ประวัติการแก้ไข
22 กุมภาพันธ์ 2016
เวทนา การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก คือความรู้สึกในรสของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะ(Feeling) ดังเช่น ความรู้สึกในรสของอาหาร(อาหารนี้ทำหน้าที่เป็นอารมณ์)ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติจากการผัสสะของลิ้น คือชิวหา เป็นเพียงความรู้สึก(Feeling)ที่พึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่อาจเป็นความรู้สึกชนิดถูกใจ ชอบใจ สบายใจ สบายกาย หรือไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายกาย หรือเฉยๆ อันขึ้นอยู่กับสัญญาความจำได้หมายรู้ (จึงไม่ใช่อาการที่เมื่อทานเข้าไปแล้วเกิดความคิดว่า "อร่อย" อันเป็นสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตตสังขาร หรือทางวาจาที่เปล่งออกมาว่าอร่อย อันเป็นสังขารขันธ์ทางวาจาหรือวจีสังขาร หรืออาการน้ำลายสออันเป็นสังขารขันธ์ทางกายหรือกายสังขาร)
เวทนาเป็นสังขาร และเป็นนามธรรม รับรู้ได้ด้วยทั้งกายและใจ ไม่มีตัวไม่มีตนเป็นแก่นแกนแท้จริง จึงไม่ใช่อัตตา,ไม่ใช่ของตัวของตนอย่างแท้จริง เป็นอนัตตาจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา เป็นสังขารที่หมายถึงสังขตธรรมสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงย่อมเกิดแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง เหมือนดังเงา จึงเกิดผลขึ้นเป็นเวทนาได้ ดังแสดงในเรื่องขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์ ตลอดจนปฏิจจสมุปบาท จึงมีสามัญญลักษณะเหมือนดังสังขารทั้งหลายทั้งปวง ที่มีความไม่เที่ยง จึงมีอาการแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็คงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นธรรมดา และเป็นอนัตตา ที่ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ให้จับต้องควบคุมบังคับบัญชาได้ อยู่ในสภาวะเมื่อเหตุปัจจัยประชุมกันครบองค์ผัสสะ ก็เกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมของผู้มีชีวิตที่จำต้องรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็นก็ไม่ได้ กล่าวคือ จึงเกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง จึงเป็นทุกขเวทนาบ้าง จึงเป็นอทุกขมสุขเวทนาบ้าง อันย่อมเป็นไปตามธรรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆไปว่า เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉยๆบ้าง แล้วก็ดับไป เกิดดับๆๆ.. อยู่เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่มีตัวตนแท้จริง จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญายิ่ง เพื่อให้เกิดนิพพิทา ไม่ไปยึดมั่นหมายมั่น กล่าวคือ ไม่ไปอยากด้วยภวตัณหาด้วยการละเสีย หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นด้วยการละเสียซึ่งวิภวตัณหาในเวทนาเหล่านั้น ถ้าไม่ละตัณหาดังกล่าว ก็จักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนูปาทานขันธ์ที่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายของเหล่าอุปาทานขันธ์ ๕ ใน ชราอย่างเป็นทุกข์ขึ้น
ที่รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์กันอยู่ในโลกนี้ ก็คือ เวทนา นั่นเอง
เวทนา - เสวยอารมณ์ - ความรู้สึก ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น เมื่อมีกการผัสสะกับอารมณ์ ทุกครั้งทุกทีไปเป็นธรรมดา
จึงย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่ให้เกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้เป็นธรรมดา ตราบที่ยังดำรงชีวิตหรือขันธ์อยู่
แต่ที่ทำให้เร่าร้อนเผาลนยิ่ง และพระองค์ท่านสอนให้ดับไปก็คือเวทนูปาทานขันธ์
อันย่อมเกิดขึ้น เมื่อเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น ไปประกอบด้วยอุปาทาน
อันเนื่องมาจากการเกิดตัณหาขึ้น
อันเป็นการดำเนินไปตามปฎิจจสมุปบาทธรรม ฝ่ายสมุทยวาร
เดิมก็ได้กล่าวถึงเวทนาอย่างละเอียดพอสมควร ไว้แล้วทั้งในปฏิจจสมุปบาทและในขันธ์๕ แต่เนื่องจากเนื้อหาสาระมีเป็นจำนวนมากในธรรมทั้ง๒ จึงอาจพินิจพิจารณาจำแนกแตกธรรมได้ไม่แจ่มแจ้งชัดเจน เพราะเกิดการปะปนสับสนกับธรรมอื่นๆ จึงนำมาแจกแจงจำแนกแตกธรรมโดยละเอียดเป็นลำดับขั้นโดยเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง เนื่องเพราะมีความสำคัญในการเจริญธรรมหรือวิปัสสนาในพระศาสนา ทั้งในขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างยิ่ง และแม้ในสติปัฏฐาน ๔ อันมีเวทนานุปัสสนา
ก็เนื่องจากเวทนาเป็นขันธ์คือกองหรือส่วนอันเป็นทางแยกที่สำคัญยิ่งที่กระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตจักดำเนินต่อไปแบบขันธ์ ๕ อันไม่เป็นทุกข์(อุปาทานทุกข์) มีเพียงเวทนาเป็นไปตามธรรม เกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง หรืออทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นธรรมดา๑. หรือจักไปเป็นเหตุ อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาในเวทนานั้นๆขึ้น อันเป็นการดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง๑. อันเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเป็นทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลน ดังภาพที่แสดงนี้ ณ องค์ธรรมเวทนา
anired02_down.gif
สัญญาหมายรู้
anired02_down.gif
สังขารขันธ์
[ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นขันธ์๕ สภาวธรรมของชีวิต]
ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ แต่เสวยเวทนาเป็นไปตามธรรม
โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะเข้าใจได้ว่า เวทนาจึงเป็นต้นเหตุ ที่หมายถึงเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงๆที่สุดที่ยังให้เกิดการกระตุ้นเร้าการทำงานของตัณหาขึ้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกิดตัณหาขึ้น ส่วนรูปที่สวยงามหรือน่าเกลียด เสียงที่ไพเราะหรือไม่ไพเราะ กลิ่นอันหอมหวลหรือเหม็น รสอันเอร็ดอร่อยหรือไม่อร่อย สัมผัสอันละมุนหรือเจ็บปวด ธรรมารมณ์(คิด)อันดีหรือชั่ว จึงต่างล้วนไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยโดยตรงๆที่ยังให้เกิดตัณหา ล้วนเป็นเพียงสังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเช่นกัน อันเป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้น ที่ยังให้เกิดเวทนา ขึ้นเสียก่อน แล้วเวทนาจึงเป็นต้นเหตุโดยตรงที่ไปกระตุ้นเร้ายังให้เกิดการทำงานของตัณหาที่นอนเนื่องสั่งสม อันเป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งที่เจือด้วยกิเลสคืออาสวะกิเลสขึ้นในจิต
เวทนา ในทางพุทธศาสตร์แปลว่า การเสวยอารมณ์, เสวย ที่แปลว่า การกิน การรับประทาน การเสพ การเสพรส, ส่วน อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดหมายหรือกำหนดในขณะนั้นๆ เช่น ไปยึดหรือกำหนดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส(โผฏฐัพพะ) หรือในธรรมมารมณ์ ใดๆในขณะนั้น ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่หมายถึง ความน่าสงสาร ความเจ็บปวด แต่อย่างใด.
