฉัน
นั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษา
ความเจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รัก ษา
ความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอไม่ แต่เป็น
ความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่
แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็น
ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์
ผู้ทำกิเลส ให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกันดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า
บุรูษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหา
เป็นความผิดของสระไม่ฉันใด เมื่อ
สระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขา
ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระคืออมตะ
ไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน
คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็น
ความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส
กลุ้มรุม เมื่อทาง ปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็น
ความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน
คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้รักษาความเจ็บป่วย
นั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอ
นั้นไม่ ฉันใด คน ผู้ได้รับทุกข์ความเจ็บป่วยคือกิเลสเบียดเบียนแล้ว
ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิด
ของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น เหมือนกัน
ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่นๆ อีกว่า คน
ผู้ชอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉัน
ใด แม้เราก็ควร ทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มีอาลัย
เข้าไปสู่นิพพานนครฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระ
และปัสสาวะรดบนพื้นที่อันสกปรกแล้ว
ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจไม่อาลัยเลย
กลับทิ้งไปเสียฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย
เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะฉันนั้น และนายเรือ
ไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไปฉันใด แม้เราก็จะละกายอัน
เป็นที่หลั่ง
ไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้ ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี
ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไปพร้อมกับโจร
จึงละทิ้งพวกโจร เหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตน
ถือเอาทางปลอดภัย ฉันใด กรชกาย ( กายที่เกิดจากธุลี ) แม้นี้
ก็ฉันนั้นเป็นเช่นโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้
แก้วคือพระธรรมอันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะ
นั้นควรที่เราจะละทิ้ง กายอันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้ว
เข้าสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่าน จึงกล่าวว่า
บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้ว
อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด คนก็ควร
ละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่าง
ไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไรฉันนั้น
ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้งไปอย่าง
ไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจะ
ละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป
เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไปฉะนั้น
เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มี
ความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจัก
ละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์
เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉะนั้น
บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะเกิดจากการตัดห่อของ
จึงทิ้งแล้วไปเสียฉันใด กายนี้เปรียบ เหมือนมหาโจร
เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน
สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ
แล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือน ของตน
แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเกิดทางไกลเป็นต้น
ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทานละวัตถุกาม
และ
กิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภู
เขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลา
และที่ จงกรมเนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสีย
จากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่
ประกอบด้วนเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่างตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัย
เป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ และละทิ้งผ้าสาฎกที่
ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการไว้ในอาศรมบทนั้น
แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการบวช
เป็นฤาษี ท่านเมื่อ บวชแล้วอย่างนี้ ก็ละบรรณศาลานั้น
ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปทางโคนต้นไม้
ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑0
ประการ เลิกละข้าวต่างๆอย่างทั้งปวง
หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเองจากต้น เริ่มตั้งความเพียร
ด้วยอำนาจการนั่งการยืนและ
การเดินจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘
ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้นด้วย
ประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิ
แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่
ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดี
ไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิต ที่จงกรมเว้น
จากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น เรา
ได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ เราเลิกใช้ผ้า
สาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ
หันมานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๙ ประการ
เราเลิกละบรรณ ศาลาที่กล่นเกลื่อนไปด้วยโทษ ๘ ประการ
เข้าสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑0 ประการ
เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ ปลูกโดยไม่มีส่วนเหลือเลย
หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ
เราเริ่มตั้งความเพียร ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น
ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา ดังนี้
Webmaster :
เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไป
ด้วยสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร
เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้
และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้
ทั้งสิ้นหวั่นไหวสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒
ประการปรากฏขึ้นแล้ว สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไป
ด้วยสุขอันเกิดแต่ สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่
ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มี
ความชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรงพระ
นามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์ทรงถือกำเนิด
เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบ อิ่มด้วย
ความยินดีในฌาน มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ เลย
ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร
มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จ
ถึงนครชื่อ รัมมกะ เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร
พวกชาวรัมมกนครได้ข่าวว่า
ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่
กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง
ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ
เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหา วิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใส
และเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่มห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้
เป็นต้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพา
กันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม
บูชาด้วยของหอม
และดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนา
แล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พากันลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว
หลีกไป ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน
ประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล
ในที่มีน้ำเซาะ
ก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสี ดังแผ่นเงิน
โปรยข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วย
ผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้ เรียงราย
เป็นแถว ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตน มา
โดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวก
เขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ
ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากัน
ประดับประดาทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคต ในเขตแดนแห่งปัจจันตประเทศ
แล้ว พากันชำระสะสางทางเสด็จ ดำเนินมาของพระองค์ สมัย
นั้นเราออกไปจากอาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ที
นั้นก็เหาะไปทางอากาศ
เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่างปราโมทย์
จึงลงจากท้องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันทีว่า
มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวก
เขาชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร
พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร
พระทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว
ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา
แล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะ
เป็นที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
สุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำ ประกาศว่า พระพุทธเจ้า ก็หา
ได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า
แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์
เหล่านี้ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย ท่าน
จึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ
ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระ
พุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง
แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวก
เขาก็รับปากว่า ดี
แล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะ
ให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอา
ปีติซึ่งมีพระ พุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถ
จะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็ไม่ยินดีนัก
วันนี้
เราควรจะ กระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลง
ในที่ว่างนั้น เมื่อที่ว่างแห่งนั้นยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพล
ทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก
สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้
เสด็จ
เยื้องกรายบนพื้น มโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้
ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้ว
นั้น สุเมธดาบส ลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพล
ผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วย
พระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงาม
ด้วยพระอนุพยัญชนะ ( ลักษณะส่วนประกอบ ) ๘0 ประการ แวดล้อม
ด้วยแสงสว่าง ประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖
ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้น
ท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบไปมาเป็นคู่ๆ กัน
จึงคิดว่า วันนี้เราควรกระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล
เพราะ
ฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม
แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนเหมือน
ทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจัก
เป็นเพื่อประโยชน์เพื่อควมสุขแก่เราตลอกกาลนาน ดังนี้
แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎา
และผ้าเปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ
นอนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าว
ว่า
พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า พระพุทธเจ้า
ผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายกทรง พระนามว่า ทีปังกร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พวกเขาแผ้วถางถนนหนทางเพื่อพระองค์
ปีติเกิดขึ้นแล้วแก่เราทัน ใดเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ
เราเมื่อกล่าวอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืนอยู่
ในที่นั้นยินดี มีใจ เกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจักปลูกพืชไว้ที่นั้น
ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า ถ้าพวกท่านจะแผ้วถางหน
ทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา
แม้เราก็จักแผ้วถาง ถนนหนทาง ทีนั้นพวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่
เราเพื่อจะแผ้วถางทางได้
เวลานั้นเรากำลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้วถางทาง
เมื่อที่ว่างของเราทำไม่เสร็จ พระมหามุนีทีปังกร ผู้เป็นพระชินเจ้า
พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศ
จากมลทินเสด็จดำเนินมาทางนั้น การ ต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น
กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนเหล่าเทวดาล้วนร่าเริง
ต่างทำเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์
และพวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวก
นั้นต่างประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคต ไป
เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศก็โปรยปรายดอกมณฑารพ
ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคนที่
อยู่พื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม
ดอกกากระทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว ทุกทิศ
เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือ ในที่
นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระพุทธเจ้าพร้อม
ด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อ
