รวมกับ ธรรมะพระอรหันต์ เว็บไชต ธรรมะพระอรหันต์ https://sitluangpormai.weebly.com เฟซบุ๊กแจกซีดีธรรมะhttps://www.facebook.com/JeakCDThamma
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Imported post: Facebook Note: 2013-08-28T08:13:20
ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
1. คำว่า เอาไป คือการเอาทรัพย์เคลื่อนที่ไป
จากที่เดิมในลักษณะที่จะพาทรัพย์นั้นไปได้
และทรัพย์นั้นเข้ามาอยู่ใน
ความยึดถือครอบครองเพื่อตนแล้ว แม้ทรัพย์
นั้นเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นการเอาไปแล้ว
ถึงแม้ผู้กระทำจะยังไม่เอาทรัพย์นั้นไป
หรือถูกขัดขวางในภายหลังและเอาทรัพย์นั้นไปไม่
ได้ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ
2. การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปนั้น อาจกระทำ
โดยทางอ้อม โดยใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือก็ได้
3. เพียงแต่เอาทรัพย์เคลื่อนที่อย่างเดียว แต่ไม่อยู่
ในลักษณะที่จะเอาทรัพย์นั้นไปได้ คือยังไม่
ได้มีการยึดถือเลย เป็นเพียง
ความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
4. การลักทรัพย์โดยใช้อุบายนั้นใกล้เคียงกับ
ความผิดฐานฉ้อโกงมาก การลักทรัพย์โดยใช้อุบาย
การหลอกลวง เป็นวิธีการเพื่อทำ
ให้การลักทรัพย์สะดวกขึ้นเท่านั้น ส่วน
ความผิดฐานฉ้อโกง การหลอกลวงนั้นทำให้
ผู้ถูกหลอกหลงเชื่อและมอบทรัพย์ให้หรือยอม
ให้เอาทรัพย์นั้นไปด้วยความเต็มใจ
5. ทรัพย์นั้นต้องเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่น
เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยและทรัพย์นั้นต้องอยู่ใน
ความครอบครองของผู้อื่นในขณะที่เอาทรัพย์นั้นไป
ถ้าทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำเอง
ในขณะที่เอาไปแล้วไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การเอาทรัพย์ของตนเองแต่ผู้เดียวไป ไม่เป็น
ความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ทรัพย์นั้นจะอยู่ใน
ความครอบครองของผู้อื่น
6. ในกรณีที่ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่มีเจ้าของร่วมกัน
การเอาทรัพย์ชนิดนี้ไปจะต้องอยู่ใน
ความครอบครองของเจ้าของร่วมโดยแท้จริง ไม่
ใช่เพียงมีสิทธิครอบครองร่วมกันเท่านั้น
7. ในเรื่องทรัพย์สินหาย หรือของตกหายนั้น
ถือหลักว่าถ้าเก็บไปโดยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าทรัพย์
นั้นอยู่ในระหว่างที่เจ้าของกำลังติดตาม หรือกำลัง
จะติดตามทรัพย์นั้นคืน ถ้าเอาทรัพย์ไปตอนนี้เป็น
ความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ถ้าเอาไปโดยไม่รู้หรือ
ไม่มีเหตุอันควรรู้เช่นนั้นแล้ว ก็เป็นการได้ทรัพย์หาย
เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
8. การได้รับมอบหมายทรัพย์จากเจ้าของ
ให้ดูแลแทนเพียงชั่วคราวหรือเจ้าของไปด้วย
ถือว่าการครอบครองทรัพย์นั้นยังอยู่กับเจ้าของ
ถ้าเอาไปขณะนี้เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
9. การลักทรัพย์นั้น การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป
ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตมาก่อนหรือ
ในขณะที่เอาทรัพย์นั้นไป ถ้ามีเกิดขึ้นภายหลัง
ไม่ผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานอื่น เช่น
ยักยอกทรัพย์
10. การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม
อยู่ด้วยไปโดยมีเจตนาเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่
โดยทุจริตคือไม่ใช่เพื่อถือทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง
หรือผู้อื่นแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
11. การลักทรัพย์นั้นถ้ากระทำ
โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อกระทำการลักทรัพย์และ
ได้ลงมือกระทำการลักทรัพย์ เช่นการเข้าไปในบ้าน
แต่ไม่มีสิ่งของหรือลงมืองัดแงะประตูแล้ว แม้
จะมีเหตุมาขัดขวางทำให้การลักทรัพย์ต่อไปไม่ได้
ก็ถือว่ามีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์แล้ว
12. ลักทรัพย์เสร็จแล้ว เอาทรัพย์
นั้นมาทำลายภายหลังไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อีก
13. ลักทรัพย์สำเร็จแล้ว มีผู้อื่นมาช่วยพาทรัพย์
นั้นไป ไม่เป็นการสมคบลักทรัพย์ แต่ถ้าผู้กระทำรู้ว่า
เป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิด เป็น
ความผิดฐานรับของโจร
14. สมคบกันลักทรัพย์ได้มาและได้แบ่งกันไปแล้ว
ภายหลังผู้ลักคนหนึ่งได้รับทรัพย์นั้นไว้อีก ไม่มี
ความผิดฐานรับของโจร
15. การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งที่ได้กำหนดลง
ไว้แน่นอนแล้ว กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ยังไม่
ได้ชำระราคา ถ้ายังไม่ได้มอบการครอบครองให้ ถ้า
ผู้ขายเอาไปเสียก่อนที่จะส่งให้ เป็น
ความผิดฐานยักยอก ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เพราะการครอบครองยังอยู่กับผู้เอาไป
16. กระแสไฟฟ้า เป็นทรัพย์
17. ศพ โดยปกติไม่ใช่ทรัพย์ แต่ถ้าศพนั้นได้ดอง
ไว้เพื่อใช้ในการศึกษาหรือทำเป็นมัมมี่ไว้ ก็อาจ
เป็นทรัพย์ได้เพราะเป็นสิ่งที่มีราคาและถือเอาได้
18. ฆ่าคนแล้วจึงลักทรัพย์
โดยมีเจตนาทุจริตเกิดขึ้นภายหลัง เป็น
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและ
ความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ไม่ผิดฐานชิงทรัพย์ฯ
19. ทรัพย์ของผู้อื่นที่เอาไปนั้น เจ้าของต้องยังไม่
ได้สละกรรมสิทธิ์ ถ้าเจ้าของสละกรรมสิทธิ์เสียแล้ว
ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
20. ทรัพย์บางอย่างที่มีชีวิต ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยง
และไปไหนมาไหนได้นั้นแม้จะออกห่างไป
จากบ้านของผู้เป็นเจ้าของ ก็ถือว่าการครอบครองยัง
ไม่ขาด เว้นแต่สัตว์นั้นทิ้งที่ไปเลย
21. ทรัพย์บางอย่างที่มีอยู่ตามธรรมชาติและ
ได้รับการประมูลผูกขาด ผู้นั้นจะต้องได้
เข้ายึดถือครอบครอง หรือทำให้เกิดผลนั้นขึ้น
โดยแท้จริงแล้ว ผู้เอาไปจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
22. ปลาในบ่อ สระ หลุมที่ขุดล่อไว้หรือ
ในโป๊ะชั้นนอก ถ้ายังว่ายเข้าออกไปสู่สาธารณะได้
โดยอิสระ ถือว่ายังไม่มีกรรมสิทธิ์
http://www.police.go.th
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น