เวทนา หรือการเสวยอารมณ์ จึงหมายถึง การเสพรสในสิ่งที่มากระทบสัมผัสหรือสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในขณะนั้นๆนั่นเอง ดังเช่นการเสพรสในอาหาร อันเมื่อมีการเสพแล้ว จึงย่อมต้องมีการรับรู้ในรสชาดในสิ่งที่เสพนั้นๆ อันเป็นไปตามธรรม(ธรรมชาติ)คือสภาวธรรมของชีวิตนั่นเอง พร้อมทั้งการจดจำได้(สัญญา)ในรสชาด ของสิ่งที่เสพนั้นด้วยเป็นธรรมดา เหมือนดังการเสพเสวยอาหาร ก็ย่อมรู้รสชาดของอาหารนั้นๆ และย่อมจดจำได้โดยตรงหรืออาจคุ้นเคยในรสชาดของอาหารนั้นๆด้วยเป็นธรรมดา ดังนั้นเวทนาจึงหมายถึง ความรู้สึกรับรู้ในรสชาดของอารมณ์หรือสิ่งนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ อันพรั่งพร้อมด้วยสัญญาความจดจำได้อยู่ในที เป็นสภาวธรรมของชีวิต จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้ เพราะเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริง จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้, เป็นสิ่งหรือธรรมที่อยู่คู่กับชีวิต เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕ หรือชีวิต ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เพียงแต่บางครั้งเป็นไปอย่างแผ่วเบาหรือด้วยความเคยชินอย่างยิ่งยวด จึงสังเกตุไม่เห็นด้วยอาการธรรมดา ในนักปฏิบัติจึงควรทำความเข้าใจในเวทนาโดยละเอียดและถูกต้อง ก็เพื่อป้องกันการปฏิบัติออกไปนอกลู่ผิดทางแบบผิดๆด้วยอวิชชา ดังเช่น ไปคิดว่าดับเวทนาได้ จึงปฏิบัติแบบพยายามไปดับที่เวทนาเสียโดยตรงๆกล่าวคือไปพยายามปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนาขึ้นนั่นเอง พยายามไปในลักษณาการที่จะดับเวทนาให้ดับสูญไปจริงๆตามคำพูดที่ใช้สื่อกันตรงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหล่าทุกขเวทนา
เวทนา จึงมีความหมายว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากการผัสสะกับอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ในสิ่งต่างๆนั่นเอง อันเป็นสภาวธรรมที่ติดตัวมากับชีวิต ตราบจนสิ้นขันธ์คือชีวิต
พระองค์ท่านทรงแยกรสชาดของเหล่าเวทนาออกเป็น เวทนา ๓ อันมี สุขเวทนา๑ ทุกขเวทนา๑ อทุกขมสุขเวทนา๑ ในยุคต่อๆมาอรรถกถาจารย์บางท่านจำแนกแยกละเอียดเป็นเวทนา ๕ ก็มี กล่าวคือ แยกสุขเวทนาเป็นสุขทางกาย และสุขทางใจ(โสมนัส) ส่วนทุกขเวทนาแยกเป็นทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ(โทมนัส) จึงกลายเป็น ๕
กระบวนธรรมของการปรุงแต่งของเหตุปัจจัยต่างๆ จึงมีการเกิดของเวทนา ขึ้นครั้งหนึ่งๆนั้น พอจะแสดงเป็นลำดับได้ดังนี้
ดังตัวอย่างของ กระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยหรือเป็นองค์ประกอบของชีวิต และย่อมมีการทำงานที่เนื่องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นอีกด้วย ซึ่งย่อมยังให้เกิดเวทนาเป็นไปโดยธรรม(ธรรมชาติ) อันย่อมเกิดขึ้นกับผู้มีชีวิตทุกๆคน หรือกล่าวคือโดยธรรมชาติ โดยอาศัยทวารคืออายตนะต่างๆ ดังเช่น ตา
เมื่อ ตา มองเห็น หรือไปกระทบกับ รูป
เขียนเป็นกระบวนธรรม เหมือนดั่งกระบวนการหรือสมการที่เขียนในวิชาเคมีทางโลกๆ เพื่อยังประโยชน์ในการโยนิโสมนสิการพิจารณาได้ง่าย ก็เพื่อให้ เห็นการเกิดขึ้นและความเป็นไปตามหลักเหตุและผลหรืออิทัปปัจจยตาอย่างแจ่มชัด จึงขอเริ่มตั้งแต่ต้นกระบวนธรรม กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อตาไปกระทบรูป นำมาเขียน เป็นกระบวนธรรมโดยย่อพอสังเขปได้ดังนี้
ตา รูป
แล้วย่อมดำเนินไปตามธรรม หรือธรรมชาตินั่นเอง ที่ต้องเป็นเช่นนี้เอง ไม่เป็นอื่น คือย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด จักขุวิญญาณ อันคือระบบประสาทรับรู้ของจักขุหรือตา อันเกิดขึ้นจากการกระทบกับรูปของตา อันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต หมายถึงธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง ผู้ที่ตากระทบรูปแล้ว จักไม่เกิดจักขุวิญญาณ มีแต่ผู้ที่ตายแล้วเท่านั้นเป็นธรรมดา หรือผู้ที่สูญเสียทวารตาเท่านั้น เราไปควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ ด้วยล้วนเป็นอนัตตาจึงไม่ขึ้นอยู่กับเรา แต่ขึ้นหรือเป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยกัน, ถ้าพิจารณากันในทางพุทธศาสตร์ก็เนื่องจากความเป็นอนัตตา ล้วนไม่มีตัวตนแท้จริง จึงล้วนไม่ใช่เราหรือของเราอย่างแท้จริง จึงไปควบคุมบังคับให้ว่าเมื่อผัสสะแล้วจะให้เห็นหรือไม่เห็นไม่ได้ แต่ต้องเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัย
จึงแสดงเป็นกระบวนธรรมได้ดังนี้
ตา รูป ทั้ง๒เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยกันในขณะนั้น จึงมี จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น
แสดงเป็นกระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตโดยย่อได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ
การประจวบกันของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้นนี้ คือ อายตนะภายนอก(รูป) กระทบกับ อายตนะภายใน(ตา) แล้วเกิด วิญญาณ(จักขุวิญญาณ)ขึ้น พระองค์ท่านทรงเรียกอาการครบองค์ประกอบของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ ที่มาประจวบกันดังนี้ว่า ผัสสะ เป็นอาการหรือลักษณาการโดยธรรมชาติของชีวิต จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้ กล่าวคือ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ด้วยเป็นอนัตตา เขียนเป็นกระบวนธรรมให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กันได้อย่างง่ายๆสืบต่อมา ได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ
กล่าวคือ เมื่อเหตุปัจจัยทั้ง๓ เกิดร่วมกระทบกันแล้ว ก็คือเกิดการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดา [ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อไม่สำรวม สังวร ระวัง หรือแม้แต่เพราะยังมีหน้าที่ที่พึงกระทำอยู่ก็ตาม เพราะย่อมต้องเกิดการผัสสะทุกครั้งทุกทีไปตามธรรมคือธรรมชาติ] อันมีพุทธพจน์ที่ตรัสยืนยันไว้ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป (ย่อมต้อง)เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
(กล่าวเหมือนกันในอายตนะหรือทวารทั้ง ๖)
(ม.อุ. ๑๔/๘๒๓/๔๙๓)
เมื่อเกิดการผัสสะดังกล่าวแล้ว ย่อมดำเนินต่อไปตามธรรมหรือกระบวนธรรมของชีวิต หรือการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ต่อสืบเนื่องไป จะหยุด จะห้ามเสียก็ไม่ได้ อุปมาดั่งสารเคมีสองชนิดที่มีปฏิกริยาต่อกันโดยธรรม(ธรรมชาติ) ซึ่งเมื่อกระทบสัมผัสกันแล้ว จะไปห้ามไม่ให้เกิดปฏิกริยาต่อกันและกัน ย่อมไม่ได้ ด้วยเป็นอนัตตา, ดังนั้น จึงย่อมต้องเกิดกระบวนธรรมของจิตสืบเนื่องต่อไป คือเกิดการจำได้และเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้น อันเป็นสิ่งที่เรียกทางพุทธศาตร์ว่าสัญญา อันพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต อันเกิดแต่สัญญาที่สั่งสมมาแต่อดีตเก่าก่อนนั่นเอง จึงยังให้กระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตต้องดำเนินสืบต่อไป เขียนเป็นกระบวนธรรมแสดงความต่อเนื่องได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำได้และเข้าใจ)