นั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เรา ดังนี้
สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั่นแล ลืมตา
ทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึง
ต้อง
การ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะ
เข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส
ด้วยเพศที่ใครไม่รู้
จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึง
เป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง
แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้
มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานในภายหลัง
ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจากนั้นประมวลธรรม ๘
ประการกระทำ
ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า
แล้วนอนลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
วันนี้เมื่อเราปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมี
ประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่นี้
ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณจัก
เป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
ด้วยลูกผู้ชาย ผู้มีรูปร่างแข็งแรงข้ามฝั่งไปคน เดียว
เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วจักให้มนุษย์พร้อม
ทั้งเทวดาข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลายภพ
ทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง
ดังนี้
ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่
ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม
๘ ประการ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑
การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ การสมบูรณ์ด้วยคุณ ๑
การกระทำยิ่งใหญ่ ๑ ความพอใจ ๑
จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในภาวะแห่งความ
เป็นมนุษย์นั่นแหละปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
ความปรารถนาย่อม สำเร็จ ความปรารถนาของนาค ครุฑ
หรือเทวดาหาสำเร็จไม่ ในภาวะแห่งความเป็มนุษย์เมื่อ
เขาดำรงอยู่ในเพศบุรษเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ
ความปรารถนาของหญิงหรือบัณเฑาะก์กระเทย
และอุภโตพยัญชนก (คนมีทั้งสองเพศ) ก็หาสำเร็จไม่
แม้สำหรับบุรุษความปรารถนาของผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุที่บรรลุอรหัต
แม้ในอัตภาพนี้เท่านั้นจึงสำเร็จได้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้
สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุถ้าเมื่อปรารถนา
ในสำนักพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ
เมื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว เมื่อปรารถนาในที่ใกล้เจดีย์
หรือที่โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่ แม้เมื่อปรารถนา
ในสำนักของพระพุทธเจ้า ความ
ปรารถนาของผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสำเร็จ
ผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์หาสำเร็จไม่ แม้เป็นบรรพชิต ความ
ปรารถนาของผู้ที่ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เท่านั้นจึง
จะสำเร็จ ผู้ที่เว้นจากคุณสมบัตินี้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้
ผู้ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณแล้วก็ตาม ความปรารถนาของผู้ที่
ได้กระทำบริจาคชีวิตของตนแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยการกระทำอันยิ่ง ใหญ่นี้เท่านั้น จึงจะสำเร็จ
ของคนนอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่ง
ใหญ่แล้วยังจะต้องมีฉันทะอันใหญ่ หลวง อุตสาหะ ความพยายาม
และการแสวงหาอันใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้าอีก ความปรารถนา จึงจะสำเร็จ คนอื่นนอก
จากนี้หาสำเร็จไม่
ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้ ก็ถ้าจะพึง
เป็นไปอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตน
ข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ที่เป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้
ผู้นั้นย่อมบรรลุควาเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือว่า ผู้ใดเดินด้วย เท้า
สามารถที่จะเหยียบย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่
แล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือ ว่าผู้
ใดปักดาบทั้งหลายลงแล้วเอาเท้าเหยียบห้วงจักรวาลทั้งสิ้น
ซึ่งเต็มไปด้วยฝักดาบสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความ
เป็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้เหตุหนึ่งว่า
เป็นของที่ตนทำได้ยาก คิดแต่ว่าเราจักข้ามไปหรือไปถึงเอา
ซึ่งฝั่ง ข้างหนึ่งจนได้ ดังนี้ เข้าผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ประกอบ
ด้วยฉันทะอุตสาหะความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่
ความปรารถนา ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่
ก็สุเมธดาบสแม้จะประมวลธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ยัง
ความปรารถนาอย่างยิ่ง
ใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง ฝ่ายพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะ
ของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์
ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่า เปิดอยู่
ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี
ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า
ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ
ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสง
ไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เข้าจักได้
เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ยังประทับยืน
อยู่นั่นแหละทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงดูดาบส
ผู้มีตบะสูงนี้ ซึ่งนอนอยู่บนเปือกตม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
เห็นแล่วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสนี้กระทำ
ความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้ว
ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วย
แสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าพระโคดม ก็
ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัย
พระเทวีพระนามว่ามายาเป็นพระมารดา
พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระราชบิดา
พระเถระชื่ออุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง
พุทธอุปฐากชื่ออานนท์ พระเถรีนามว่าเขมาเป็นอัครสาวิกา
พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาเป็น อัครสาวิกาที่สอง
เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้ง
ความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสตถพฤษ์
ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก
ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ประทับยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเราว่า
พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฎิลผู้มีตบะสูงนี้ เขาจักได้
เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปที่นับไม่ ถ้วนแต่กัปนี้ เขาเป็นตถาคต
จะออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร
กระทำทุกกิริยา นั่งที่โคน
ต้นอชปาลนิโครธประคองข้าวปายาสไปยังแม่น้ำเนรัญชราในที่
นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น ทรงถือข้าวปายาสไป
ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จถึงโคนต้นโพธิ์โดยทางที่เขาแต่งไว้ดี
แล้ว ลำดับนั้นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมียศใหญ่
มิมีใครยิ่งกว่ากระทำประทักษิณโพธิมณฑลแล้ว
จักตรัสูรู้ที่โคนต้นโพธิ์ พระมารดาผู้เป็นชนนีของเขาจักมีนามว่า
มายา พระบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ เขาจักมีนามว่า
โคดม พระโกลิตะและอุปติสสะจักป็นอัครสาวก ผู้หา อาสวะมิ
ได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตอันสงบตั้งมั่น
อุปฐากนามว่าอานนท์จักเป็นอุปฐากพระชินเจ้านั้น นางเขมา
และนางอุบลวรรณาจักเป็นอัครสาวิกา ผู้หาอาสวะมิได้ปราศ
จากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักเรียกกันว่า อัสสัตถพฤษ์ ดังนี้
สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า นัยว่า
ความปรารถนาของเราจักสำเร็จดังนี้ มหาชน
ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพล ทีปังกรแล้วต่างได้พา
กันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า
เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้าและพวกเขาเหล่า นั้นก็ได้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่
สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด
แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผล
ในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลนั้นพวกเราพึง
สามารถกระทำให้
แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่านดังนี้ ต่างพากันตั้ง
ความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์
ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือ ทรงกระทำประทักษิณ
แล้วเสด็จหลีกไป แม้พระขีณาสพนับได้สี่แสนต่างก็พา
กันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้
กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอน
ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้วคิดว่า เราจักตรวจตราดูบารมี
ทั้งหลาย ดังนี้ จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้
เมื่อพระโพธิ์สัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่น จักรวาลทั้งสิ้นได้
ให้สาธุการกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าสุเมธดาบส
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลายนั่งสมาธิด้วยคิดว่า
เราจักตรวจตราบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุพรนิมิตเหล่าใด
จะปรากฏ บุรพนิมิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ในข้อนั้น
นิมิตเหล่านั้นปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วน
เดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่นดังนี้
กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำสรรเสริญนานาประการ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
คนและเทวดาได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้หาเสมอมิได้
ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ต่างยินดีว่า ดาบสนี้เป็น พืชและ
เป็นหน่อพระพุทธเจ้า เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมเทวดา
ในหมื่นโลกธาตุต่างปรบมือหัวเราะร่า ต่าง
ประคองอัญชลีนมัสการ
ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถ ก็จักมี
อยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาลไกลใน อนาคต มนุษย์เมื่อ
จะข้ามฝั่งพลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้ก็จะถือเอาท่าข้าง
ใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ต่อไปได้ฉันใด พวก เราแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ถ้าพ้นพระชินเจ้านี้ไปก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาล
ไกลในอนาคต พระพุทธ เจ้านามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ทรงกำหนดกรรมของเราไว้แล้ว
จึงทรงยกพระบาท เบื้องขวาเสด็จไป พระสาวกผู้
เป็นพระชินบุตรเหล่าใดได้มีอยู่ในที่นั้น เหล่านั้นทั้งหมด
ได้ทำประทักษิณเรา คน นาค คนธรรพ์ ต่างกราบไว้แล้วหลีกไป
เมื่อพระโลกนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์ล่วงทัศนวิสัยของเราแล้ว
มีจิตยินดี และร่าเริง เราจึงลุกขึ้นจากอาสนะในบัดนั้น ครั้ง
นั้นเราสบายใจด้วยความสุขบันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วม
ท้นด้วยปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่ ทีนั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิด
ได้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยม
ในอภิญญาแล้วในโลกตั้งพันฤาษีที่เสมอกับเราไม่มี เรา
ไม่มีใครเสมอในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่ง
ขัดสมาธิของเรา เทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่
ในหมื่นจักรวาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน นิมิตใดจะปรากฏ
ในการนั่งสมาธิของพระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่า
นั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ความ หนาวก็เหือดหาย
ความร้อนก็ระงับเหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ ปราศจากเสียง ไม่มี
ความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำลำคลองก็ไม่ไหล
เหล่านี้ปราฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้
ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิด ในน้ำ ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด
ดอกไม้ทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในอากาศ
และตั้งอยู่ในพื้น ดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใดรัตนะแม้เหล่า
นั้นก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดนตรี
ทั้งของมนุษย์ และเป็นทิพย์ต่างบรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่าง
นั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้อง
ฟ้ามีดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้นก็ปรากฏ
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง
โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศ
จากเมฆหมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านั้นก็ปรากฏ
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่นอน น้ำพุ่งประทุขึ้น
จากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้น้ำก็ประทุขึ้นในทันใดนั้น
ท่านจักเป็นพระ พุทธเจ้าแน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสวในท้องฟ้า
พระจันทร์ก็ประกอบวิสาขฤกษ์ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรงอาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างออกมาจากที่
อยู่ของตน วันนี้แม้สัตว์เหล่านั้นก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่าน จัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
เขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ ถือสันโดษ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นโรคทั้งหลายก็สงบระงับ
และความหิวก็พินาศไป วันนี้ก็ปรากฏ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นราคะก็เบาบาง
โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้นทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ
พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ
พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่าง
