วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สอบถามอ.ต่อเกี่ยวกับของที่ถวายพระสายกรรมฐานพฤหัสฯ. 09 เม.ย. 2009 7:47 amเรียนสอบถามอ.ต่อ เกี่ยวกับของหรืออาหารที่ถวายพระสายกรรมฐาน เช่น ช็อกโกแลตต้องเป็นประเภทไหน น้ำผึ้ง ยารักษาโรค หรือน้ำปานะของอื่นๆ ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับรณธรรม ธาราพันธุ์↓Re: สอบถามอ.ต่อเกี่ยวกับของที่ถวายพระสายกรรมฐานจันทร์ 20 เม.ย. 2009 7:06 amเรียนคุณบุญคุ้มของขบฉันประเภท "อาหารที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้หลังเที่ยง" มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า "ยาปรมัตถ์" ครับ หรือในบางครั้งก็เรียกกันย่อ ๆ ให้เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า "ปรมัตถ์" เป็นอันรู้กันปรมัตถ์ ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้ประกอบด้วยวัสดุหลายสิ่งหลายประเภท มีทั้งที่ทำขึ้นโดยน้ำมือคน และเป็นวัสดุธรรมชาติล้วน หากจะหยิบมาพูดทั้งหมดก็คงยาวเกินไป ขออนุญาตยกมาแต่เท่าที่คุณบุญคุ้มกรุณาถามมาและเท่าที่จะพอเกี่ยวข้องกันนะครับ1. ช็อกโกแลต เป็นปรมัตถ์ที่ถวายได้ทุกเวลา ฉันได้ทุกเวลา แต่ต้องเป็นช็อกโกแลตที่ไม่ผสมนม ไม่ผสมน้ำตาล หากเป็นชนิดผง ก็ได้แก่ ผงช็อกโกแลตตรานางพยาบาล ผงช็อกโกแลตตราแวนฮูเตน เป็นต้น แต่ถ้าเป็นอย่างที่ทำสำเร็จรูปแบบเป็นแท่ง เป็นแผ่น หีบห่อมาเรียบร้อยสวยงาม จะรู้จักกันในชื่อ "ดาร์กช็อกโกแลต" หรือที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า "ดาร์กช็อก" ซึ่งจะมีขายอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ในซุปเปอร์มาเก็ตใหญ่ ๆ เช่น ท๊อปส์ โลตัส บิ๊กซี ฟู๊ดแลนด์ เป็นต้น แม้ราคาจะค่อนข้างสูง แต่มีดีตรงที่เราสามารถถวายครูบาอาจารย์ได้ตลอดเวลา และพระภิกษุเมื่อรับประเคนแล้วสามารถเก็บได้ตลอดไปเพราะเป็นยาวชีวิก แต่ถ้าช็อกโกแลตนั้นผสมน้ำตาลเพื่อให้มีรสหวานเมื่อไร ก็จัดเป็นสัตตาหกาลิก รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้แค่ 7 วัน พ้นจากนั้นแล้วเก็บไว้ไม่ได้อีกเพราะของนั้นเป็นสันนิธิ ต้องสละออกให้สามเณรหรือคฤหัสถ์ไปเสีย แต่ถ้าช็อกโกแลตนั้นผสมนม ไม่ว่าจะเป็นนมผง นมข้นหวาน ฯลฯ ก็ตาม ช็อกโกแลตนั้นถือว่าเป็นโภชนะ เป็นยาวกาลิก รับประเคนแล้วต้องฉันให้หมดในเช้าชั่วเที่ยง ภิกษุรับประเคนก่อนเช้าไม่ได้ หลังเที่ยงไม่ได้ หากเก็บไว้เลยเที่ยง ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ฉันเข้าไปก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 2. น้ำผึ้ง ถือเป็นสัตตาหกาลิกครับ รับประเคนแล้วพระภิกษุเก็บไว้ได้แค่ 7 วันเท่านั้น พ้น 7 วันแล้วถือเป็นสันนิธิต้องสละออก แต่ถ้าจะให้มีอายุยาวนาน เวลาไปถวาย เราก็กราบเรียนท่านว่าเราเอาน้ำผึ้งมาถวายแต่เราไม่ต้องประเคนท่าน คือบอกให้ท่านรับรู้และอนุโมทนา ส่วนน้ำผึ้งนั้นก็อาจเป็นสามเณร หรือศิษย์วัด หรือตัวเราเองก็เป็นคนยกไปเก็บในที่ที่ท่านสั่ง เพียงเท่านี้ น้ำผึ้งขวดนั้นก็จะเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้นานแสนนานโดยไม่ต้องหมดอายุ(ในทางพระวินัย)ไปเสียก่อนแต่ก็ยังมีผลในทางเจตนาอีกเช่นกันครับ กล่าวคือถ้าพระภิกษุมี "เจตนา" ที่จะรับน้ำผึ้งขวดนั้นไว้เพื่อผสมกับสมุนไพรเป็นยา อาจเพื่อผลทางเภสัช อาจเพื่อให้ผงสมุนไพรจับตัวเป็นก้อนง่ายต่อการปั้น อาจเพื่อทอนรสขม ฯลฯ จะอย่างใดก็แล้วแต่ และมิได้นำน้ำผึ้งขวดนั้นไปฉันในทางโภชนะหรือในทางปรมัตถ์ น้ำผึ้งขวดนั้นแม้ภิกษุรับประเคนแล้วสามารถเก็บไว้ได้ตลอดไปเช่นกัน เพราะถือว่าเป็น "เภสัช" มิใช่ "ปรมัตถ์" ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่เจตนาครับ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมังวทามิ... ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวทามิ... ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวว่า เจตนาเป็นศีล3. สำหรับยารักษาโรคทุกชนิดทั้งแบบรับประทาน และทาภายนอก ถือเป็นยาวชีวิกครับ พระภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต(ถ้ายาไม่หมดอายุเสียก่อน)4. น้ำปานะ หรือน้ำผลไม้ทั้งปวงนั้น ถือเป็นยามกาลิก มีอายุอยู่ได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น และพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตสำหรับผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่ากำปั้นมือหรือไม่ใหญ่ไปกว่าผลมะตูม หากใหญ่กว่านั้นแล้วนำน้ำของมันมาฉันก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผลไม้ที่ผิดพระวินัยเมื่อนำมาฉันหลังเที่ยงได้แก่ มะพร้าว แตงโม สัปปะรด แคนตาลูป เป็นต้น น้ำปานะที่ถูกต้อง จำเป็นต้องกรองไม่ให้มีกาก ไม่ให้เหลือเนื้อผลไม้แม้เพียงนิดเดียว เช่น น้ำส้มคั้น หากมีถุงส้มหรือเกล็ดส้มลงไปปะปนอยู่ ภิกษุฉันเข้าไปก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึ่งพระพุทธองค์ทรงปรับทุกคำกลืน ดังนั้นต้องระมัดระวังให้จงหนัก และน้ำผลไม้เมื่อคั้นมาแล้ว กรองมาแล้ว ก็ต้องไม่เอาไปอุ่น ไปตั้งไฟ ไม่ว่าจะด้วยไมโครเวฟ หรือเตาแก๊ส เตาไฟฟ้าใดใดทั้งสิ้น มิเช่นนั้นน้ำปานะนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นโภชนะคือกลายเป็นอาหารทันที ฉันได้แค่เช้าชั่วเที่ยง พ้นจากนั้นไปแล้วนำมาฉันต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อพระภิกษุรับประเคนน้ำปานะแล้ว สามารถเก็บไว้ฉันได้แค่วันหนึ่งคืนหนึ่งเท่านั้น อรุณรุ่งขึ้นมาแล้วน้ำปานะนั้นเป็นสันนิธิ หากยังหยิบมาฉัน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์คำว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง มิได้หมายถึง 24 ชั่วโมง เป็นต้นว่าถวายพระตอนตีสามวันนี้ ท่านก็เก็บใส่ตู้เย็นไว้ฉันได้อีกนานถึง 24 ชั่วโมง คือไปถึงตีสามของอีกวัน ไม่ใช่อย่างนั้น หากถวายน้ำปานะตอนตีสาม พระรับประเคนแล้วก็ฉันได้ถึงแค่ 6 โมงเช้า อรุณแล้วต้องสละออกทันที สรุปก็คือถือเอา สว่างกับมืด จำนวนหนึ่งชุดนั่นแหละ สิ้นสุดกันที่สว่างอีกวันที่จริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ อีกมากครับ ผมขออนุญาตพูดถึงแต่ประเด็นสำคัญ ๆ เพราะเกรงจะเสียเวลาอ่านของคุณบุญคุ้มและทุก ๆ ท่าน แต่แม้จะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย หากก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เช่น น้ำผึ้ง ที่แม้จะเก็บได้ 7 วัน แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดนำน้ำผึ้งขวดนั้นไปผสมอาหาร น้ำผึ้งขวดนั้นก็กลายเป็นยาวกาลิกทันที คือฉันได้แค่เช้าชั่วเที่ยง เก็บไว้ไม่ได้อีกต่อไป น้ำตาลทรายก็เช่นกันหวังว่าคำตอบคงพอคลายความสงสัยไปได้บ้างนะครับ