ในบางครั้ง บางที อาจไม่แสดงสัญญา(ความจำได้และเข้าใจ)เหล่านี้ในกระบวนธรรม เช่น เมื่อกล่าวในปฏิจจสมุปบาท เหตุเพราะสัญญานี้มีอยู่แล้ว เพียงแต่แฝงอยู่ในรูปของอาสวะกิเลสคือสัญญาเจือกิเลสนั่นเอง หรือในบางครั้งเขียนเพื่อแสดงขันธ์ทั้ง ๕ ให้ครบบริบูรณ์เท่านั้น จึงเพียงแสดงสัญญาหมายรู้ที่เกิดขึ้นต่อจากเวทนาเพียงครั้งเดียวอย่างรวบรัด อย่างย่อย่นก็มี โดยผู้รู้จะรู้เป็นนัยอยู่แล้วว่า ย่อมมีสัญญาอันเป็นขันธ์ของชีวิตเกิดขึ้น แต่ครานี้เป็นการแสดงโดยละเอียดเพื่อการโยนิโสมนสิการให้เข้าใจเวทนาได้แจ่มแจ้ง จึงแสดงสัญญาที่เกิดขึ้นและเป็นไปในกระบวนธรรมขันธ์๕ ที่จริงๆแล้วซับซ้อนเกิดสัญญาขึ้นหลายครั้งหลายคราในขันธ์หนึ่งๆ ดังเช่นที่แสดงไว้ในเรื่องขันธ์ ๕ หรือในเรื่องรายละเอียดของขันธ์ ๕ มิได้มีความขัดแย้งกันใดๆทั้งสิ้นในเรื่องขันธ์ ๕และปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่อาจมีการสลับตำแหน่งของกระบวนจิตกันบ้างก็เพื่อการอธิบายในแต่ละเรื่องแต่ละกิจ แต่นัยยะล้วนเป็นไปเฉกเช่นดียวกัน ถ้าอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าขัดแย้งกัน ขอให้ทบทวนพิจารณาโดยละเอียดอีกหลายๆครั้ง เพราะแสดงถึงความยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งเป็นเหตุนั่นเอง (อ่านรายละเอียดการเปรียบเทียบระหว่างขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทได้ในบทที่ ๙)
เหตุที่ต้องมีสัญญานั้นก็คือ เกิดสัญญาความจำได้และเข้าใจในรูปขึ้นเสียก่อนตามที่สั่งสมไว้แล้วนั่นเอง ลองพิจารณาดูดังนี้ ในผู้ป่วยที่สมองอันเป็นหทัยวัตถุไม่ทำงานตามปกติ เมื่อตากระทบรูป เนื่องจากยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดจักขุวิญญาณเป็นธรรมดา แต่สมองหรือหทัยวัตถุส่วนสัญญานั้นไม่ทำงาน หรือก็คือขันธ์ ๕ ไม่บริบูรณ์เสียแล้ว เขาเหล่านั้นจึงย่อมรับรู้รสชาดของเวทนาอย่างไม่สมบูรณ์ถูกต้อง
ดังนั้นนอกจากรสชาดโดยธรรมชาติของสิ่งที่มาผัสสะแล้ว สัญญาจำได้ในรูปหรือสิ่งที่ผัสสะอันสั่งสมไว้อยู่แล้วใดๆ ก็ย่อมส่งผลเป็นปัจจัยถึงเวทนาอีกด้วย ดังเช่น อาสวะกิเลส อันคือสัญญาเจือกิเลสนั่นเอง
เมื่อกระบวนธรรมดำเนินมาถึง ณ ที่นี้นี่เอง คือจำได้และเข้าใจในรูปนั้น จึงเกิดเป็นเวทนาต่างๆขึ้น ที่เนื่องสัมพันธ์กับสัญญาความจำได้และเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หรือจะเขียนสมการธรรม ให้อยู่ในรูปใกล้เคียงกับปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งขึ้นก่อน ดังกล่างข้างต้น ดังต่อไปนี้ก็ได้ เพียงขอแต่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสัญญานั้นจริงๆแล้วก็อยู่ในสภาพนอนเนื่องดุจดั่งอาสวะกิเลสเช่นกัน เมื่อเกิดการผัสสะ จึงเกิดการเข้าร่วมหรือทำงานขึ้น ยังให้มีอิทธิพลหรือเป็นเหตุคือองค์ประกอบหนึ่งของเวทนา
[สัญญา(ความจำได้) ] ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ เวทนา
หรือแสดงโดยละเอียด ดังนี้
[สัญญา(ความจำ)แต่นอนเนื่องอยู่ ] ดังนั้นเมื่อ ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำและเข้าใจในรูป จึงทำงานขึ้น) เวทนา
อันผู้เขียน ย่อลงอยู่ในรูปแบบด้านล่างนี้ เมื่อกล่าวถึงในรูปแบบของขันธ์ ๕
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
เมื่อมีสัญญาความจำในรสชาดของรูปนั้นที่เคยเกิดขึ้นแต่อดีต เป็นไปอย่างไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็ย่อมส่งผลให้เกิดเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้รสชาดในรูปนั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ หรือก็คือ เป็นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากรูปเป็นไปในทางลบ ที่เรียกว่า ทุกขเวทนา หรือเรียกกันสั้นๆว่าทุกข์ อันเป็นไปตามสภาวะของสัญญาความจำที่มีต่อรูปนั้นนั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสัญญาความจำได้ในรูป(อารมณ์)ย่อมร่วมมีอิทธิพลต่อ "เวทนา" การรับรู้ในรสชาดตามธรรมหรือธรรมชาติของรูป(อารมณ์)นั้นๆด้วย
ดังนั้นถ้าสัญญาความจำในรูปนั้นเป็นไปอย่าง ชอบใจ ถูกใจ หรือสบายใจ ในรูปนั้น ก็ย่อมยังให้เกิดเวทนาไปทางถูกใจ สบายใจ หรือทางบวก หรือก็คือ เป็นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากรูปเป็นไปในทางบวก ที่เรียกว่า สุขเวทนา หรือบางทีเรียกกันสั้นๆว่าสุข นั่นเอง
ถ้าสัญญาความจำในรูปนั้นเป็นไปอย่างเฉยๆ ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่มีความรู้สึกที่เด่นชัด ก็เรียกเวทนานี้ว่า อทุกขมสุขเวทนา นั่นเอง หรือที่บางคนแยกแยะไม่ออก บอกแต่ว่า เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร ไม่มีอะไร นั่นแหละอทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนา
ดังนั้นเมื่อมีการผัสสะเกิดขึ้น ย่อมต้องเกิดเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น และที่ว่าผัสสะแต่ไม่มีอะไร นั่นแหละอทุกขมสุขเวทนา
กล่าวดังนี้แล้วอาจจักยังไม่แจ่มแจ้ง ลองพิจารณาดูดังนี้ ในหมู่คณะหลายคน ที่เห็นในรูปในสิ่งๆเดียวกัน เขาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดังนี้ เหมือนกันล้วนสิ้น กล่าวคือ
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
แต่เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น อาจผิดแผกแตกต่างกันไป บ้างก็เกิดสุขเวทนาต่อรูปนั้น กล่าวคือว่ารูปนั้นสวย บ้างก็เกิดทุกขเวทนาต่อรูปนั้น กล่าวคือว่ารูปนั้นไม่สวย บ้างก็เกิดอทุกขมสุขต่อรูปนั้น กล่าวคือรู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย
โยนิโสมนสิการว่า อะไร? เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความแตกต่างกัน ก็จะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่าสัญญานั่นเอง อันเกิดแต่การสั่งสมมาแต่อดีตเป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งในการเสวยอารมณ์หรือเวทนา (อาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่งก็ดำเนินไปในลักษณาการเช่นนี้เอง) กล่าวคือ ต่างล้วนมีอายตนะภายใน(ตา)ที่ทำหน้าที่เหมือนกัน, ต่างล้วนมีอายตนะภายนอกใน(รูป)เป็นสิ่งเดียวกัน, ต่างย่อมล้วนเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมาทําหน้าที่เดียวกัน ก็จะเห็นความสำคัญของสัญญาต่อรสชาดตามธรรมชาติแท้ๆของรูป(อารมณ์)ที่เห็นนั้น
ลองโยนิโสมนสิการในธรรมนี้
ในเด็กทารกที่ยังเล็กอยู่ กับผู้ใหญ่ที่รู้ความแล้ว เมื่อให้เงินทองหรือทรัพย์สินแก่บุคคลทั้งสอง ดังนั้น เมื่อตากระทบกับเงินที่ได้รับ ในทั้งสองคนกระบวนธรรมในการผัสสะต่างล้วนดำเนินไปเหมือนกันดังนี้
ตา รูปคือเงิน จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หรือเขียนขยายแสดงดังต่อไปนี้ แบบละเอียดและแยบคายขึ้นก็ได้
[สัญญา(ความจำได้ที่นอนเนื่อง) ] ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญาที่ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดการทำงาน จึงจำได้ เวทนา
กระบวนธรรมในการผัสสะตั้งแต่ต้นของบุคคลทั้งสอง ดำเนินมาเหมือนกันทุกประการ กล่าวคือ มีตาที่ทำหน้าที่เหมือนกัน เห็นรูปคือเงินในสิ่งเดียวกัน ต่างล้วนเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเหมือนกัน ย่อมครบองค์การผัสสะเกิดขึ้นเหมือนกัน จึงเป็นเหตุปัจจัยในขณะนั้นให้เกิดสัญญาความจำและเข้าใจในรูปที่กระทบหรือเห็น จึงมีความแตกต่างกันของเวทนาเกิดขึ้น
ฝ่ายทารก สัญญาความจำได้และความเข้าใจในเรื่องเงินนั้นยังไม่มีการสั่งสม ดังนั้น เมื่อทารกเห็นเงินจึงย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา กล่าวคือรู้สึกเฉยๆต่อเงินที่เห็นนั้น กล่าวคือเป็นไปในทางเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นกลางแต่ด้วยความไม่รู้ ซึ่งอาจขว้างทิ้ง ฉีกทิ้งเอาเสียก็ได้
ฝ่ายผู้ใหญ่นั้น เมื่อตาไปกระทบกับเงินที่ได้รับ เขาย่อมเกิดสุขเวทนาขึ้น คือถูกใจ ชอบใจ เพราะมีสัญญา(ความจำและเข้าใจ)เป็นอย่างดีในเรื่องเงินนั้น อันสั่งสมมาแต่อดีตชาติ จึงย่อมเกิดความรู้สึกรับรู้ที่ถูกใจ ชอบใจคือสุขเวทนาต่อเงินที่ผัสสะนั้น
ในกระบวนธรรมข้างต้น ต่างเกิดขึ้นและดำเนินไปเหมือนกันทุกประการ แตกต่างอยู่ที่สัญญาเท่านั้นเอง จึงยังให้เกิดเวทนาที่แตกต่างกัน
ถ้ายังไม่แจ่มแจ้ง คิดไปว่ากระบวนธรรมดังกล่าวที่เวทนาแตกต่างกันเพราะต่างบุคคลกันเป็นเหตุ ก็ลองโยนิโสมนสิการในทารก ที่เมื่อตากระทบขวดนม เปรียบเทียบกับเมื่อตาของทารกคนเดียวกันไปกระทบสิ่งของที่สวยงามทั่วไป ที่ทารกไม่รู้จัก ยังไม่มีสัญญานั่นเอง