มีแต่กลิ่นทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ
วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั้งหมดก็มองเห็นได้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่านรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็น
ได้ในทันใด แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่
เป็นเครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลาย เป็นว่างหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ ไม่มีในขณะนั้น
วันนี้นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความเพียรให้มั่นอย่า
ได้ถอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวกเราก็รู้ข้อนั้น ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังนี้
พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลปีทังกร
และถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดย
ประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มีเป็นอย่าง
อื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก
สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น
ราชสีห์ ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลืสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่
จะต้องปลดเปลื้องภาระ [ คลอด ] เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่
แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม
เป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดังนี้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่นจักรวาล
ทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง
ยินดีปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัสเป็นสอง
มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัส
ไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ก้อนดิน
ที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอนฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอน
และเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐนั้นก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์ที่มีครรภ์จะ
ต้องเปลื้องภาระ [ หญิงมีครรภ์จะต้องคลอด ]
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ดังนี้
Webmaster :
สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า
ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหริอ
เบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็น ทานบารมีข้อที่ ๑
ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึง
กล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม
เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่
คว่ำแล้วย่อมคายน้ำออกไม่เหลือไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด
แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย
ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้มี
ส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่าน
ได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า
เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้องต่ำ ตลอด สิบทิศ ตราบ
เท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็น
ทานบารมีที่เป็นทางใหญ่เป็นข้อแรก ที่ท่าน ผู้แสวงหาคุณ
ใหญ่แต่เก่าก่อนประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจึงยึดทานบารมีข้อที่
๑ นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็น ทานบารมี
หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใด
ผู้หนึ่งคว่ำลงก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษาไว้ แม้ฉันใด
ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง จง
ให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือน หม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด
ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็น
ศีลบารมีข้อที่ ๒ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยม
เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต
รักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้ท่านก็
ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้า
ได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ ญาณ ครั้ง
นั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ศีลบารมีข้อที่ ๒ ที่ท่าน
ผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็น ประจำ
ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความ
เป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ
บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตามก็จะยอมตาย
ในที่นั้น ไม่ยอมให้หางหลุดลุ่ย ฉันใด ท่านจง บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์
ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีลในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉัน
นั้นเถิด ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ได้มีความคิดว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมบารมี
ให้เต็มเปี่ยม
เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำ
นั้นเลย โดยที่แท้เขารำคาญอย่างเดียว และไม่อยากอยู่เลย
ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นเรือนจำ
รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช
ฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม โพธิญาณ คราว
นั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่าน
ผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ
ท่านจงยึดเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความ
เป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เกิดความยินดี
ในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปถ่ายเดียวฉันใด
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้งหน้ามุ่งต่อการออกบวช
เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นๆไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้มีบริบูรณ์
ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว
ชั้นปานกลางชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตมิได้เว้นตระกูลไรๆ
ในบรรดาตระกูลที่ แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น
เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน
ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหา
บัณฑิตแล้วไต่ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่น เพราะเหตุ
นั้นท่าน จึงกล่าวว่า
ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก
ในกาลนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ปัญญาบารมีข้อที่ ๔
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือ
ปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำ
ให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หากท่าน
ปรารถนาที่จะบรรลุพระโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขา
ไม่เว้นตระกูลสูงปานกลางและต่ำย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพ
โดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชน
ผู้รู้ตลอดกาลทุกเมื่อ ถึงความ
เป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิญาณ ได้ ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น วิริยบารมีข้อที่ ๕ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริยบารมีให้มีบริบูรณ์ให้เต็ม
เปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยาฤคราชเป็นสัตว์มี
ความเพียรมั่นในทุกอริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มี
ความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้
เขาได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุ
นั้นท่านจึง กล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติ
เป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึง
ความเป็นวิริยบารมี หาก
ท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยามฤคราชมี
ความเพียรไม่ย่อหย่อนมีใจประคับประคองตลอดเวลา ฉันใด
ท่านประคองความเพียรให้มั่นในภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมี
แล้ว จักบรรลุโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือน กัน ดังนี้
ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น ขันติบารมีข้อที่ ๖ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็น
ผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า คน
ทั้งหลาย ทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างบนแผ่นดิน
แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ
มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ใน
ความนับถือ
ก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุ
นั้นท่าน
จึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น ขันติบารมีข้อที่ ๖
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติ
เป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจ
ไม่ลังเลในข้อที่นั้นจักบรรลุ สัมโพธิญาณ
ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่งของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้าง
ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่กระทำความแค้น ใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด
แม้ท่านเป็นผู้อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของคนทั้งปวง
ได้ ถึงความมีขันติบารมีแล้ว จักได้บรรลุโพธิญาณได้ ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น สัจบารมีข้อที่ ๗ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต
นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจบารมีให้เต็มเปี่ยม
อย่ากระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น
แม้เมื่ออัสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาดาวประกายพฤกษ์ในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่
จะไม่โคจรไปทางอื่น โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด
แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จัก
เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ กระทำ
ให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น สัจบารมีข้อที่ ๗
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลาย ถือปฏิบัติ
เป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจบารมีข้อที่ ๗ นี้กระทำให้มั่นก่อน
มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุ สัมโพธิญาณได้
ธรรมดาว่าดาวประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง)
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่มีโคจรแวะ เวียนไปนอกทาง ไม่ว่า
จะในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะ ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจบารมี
แล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป
ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานอย่างใดไว้ พึงเป็น
ผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลม
ทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อม
ไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด
แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็น
พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่น
แล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น
อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา
ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้
ไม่หวั่น ไหวในข้อนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ภูเขาหิน
ไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ใน
ที่เดิมของตนเท่านั้นฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวใน
ความตั้งใจจริงตลอดกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้
ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้
เห็น เมตตาบารมีข้อที่ ๙ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมี
ให้เต็ม เปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิ
ใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า
ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำ ให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน
ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจเป็นอันเดียวกัน
ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้ง
ปวง จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น
เมตตาบารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา
ท่านจงยึดเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้กระทำให้มั่นก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะ บรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอ
ด้วยเมตตา ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดี
และคนเลวเสมอ
กัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้ท่านก็จงเจริญเมตตา
ให้สม่ำเสมอไปในคนทั้งที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล
ฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้ว
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ดังนี้
ต่อมาเมื่อเขาได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้
เห็น อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป
ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลางในสุขก็ดี
ในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน
เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจ
เป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้
ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า เขาได้อธิษฐานอุเบกขา
บารมีข้อที่ ๑0 ทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น
อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา
ท่านจงยึดอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑0 นี้กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็น
ผู้มั่นคง ประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด
ซึ่งเขา ทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อสิ่ง
ทั้งสองนั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประดุจตราชูในสุข
และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ดังนี้
ต่อนั้นเขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑0 เสียธรรมเหล่าอื่น ไม่มี
บารมีทั้ง ๑0 แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภาย
ใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี
ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้ เมื่อ
