วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ในมหาเวสสันดรชาดกผู้ที่เกิดในชาติเวสสันดรชาดก แล้วได้กลับมาเกิดร่วมชาติในสมัยที่พระโพธิ์สัตว์เจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามีใครบ้าง..ท่านแสดงได้ดังนี้

ในมหาเวสสันดรชาดก
ผู้ที่เกิดในชาติเวสสันดรชาดก แล้วได้กลับมาเกิดร่วมชาติ
ในสมัยที่พระโพธิ์สัตว์เจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
มีใครบ้าง..ท่านแสดงได้ดังนี้
๑. พระเจ้ากรุงสัญชัย กลับชาติมา คือ
พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา
๒. พระนางผุสดี กลับชาติมา คือ
พระนางสิริมหามายา พุทธมารดา
๓. พระนางมัทรี กลับชาติมา คือ
พระนางยโสธราพิมพา มารดาพระราหุล
๔. พระชาลี กลับชาติมา คือ พระราหุล พุทธชิโนรส
๕. พระกัณหา กลับชาติมา คือ นางอุบลวรรณาเถรี
๖. พระอจุตฤาษี กลับชาติมา คือ พระสารีบุตร
อัครสาวกเบื้องขวา
๗. ท้าวสักกะ (พระอินทร์) กลับชาติมา คือ
พระอนุรุทธเถระ
๘. วิสสุกรรมเทพบุตร (เลขาพระอินทร์) กลับชาติมา คือ
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย
๙. พรานเจตบุตร กลับชาติมา คือ พระฉันนะเถระ
๑๐.พราหมณ์ชูชก กลับชาติมา คือพระเทวทัตต์
๑๑.นางอมิตตดา (เมียชูชก) กลับชาติมา คือ นางจิญจมาณวิกิ สาวิกาเดียรญีย์ (ที่ใส่ความว่าท้องกับพระพุทธเจ้า)
๑๒.เทวดาที่แปลงเป็นพระยาพยัคฆราช(เสือโคร่ง)
กลับชาติมา คือ พระสิมพลีเถระ
๑๓.เทวดาที่แปลงร่างเป็นพระยาทีปิราช(เสือเหลือง)
กลับชาติมา คือ พระจุลนาคเถระ
๑๔.เทวดาผู้ชายที่มาดูแลกัณหาชาลี กลับชาติมา คือ
พระมหากัจจายนะเถระ
๑๕.เทวดาผู้หญิงที่มาดูแลกัณหาชาลี กลับชาติมา คือ
นางวิสาขาอุบาสิกา
๑๖.เทวดาที่แปลงเป็นพระยาไกรสรราช(ราชสีห์)
กลับชาติมา คือ พระอุบาลีเถระ
๑๗.ช้างปัจจัยนาค กลับชาติมา คือ
พระมหากัสสปะเถระ
๑๘.มารดาช้างปัจจัยนาค กลับชาติมา คือ
นางกีสา โคตมี
๑๙.กษัตริย์มัททราช กลับชาติมา คือ
พระยามหานามศากยราช
๒๐.อำมาตย์ที่ทูลข่าวเนรเทศ กลับชาตมา คือ
พระอานนทเถระ
๒๑.เสนาคุตตอำมาตย์ กลับชาติมา คือ
อนาถปิณฑิกเศรษฐี
๒๒.สหชาติโยธีทั้งหกหมื่น กลับชาติมา คือ พุทธบริษัท
ทั้งหลายในปัจจุบัน
๒๒.พระเวสสันดร บรมโพธิสัตว์ กลับชาติมา คือ
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง
เป็นสามัญลักษณะแม้กระทั่งนามสมมุติ
ชื่อเสียงนามโคตรก็เช่นกัน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป
แคว้นสีพี...
ครั้นล่วงมาถึงยุคพุทธกาลก็เปลี่ยนเป็นสักกชนบท ,
นครเชตุดร ก็เปลี่ยนเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ ,ราชวงศ์สีวีราช
ก็เปลี่ยนเป็นศากยะราช
"ดูกรอานนท์ เธอจงดูเถิด
สังขารทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว 
แปรปวนไปแล้ว หายไปแล้ว
ดูกรอานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลาย ไม่น่ายินดีอย่างนี้แล 
ดูกรอานนท์ 
ข้อนี้สัตว์ทั้งหลายควรจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว ควรแท้ที่จะคลายกำหนัด เพื่อจะหลุดพ้นไป
(แม้สังขารทั้งหลายทั้งปวงในปัจจุบันนี้ ก็จะไม่เที่ยง ดับไป แปรปรวนไป หายไป เหมือนสังขารทั้งหลายทั้งปวงในอดีต
สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา 
ที่เกิดขึ้นเพราะตาเห็นรูปอะไรก็ตาม....
สุข ทุกข เฉยๆ นั้น เป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเธอ
เธออย่าเพลินกับมัน จงมีสติเห็นมันไม่เที่ยง ไม่คงที่ระดับเดิม
เห็นมันแปรปรวนดับไป
สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะหูได้ยินเสียงอะไรก็ตาม....
สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ นั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเธอ
เธออย่าเพลิดเพลินกับมัน จงมีสติเห็นมันไม่เที่ยง แปรปรวน ดับไป
ดูกร..อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ
๑.สุขเวทนา ๒.ทุกขเวทนา ๓.อทุกขมสุขเวทนา 
อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น