กระบวนธรรม(ธรรมชาติ)ของการเกิดเวทนาจึงเป็นไปดังนั้น ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกันในอายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง๖ ด้วยเหตุดังนี้เอง ถ้าโยนิโสมนสิการในพระไตรปิฎกแล้ว จักสังเกตุเห็นได้อย่างหนึ่งว่า เมื่อพระองค์ท่านกล่าวสอนถึง อายตนะหรือทวารใดๆแล้ว จักเห็นการกล่าวครบทั้ง ๖ เรียงไปเป็นลำดับตามมาจนครบ กล่าวคือ มีเจตนาเน้น แสดงถึงผลที่เกิดขึ้น ว่าเหมือนกัน ของกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นจากการผัสสะของอายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง ไม่ว่าการผัสสะนั้น จะเนื่องมาจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือแม้แต่ใจก็ตาม ต่างก็ล้วนดำเนินและเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกันนั่นเอง เป็นธรรมดา จึงมิใช่เป็นการกล่าวอย่างพรํ่าเพื่อให้เฝือแต่ประการใด แต่เป็นอุบายคือวิธีการเน้น โดยนัยว่า อายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั้น ต่างทำงานเหมือนกันโดยนัยนั่นเอง จึงเน้นยํ้า กล่าวซํ้าถี่บ่อย เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้สำรวม สังวร ระวังในทวารทั้ง ๖ ถ้วนหน้า อันล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
ผู้ไม่ระวังผัสสะทั้งหก แม้ประตูหนึ่ง ย่อมประสพความทุกข์
ฉเฬว ผสฺสายตนานิ ภิกฺขเว อสํวุโต ยตฺถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
(สังคัยหสูตร ๑๘/๗๖)
เหตุเพราะเมื่อมีการผัสสะ ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง
เพราะล้วนเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของเรา จึงล้วนเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัย
ดังนั้นพึงโยนิโสมนสิการในการผัสสะของอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้น โดยแยบคาย
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หู เสียง โสตวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
ใจ คิด(ธรรมมารมณ์) มโนวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย ก็จะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่า อายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั้น เมื่อเกิดการผัสสะขึ้นแล้ว ย่อมดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกัน กล่าวคือยังให้เกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา ที่หมายความ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น เป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เพียงอาจแตกต่างกันที่ความแรงเข้มเด่นชัด หรือความเคยชินเท่านั้น และล้วนเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติในแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น
จักเห็นสภาวธรรม หรือธรรมชาติของชีวิต ที่ต้องเป็นเช่นนี้เอง จึงดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปในทุกหมู่เหล่า แม้ในเหล่าพระอริยเจ้าก็เช่นกัน จึงมีการกล่าวอยู่เสมอๆในหมู่พระอริยเจ้าว่า เวทนานั้นใครๆก็หลีกหนีไปไม่พ้น เป็นธรรมชาติของผู้มีชีวิต หรือกล่าวได้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์โดยสภาวธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง (อย่าไปสับสนกับเวทนูปาทานขันธ์อันคือเวทนาเหมือนกันแต่ประกอบด้วยอุปาทานอันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่แสนเร่าร้อนเผาลน ที่เหล่าพระอริยเจ้าล้วนหลีกหนีห่างไกลชนิดตัดขาดจากกันไป)
กล่าวดังนี้ อาจยังไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ลองโยนิโสมนสิการในการผัสสะของกายดู อันเป็นตัวอย่างที่พิจารณาได้ง่าย แล้วค่อยดำเนินไปพิจารณาในอายตนะอื่นๆ โดยเฉพาะใจหรือจิต อันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนแปรปรวนเป็นที่สุด แต่ก็คงดำเนินไปในหลักธรรมเดียวกัน
ในการกระทบของกาย(โผฏฐัพพะ) เช่น การถูกตี หรือการถูกของร้อน ปวดท้อง ปวดหัว ฯลฯ.
กาย ของพระอริยเจ้า โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
กาย ของปุถุชน โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
โยนิโสมนสิการโดยวางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ วางความยึด วางความเข้าใจต่างๆเดิมๆลงไปชั่วขณะ เพียงพิจารณาตามความเป็นจริงหรือเป็นไปของธรรม หรือตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่าเมื่อเกิดการโผฏฐัพพะดังกล่าวขึ้นแล้ว พระอริยเจ้าท่านจะมีความรู้สึกรับรู้หรือเวทนาตามความเป็นจริงแห่งธรรมแห่งการกระทบสัมผัสที่เกิดขึ้นหรือไม่? กล่าวคือ ท่านถูกของร้อน หรือถูกการกระทบทางกายแรงๆแล้ว เวทนาทางกายของท่าน? ไม่เจ็บ? ไม่มีความรู้สึกรับรู้? หรืออย่างไร? เมื่อไม่เกิดทุกขเวทนาแล้วจะมีสังขารขันธ์ทางกาย คืออาการสะดุ้งออก เพื่อการป้องกันตนเองไหม? แล้วเวทนาทางใจเล่า? ก็ชอบใจหรือ? ถูกใจ? สบายใจอย่างยิ่ง? หรืออย่างไร? หรือมีอะไรกระทบท่านก็ไม่รู้สึกรู้สามีแต่อทุกขมสุขเวทนาหรือไร? ดังนั้นถ้าวางใจเป็นกลางได้ วางความเชื่อ ความเข้าใจหรือทิฏฐิเดิมๆลงไป ดังนี้คือปฎิบัติบูชา นี้คือการโยนิโสมนสิการ แล้วพิจารณาตามความจริง ก็คงจะได้พบความจริงในสภาวะทุกข์ธรรมชาติของเวทนา ที่คงเกิด มี เป็น เช่นนั้นเองโดยธรรม(ธรรมชาติ)ของผู้มีชีวิต จึงเป็นไปและเกิดขึ้น ดังที่ท่าน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวสอนไว้ในเรื่องทุกข์
"...........เพราะสัมผัส(ก็คือผัสสะ - webmaster)>มันมีอยู่ ประสาท(ก็คือ วิญญาณ ๖ - webmaster)>มันยังไม่ทันดับยังไม่ทันตาย สิ่งทั้งหลายจะต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอก จึงว่าใครจะทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้ มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้ (กล่าวคือ ไม่สามารถยังให้เกิดเป็นทุกข์อุปาทานขึ้นได้ด้วยเวทนูปาทานขันธ์ - webmaster)&nbbsp; ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริงดังอธิบายมานั้น"
(จากเรื่อง"ทุกข์" โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ทุกข์ก็ยังเหมือนเดิม ดังกล่าวของหลวงปู่เทสก์ข้างต้น จึงหมายถึง ทุกข์ธรรมชาติ อันคือ เหล่าทุกขเวทนานั่นเอง
แต่ความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ระหว่างพระอริยเจ้าและปุถุชน ก็คือ กระบวนธรรมที่ดำเนินต่อไปนั้นตามกระบวนธรรมของชีวิต อันมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พระอริยเจ้าท่านดำเนินไปตามธรรมของขันธ์ ๕ ไม่ยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ จึงเป็นไปดังที่หลวงปู่กล่าวไว้ "แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้" ส่วนปุถุชนนั้นก็มักดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ในชราอันแสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอยาก กล่าวคือ มักเกิดการทำงานของตัณหาขึ้นต่อเวทนาเหล่านั้น, ตลอดจนเวทนาของพระอริยเจ้านั้นท่านปราศจากกิเลสมาร้อยรัดเสียแล้ว ก็เนื่องจากอาสวะกิเลสของท่านถูกทำลายเสียด้วยวิชชาเสียแล้ว อาสวะกิเลสเหล่านั้นจึงเป็นเพียงสัญญาหรือความจำและความเข้าใจตลอดจนสัญญาหมายรู้อันดีงาม และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงขันธ์หรือชีวิตอย่างหนึ่ง ดังนั้นเวทนาของท่านจึงเป็นเวทนาที่ปราศจากอามิสหรือกิเลส เวทนาเหล่านั้นจึงเป็นเวทนาโดยธรรมชาติล้วนๆ ที่ยังคงเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้นเอง ดังนั้นในส่วนของเวทนาทางใจของท่าน เช่น ทุกขเวทนาแม้ยังคงมีอยู่ แต่แตกต่างจากปุถุชนเนื่องจากการขาดเสียซึ่งอาสวะกิเลสหรือกิเลสนั่นเอง เป็นแต่ทุกขเวทนาทางใจตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น และไม่ไหลเลื่อนต่อเนื่องไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน)ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ในชรา?