เขาเห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้
ทั้งหมด กระทำให้มั่น พิจารณาแล้วๆ เล่าๆ
พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น
ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอน ปลาย และยึดเอาตรงกลาง
ให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสอง
ให้มาจบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑0 อุปบารมี ๑0
ปรมัตถบารมี ๑0 คือ การบริจาคสิ่งของภายนอกเป็นทานบารมี
การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมีการบริจาคชีวิตเป็น
ทานปรมัตถบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้ว
พิจารณาวกไปวกมาเหมือนคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไปมาพิจารณาคลุกเคล้า
เข้า ด้วยกัน เหมือนคนกวนระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้
เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น เมื่อเขาพิจารณาบารมีทั้ง
๑0
อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สองแสนโยชน์ยิ่ง
ด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่อง
ยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด
หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อและวงล้อ
ของเครื่องยนต์บีบน้ำมัน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกมีเพียงนี้เท่านั้น ไม่นอกไป
จากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น อยู่ในธรรมนั้น
เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่
ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินพร้อม โลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว
ปฐพีก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่
เมทนีดลก็เลื่อนลั่นประดุจดัง วงล้อเครื่องยนต์บีบน้ำมัน ฉะนั้น ดังนี้
เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิ
สามารถทรงตัวยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ ที่ถูกลมบ้า
หมู โหมพัดอย่างหนักพากันเป็นลมล้มลง
ภาชนะของช่างหม้อมีน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกัน
และกันแตกเป็นจุรณ วิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึง
เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้น อย่างไรเลยว่า
นี้นาคทำให้หมุนวน หริอว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวก
ใดพวกหนึ่งทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชน แม้
ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้
ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้าพระองค์เถิด
พระศาสดาทางสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า
พวกท่านอย่าได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรมากเลย ภัยจากเหตุนี้
ไม่มีแก่พวก
ท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิตเราพยากรณ์ให้แล้วว่า จัก
เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคต บัดนี้
เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลาย
อยู่ เมื่อเขาไตร่ตรองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม
โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสะเทือนและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียวดังนี้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัทในที่
นั้นมีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลมล้ม ลงบนแผ่นดิน
หม้อน้ำหลายพันและหม้อข้าวหลายร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่
นั้นต่างกระทบกระแทกกันแตกละเอียด ไปหมด
มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัวภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น
จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร
กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำ
ให้เดือดร้อน ขอพระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น
คราวนั้นพระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจแล้วด้วยตรัสว่า
พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย
ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยากรณ์แล้ว ถึงบุคคล
ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคล นั้นไต่ตรอง
ถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้วแต่เก่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรอง
ถึงธรรม อันเป็นพุทธภูมิโดยไม่ เหลือเพราะเหตุนั้น
ปฐพีนี้พร้อมหมื่นโลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว ดังนี้
มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีร่าเริงแล้ว พา
กันถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนคร
เข้าไปหาพระโพธิสัตว์บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น
ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เขาไปยังรัมมนครตามเดิม
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่
ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่นอธิษฐานแล้ว ลุก
จากอาสนะที่นั่ง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็นแล้วทันใดนั้น ทุกคน
เข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้วอีก เรายึด
มั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการพระทีปังกร ลุก
จากอาสนะในกาลนั้น ดังนี้
ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว
บูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอัน
เป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลเป็นต้นว่า
ข้าแต่สุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่
บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอ
ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัว
หรือความหวาดเสียวอย่าได้ มีแก่ท่าน โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่า
ได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดยพลัน
แล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล
ย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จง
ได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน อย่าได้ล่วงสมัยนั้นเลยฉัน
นั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าวประกาศอย่างนี้แล้ว
ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์
ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑0 แล้ว
ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็น พระพุทธเจ้า ดังนี้
อธิษฐานกระทำความเพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า
ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที เพราะเหตุนั้นท่านจึง กล่าวว่า
เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้อัน
เป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้กำลัง
ลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สองฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับ
ความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอ ท่านจง
ได้สิ่งนั้นตามที่ท่านปรารถนาไว้
ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป ขอโรคภัยจงพินาศไป
ขออันตราย จงอย่ามีแก่ท่านเถิด ขอท่านจง
ได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่มหาวีระ
ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ เหมือนต้นไม้ที่มีดอกเมื่อ
ถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พึงบำเพ็ญบารมี ๑0 ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ
ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑0 ให้เต็นเปี่ยมฉันนั้นเถิด
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลฉันใด
ข้าแต่ท่านมหาวีระ
ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระชินเจ้าฉันนั้น
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศพระธรรมจักร ฉัน
ใด ของท่านจงประกาศพระธรรมจักรฉันนั้น พระจันทร์
ในวันเพ็ญผ่องแผ้วย่อมรุ่งโรจน์ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็นเปี่ยมรุ่งโรจน์
ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พ้นจากราหูแล้ว
ย่อมแผดแสงด้วยความร้อนแรงฉันใด
ขอท่านจงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้ว สว่างไสวอยู่ด้วยสิริฉัน
นั้นเถิด แม่น้ำใดๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเลใหญ่ฉันใด
ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลง ที่สำนักของท่านฉันนั้นเถิด
ในกาลนั้นเขาอันเทวดาและมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญ
แล้วยึดมั่นบารมีธรรม ๑0 เมื่อ จะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น
เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ว
กถาว่าด้วยพระทีปังกรพุทธเจ้าและสุเมธดาบส จบ
Webmaster :
อนันตประทีป
อนันตประทีปนั้นอุปมาว่าเหมือน ประทีปดวงหนึ่งสามารถ
เป็นสมุฎฐานจุดประทีปให้ลุกโพลงขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันดวง
ยังผู้ตกอยู่ในความมืดให้ได้รับแสงสว่าง
และแสงสว่างนี้ก็มิรู้จักขาดสิ้นไปได้ โดยประการฉะนี้แลพวกเธอ
ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งๆย่อมเป็น
ผู้กล่าวแนะนำชี้ทางแก่สรรพสัตว์อีกหลายร้อยหลายพัน
ไม่มีประมาณ ยังสรรพสัตว์เหล่านั้น
ให้ตั้งจิตมุ่งตรงต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีจิตที่มุ่ง
ในการปฏิบัติธรรมไม่รู้จักขาดสิ้น
แสดงพระสัทธรรมตามฐานะอันควร ยังสรรพกุศลสมภารของตนเอง
ให้ทวีไพบูลย์ขึ้น นั้นแลชื่อว่า อนันตประทีป
พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามท่าน
ผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบ
ด้วยกาย วาจา ใจ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจากการมองเห็นชีวิต
เป็นทุกข์ มองเห็นถึงการเกิด แก่ เจ็บและตาย เกิด
จากการพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิต
เพียรพยายามแสวงหาทางออกจากทุกข์ที่มองเห็นๆ อยู่
แสวงหาทางให้เกิดปัญญา
การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น ยากเย็นนักเพราะ
ต้องบำเพ็ญเพียร สร้างบุญบารมีมากมาย
เป็นระยะเวลานานแสนนาน ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่
ในวัฏฏสงสารจนเมื่อไหร่ก็ตามที่ความเพียรและบารมีเต็ม จึงจะ
ได้เสด็จมาตรัสรู้บนโลกมนุษย์และได้โปรดสัตว์
สั่งสอนพระธรรมอันทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบแล้วด้วยพระองค์เอง เพื่อ
ให้สรรพสัตว์ผู้มีปัญญาได้รู้ทาง เห็นทางและเดินทางออก
จากทุกข์ได้ ท่านว่าบางกัปป์ก็
ไม่มีพระพุทธเจ้าทรงบังเกิดเลยแม้แต่พระองค์เดียว
ส่วนกัปป์ที่เรากำลังเป็นอยู่นี้ เป็นกัปป์ที่เจริญสูงสุด
เพราะมีพระพุทธเจ้ามากที่สุดแล้วถึง ๕ พระองค์ เรียกว่าเป็น"
ภัททกัปป์" พระสมณะโคดมพระพุทธเจ้าของเรา ณ ปัจจุบันนี้
เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๔ ของภัททกัปป์นี้ และอีกนานในโลก ก็
จะมีพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายแห่งภัททกัปป์นี้เสด็จมาตรัสรู้ นั่นก็คือ
"พระศรีอาริยเมตตไตรย์"
พระพุทธเจ้ามีกี่องค์
พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า
จำนวนพระพุทธเจ้ามีมากมายกว่าจำนวนเม็ดทราย
ในมหาสมุทร (อันนี้เป็นเรื่องน่าคิดว่าวัฏฏสงสารหรือสังสารวัฏนั้น
ยาวนานขนาดไหน ไม่มีที่สิ้นสุด หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้
เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เช่นกันว่าการ
เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นมาแต่ละพระองค์นั้น เป็นเรื่องยากยิ่งนัก
ใช้เวลา กว่าจะตั้งใจและบำเพ็ญบารมีจนได้ตรัสรู้นานมาก
และพระพุทธเจ้าจะ มีได้ทีละพระองค์เดียวเท่านั้น
ไม่มีการเกิดพระพุทธเจ้าพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียว
กันของสังสารวัฏ ในบางยุคสมัย บางกัปป์ก็
ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดเลย ที่เรียกว่าเป็น 'สุญญกัปป์' ก็มี)
พระพุทธเจ้า 25 พระองค์นั้น เป็นการนับแต่
พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์
ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้
1.พระทีปังกร
- ในกาลนั้น ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ทีปังกร
แผ่ไปกว้างขวาง ชนรู้กันมากมายมั่งคั่ง แพร่หลาย
พระพุทธศาสนาก็เบิกบาน
ด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ งามสง่า
สำหรับพระทีปังกรนั้น ในนิทานกล่าวว่า อยู่ในนครชื่อรัมมวดี
กษัตริย์ทรงพระนาม สุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรงพระนามว่า
สุเมธา
มีปราสาทอย่างดีที่สุดสามหลัง ชื่อ รัมมะ สุรัมมะ และสุภะ
พระมเหสีพระนามว่า ปทุมา
พระราชโอรสพระนามว่า อุสภขันธกุมาร
พระองค์ทรงเห็นนิมิต 4 ประการแล้ว เสด็จออกผนวช
ด้วยคชสารยานพระที่นั่งต้น
ทรงบำเพ็ญเพียร อยู่ 10 เดือนเต็ม ครั้นทรงประพฤติปธานจริยา
แล้ว
ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ พระมหามุนีทีปังกร มหาวีรชินเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในนันทาราม
ทรงปราบปรามเดี่ยรถีย์
มีพระอัครสาวก คือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดาทีปังกร
มีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา คือ
พระนางนันทาและพระนางสุนันทา
พระมหามุนีทีปังกรมีพระวรกายสูงได้ 80 ศอก
มีพระชนมายุได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น
2.พระโกณฑัญญะ
3.พระมังคละ
4.พระสุมนะ
5.พระเรตวะ
6.พระโสภิตะ
7.พระอโนมทัสสี
8.พระปทุมะ
9.พระนารทะ
10.พระปทุมมุตตระ
11.พระสุเมธะ
12.พระสุชาตะ
13.พระปิยทัสสี
14.พระอัตถทัสสี
15.พระธัมมทัสสี
16.พระสิทธัตถะ
17.พระติสสะ
18.พระปุสสะ
19.พระวิปัสสี
20.พระสิขี
21.พระเวสสภู
22.พระกกุสันธะ
23.พระโกนาคมน์
24.พระกัสสปะ
25.พระโคตมะ
ว่าด้วยพระพุทธเจ้า
คัมภีร์พุทธวงศ์ 5 แห่งขุททกนิกายเสนอพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าไว้ 25 พระองค์ โดยนับแต่พระองค์แรกที่
พระโคตมะได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่า
จะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อาฎานาฏิยปริตร เสนอรายชื่อของพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเพิ่มจากคัมภีร์พุทธวงศ์อีก 3 พระองค์
ก่อนพระทีปังกร คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร และพระสรณังกร
สำหรับบทสวดมนต์สมพุทเธ กล่าวถึงจำนวนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมแล้ว 3,584,192 พระองค์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตขณะนี้เป็นพระโพธิสัตว์
ต่อจากพระโคตมะ มี 10 พระองค์
1.พระเมตไตย
2.พระอภิภู
3.สุภพราหมณ์
4.พระรามผู้สูงสุด
5.เทวดาชื่อทีฆโสณี
6.โตเทยยพราหมณ์
7.พระเจ้าปเสนทิโกศล
8.จังกีพราหมณ์
9.ช้างนาฬาคิรี
10.ช้างปาลิเลยยกะ
และหลังจากนี้ก็มีต่อไปในอณาคตอีกหาที่สุดมิได้
นำร่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น