สอบถามอ.ต่อเกี่ยวกับของที่ถวายพระสายกรรมฐาน
พฤหัสฯ. 09 เม.ย. 2009 7:47 am
เรียนสอบถามอ.ต่อ เกี่ยวกับของหรืออาหารที่ถวายพระสายกรรมฐาน เช่น ช็อกโกแลตต้องเป็นประเภทไหน น้ำผึ้ง ยารักษาโรค หรือน้ำปานะของอื่นๆ ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ
รณธรรม ธาราพันธุ์↓
Re: สอบถามอ.ต่อเกี่ยวกับของที่ถวายพระสายกรรมฐาน
จันทร์ 20 เม.ย. 2009 7:06 am
เรียนคุณบุญคุ้ม

ของขบฉันประเภท "อาหารที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้หลังเที่ยง" มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า "ยาปรมัตถ์" ครับ หรือในบางครั้งก็เรียกกันย่อ ๆ ให้เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า "ปรมัตถ์" เป็นอันรู้กัน

ปรมัตถ์ ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้ประกอบด้วยวัสดุหลายสิ่งหลายประเภท มีทั้งที่ทำขึ้นโดยน้ำมือคน และเป็นวัสดุธรรมชาติล้วน หากจะหยิบมาพูดทั้งหมดก็คงยาวเกินไป ขออนุญาตยกมาแต่เท่าที่คุณบุญคุ้มกรุณาถามมาและเท่าที่จะพอเกี่ยวข้องกันนะครับ

1. ช็อกโกแลต เป็นปรมัตถ์ที่ถวายได้ทุกเวลา ฉันได้ทุกเวลา แต่ต้องเป็นช็อกโกแลตที่ไม่ผสมนม ไม่ผสมน้ำตาล หากเป็นชนิดผง ก็ได้แก่ ผงช็อกโกแลตตรานางพยาบาล ผงช็อกโกแลตตราแวนฮูเตน เป็นต้น แต่ถ้าเป็นอย่างที่ทำสำเร็จรูปแบบเป็นแท่ง เป็นแผ่น หีบห่อมาเรียบร้อยสวยงาม จะรู้จักกันในชื่อ "ดาร์กช็อกโกแลต" หรือที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า "ดาร์กช็อก" ซึ่งจะมีขายอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ในซุปเปอร์มาเก็ตใหญ่ ๆ เช่น ท๊อปส์ โลตัส บิ๊กซี ฟู๊ดแลนด์ เป็นต้น แม้ราคาจะค่อนข้างสูง แต่มีดีตรงที่เราสามารถถวายครูบาอาจารย์ได้ตลอดเวลา และพระภิกษุเมื่อรับประเคนแล้วสามารถเก็บได้ตลอดไปเพราะเป็นยาวชีวิก 

แต่ถ้าช็อกโกแลตนั้นผสมน้ำตาลเพื่อให้มีรสหวานเมื่อไร ก็จัดเป็นสัตตาหกาลิก รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้แค่ 7 วัน พ้นจากนั้นแล้วเก็บไว้ไม่ได้อีกเพราะของนั้นเป็นสันนิธิ ต้องสละออกให้สามเณรหรือคฤหัสถ์ไปเสีย 

แต่ถ้าช็อกโกแลตนั้นผสมนม ไม่ว่าจะเป็นนมผง นมข้นหวาน ฯลฯ ก็ตาม ช็อกโกแลตนั้นถือว่าเป็นโภชนะ เป็นยาวกาลิก รับประเคนแล้วต้องฉันให้หมดในเช้าชั่วเที่ยง ภิกษุรับประเคนก่อนเช้าไม่ได้ หลังเที่ยงไม่ได้ หากเก็บไว้เลยเที่ยง ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ฉันเข้าไปก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 

2. น้ำผึ้ง ถือเป็นสัตตาหกาลิกครับ รับประเคนแล้วพระภิกษุเก็บไว้ได้แค่ 7 วันเท่านั้น พ้น 7 วันแล้วถือเป็นสันนิธิต้องสละออก แต่ถ้าจะให้มีอายุยาวนาน เวลาไปถวาย เราก็กราบเรียนท่านว่าเราเอาน้ำผึ้งมาถวายแต่เราไม่ต้องประเคนท่าน คือบอกให้ท่านรับรู้และอนุโมทนา ส่วนน้ำผึ้งนั้นก็อาจเป็นสามเณร หรือศิษย์วัด หรือตัวเราเองก็เป็นคนยกไปเก็บในที่ที่ท่านสั่ง เพียงเท่านี้ น้ำผึ้งขวดนั้นก็จะเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้นานแสนนานโดยไม่ต้องหมดอายุ(ในทางพระวินัย)ไปเสียก่อน

แต่ก็ยังมีผลในทางเจตนาอีกเช่นกันครับ กล่าวคือถ้าพระภิกษุมี "เจตนา" ที่จะรับน้ำผึ้งขวดนั้นไว้เพื่อผสมกับสมุนไพรเป็นยา อาจเพื่อผลทางเภสัช อาจเพื่อให้ผงสมุนไพรจับตัวเป็นก้อนง่ายต่อการปั้น อาจเพื่อทอนรสขม ฯลฯ จะอย่างใดก็แล้วแต่ และมิได้นำน้ำผึ้งขวดนั้นไปฉันในทางโภชนะหรือในทางปรมัตถ์ น้ำผึ้งขวดนั้นแม้ภิกษุรับประเคนแล้วสามารถเก็บไว้ได้ตลอดไปเช่นกัน เพราะถือว่าเป็น "เภสัช" มิใช่ "ปรมัตถ์" ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่เจตนาครับ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า 

เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมังวทามิ... ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม 

เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวทามิ... ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวว่า เจตนาเป็นศีล

3. สำหรับยารักษาโรคทุกชนิดทั้งแบบรับประทาน และทาภายนอก ถือเป็นยาวชีวิกครับ พระภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต(ถ้ายาไม่หมดอายุเสียก่อน)

4. น้ำปานะ หรือน้ำผลไม้ทั้งปวงนั้น ถือเป็นยามกาลิก มีอายุอยู่ได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น และพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตสำหรับผลไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่ากำปั้นมือหรือไม่ใหญ่ไปกว่าผลมะตูม หากใหญ่กว่านั้นแล้วนำน้ำของมันมาฉันก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผลไม้ที่ผิดพระวินัยเมื่อนำมาฉันหลังเที่ยงได้แก่ มะพร้าว แตงโม สัปปะรด แคนตาลูป เป็นต้น 

น้ำปานะที่ถูกต้อง จำเป็นต้องกรองไม่ให้มีกาก ไม่ให้เหลือเนื้อผลไม้แม้เพียงนิดเดียว เช่น น้ำส้มคั้น หากมีถุงส้มหรือเกล็ดส้มลงไปปะปนอยู่ ภิกษุฉันเข้าไปก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึ่งพระพุทธองค์ทรงปรับทุกคำกลืน ดังนั้นต้องระมัดระวังให้จงหนัก และน้ำผลไม้เมื่อคั้นมาแล้ว กรองมาแล้ว ก็ต้องไม่เอาไปอุ่น ไปตั้งไฟ ไม่ว่าจะด้วยไมโครเวฟ หรือเตาแก๊ส เตาไฟฟ้าใดใดทั้งสิ้น มิเช่นนั้นน้ำปานะนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นโภชนะคือกลายเป็นอาหารทันที ฉันได้แค่เช้าชั่วเที่ยง พ้นจากนั้นไปแล้วนำมาฉันต้องอาบัติปาจิตตีย์

เมื่อพระภิกษุรับประเคนน้ำปานะแล้ว สามารถเก็บไว้ฉันได้แค่วันหนึ่งคืนหนึ่งเท่านั้น อรุณรุ่งขึ้นมาแล้วน้ำปานะนั้นเป็นสันนิธิ หากยังหยิบมาฉัน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์

คำว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง มิได้หมายถึง 24 ชั่วโมง เป็นต้นว่าถวายพระตอนตีสามวันนี้ ท่านก็เก็บใส่ตู้เย็นไว้ฉันได้อีกนานถึง 24 ชั่วโมง คือไปถึงตีสามของอีกวัน ไม่ใช่อย่างนั้น 

หากถวายน้ำปานะตอนตีสาม พระรับประเคนแล้วก็ฉันได้ถึงแค่ 6 โมงเช้า อรุณแล้วต้องสละออกทันที สรุปก็คือถือเอา สว่างกับมืด จำนวนหนึ่งชุดนั่นแหละ สิ้นสุดกันที่สว่างอีกวัน

ที่จริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ อีกมากครับ ผมขออนุญาตพูดถึงแต่ประเด็นสำคัญ ๆ เพราะเกรงจะเสียเวลาอ่านของคุณบุญคุ้มและทุก ๆ ท่าน แต่แม้จะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย หากก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เช่น น้ำผึ้ง ที่แม้จะเก็บได้ 7 วัน แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดนำน้ำผึ้งขวดนั้นไปผสมอาหาร น้ำผึ้งขวดนั้นก็กลายเป็นยาวกาลิกทันที คือฉันได้แค่เช้าชั่วเที่ยง เก็บไว้ไม่ได้อีกต่อไป น้ำตาลทรายก็เช่นกัน

หวังว่าคำตอบคงพอคลายความสงสัยไปได้บ้างนะครับ

________
จิตนี้มีหลายแบบ

จิตแบบอุทิศบุญอันหนึ่ง

จิตแบบนั้งสมาธิอันหนึ่ง

จิตแบบเป็นสมาธิเพ่งฌานอันหนึ่ง

จิตแบบเป็นสมาธิวิปัสณาอันหนึ่ง


ที่นี้จะกล่าวเฉพาะ ลักษณะจิตที่เอาไว้อุทิศบุญ

จิตที่เอาไว้อุทิศทักษิณาทาน ไปหาผู้ล่วงลับไปแล้ว

พรามเขาตั้งจิตแบบนี้

"ขอทักษิณาทานนี้ จงถึงญาติสาโรหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว

ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงถึงทักษิณาทานนี้"


นี่สมัยก่อนสมัยะุทธการ
พรามเข้าตั้งจิตอุทิศแบบนี้

เพราะว่าสมัยก่อนเขาไม่ใช้แก้ว
ไม่ได้ใช้กระแจะจาน กระเบื้อง เพื่อรองน้ำหยาด

แต่เขาใช้จิตแบบสมาธิ "
"
ขอทักษิณาทานนี้ จงถึงญาติสาโรหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว

ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงถึงทักษิณาทานนี้"

นี่เขาใจจิตแบบนี้


ฉะนั้นถ้าใคร ลืมจานลืมแก้ว ไม่มีน้ำให้กรวด"

ก็ให้ใช้ลักษณะจิตแบบนี้ในการอุทิศ

แทนแบบกรวดน้ำใส่จาน

ครูบาจาย์เพิลบอกว่า นี้คือการ
อุทิศ แบบบ้อต้องใช้ แก้วน้ำ ถ้าลืม
ได้ผลเหมือนกับอุทิศ แบบกรวดน้ำ

เพราะจิตของคนที่กำลังกรวดน้ำ
เป็นสมาธิอุทิศแบบเดียวกันกับ
ของพรามในสมัยพุทธกาล
แบบเดียวกันเป๊ะ

เพียงแต่ว่าสมัยนี้ คนมันจิตใจฟุ้งซ้าน คิดนั้นคิดนี้
คิดหลายเรื่องหลายแนว 
สิให้ตั้งจิตอุทิศแบบพรามเฮ็ด
คนมันไม่ตั้งสมาธิได้

แต่พอรินน้ำลงๆ จิตบัดกลายเป็นจิตที่มีสมาธิ แบบอุทิศบุญ แบบพราม
________
ผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมคำสอนที่พาออกจากทุกข์
ในพระสงฆ์ผู้ดำเนินสืบทอดคำสอนสั่งธรรม ที่พาให้หลุดจากทุกข์ คือผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในหมู่สัตว์มนุษย์ด้วยกัน

ผู้ที่สนใจธรรมเข้าใจธรรมะ
คือผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในหมู่สัตว์มนุษย์ด้วยกัน

ผู้ที่ได้ประพฤพรมจรรปฏิบัติธรรม
คือผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในหมู่สัตว์ในสังสารวัฏ
__________
บุรุษผู้มีความสุข
๑.ให้เลือกความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากอาศัยธรรม
(ธรรม)--> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์

ที่เคยอาศัยแบบมิทฉาทิฐิ
คือ อาศัยแบบสภาวะสุข เกิดขึ้น
ทาง อายตนะใดอายตนะหนึ่ง แล้ว ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ ไปกับสภาวะสุขในปัจจุบัน
หรือ หวนรำลึกนึกน้อมหาอดีต ที่เคยสุขที่เคยผ่านมาแล้ว ที่เคยประสบมา ผ่านอายตนะใด อายตนะหนึ่ง แล้วมีเพลิน ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ

ให้เปลี่ยนมาดำเดินทางที่ถูก
ให้เลือกความสุขแบบ เป็นความสุขที่เกิดจากอาศัยธรรม
(ธรรม --> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่น่าปราถาน่าพอใจ



    บุรุษผู้มีความทุกข์
๒.ให้เลือกความทุกข์
เป็นความทุกข์ที่เกิดจาก
อาศัยธรรม
(ธรรม--> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย

ที่เคยอาศัยแบบมิทฉาทิฐิ
คือ อาศัยแบบสภาวะทุกข์เกิดขึ้น
ทาง อายตนะใดอายตนะหนึ่ง แล้ว ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ ในสภาวะทุกข์ในปัจจุบัน
หรือ หวนรำลึกนึกน้อมหาอดีต ที่เคยทุกข์ที่เคยผ่านมาแล้ว ที่เคยประสบมา ผ่านอายตนะใด อายตนะหนึ่ง แล้วมีความเพลิน ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ

ให้เปลี่ยนมาดำเดินทางที่ถูก
ให้เลือกความทุกข์แบบ เป็นความทุกข์ที่เกิดจากอาศัยธรรม
(ธรรม --> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย


๓. บุรุษผู้อุเบกขา
ให้เลือกความอุเบกขา
เป็นความอุเบกขาที่เกิดจาก
อาศัยธรรม
(ธรรม--> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าปารถาไม่น่าพอใจ

ที่เคยอาศัยแบบมิทฉาทิฐิ
คือ อาศัยแบบสภาวะอุเบกขาที่เกิดขึ้น
ทาง อายตนะใดอายตนะหนึ่ง แล้ว ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ ในสภาวะอุเบกขาในปัจจุบัน
หรือ หวนรำลึกนึกน้อมหาอดีต ที่เคยอุเบกขาที่เคยผ่านมาแล้ว ที่เคยประสบมา ผ่านอายตนะใด อายตนะหนึ่ง แล้วมีความเพลิน ฉันทราคะเกิด ติดใจเพลินใจ

ให้เปลี่ยนมาดำเดินทางที่ถูก
ให้เลือกความอุเบกขาแบบ เป็นความอุเบกที่เกิดจากอาศัยธรรม
(ธรรม --> การเนกขัมมะ ,การออก)

