ตั้งใจฆ่า
แต่คนหรือสัตว์ไม่ตาย
แปลว่า ปาณาติบาตไม่ครบองค์
แต่เจ้าของกลับเต็มใจยื่นให้โดยดี
แปลว่า อทินนาทานไม่ครบองค์
ตั้งใจชิงสาวจากพ่อแม่หรือสามีนาง
แต่เจ้าของกลับยกให้ก่อนเกิดเหตุทางเพศ
แปลว่า กาเมสุมิจฉาจารไม่ครบองค์
ตั้งใจโกหก
แต่ไม่เนียนพอจนฝ่ายฟังรู้ทัน ไม่หลงเชื่อ
แปลว่า มุสาวาทไม่ครบองค์
ตั้งใจกินเหล้าตั้งใจฆ่า
แต่คนหรือสัตว์ไม่ตาย
แปลว่า ปาณาติบาตไม่ครบองค์
แต่เปลี่ยนใจบ้วนทิ้งก่อนล่วงลงคอ
แปลว่า สุราเมรัยฯไม่ครบองค์
เมื่อกรรมไม่ครบองค์
ก็นับว่ายังทำกรรมนั้นๆไม่สำเร็จ
เงากรรมยังไม่เกิดตามตัวชัดเจน
และนั่นก็เป็นทำนองเดียวกันกับที่คิดร้าย
คิดไม่ดี แต่เปลี่ยนใจทันก่อนตาย
ก็ยังไม่สายเกินกว่าจะย้ายเส้นทางกรรม
เหมือนอย่างครั้งหนึ่ง
หลวงปู่มั่นกับลูกศิษย์ธุดงค์ไปเจอชาวเขา
ซึ่งไม่เคยเห็นพระสงฆ์มาก่อน
อีกทั้งหัวหน้าบ้านก็ดันด่วนทึกทักว่า
เข้มๆแบบนี้ ตุ๊เจ้าทั้งสองต้องเป็นเสือเย็นแน่ๆ
และลูกบ้านก็เชื่อตามทันทีโดยไม่ไตร่ตรองใดๆ
ตอนแรกหลวงปู่มั่นตั้งใจจะพักแรมเดี๋ยวเดียว
แต่พอรู้ว่าชาวบ้านคิดเช่นนั้น
ก็บอกลูกศิษย์ผู้ติดตามท่านว่าอย่าเพิ่งไปเลย
ทำให้พวกเขาเปลี่ยนความเชื่อกันก่อนเถิด
ไม่เช่นนั้น พอตายไป
พวกเขาจะเกิดใหม่เป็นเสือเป็นสางกันหมด
หลวงปู่มั่นกับลูกศิษย์อดทนลำบากอยู่นาน
กระทั่งสบโอกาส
เมื่อชาวเขาถามว่า
พวกท่านเดินกลับไปกลับมาทำอะไร
แทนที่หลวงปู่มั่นจะตอบว่า ‘เดินจงกรม’
ท่านก็บอก ‘เดินตามหาพุทโธ’
ชาวบ้านคงเห็นแปลกดี
เลยเดินตามหาพุทโธกันบ้าง
แล้วได้สมาธิ ได้สติอยู่กับเนื้อกับตัวกัน
เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า
แต่งตัวเป็นพระอย่างหลวงปู่มั่น เป็นไปเพื่ออะไร
พอหลวงปู่มั่นเห็นว่าสติปัญญา
ได้ประดิษฐานไว้ในใจชาวบ้านแล้ว
ท่านก็ค่อยเดินทางจากไป
นั่นเป็นตัวอย่างว่า ถ้าเปลี่ยนใจ
เปลี่ยนความคิดความเชื่อคนได้ก่อนตาย
เส้นทางกรรม เส้นทางการรับผลแห่งกรรม
ก็แตกต่างไปเป็นคนละเรื่อง
อย่างชาวเขาแทนที่จะต้องไปเป็นเสือแน่ๆ
ก็กลายไปเป็นเทวดา เป็นพระเป็นเจ้ากันแทน
นี่ก็เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ เช่น
ถ้าใครสำคัญว่า พระสัทธรรมที่พระองค์เผยแผ่
เป็นธรรมะจากการคิดๆนึกๆ คาดเดาเอา
หากไม่มีเหตุให้เปลี่ยนความเชื่อได้ทันก่อนตาย
ก็มีสิทธิ์ไปอบายกัน
เมื่อเราได้ข้อสรุปว่า
ทำกรรมไม่ครบองค์ ถือว่ากรรมไม่สำเร็จบริบูรณ์
หรือถ้าอยู่บนเส้นทางมโนกรรมแย่ๆ
แล้วปรับเปลี่ยนเสียทันก่อนตาย
ก็นับว่ายังไม่สาย
เช่นนั้น อาจนำมาเป็นแง่คิดได้ด้วยว่า
ถ้าคนใกล้ตัวจงใจแกล้งให้เจ็บ แล้วเราไม่เจ็บ
หรือเจ็บไม่มาก นั่นก็เท่ากับว่า
คนใกล้ตัวทำบาปทำกรรมไม่หนักนัก
ไม่ต้องมีผลให้ต้องเป็นทุกข์ทางใจสาหัสนัก
หรือถ้าคนใกล้ตัวหมั่นจงใจกลั่นแกล้งให้เป็นทุกข์
แต่เห็นเราไม่เป็นทุกข์ ในที่สุดก็อ่อนแรง เลิกราไปเอง
ก็เท่ากับเราช่วยยกเขาออกจาก
เส้นทางลำบากเสียได้ทันก่อนตาย
ผู้มีธรรมะจริง ย่อมมีอิทธิพลดีๆ
ในทางใดทางหนึ่งกับคนใกล้ตัว
ก็ด้วยตัวอย่างที่เห็นง่ายๆอย่างนี้แหละ
พอเจอคนใกล้ตัวทิ่มแทงด้วยความตั้งใจให้เจ็บ
ก็เอาธรรมะมาเจริญสติ
เห็นความเจ็บเป็นเพียงการโดนเสียดแทงชั่วคราว
หายใจครั้งนี้กับหายใจครั้งหน้า
ทุกข์ทางใจก็ต่างระดับไปแล้ว
เช่นนี้ ก็ได้ปัญญาแก่เรา
และบาปเบาบางแก่เขาแล้ว!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น