ดูการแก้ไขน้อยลง
22 กุมภาพันธ์ 2016
สุขเวทนา มีอยู่ แต่ไม่ติดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่หมกใจอยาก
ทุกขเวทนา มีอยู่ แต่ไม่พิรี้พิไร รำพัน โอดครวญ ไม่หลงด้วยรู้ว่าเป็นเช่นนั้นเอง
อทุกขมสุข มีอยู่ แต่รู้ทัน ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งให้ยืดเยื้อเป็นเรื่องเป็นราวอีกต่อไป
เวทนา การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก คือความรู้สึกในรสของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะ(Feeling) ดังเช่น ความรู้สึกในรสของอาหาร(อาหารนี้ทำหน้าที่เป็นอารมณ์)ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติจากการผัสสะของลิ้น คือชิวหา เป็นเพียงความรู้สึก(Feeling)ที่พึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่อาจเป็นความรู้สึกชนิดถูกใจ ชอบใจ สบายใจ สบายกาย หรือไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายกาย หรือเฉยๆ อันขึ้นอยู่กับสัญญาความจำได้หมายรู้ (จึงไม่ใช่อาการที่เมื่อทานเข้าไปแล้วเกิดความคิดว่า "อร่อย" อันเป็นสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตตสังขาร หรือทางวาจาที่เปล่งออกมาว่าอร่อย อันเป็นสังขารขันธ์ทางวาจาหรือวจีสังขาร หรืออาการน้ำลายสออันเป็นสังขารขันธ์ทางกายหรือกายสังขาร)
เวทนาเป็นสังขาร และเป็นนามธรรม รับรู้ได้ด้วยทั้งกายและใจ ไม่มีตัวไม่มีตนเป็นแก่นแกนแท้จริง จึงไม่ใช่อัตตา,ไม่ใช่ของตัวของตนอย่างแท้จริง เป็นอนัตตาจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา เป็นสังขารที่หมายถึงสังขตธรรมสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงย่อมเกิดแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง เหมือนดังเงา จึงเกิดผลขึ้นเป็นเวทนาได้ ดังแสดงในเรื่องขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์ ตลอดจนปฏิจจสมุปบาท จึงมีสามัญญลักษณะเหมือนดังสังขารทั้งหลายทั้งปวง ที่มีความไม่เที่ยง จึงมีอาการแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็คงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นธรรมดา และเป็นอนัตตา ที่ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ให้จับต้องควบคุมบังคับบัญชาได้ อยู่ในสภาวะเมื่อเหตุปัจจัยประชุมกันครบองค์ผัสสะ ก็เกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมของผู้มีชีวิตที่จำต้องรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็นก็ไม่ได้ กล่าวคือ จึงเกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง จึงเป็นทุกขเวทนาบ้าง จึงเป็นอทุกขมสุขเวทนาบ้าง อันย่อมเป็นไปตามธรรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆไปว่า เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉยๆบ้าง แล้วก็ดับไป เกิดดับๆๆ.. อยู่เยี่ยงนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่มีตัวตนแท้จริง จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญายิ่ง เพื่อให้เกิดนิพพิทา ไม่ไปยึดมั่นหมายมั่น กล่าวคือ ไม่ไปอยากด้วยภวตัณหาด้วยการละเสีย หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นด้วยการละเสียซึ่งวิภวตัณหาในเวทนาเหล่านั้น ถ้าไม่ละตัณหาดังกล่าว ก็จักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนูปาทานขันธ์ที่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายของเหล่าอุปาทานขันธ์ ๕ ใน ชราอย่างเป็นทุกข์ขึ้น
ที่รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์กันอยู่ในโลกนี้ ก็คือ เวทนา นั่นเอง
เวทนา - เสวยอารมณ์ - ความรู้สึก ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น เมื่อมีกการผัสสะกับอารมณ์ ทุกครั้งทุกทีไปเป็นธรรมดา
จึงย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่ให้เกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้เป็นธรรมดา ตราบที่ยังดำรงชีวิตหรือขันธ์อยู่
แต่ที่ทำให้เร่าร้อนเผาลนยิ่ง และพระองค์ท่านสอนให้ดับไปก็คือเวทนูปาทานขันธ์
อันย่อมเกิดขึ้น เมื่อเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น ไปประกอบด้วยอุปาทาน
อันเนื่องมาจากการเกิดตัณหาขึ้น
อันเป็นการดำเนินไปตามปฎิจจสมุปบาทธรรม ฝ่ายสมุทยวาร
เดิมก็ได้กล่าวถึงเวทนาอย่างละเอียดพอสมควร ไว้แล้วทั้งในปฏิจจสมุปบาทและในขันธ์๕ แต่เนื่องจากเนื้อหาสาระมีเป็นจำนวนมากในธรรมทั้ง๒ จึงอาจพินิจพิจารณาจำแนกแตกธรรมได้ไม่แจ่มแจ้งชัดเจน เพราะเกิดการปะปนสับสนกับธรรมอื่นๆ จึงนำมาแจกแจงจำแนกแตกธรรมโดยละเอียดเป็นลำดับขั้นโดยเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง เนื่องเพราะมีความสำคัญในการเจริญธรรมหรือวิปัสสนาในพระศาสนา ทั้งในขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างยิ่ง และแม้ในสติปัฏฐาน ๔ อันมีเวทนานุปัสสนา
ก็เนื่องจากเวทนาเป็นขันธ์คือกองหรือส่วนอันเป็นทางแยกที่สำคัญยิ่งที่กระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตจักดำเนินต่อไปแบบขันธ์ ๕ อันไม่เป็นทุกข์(อุปาทานทุกข์) มีเพียงเวทนาเป็นไปตามธรรม เกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง หรืออทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นธรรมดา๑. หรือจักไปเป็นเหตุ อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาในเวทนานั้นๆขึ้น อันเป็นการดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง๑. อันเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเป็นทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลน ดังภาพที่แสดงนี้ ณ องค์ธรรมเวทนา
anired02_down.gif
สัญญาหมายรู้
anired02_down.gif
สังขารขันธ์
[ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นขันธ์๕ สภาวธรรมของชีวิต]
ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ แต่เสวยเวทนาเป็นไปตามธรรม
โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะเข้าใจได้ว่า เวทนาจึงเป็นต้นเหตุ ที่หมายถึงเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงๆที่สุดที่ยังให้เกิดการกระตุ้นเร้าการทำงานของตัณหาขึ้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกิดตัณหาขึ้น ส่วนรูปที่สวยงามหรือน่าเกลียด เสียงที่ไพเราะหรือไม่ไพเราะ กลิ่นอันหอมหวลหรือเหม็น รสอันเอร็ดอร่อยหรือไม่อร่อย สัมผัสอันละมุนหรือเจ็บปวด ธรรมารมณ์(คิด)อันดีหรือชั่ว จึงต่างล้วนไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยโดยตรงๆที่ยังให้เกิดตัณหา ล้วนเป็นเพียงสังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเช่นกัน อันเป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้น ที่ยังให้เกิดเวทนา ขึ้นเสียก่อน แล้วเวทนาจึงเป็นต้นเหตุโดยตรงที่ไปกระตุ้นเร้ายังให้เกิดการทำงานของตัณหาที่นอนเนื่องสั่งสม อันเป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งที่เจือด้วยกิเลสคืออาสวะกิเลสขึ้นในจิต
เวทนา ในทางพุทธศาสตร์แปลว่า การเสวยอารมณ์, เสวย ที่แปลว่า การกิน การรับประทาน การเสพ การเสพรส, ส่วน อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดหมายหรือกำหนดในขณะนั้นๆ เช่น ไปยึดหรือกำหนดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส(โผฏฐัพพะ) หรือในธรรมมารมณ์ ใดๆในขณะนั้น ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่หมายถึง ความน่าสงสาร ความเจ็บปวด แต่อย่างใด.
