วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

#การปฏิบัติในโพชฌงเจ็ด แบบย่อ

#การปฏิบัติในโพชฌงเจ็ด แบบย่อ
                                 สมุคคสูตร
         [๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอด
กาลตามกาล คือ 
1.พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต(ปัสสัทธิสัมโพชฌง,สมาธิสัมโพชฌง) 
2 พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต(ธรรมวิจยะ วิริยะ สัมโพชฌง)
3 พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต(อุเบกขาสัมโพชฌง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ใน
ใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็น
เหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่
อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล
กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตาม
กาล เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหายแน่วแน่เป็นอย่างดี
เพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทองตระเตรียมเบ้า
แล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปาเบ้า แล้วสูบเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดู
เสมอๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นแต่อย่างเดียว พึงเป็น
เหตุให้ทองนั้นไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้
ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเพ่งดูทองนั้นแต่อย่างเดียวพึงเป็นเหตุให้ทอง
นั้นสุกไม่ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดช่างทองหรือลูกมือช่างทองสูบทองนั้นเสมอๆ เอาน้ำ
พรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และ
ไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการ ทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่อง
ประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จ
สมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑
 พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่อง
ให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาห
นิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต
พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นโดย
ชอบเพื่อความสิ้นอาสวะดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง
สมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจ
ซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และ
ไม่เสียหาย ย่อตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นพึงหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลาย
ประการ ฯลฯ พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ใน
เมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ

[๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
     ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
     พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
 [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม
วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
     ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
 [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
     ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
     พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
 [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
     ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
     พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น