ออกจาก อายตนะ ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย

คราวๆประมาณนี้แหละ
*****************************
พระพุทธเจ้ามีความเห็นว่า

 เข้าไปอ่าน >สฬายตนวิภังคสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8028&Z=8266
___________
หนังสือ4เล่ม ชุดหนึ่งมี  3 ชุด
ชุดที่หนึ่ง มอบ รร จิกดู่วิทยา
ชุดที่สอง มอบ มารดา
ชุดที่สาม มอบวัด 


โยมแม่ได้แล้วใน1ชุดนั้น

4582 บาท
ลบ 1680
เหลือ 2902 บาท

สรุป หนังสือ รู้ทันทุกข์ สั่งให้แม่ออก 13 เล่ม และให้อาน้อย 1 เล่ม และ ป้าต้อย 1 เล่ม  วัด 1เล่ม ร่วมเป็น 17  เล่ม ราคา1785 บาท

เหลือ 2,797 บาท


*เงินใหม่ที่คาดจะมีมาอีก
 พรุ่งนี้ จากเทศ 300 บาท
สังฆทาน 100 บาท



%%%%
11285 บาท
____________
ถ้ากามราคะมันแรง โดยเฉพาะมันคิดปรุงแต่มีอะไรกับผู้หญิงไปทั่ว จะทำยังไงครับ

ตอบ
ไม่ต้องไปนึกหา ไปปรุงแต่ง  เอาอวัยวะสุบเข้าไปในเพศกญิงเลย

แล้วถ้าเราไม่นึกสัญญาไปทางกามแบบนั้นแล้ว
แล้วอยู่ๆมันก็นึกขึ้นมาของมันเองเราจะทำยังไงครับ

ตอบ
มันจะพยามยามจูงใจเราไป
เราไม่ต้องไปตามมัน เราไม่ต้องตามมันไป
_______
ถ้ามีความสุขเมื่อไร่
ให้รู้เลยว่า
"จิตเรากำลัง รู้ธาตุความสุขอยู่"

ซึ่งธาตุความสุขนี่มันไม่เที่ยง.. 

และธาตุความสุขก็ไม่ใช่ของใคร มันเป็นธาตุตามธรรมชาติที่มีอยู่เต็มโลกธาตุแห่งความปรวนแปร

ลองสูดลมหายใจเข้าลึกๆแรงๆ
จิตจะเปลี่ยนการรับรู้ธาตุสุข มารู้ที่วาโยธาตุลม"แทน


ถ้ามีความทุกข์เมื่อไร่
ให้รู้เลยว่า
"จิตเรากำลัง รู้ธาตุความทุกข์อยู่"

ซึ่งธาตุความทุกข์นี่..มันไม่เที่ยง 


และธาตุความทุกข์ก็ไม่ใช่ของใคร มันเป็นธาตุตามธรรมชาติมีอยู่เต็มโลกธาตุแห่งความปรวนแปร

ลองสูดลมหายใจเข้าลึกๆแรงๆ
จิตจะเปลี่ยนการรับรู้ธาตุทุกข์ มารู้ที่วาโยธาตุลม"แทน


ตอนนี้จิตเรากำลังรู้ธาตุอะไรอยู่ครับ ย่อๆมี ๓ ธาตุ
๑. ธาตุสุข
๒. ธาตุทุกข์
๓. ธาตุอุเบกขา คือเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์

#ถ้าจิตกำลังอยู่กับธาตุ"สุข"อยู่ ให้เปลี่ยนมาอยู่กับ "อุเบกขาธาตุ"

"มันจะหายสุขก็ช่าง หรือไม่หายสุขก็ช่าง"

คือวางเฉยอุเบกขาต่อความสุข

#ถ้าจิตกำลังอยู่กับธาตุ"ทุกข์"อยู่
ให้เปลี่ยนมาอยู่กับ"อุเบกขาธาตุ"

"มันจะหายทุกข์ก็ช่าง
หรือมันไม่หายทุกข์ก็ช่าง"

