วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

คนที่ได้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ประเสริฐกว่าเพื่อน

คนที่ได้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ประเสริฐกว่าเพื่อน

ผัวเมียคู่หนึ่งมีลูกด้วยกัน 20 คน
ในบรรดา 20 คน
คนที่ได้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ประเสริฐกว่าเพื่อน
เพราะได้ทำกรรมดี กับบุคคลที่ไม่ธรรมดา
พระพุทธศานาจัดว่า "มารดา บิดา" จัดเข้าในอนันตริยะกรรม คือพูดดีทำดีฯ กับท่านน้อย ก็เป็นบุญใหญ่
คือพูดไม่ดีทำไม่ดี กับท่านน้อย ก็เป็นบาปใหญ่
พูดมาแล้วนึกถึง ผู้ชายคนหนึ่งถือไม้จะไปฆ่าพ่อตนเอง แต่ว่าพ่อได้กรุณาต่อลูก คือพ่อนั้นนำตนหนีห่างจากลูก
ถ้าตอนนั้นนะ ไปฆ่าพ่อสำเร็จ ..!!
แม้จะเมาหรือไม่เมาก็ตาม
ในบรรดาทุคติ๔(ทางไปอันเป็นทุกข์๔ทาง
) ๑ นรก
๒ เปตร
๓ อสูรกาย
๔ เดรัจฉาน
เมื่อตายลงไปแล้ว จะไปอเวจีมหานรกทันที
ตกนรกก่อนเลย บุญจากการเคยช่วยคนก็ดี บุญจากการใส่บาตก็ดี บุญจากการเคยรักษาศีลก็ดี บุญจากการภาวนาก็ดี จะไม่ให้ผลในขณะจิตจะเคลื่อนภพใหม่ จึงตกนรกอเวจี หลายล้านปี
แต่ยังถือว่าโชคยังดีที่ทำไม่สำเร็จ
ต่อจากนั้นมาหลายปี
พ่อได้ตายลง
ภายหลังได้ลงมาสื่อสาร (กับหมอทรง)
บอกว่าเป็นห่วงลูกคนนี้มาก
พ่อนั้นเป็นเทวดา
และเทวดาบางองค์มีญาณหยั่งรู้อนาคต
ท่านอาจเห็นว่า ภายภาคหน้าต่อไปลูกคนนี้จะไม่สนใจในบุญกุศล จะเหินห่างจากบุญกุศล
เมื่อเหินห่างจากบุญกุศลแล้ว
จิตใจย่อมตกต่ำลง ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ใจย่อมเศร้าหมอง
เมื่อใจเศร้าหมองทุกคติเป็นอันหวังได้
พ่อและแม่ คือบุคคลชั้นสูง
พระพุทธเจ้าถึงกับยกว่า "เป็นพระพรหมของลูก"
โอกาสที่จะได้เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่นั้น มันไม่ง่าย"
ท้าวสักกะจอมเทพ (พระอินทร์)
ก่อนที่ท่านจะได้ไปเป็นพระอินทร์
ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ชือ "มะฆะ"
และท่านมีธรรมที่ตั้งไว้ในใจ ๗ ข้อ
คือ ๑ เราพึงเลี้ยงดูมารดาบิดาจนตลอดชีวิต
๒ เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
๓ เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานจนตลอดชีวิต
๔ เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต
๕ เราพึงมีใจไม่ตระหนี่ ยินดีในการให้ทาน
๖ เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗ เราไม่พึงโกธรตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกธร
ถ้าแม้ความโกธรเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำกัดความโกธรตลอดชีวิต
จึงได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์
เป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
ควรกำจัดกิเลส ตัวความโกธรโทสะ
ด้วยเมตตาจิตทำจิตให้มีเมตตาอยู่เสมอ
ควรกำจัดกิเลส ตัวความโลภ
ด้วยการหัดรู้จักแบ่งปั่นเสียบาง
เมื่อเป็นผู้ให้แล้ว ย่อมจะเป็นผู้ได้ในอนาคต

_____
พิมพ์ไม่ทันความคิด
สรุปว่า ทำดีกับพ่อแม่เป็นบุญใหญ่
และให้พัฒนาใจ ความโลภ ความโกธร ความหลง เบาบาง จนหมดสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น