เวทนา หรือการเสวยอารมณ์ จึงหมายถึง การเสพรสในสิ่งที่มากระทบสัมผัสหรือสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในขณะนั้นๆนั่นเอง ดังเช่นการเสพรสในอาหาร อันเมื่อมีการเสพแล้ว จึงย่อมต้องมีการรับรู้ในรสชาดในสิ่งที่เสพนั้นๆ อันเป็นไปตามธรรม(ธรรมชาติ)คือสภาวธรรมของชีวิตนั่นเอง พร้อมทั้งการจดจำได้(สัญญา)ในรสชาด ของสิ่งที่เสพนั้นด้วยเป็นธรรมดา เหมือนดังการเสพเสวยอาหาร ก็ย่อมรู้รสชาดของอาหารนั้นๆ และย่อมจดจำได้โดยตรงหรืออาจคุ้นเคยในรสชาดของอาหารนั้นๆด้วยเป็นธรรมดา ดังนั้นเวทนาจึงหมายถึง ความรู้สึกรับรู้ในรสชาดของอารมณ์หรือสิ่งนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ อันพรั่งพร้อมด้วยสัญญาความจดจำได้อยู่ในที เป็นสภาวธรรมของชีวิต จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้ เพราะเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริง จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้, เป็นสิ่งหรือธรรมที่อยู่คู่กับชีวิต เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕ หรือชีวิต ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เพียงแต่บางครั้งเป็นไปอย่างแผ่วเบาหรือด้วยความเคยชินอย่างยิ่งยวด จึงสังเกตุไม่เห็นด้วยอาการธรรมดา ในนักปฏิบัติจึงควรทำความเข้าใจในเวทนาโดยละเอียดและถูกต้อง ก็เพื่อป้องกันการปฏิบัติออกไปนอกลู่ผิดทางแบบผิดๆด้วยอวิชชา ดังเช่น ไปคิดว่าดับเวทนาได้ จึงปฏิบัติแบบพยายามไปดับที่เวทนาเสียโดยตรงๆกล่าวคือไปพยายามปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนาขึ้นนั่นเอง พยายามไปในลักษณาการที่จะดับเวทนาให้ดับสูญไปจริงๆตามคำพูดที่ใช้สื่อกันตรงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหล่าทุกขเวทนา
เวทนา จึงมีความหมายว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากการผัสสะกับอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ในสิ่งต่างๆนั่นเอง อันเป็นสภาวธรรมที่ติดตัวมากับชีวิต ตราบจนสิ้นขันธ์คือชีวิต
พระองค์ท่านทรงแยกรสชาดของเหล่าเวทนาออกเป็น เวทนา ๓ อันมี สุขเวทนา๑ ทุกขเวทนา๑ อทุกขมสุขเวทนา๑ ในยุคต่อๆมาอรรถกถาจารย์บางท่านจำแนกแยกละเอียดเป็นเวทนา ๕ ก็มี กล่าวคือ แยกสุขเวทนาเป็นสุขทางกาย และสุขทางใจ(โสมนัส) ส่วนทุกขเวทนาแยกเป็นทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ(โทมนัส) จึงกลายเป็น ๕
กระบวนธรรมของการปรุงแต่งของเหตุปัจจัยต่างๆ จึงมีการเกิดของเวทนา ขึ้นครั้งหนึ่งๆนั้น พอจะแสดงเป็นลำดับได้ดังนี้
ดังตัวอย่างของ กระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยหรือเป็นองค์ประกอบของชีวิต และย่อมมีการทำงานที่เนื่องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นอีกด้วย ซึ่งย่อมยังให้เกิดเวทนาเป็นไปโดยธรรม(ธรรมชาติ) อันย่อมเกิดขึ้นกับผู้มีชีวิตทุกๆคน หรือกล่าวคือโดยธรรมชาติ โดยอาศัยทวารคืออายตนะต่างๆ ดังเช่น ตา
เมื่อ ตา มองเห็น หรือไปกระทบกับ รูป
เขียนเป็นกระบวนธรรม เหมือนดั่งกระบวนการหรือสมการที่เขียนในวิชาเคมีทางโลกๆ เพื่อยังประโยชน์ในการโยนิโสมนสิการพิจารณาได้ง่าย ก็เพื่อให้ เห็นการเกิดขึ้นและความเป็นไปตามหลักเหตุและผลหรืออิทัปปัจจยตาอย่างแจ่มชัด จึงขอเริ่มตั้งแต่ต้นกระบวนธรรม กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อตาไปกระทบรูป นำมาเขียน เป็นกระบวนธรรมโดยย่อพอสังเขปได้ดังนี้
ตา รูป
แล้วย่อมดำเนินไปตามธรรม หรือธรรมชาตินั่นเอง ที่ต้องเป็นเช่นนี้เอง ไม่เป็นอื่น คือย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด จักขุวิญญาณ อันคือระบบประสาทรับรู้ของจักขุหรือตา อันเกิดขึ้นจากการกระทบกับรูปของตา อันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต หมายถึงธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง ผู้ที่ตากระทบรูปแล้ว จักไม่เกิดจักขุวิญญาณ มีแต่ผู้ที่ตายแล้วเท่านั้นเป็นธรรมดา หรือผู้ที่สูญเสียทวารตาเท่านั้น เราไปควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ ด้วยล้วนเป็นอนัตตาจึงไม่ขึ้นอยู่กับเรา แต่ขึ้นหรือเป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยกัน, ถ้าพิจารณากันในทางพุทธศาสตร์ก็เนื่องจากความเป็นอนัตตา ล้วนไม่มีตัวตนแท้จริง จึงล้วนไม่ใช่เราหรือของเราอย่างแท้จริง จึงไปควบคุมบังคับให้ว่าเมื่อผัสสะแล้วจะให้เห็นหรือไม่เห็นไม่ได้ แต่ต้องเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัย
จึงแสดงเป็นกระบวนธรรมได้ดังนี้
ตา รูป ทั้ง๒เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยกันในขณะนั้น จึงมี จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น
แสดงเป็นกระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตโดยย่อได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ
การประจวบกันของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้นนี้ คือ อายตนะภายนอก(รูป) กระทบกับ อายตนะภายใน(ตา) แล้วเกิด วิญญาณ(จักขุวิญญาณ)ขึ้น พระองค์ท่านทรงเรียกอาการครบองค์ประกอบของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ ที่มาประจวบกันดังนี้ว่า ผัสสะ เป็นอาการหรือลักษณาการโดยธรรมชาติของชีวิต จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้ กล่าวคือ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ด้วยเป็นอนัตตา เขียนเป็นกระบวนธรรมให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กันได้อย่างง่ายๆสืบต่อมา ได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ
กล่าวคือ เมื่อเหตุปัจจัยทั้ง๓ เกิดร่วมกระทบกันแล้ว ก็คือเกิดการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดา [ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อไม่สำรวม สังวร ระวัง หรือแม้แต่เพราะยังมีหน้าที่ที่พึงกระทำอยู่ก็ตาม เพราะย่อมต้องเกิดการผัสสะทุกครั้งทุกทีไปตามธรรมคือธรรมชาติ] อันมีพุทธพจน์ที่ตรัสยืนยันไว้ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป (ย่อมต้อง)เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
(กล่าวเหมือนกันในอายตนะหรือทวารทั้ง ๖)
(ม.อุ. ๑๔/๘๒๓/๔๙๓)
เมื่อเกิดการผัสสะดังกล่าวแล้ว ย่อมดำเนินต่อไปตามธรรมหรือกระบวนธรรมของชีวิต หรือการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ต่อสืบเนื่องไป จะหยุด จะห้ามเสียก็ไม่ได้ อุปมาดั่งสารเคมีสองชนิดที่มีปฏิกริยาต่อกันโดยธรรม(ธรรมชาติ) ซึ่งเมื่อกระทบสัมผัสกันแล้ว จะไปห้ามไม่ให้เกิดปฏิกริยาต่อกันและกัน ย่อมไม่ได้ ด้วยเป็นอนัตตา, ดังนั้น จึงย่อมต้องเกิดกระบวนธรรมของจิตสืบเนื่องต่อไป คือเกิดการจำได้และเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้น อันเป็นสิ่งที่เรียกทางพุทธศาตร์ว่าสัญญา อันพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต อันเกิดแต่สัญญาที่สั่งสมมาแต่อดีตเก่าก่อนนั่นเอง จึงยังให้กระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตต้องดำเนินสืบต่อไป เขียนเป็นกระบวนธรรมแสดงความต่อเนื่องได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำได้และเข้าใจ)