คือวางเฉยอุเบกขาต่อความทุกข์

#หลักการภาวนามีแค่นี้ครับ
ภาวนาเพื่ออะไร ?
ผมจะตอบคุณว่า
"คุณภาวนาเพื่อให้คุณ
รอดจากอบายขุมนรก อย่างแท้จริงเสมอตลอดไป
____________
# วินาทีก่อนตายมนุษย์จะเห็นอะไร ..!!!
(คัดลอกจากหนังสือ อำนาจพลังจิต)
>>> วศิน อินทรวงค์ <<<
ในวินาทีที่บุคลหนึ่งบุคคลใดกำลังจะถึงแก่ความตาย ปกติ
แล้ว เมื่ออยู่ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย จิตของผู้ที่
ไม่เคยฝึกฝนการภาวนาเลยจะควบคุมได้ยากมาก
ก่อนที่จิตสุดท้ายจะดับไปสู่ความตาย จิตจะต้องเข้าภว
ังค์เสียก่อน ภวังค์จิตก่อนตายนี้ มีลักษณะพิเศษ
คือประสาทสัมผัสจะดับ หูไม่ได้ยิน ตาไม่เห็น จมูกไม่ได้กลิ่น
ลิ้นไม่รู้รส กายไม่รู้สัมผัส พูดง่ายๆ ว่าร่างกายไม่ทำงาน
แล้ว แต่จิตยังทำงานอยู่ ในขณะนั้นเองจะมีนิมิตปรากฏขึ้น
ในภวังค์จิต ได้แก่
1.กรรมอารมณ์ปรากฏ
คือสิ่งที่ทำไว้ใน ชาตินี้ หรือชาติก่อน จะมาปรากฏในภวัง
ค์จิต เป็นลักษณะเหตุการที่ดำเนินไปเรื่อยๆ
คล้ายดูภาพยนต์ ไม่ได้เจาะจงจุดใดจุดหนึ่ง
2.กรรมนิมิตอารมณ์ปรากฏ
กรณีนี้จะไม่ปรากฏเป็นภาพในภวังค์จิต แต่จะปรากฏเป็นภ
าพ กุศล หรือ อกุศล ที่ตนเคยทำไว้ในชาตินี้แทน ซึ่งจะมี
ความชัดเจนมาก เช่นเห็นภาพตอนที่ตนเองไปทำบุญท
ำกุศล (สร้างกรรมดี) ไปช่วยสร้างวัดฯ หรือเห็นสัตว์ตั
วที่เคยฆ่าไว้ ซึ่งจะทำให้ ไปเกิดทันที่ ด้วยผลกรรมที่รุนแรง
3.คตินิมิตอารมณ์ปรากฏ
คือเกิดนิมิตเป็นผล แห่งกรรม เช่นเห็นเป็นภพภ
ูมิตามผลกรรมที่ตนกระทำไว้ เห็นเป็น นรก สวรรค์
เป็นวิมาน เป็นเทวดา นางฟ้า หรือเปรต อสุรกาย
สัตว์เดรฉาน เป็นผลแห่ง กรรม จากการกระทำนั้นๆ เป็นต้น
!!!
ซึ่งนิมิตทั้ง 3 นี้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ก่อนเสียชีวิตจะ
เกิดนิมิตแบบไหนขึ้น บางคนอาจคิดว่า จะใช้ประโยชน์จา
กจิตสุดท้าย ซึ่งเคยได้ยินว่า ในชีวิตจะทำอะไรมาก็ตาม
ถ้าจิตสุดท้ายคิดดี ก็เป็นอันว่า ได้ไปเสวยสุขอยู่แดนสวรรค์
ก็ต้องขอบอกว่า
"กฏแห่งกรรม"
มิได้มีความโง่เขล่าถึงเพียงนั้น ความคิดเช่นนี้ไม่ได้ทำ
ได้ง่ายนัก เพราะจิตที่กำลังจะปฏิสนธิจิต เปลี่ยนภพเปลี่ย
นชาติ เป็นจิตที่มีความรุนแรง ควบคุมได้ยากมาก
สมัยพุทธกาล มีสตรีผู้หนึ่ง กระทำความดีมาตลอดชีวิต อยู่
ในศีลธรรมตลอด หากแต่วาระสุดท้าย จิตพลิกไปคิดถึง
ความผิดอันน้อยนิดที่เคยทำไว้ ยังบันดาลให้นางต้องไปชด
ใช้กรรมอยู่ในนรกภูมิชั่วระยะเวลาหนึ่ง
พลังจิตนี้เอง จะสามารถช่วยผู้ที่ฝึกจิตในช่วง
เวลาสำคัญเหล่านี้ได้ เพราะผู้ฝึกจิตทุกคนจะมีความคุ้
นเคยกับการเข้าภวังค์ ยิ่งมีพลังจิตมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมี
ความสามารถควบคุมการทำงานของจิตในภวังค์
ซึ่งภวังค์ในสมาธิก็มีความคล้ายคลึงกับภวังค์ใน
จิตสุดท้ายมาก นักพลังจิตที่มีความรู้จะใช้โอกาสทองนี้
ยกจิตขึ้นสู่ฌานสมาธิ ส่งจิตไปสู่พรหมโลก หรือหากแม้ผู้ฝึ
กจิตมีความเชียวชาญในการทำวิปัสสนาอยู่แล้ว ก็อาจ
ใช้ช่วงเวลาดังกล่าว พิจารณาธาตุขันธ์ จนเห็น
ความเกิดดับ ตัดตรงเข้าสู่นิพพานก็ยังได้ เรียกว่า
เป็นการใช้ภวังค์แห่งความตาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นั่นคือใช้เพื่อการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในวินาทีสุดท้าย
นั่นเอง
ฉะนั้น ผู้ที่หวังไปสู่ สุคติ ภูมิฯ ไปสู่ทีดีมีความสุขในภพภูมิ
ต่อไปข้างหน้า ต้องหมั่น ทำแต่ความดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม
ทำบุญสร้างกุศลสร้างแต่กรรม ดี !!! และหมั่นฝึกฝนวิ
ปัสสนาฯ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะ เราไม่รู้ว่า เมื่อไหร่???
ที่เราหมดอายุขัย หมดเวลาในโลกนี้ !!!
เร่งสะสมบุญ สะสม กรรมดี กันดีกว่า !!!
# อนุโมทนาสาธ
___________
กิตโฉ มนุษย์สัพปะติราโพ กิตฉังมัชานัง นะเชราตี ติ
_________
อินทรีย์ของบุคคล 10 จำพวก
(บุคคลผู้ทุศีล มีศีล ราคะกล้า มักโกรธ ฟุ้งซ่าน ...
ทำอย่างไรจึงจะไปทางเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม)
-----------------------------------------
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด
เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพ
ุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งแล
ะหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคลดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐
จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวกเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่
งเจโตวิมุติ ปัญญาย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึง
ความเสื่อม ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประม
าณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่า
นั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไร
ในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถื
อประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เก
ื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น
บุคคลใด เป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
เป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตาม
ความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วย
ความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแ
ม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประ
ณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ใครเล่าจะพึงรู้เหตุ
นั้นได้ นอกจากตถาคต
ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็น
ผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่
งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของ
เขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป
เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่
อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตาม
ความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ
ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริ
ญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือ
ผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้ง
ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุต
ติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึง
ความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโด
ยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริงบุคคลนั
้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิด
ในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์
ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณใน
บุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้ง
ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุต
ติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึง
ความเจริญ ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริงบุคคล
นั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิด
ในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณ
ในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้ง
ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคล
นั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุต
ติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
อย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจ
โตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งคว
ามฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำก
ิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอด
ด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริ
ญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ พวกคน
ผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่าธรรมแ
ม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน
ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดย
ไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความ
เป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิด
ในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้าง
ต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูก
ต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต
ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่า
ประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผ
ู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตนเรา
หรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ทสก.อํ. ๒๔/๑๒๓/๗๕
________
ขอบคุณมากๆครับ ผมรู้สึกถึงความปิติใจที่เกิดขึ้นหลังจากอ่านข้อความ
ที่คุณตังตฤณมาคอมเม้นเองเลย
(เพราะไม่คิดว่าจะเป็นคุณตังตฤณมาตอบ เพราะไม่รู้จะคุยตรงๆที่ไหนไม่รู้จักเฟส"ศรันย์ ไมตรีเวช"ที่คุณดังตฤณมาตอบ ไม่คิดว่าจะได้ติดพูดคุยกันได้)

