วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567

กฐิน​

กรรมวาจากฐิน
คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง,กะฐินจะจีวะระทุสสัง,
สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ,สาธุ โน ภันเต,สังโฆ, อิมัง,
สะปะริวารัง,กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ,
ปะฏิคคะเหต๎วา จะ,อิมินา ทุสเสนะ,กะฐินัง,อัตถะระตุ
, อัมหากัง,ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้า
ทั้งหลาย รับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้
เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
สิ้นกาลนาน เทอญ.
คำอปโลกน์กฐิน
รูปที่ 1
ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอนิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ
…… พร้อมด้วย…….ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะ
พร้อมเพรียงกันนำมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้
อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
ก็แล ผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมา
โดยนภากาศแล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะ
ได้จำเพาะเจาะจงลงว่า เป็นของภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า
ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อ
จะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต
และมีคำพระอรรถกถาจารย์
ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูป
ใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ
รู้ธรรม 8 ประการ มีบุรพกิจเป็นต้น ภิกษุรูปนั้น
จึงสมควรเพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ
ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด
จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ. (ไม่
ต้องสาธุ)
รูปที่ 2
ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่…..เป็นผู้มีสติปัญญา
สามารถ เพื่อกระทำกฐินนัตถารกิจให้ ถูก
ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูป
ใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ (
หยุดรอครู่หนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร์ จง
ให้สัททสัญญา สาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.(สาธุ
พร้อมกัน)
แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ,อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง
อุปปันนัง,ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง,สังโฆ อิทัง
สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อาย๎สมะโต อิตถันนามัสสะ
ทะเทยยะ,กะฐินัง อัตถะริตุง,เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ,อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง
อุปปันนัง,สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อาย๎สมะโต
อิตถันนามัสสะ เทติ,กะฐินัง อัตถะริตุง,
ย๎สสายัส๎มะโต ขะมะติ, อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสะ,
อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ ทานัง,กะฐินัง อัตถะริตุง,
โส ตุณ๎หัสสะ,ยัสสะ นักขะมะติ,โส ภาเสยยะ.
ทินนัง อิทัง สังเฆนะ,กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต
อิตถันนามัสสะ กะฐินัง อัตถะริตุง,ขะมะติ สังฆัสสะ,
ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้น
แล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน
นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้
แก้ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐินการให้ผ้ากฐินผืนนี้
แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ย่อมชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ
ผู้มีชื่อนี้เพื่อจะกรานกฐินย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
(คำว่า อิตถันนามัสสะ ใช้เปลี่ยนตามชื่อของภิกษุ
ผู้รับกฐิน เช่น ขันติธัมโม เปลี่ยนเป็น ขันติธัมมัสสะ
ถ้าภิกษุนั้นอ่อนกว่าผุ้สวด ต้องตัดอายัส๎มะโต
ออกเสีย แล้วเติมภิกขุโน ต่อท้ายคำ อิตถันนามัสสะ
เช่น อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เปลี่ยนเป็น
อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน)
คำกรานกฐิน
ผ้าสังฆาฏิ อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ.
ผ้าอุตตราสงค์ อิมานา อุตตะราสังเฆนะ กะฐินัง
อัตถะรามิ.
ผ้าอันตรวาสก อิมานา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง
อัตถะรามิ.
คำอนุโมทนากฐิน
อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี
กล่าวอย่างนี้ว่า
“อัตถะตัง อาวุโส (ภันเต) สังฆัสสะ กะฐินัง,ธัมมิโก
กะฐินัตถาโร, อะนุโมทะถะ.ท่านเจ้าข้า
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม
ขอท่านทั้งหลาย อนุโมทนาเถิด.”
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
“อัตถะตัง ภันเต (อาวุโส) สังฆัสสะ กะฐินัง, ธัมมิโก
กะฐินัตถาโร, อะนุโมทามะ. ผู้มีอายุ
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลาย อนุโมทนา.”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น