ในบางครั้ง บางที อาจไม่แสดงสัญญา(ความจำได้และเข้าใจ)เหล่านี้ในกระบวนธรรม เช่น เมื่อกล่าวในปฏิจจสมุปบาท เหตุเพราะสัญญานี้มีอยู่แล้ว เพียงแต่แฝงอยู่ในรูปของอาสวะกิเลสคือสัญญาเจือกิเลสนั่นเอง หรือในบางครั้งเขียนเพื่อแสดงขันธ์ทั้ง ๕ ให้ครบบริบูรณ์เท่านั้น จึงเพียงแสดงสัญญาหมายรู้ที่เกิดขึ้นต่อจากเวทนาเพียงครั้งเดียวอย่างรวบรัด อย่างย่อย่นก็มี โดยผู้รู้จะรู้เป็นนัยอยู่แล้วว่า ย่อมมีสัญญาอันเป็นขันธ์ของชีวิตเกิดขึ้น แต่ครานี้เป็นการแสดงโดยละเอียดเพื่อการโยนิโสมนสิการให้เข้าใจเวทนาได้แจ่มแจ้ง จึงแสดงสัญญาที่เกิดขึ้นและเป็นไปในกระบวนธรรมขันธ์๕ ที่จริงๆแล้วซับซ้อนเกิดสัญญาขึ้นหลายครั้งหลายคราในขันธ์หนึ่งๆ ดังเช่นที่แสดงไว้ในเรื่องขันธ์ ๕ หรือในเรื่องรายละเอียดของขันธ์ ๕ มิได้มีความขัดแย้งกันใดๆทั้งสิ้นในเรื่องขันธ์ ๕และปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่อาจมีการสลับตำแหน่งของกระบวนจิตกันบ้างก็เพื่อการอธิบายในแต่ละเรื่องแต่ละกิจ แต่นัยยะล้วนเป็นไปเฉกเช่นดียวกัน ถ้าอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าขัดแย้งกัน ขอให้ทบทวนพิจารณาโดยละเอียดอีกหลายๆครั้ง เพราะแสดงถึงความยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งเป็นเหตุนั่นเอง (อ่านรายละเอียดการเปรียบเทียบระหว่างขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทได้ในบทที่ ๙)
เหตุที่ต้องมีสัญญานั้นก็คือ เกิดสัญญาความจำได้และเข้าใจในรูปขึ้นเสียก่อนตามที่สั่งสมไว้แล้วนั่นเอง ลองพิจารณาดูดังนี้ ในผู้ป่วยที่สมองอันเป็นหทัยวัตถุไม่ทำงานตามปกติ เมื่อตากระทบรูป เนื่องจากยังมีชีวิตอยู่ ย่อมเกิดจักขุวิญญาณเป็นธรรมดา แต่สมองหรือหทัยวัตถุส่วนสัญญานั้นไม่ทำงาน หรือก็คือขันธ์ ๕ ไม่บริบูรณ์เสียแล้ว เขาเหล่านั้นจึงย่อมรับรู้รสชาดของเวทนาอย่างไม่สมบูรณ์ถูกต้อง
ดังนั้นนอกจากรสชาดโดยธรรมชาติของสิ่งที่มาผัสสะแล้ว สัญญาจำได้ในรูปหรือสิ่งที่ผัสสะอันสั่งสมไว้อยู่แล้วใดๆ ก็ย่อมส่งผลเป็นปัจจัยถึงเวทนาอีกด้วย ดังเช่น อาสวะกิเลส อันคือสัญญาเจือกิเลสนั่นเอง
เมื่อกระบวนธรรมดำเนินมาถึง ณ ที่นี้นี่เอง คือจำได้และเข้าใจในรูปนั้น จึงเกิดเป็นเวทนาต่างๆขึ้น ที่เนื่องสัมพันธ์กับสัญญาความจำได้และเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หรือจะเขียนสมการธรรม ให้อยู่ในรูปใกล้เคียงกับปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งขึ้นก่อน ดังกล่างข้างต้น ดังต่อไปนี้ก็ได้ เพียงขอแต่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสัญญานั้นจริงๆแล้วก็อยู่ในสภาพนอนเนื่องดุจดั่งอาสวะกิเลสเช่นกัน เมื่อเกิดการผัสสะ จึงเกิดการเข้าร่วมหรือทำงานขึ้น ยังให้มีอิทธิพลหรือเป็นเหตุคือองค์ประกอบหนึ่งของเวทนา
[สัญญา(ความจำได้) ] ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ เวทนา
หรือแสดงโดยละเอียด ดังนี้
[สัญญา(ความจำ)แต่นอนเนื่องอยู่ ] ดังนั้นเมื่อ ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำและเข้าใจในรูป จึงทำงานขึ้น) เวทนา
อันผู้เขียน ย่อลงอยู่ในรูปแบบด้านล่างนี้ เมื่อกล่าวถึงในรูปแบบของขันธ์ ๕
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
เมื่อมีสัญญาความจำในรสชาดของรูปนั้นที่เคยเกิดขึ้นแต่อดีต เป็นไปอย่างไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็ย่อมส่งผลให้เกิดเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้รสชาดในรูปนั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ หรือก็คือ เป็นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากรูปเป็นไปในทางลบ ที่เรียกว่า ทุกขเวทนา หรือเรียกกันสั้นๆว่าทุกข์ อันเป็นไปตามสภาวะของสัญญาความจำที่มีต่อรูปนั้นนั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสัญญาความจำได้ในรูป(อารมณ์)ย่อมร่วมมีอิทธิพลต่อ "เวทนา" การรับรู้ในรสชาดตามธรรมหรือธรรมชาติของรูป(อารมณ์)นั้นๆด้วย
ดังนั้นถ้าสัญญาความจำในรูปนั้นเป็นไปอย่าง ชอบใจ ถูกใจ หรือสบายใจ ในรูปนั้น ก็ย่อมยังให้เกิดเวทนาไปทางถูกใจ สบายใจ หรือทางบวก หรือก็คือ เป็นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากรูปเป็นไปในทางบวก ที่เรียกว่า สุขเวทนา หรือบางทีเรียกกันสั้นๆว่าสุข นั่นเอง
ถ้าสัญญาความจำในรูปนั้นเป็นไปอย่างเฉยๆ ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่มีความรู้สึกที่เด่นชัด ก็เรียกเวทนานี้ว่า อทุกขมสุขเวทนา นั่นเอง หรือที่บางคนแยกแยะไม่ออก บอกแต่ว่า เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร ไม่มีอะไร นั่นแหละอทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนา
ดังนั้นเมื่อมีการผัสสะเกิดขึ้น ย่อมต้องเกิดเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น และที่ว่าผัสสะแต่ไม่มีอะไร นั่นแหละอทุกขมสุขเวทนา
กล่าวดังนี้แล้วอาจจักยังไม่แจ่มแจ้ง ลองพิจารณาดูดังนี้ ในหมู่คณะหลายคน ที่เห็นในรูปในสิ่งๆเดียวกัน เขาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดังนี้ เหมือนกันล้วนสิ้น กล่าวคือ
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
แต่เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น อาจผิดแผกแตกต่างกันไป บ้างก็เกิดสุขเวทนาต่อรูปนั้น กล่าวคือว่ารูปนั้นสวย บ้างก็เกิดทุกขเวทนาต่อรูปนั้น กล่าวคือว่ารูปนั้นไม่สวย บ้างก็เกิดอทุกขมสุขต่อรูปนั้น กล่าวคือรู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย
โยนิโสมนสิการว่า อะไร? เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความแตกต่างกัน ก็จะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่าสัญญานั่นเอง อันเกิดแต่การสั่งสมมาแต่อดีตเป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งในการเสวยอารมณ์หรือเวทนา (อาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่งก็ดำเนินไปในลักษณาการเช่นนี้เอง) กล่าวคือ ต่างล้วนมีอายตนะภายใน(ตา)ที่ทำหน้าที่เหมือนกัน, ต่างล้วนมีอายตนะภายนอกใน(รูป)เป็นสิ่งเดียวกัน, ต่างย่อมล้วนเกิดจักขุวิญญาณขึ้นมาทําหน้าที่เดียวกัน ก็จะเห็นความสำคัญของสัญญาต่อรสชาดตามธรรมชาติแท้ๆของรูป(อารมณ์)ที่เห็นนั้น
ลองโยนิโสมนสิการในธรรมนี้
ในเด็กทารกที่ยังเล็กอยู่ กับผู้ใหญ่ที่รู้ความแล้ว เมื่อให้เงินทองหรือทรัพย์สินแก่บุคคลทั้งสอง ดังนั้น เมื่อตากระทบกับเงินที่ได้รับ ในทั้งสองคนกระบวนธรรมในการผัสสะต่างล้วนดำเนินไปเหมือนกันดังนี้
ตา รูปคือเงิน จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หรือเขียนขยายแสดงดังต่อไปนี้ แบบละเอียดและแยบคายขึ้นก็ได้
[สัญญา(ความจำได้ที่นอนเนื่อง) ] ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญาที่ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดการทำงาน จึงจำได้ เวทนา
กระบวนธรรมในการผัสสะตั้งแต่ต้นของบุคคลทั้งสอง ดำเนินมาเหมือนกันทุกประการ กล่าวคือ มีตาที่ทำหน้าที่เหมือนกัน เห็นรูปคือเงินในสิ่งเดียวกัน ต่างล้วนเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเหมือนกัน ย่อมครบองค์การผัสสะเกิดขึ้นเหมือนกัน จึงเป็นเหตุปัจจัยในขณะนั้นให้เกิดสัญญาความจำและเข้าใจในรูปที่กระทบหรือเห็น จึงมีความแตกต่างกันของเวทนาเกิดขึ้น
ฝ่ายทารก สัญญาความจำได้และความเข้าใจในเรื่องเงินนั้นยังไม่มีการสั่งสม ดังนั้น เมื่อทารกเห็นเงินจึงย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา กล่าวคือรู้สึกเฉยๆต่อเงินที่เห็นนั้น กล่าวคือเป็นไปในทางเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นกลางแต่ด้วยความไม่รู้ ซึ่งอาจขว้างทิ้ง ฉีกทิ้งเอาเสียก็ได้
ฝ่ายผู้ใหญ่นั้น เมื่อตาไปกระทบกับเงินที่ได้รับ เขาย่อมเกิดสุขเวทนาขึ้น คือถูกใจ ชอบใจ เพราะมีสัญญา(ความจำและเข้าใจ)เป็นอย่างดีในเรื่องเงินนั้น อันสั่งสมมาแต่อดีตชาติ จึงย่อมเกิดความรู้สึกรับรู้ที่ถูกใจ ชอบใจคือสุขเวทนาต่อเงินที่ผัสสะนั้น
ในกระบวนธรรมข้างต้น ต่างเกิดขึ้นและดำเนินไปเหมือนกันทุกประการ แตกต่างอยู่ที่สัญญาเท่านั้นเอง จึงยังให้เกิดเวทนาที่แตกต่างกัน
ถ้ายังไม่แจ่มแจ้ง คิดไปว่ากระบวนธรรมดังกล่าวที่เวทนาแตกต่างกันเพราะต่างบุคคลกันเป็นเหตุ ก็ลองโยนิโสมนสิการในทารก ที่เมื่อตากระทบขวดนม เปรียบเทียบกับเมื่อตาของทารกคนเดียวกันไปกระทบสิ่งของที่สวยงามทั่วไป ที่ทารกไม่รู้จัก ยังไม่มีสัญญานั่นเอง
