วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ขอสอบถามครับ ที่หลวงพ่อแสดงธรรมเทศนา คำว่า "สภาวะ"

#ขอสอบถามครับ  ที่หลวงพ่อแสดงธรรมเทศนา คำว่า "สภาวะ"
ใช่ความหมายอย่างเดียวกันในพระสูตรนี้ไหมครับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใด ยังเป็นเสขะอยู่ มีความประสงค์แห่งใจ (อรหัตตผล) อันตนยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า; ภิกษุนั้น :-
(๒๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) โดยความเป็น
สรรพภาวะ ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งสรรพภาวะ  โดยความเป็นสรรพภาวะแล้ว ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งสรรพภาวะ; ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายในสรรพภาวะ; ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็นสรรพภาวะ; ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายว่าสรรพภาวะของเรา; ย่อมจะไม่เพลิน อย่างยิ่งซึ่งสรรพภาวะ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะสรรพภาวะเป็นสิ่งที่พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ.

(มูลปริยายสูตร ม.ม.๑๒/๑/๒, )

อยากจะทราบว่า 
คำว่า "สรรพภาวะ" ถ้าแยกศัพท์อธิบายออกมา
คำว่า "สรรพ" แปลว่า (ทั้งหลาย ,ทั้งปวง)
คำว่า "ภาวะ" แปลว่า (ภพ , )

อยากจะทราบว่า ที่หลวงพ่อปราโมทย์แสดงธรรม
คำว่า "สภาวะ "  
ก็คือมีความหมายเหมือนกับคำว่า "สรรพภาวะ" ตามพระสูตรนี้ใช่ไม่ครับ
______
โยม: ไม่เหมือนทีเดียวครับ
สภาวะ ที่หลวงพ่อกล่าวถึง สิ่งที่ปรากฏต่อหน้าในปัจจุบัน
แต่ สรรพภาวะ ที่คุณกล่าวถึง ถ้าหมายถึง ภาวะ(ภพ) นั้น ... จะเป็น subset ของ สภาวะอีกที
โยม: สรรพภาวะ มีการแปลว่า ธรรมชาติทั้งหมด หรือ แปลว่าสิ่งทั้งปวง หรือขันธ์ทั้งห้า ถ้าเป็นตามความหมายนี้ก็น่าจะคือสภาวะตามที่หลวงพ่อสอนครับ อันนี้คือตามที่ผมเข้าใจครับ เพราะสภาวะที่ปรากฎต่อหน้าในปัจจุบันก็ล้วนแต่อยู่ในขันธ์ห้าเรานี่แหล่ะครับ ที่เราต้องเรียนรู้ ^_^
โยม: ใช่ครับ ถ้าแปลแค่ภพ จะเป็น subset ของ สภาวะ
โยม: ตย. มีความโกรธเกิดขึ้น นี่ สภาวะ
พอโกรธแล้วจิตเกิดความดิ้นรน นี่ภพ ซึ่ง ภพ ก็คือ สภาวะอีกตัวหนึ่งที่ปรากฏขึ้น
พระ: ขอบคุณทุกๆท่านมาก 
ตอนนี้พอเข้าใจนัยยะความหมายแล้ว
(สพฺพํ)  ก็คือ ตากับรูป หูกับเสียง 
จมูกกับกลิ่น
 ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ
ใจกับธัมมารมณ์
นอกเหนือไปจากนี้แล้วไม่มี

#พระไตรปิฎก เล่ม 18 หน้า 19 ข้อที่ 24

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น