วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Imported post: Facebook Note: 2013-08-28T08:14:48

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ''การดำเนินคดีในศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากร'' 1. การดำเนินคดีในศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะ ต้องใช้วิธีพิจารณาตามกฎหมาย และข้อกำหนดอะไรบ้าง? การดำเนินคดีในศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีวิธีพิจารณาพิเศษ แตกต่างไปจากคดีแพ่งธรรมดา โดยทั่วไป กล่าวคือ จะต้อง ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากรที่อธิบดี ผู้พิพากษาศาลแพ่งออกโดยอนุมัติประธานศาลฎีกา ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ก็ ให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม 2. ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอะไรบ้าง? ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องต่อไปนี้ คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน หรือคณะกรรมการเกี่ยวกับภาษีอากร คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐ ในหนี้ค่าภาษีอากร คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่ง ได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร อนึ่ง คดีอุทรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน หรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยว กับภาษีอากรตาม (1) หากมีกฎหมายเกี่ยว กับภาษีอากรบัญญัติให้คัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงาน หรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้จะฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรได้ ก็ต่อเมื่อ ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้นและ ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทรณ์ นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เช่น การอุทธรณ์การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มีบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนด ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จากเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอย่างไร แล้วจึงจะอุทธรณ์หรือฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ก็ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาดังกล่าวก่อน จึง จะฟ้องคดีต่อศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากรได้ ( ต้องฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์) 3. ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจเพียงใด ? ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี ฉะนั้น คดีที่เกิดขึ้นในเขต 6 จังหวัดนี้จะ ต้องยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรเท่านั้น ส่วนคดีทีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกเหนือจาก 6 จังหวัดดังกล่าว ในระหว่างที่ยัง ไม่มีศาลภาษีอากรจังหวัดในท้องที่นั้น ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โดยโจทย์จะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร หรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนา อยู่ก็ได้ จึงกล่าวได้ว่าศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร จนกว่า จะมีการจัดศาลภาษีอากรจังหวัดขึ้น 4. ในกรณีที่โจทย์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดการดำเนินกระบวนพิจารณา จะเป็นอย่างไร? ในกรณีที่โจทย์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลจังหวัดจะจัดทำสำเนาคำฟ้องไว้ 1 ชุด แล้วแจ้งพร้อมกับต้นฉบับคำฟ้องไป ยังศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากร โดยเร็ว เมื่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งจะกำหนดว่าศาล จะออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องบที่นั้นหรือจะ ให้นั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร เมื่อศาลจังหวัดที่โจทย์ยื่นฟ้อง ได้รับแจ้งคำสั่งรับคดีจากศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรแล้ว กระบวนการพิจารณาต่อจาก นั้นจนถึงก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ศาลจังหวัดดังกล่าวจะ เป็นผู้ดำเนินการแทน เว้นแต่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อโจทย์ได้รับแจ้งคำสั่งรับคดีของศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จากศาลจังหวัดแล้ว โจทย์จะ ต้องนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายใน 7 วัน 5. การยื่นคำให้การและฟ้องแย้งต้องยื่นเมื่อใด? ที่ไหน? เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องแล้ว จะต้องยื่นคำ ให้การภายใน 15 วัน จึงต่างกับคดีแพ่งธรรมดาที่ ต้องยื่นคำให้การภายใน 8 วัน ถ้าจำเลยฟ้องแย้งมา ในคำให้การ โจทก์จะต้องทำคำ ให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้สำเนาคำให้การถึงโจทก์ จึงต่าง กับคดีแพ่งธรรมดาที่ต้องทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งภาย ใน 8 วัน ศาลที่คู่ความจะต้องยื่นคำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งไดแก่ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร ในกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร ศาลจังหวัดที่โจทก์ยื่นฟ้องเนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนา อยู่ เว้นแต่ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะมีคำสั่ง เป็นอย่างอื่น 6. การชี้สองสถาน ในคดีภาษีอากรมีหลักการอย่างไร ? เมื่อมีการยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำ ให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมีแล้ว ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะทำการชี้สองสถาน โดยแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานให้คู่ ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน เว้นแต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถาน ในกรณีที่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร เห็นว่าไม่จำ เป็นต้องมีการชี้สองสถาน และจำเป็น ต้องสืบพยานศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานให้คู่ความทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 15 วัน ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากร จะเป็นผู้กำหนดว่า จะมีการชี้สองสถานหรือไม่ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะแจ้งวันนัดชี้สองสถานหรือวันนัดสืบพยาน แล้วแต่กรณี ให้ศาลจังหวัดทราบเพื่อแจ้งให้คู่ ความทราบต่อไป หากศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร แจ้งให้คู่ความทราบโดยตรง ก็จะแจ้ง ให้ศาลจังหวัดทราบด้วย 7. คดีภาษีอากรต้องยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ ? อย่างไร? คดีภาษีอากรต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นเดียว กับคดีแพ่งธรรมดา แต่แทนที่จะยื่นก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่า 3 วันดังเช่นคดีแพ่งธรรมดา คู่ความจะ ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้องกว่า 7 วัน พร้อม ทั้งสำเนาในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่น หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไป โดยทางเจ้าพนักงานศาล ในกรณีที่ ไม่มีการชี้สองสถาน คู่ความจะ ต้องยื่นบัญชีระบุพยานพร้อม ทั้งสำเนาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ให้ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ถ้าคู่ ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ก็ ให้ทำเป็นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อม กับระบุพยานเพิ่มเติม เมื่อระยะเวลาที่กำหนด ให้บัญชีระบุพยานดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความ ซึ่งยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน หรือบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ประสงค์ จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีก็อาจทำ เป็นคำร้องยื่นต่อศาล ขออนุญาติยื่นบัญชีระบุพยาน หรือบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้จะ ต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยาน ตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้หรือถ้า เป็นกรณีขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จะต้องแสดง ได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่า ต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อ ให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไป โดยเที่ยงธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่า นั้น ศาลก็จะอนุญาติตามคำร้อง 8. คู่ความต้องยื่นต้นฉบับพยานเอกสาร และพยานวัตถุต่อศาลเมื่อใด? ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน คู่ความจะต้องยื่นต้น ฉบับพยานเอกสารทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ ในความครอบครองของตน และพยานวัตถุอัน เป็นพยานหลักฐานสำคัญที่อยู่ใน ความครอบครองของตนและสามารถนำมาศาลได้ ต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยานมิฉะนั้นคู่ ความนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐาน นั้นมาสืบภายหลัง เว้นแต่จะได้รับอนุญาติจากศาล เมื่อคู่ความดังกล่าวสามารถแสดงให้ เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เพราะเหตุสุดวิสัย หรือเมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยว กับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรมจำเป็นที่จะ ต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานคู่ ความคงปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 9. หากพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอยู่ใน ความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่น หรือบุคคลภายนอกจะต้องดำเนินการอย่างไร? ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน หากพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่าย อื่นหรือบุคคลภายนอก คู่ความฝ่ายที่ประสงค์ จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นอาจขอ ให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานหลักฐานดังกล่าวมาจาก ผู้ครอบครอง โดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อม กับการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานนั่นมาก่อนวันชี้สองสถาน หรือภายในเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน คู่ ความคงปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 10. ในการชี้สองสถาน ศาล จะดำเนินกระกวนพิจารณาอย่างไร? ในการชี้สองสถานนั้น ศาลจะนำข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในในคำคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับ หรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริง ใดที่คู่ความยอมรับก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แตคู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนด ให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบ ในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ในการสอบถามคู่ ความดังกล่าว คู่ความแต่ละฝ่าย ต้องตอบคำถามที่ศาลถามเอง หรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่นเกี่ยว กับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้น เป็นข้ออ้างข้อเถียงและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ยื่นต่อศาลถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยว กับข้อเท็จจริงใดให้ถือว่า ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่ศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่ จะตอบได้ในขณะนั้น ศาลจะอนุญาติให้เสนอคำตอบ ในภายหลัง โดยเลื่อนการชี้สองสถานเฉพาะส่วนที่ยัง ไม่เสร็จสิ้นดังกล่าวออกไปได้ 11. คู่ความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาล จะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร? ถ้าคู่ความทุกฝ่ายหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล ในวันชี้สองสถาน ศาลจะชี้สองสถานไปทีเดียวหรือ จะเลื่อการชี้สองสถานไปเพื่อให้คู่ความมาศาลพร้อม กันก็ได้ในกรณีที่ศาลทำการชี้สองสถานไปทีเดียว ให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลทราบกระบวนพิจารณา ในวันนั้นแล้ว และ ไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนด 12. การขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ ความเห็นจะต้องปฏิบัติอย่างไร ? ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ ความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีได้ โดยทำเป็นหนังสือเชิญตามแบบพิมพ์ภษ.2 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาได้ให้ความเห็นแล้ว คู่ ความมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายเรียกผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็น โต้แย้ง หรือเพิ่มเติมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาได้ หมายเรียกนี้ต้องทำ เป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ.3 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร 13. คู่ความจะแต่งตั้งบุคคลอื่นให้รับคำคู่ความ หรือเอกสารแทนตนได้หรือไม่? ในการรับคำคู่ความหรือเอกสาร คู่ ความมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้น เพิ่อขออนุญาติแต่งตั้งบุคคลใดที่มีภูมิลำเนา ในเขตอำนาจศาลนั้นเป็นผู้รับคำคู่ความ หรือเอกสารแทนตน ซึ่งการแต่งตั้งนี้จะต้องทำ เป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ.1 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร 14. ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความแต่งตั้งบุคคล อื่นเพื่อรับคำคู่ความแทนหรือไม่? ถ้าคู่ความไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน ในเขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีนั้น ศาลนั้นอาจสั่ง ให้คู่ความแต่งตั้งบุคคลที่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาล นั้นซึ่งจะเป็นการสะดวกในการส่งคำคู่ความ หรือเอกสารภายในเวลาที่ศาลกำหนด เพื่อรับคำคู่ ความหรือเอกสารแทน ซึ่งการแต่งตั้งนี้จะต้องทำ เป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ1. ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร ถ้าคู่ความไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว การส่งคำคู่ความหรือเอกสารจะกระทำ โดยวิธีการปิดประกาศไว้ ณ ศาลที่พิจารณาคดีแจ้ง ให้คู่ความมารับคำคู่ความหรือเอกสารแทนการส่ง โดยวิธีอื่นก็ได้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสาร โดยวิธีเช่นว่านี้จะมีผลใช้ได้เมื่อพ้น 7 วัน นับแต่วันปิดประกาศ 15. การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ ได้รับแต่งตั้งจะต้องปฏิบัติอย่างไร การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง จะต้องกระทำเช่นเดียวกับการส่งคำคู่ความ หรือเอกสารแก่คู่ความ หรือการส่งโดยวิธีอื่นแทน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวให้มีผลใช้ได้เมื่อพ้น 7 วันนับแต่วันส่งหรือ 15 วันนับแต่วันที่ได้มีการส่ง โดยวิธีอื่น 16. คู่ความไม่มาศาลตามกำหนดนัดมีผลอย่างไร เมื่อศาลแจ้งกำหนดนัดพิจารณาให้คู่ความฝ่าย ใดทราบแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นไม่มาศาลตามกำหนดนัด ก็เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่าย นั้นมารับทราบกำหนดนัดต่อไปจากศาลเอง หาก ไม่มารับทราบ ก็ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้น ได้ทราบกำหนดนัดต่อไปแล้ว 17. คดีภาษีอากรที่มีการยื่นฟ้องก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2529 จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร คดีภาษีอากรที่มีการยื่นฟ้องก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2529 คงดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีแพ่งธรรมดาต่อไปตามปรกติ ไม่มีการโอนไปดำเนินกระบวนพิจารณา ในแผนกคดีภาษีอากรในศาลแพ่ง และอาจอุทธรณ์ และฎีกาต่อศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง จึงต่างกับคดีภาษีอากรที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2529 ที่ไม่ต้องอุทธรณ์ผ่านศาลอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ตรงไปยังศาลฎีกา และการดำเนินกระบวนพิจารณาก็ต้อง ใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามที่กล่าวมาแล้ว เรียบเรียงโดย นายชัยสิทธ์ ตราชูธรรม ผู้พิพากษาประจำกระทรวง แหล่งที่มา : คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ กระทรวงยุติธรรม โทร 224-1566

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น