กระบวนธรรม(ธรรมชาติ)ของการเกิดเวทนาจึงเป็นไปดังนั้น ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกันในอายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง๖ ด้วยเหตุดังนี้เอง ถ้าโยนิโสมนสิการในพระไตรปิฎกแล้ว จักสังเกตุเห็นได้อย่างหนึ่งว่า เมื่อพระองค์ท่านกล่าวสอนถึง อายตนะหรือทวารใดๆแล้ว จักเห็นการกล่าวครบทั้ง ๖ เรียงไปเป็นลำดับตามมาจนครบ กล่าวคือ มีเจตนาเน้น แสดงถึงผลที่เกิดขึ้น ว่าเหมือนกัน ของกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นจากการผัสสะของอายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง ไม่ว่าการผัสสะนั้น จะเนื่องมาจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือแม้แต่ใจก็ตาม ต่างก็ล้วนดำเนินและเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกันนั่นเอง เป็นธรรมดา จึงมิใช่เป็นการกล่าวอย่างพรํ่าเพื่อให้เฝือแต่ประการใด แต่เป็นอุบายคือวิธีการเน้น โดยนัยว่า อายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั้น ต่างทำงานเหมือนกันโดยนัยนั่นเอง จึงเน้นยํ้า กล่าวซํ้าถี่บ่อย เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้สำรวม สังวร ระวังในทวารทั้ง ๖ ถ้วนหน้า อันล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
ผู้ไม่ระวังผัสสะทั้งหก แม้ประตูหนึ่ง ย่อมประสพความทุกข์
ฉเฬว ผสฺสายตนานิ ภิกฺขเว อสํวุโต ยตฺถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
(สังคัยหสูตร ๑๘/๗๖)
เหตุเพราะเมื่อมีการผัสสะ ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง
เพราะล้วนเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของเรา จึงล้วนเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัย
ดังนั้นพึงโยนิโสมนสิการในการผัสสะของอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้น โดยแยบคาย
ตา รูป จักขุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
หู เสียง โสตวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
ใจ คิด(ธรรมมารมณ์) มโนวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย ก็จะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่า อายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั้น เมื่อเกิดการผัสสะขึ้นแล้ว ย่อมดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกัน กล่าวคือยังให้เกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา ที่หมายความ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น เป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เพียงอาจแตกต่างกันที่ความแรงเข้มเด่นชัด หรือความเคยชินเท่านั้น และล้วนเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติในแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น
จักเห็นสภาวธรรม หรือธรรมชาติของชีวิต ที่ต้องเป็นเช่นนี้เอง จึงดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปในทุกหมู่เหล่า แม้ในเหล่าพระอริยเจ้าก็เช่นกัน จึงมีการกล่าวอยู่เสมอๆในหมู่พระอริยเจ้าว่า เวทนานั้นใครๆก็หลีกหนีไปไม่พ้น เป็นธรรมชาติของผู้มีชีวิต หรือกล่าวได้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์โดยสภาวธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง (อย่าไปสับสนกับเวทนูปาทานขันธ์อันคือเวทนาเหมือนกันแต่ประกอบด้วยอุปาทานอันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่แสนเร่าร้อนเผาลน ที่เหล่าพระอริยเจ้าล้วนหลีกหนีห่างไกลชนิดตัดขาดจากกันไป)
กล่าวดังนี้ อาจยังไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ลองโยนิโสมนสิการในการผัสสะของกายดู อันเป็นตัวอย่างที่พิจารณาได้ง่าย แล้วค่อยดำเนินไปพิจารณาในอายตนะอื่นๆ โดยเฉพาะใจหรือจิต อันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนแปรปรวนเป็นที่สุด แต่ก็คงดำเนินไปในหลักธรรมเดียวกัน
ในการกระทบของกาย(โผฏฐัพพะ) เช่น การถูกตี หรือการถูกของร้อน ปวดท้อง ปวดหัว ฯลฯ.
กาย ของพระอริยเจ้า โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
กาย ของปุถุชน โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(ความจำ) เวทนา
โยนิโสมนสิการโดยวางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ วางความยึด วางความเข้าใจต่างๆเดิมๆลงไปชั่วขณะ เพียงพิจารณาตามความเป็นจริงหรือเป็นไปของธรรม หรือตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่าเมื่อเกิดการโผฏฐัพพะดังกล่าวขึ้นแล้ว พระอริยเจ้าท่านจะมีความรู้สึกรับรู้หรือเวทนาตามความเป็นจริงแห่งธรรมแห่งการกระทบสัมผัสที่เกิดขึ้นหรือไม่? กล่าวคือ ท่านถูกของร้อน หรือถูกการกระทบทางกายแรงๆแล้ว เวทนาทางกายของท่าน? ไม่เจ็บ? ไม่มีความรู้สึกรับรู้? หรืออย่างไร? เมื่อไม่เกิดทุกขเวทนาแล้วจะมีสังขารขันธ์ทางกาย คืออาการสะดุ้งออก เพื่อการป้องกันตนเองไหม? แล้วเวทนาทางใจเล่า? ก็ชอบใจหรือ? ถูกใจ? สบายใจอย่างยิ่ง? หรืออย่างไร? หรือมีอะไรกระทบท่านก็ไม่รู้สึกรู้สามีแต่อทุกขมสุขเวทนาหรือไร? ดังนั้นถ้าวางใจเป็นกลางได้ วางความเชื่อ ความเข้าใจหรือทิฏฐิเดิมๆลงไป ดังนี้คือปฎิบัติบูชา นี้คือการโยนิโสมนสิการ แล้วพิจารณาตามความจริง ก็คงจะได้พบความจริงในสภาวะทุกข์ธรรมชาติของเวทนา ที่คงเกิด มี เป็น เช่นนั้นเองโดยธรรม(ธรรมชาติ)ของผู้มีชีวิต จึงเป็นไปและเกิดขึ้น ดังที่ท่าน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวสอนไว้ในเรื่องทุกข์
"...........เพราะสัมผัส(ก็คือผัสสะ - webmaster)>มันมีอยู่ ประสาท(ก็คือ วิญญาณ ๖ - webmaster)>มันยังไม่ทันดับยังไม่ทันตาย สิ่งทั้งหลายจะต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอก จึงว่าใครจะทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้ มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้ (กล่าวคือ ไม่สามารถยังให้เกิดเป็นทุกข์อุปาทานขึ้นได้ด้วยเวทนูปาทานขันธ์ - webmaster)&nbbsp; ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริงดังอธิบายมานั้น"
(จากเรื่อง"ทุกข์" โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ทุกข์ก็ยังเหมือนเดิม ดังกล่าวของหลวงปู่เทสก์ข้างต้น จึงหมายถึง ทุกข์ธรรมชาติ อันคือ เหล่าทุกขเวทนานั่นเอง
แต่ความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ระหว่างพระอริยเจ้าและปุถุชน ก็คือ กระบวนธรรมที่ดำเนินต่อไปนั้นตามกระบวนธรรมของชีวิต อันมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พระอริยเจ้าท่านดำเนินไปตามธรรมของขันธ์ ๕ ไม่ยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ จึงเป็นไปดังที่หลวงปู่กล่าวไว้ "แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้" ส่วนปุถุชนนั้นก็มักดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ในชราอันแสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอยาก กล่าวคือ มักเกิดการทำงานของตัณหาขึ้นต่อเวทนาเหล่านั้น, ตลอดจนเวทนาของพระอริยเจ้านั้นท่านปราศจากกิเลสมาร้อยรัดเสียแล้ว ก็เนื่องจากอาสวะกิเลสของท่านถูกทำลายเสียด้วยวิชชาเสียแล้ว อาสวะกิเลสเหล่านั้นจึงเป็นเพียงสัญญาหรือความจำและความเข้าใจตลอดจนสัญญาหมายรู้อันดีงาม และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงขันธ์หรือชีวิตอย่างหนึ่ง ดังนั้นเวทนาของท่านจึงเป็นเวทนาที่ปราศจากอามิสหรือกิเลส เวทนาเหล่านั้นจึงเป็นเวทนาโดยธรรมชาติล้วนๆ ที่ยังคงเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้นเอง ดังนั้นในส่วนของเวทนาทางใจของท่าน เช่น ทุกขเวทนาแม้ยังคงมีอยู่ แต่แตกต่างจากปุถุชนเนื่องจากการขาดเสียซึ่งอาสวะกิเลสหรือกิเลสนั่นเอง เป็นแต่ทุกขเวทนาทางใจตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น และไม่ไหลเลื่อนต่อเนื่องไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน)ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ในชรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น