คุณดังตฤณมีพระคุณมาก
เสียงอ่านหนังสือ "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน ที่คุณโจโฉอ่านในยูทูป
ที่คุณดังตฤณเขียนนั้น
เปรียบเสมือนเป็นผู้เปิดตาให้สว่างแก่ผม
(คล้ายเหมือนครั้งพระยัสสะเปิดตาพระสารีบุตรให้สว่างคนแรก)
เหมือนเป็นบันไดขั้นแรกเลย

ตอนนี้ผมก็ปฏิบัติธรรมไปด้วย
และดึงเพื่อนๆมาทางธรรมด้วย เริ่มแรกก็เอาเสียงอ่าน เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน ไปให้เพื่อนๆฟัง กันก็หันมาทางธรรมบางส่วน
เสียดายคนที่เอาเมียไปแล้ว
มันแต่งกับก้อนดินชัดๆ
 และผมก็ทำลำโพงธรรมะและหนังสือ
แจกให้ชาวบ้านฟังกลุ่มแคบๆอยู่ครับ
มันสงสารคนทั้งหมดทุกคนเลย อยากให้เข้ารู้ธรรมมะ อยากให้เขาไม่หลงเชื่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์
นั้น อยากให้เขาออกจากหน้าที่การงาน
มาเจริญสติปฏิบัติธรรม เป็นแบบนั้นครับอาการของใจ อยากให้เขาเป็นอิสระออกจากความทุกข์
แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากตามที่ใจต้องการแบบนั้น

และอยากจะสอบถามปัญหาธรรมครับด้วย
ตอนเริ่มปฏิบัติธรรมหลังจาก ผ่านเสียดายคนตายไม่ได้อ่านมาเปิดตา  แล้วก็ฟังเทศหลวงตามหาบัว เรื่องการปฏิบัติจนเข้าถึงนิพพานในยูทูป"
ความเข้าใจของผม หลังจากที่ดู คือท่านสอนเวลามองใครก็ตามทั้งสัตว์บุคคนตัวเขาเราผู้หญิงผู้ชาย ให้เห็นเป็นกระดูกกระดินเดิน

ผมก็ปฏิบัติตามท่านเทศ
3เดือนผ่านไป ใจมันมีอาการวางสิ่งทั้งหลายลง โลกทั้งโลกไม่มีอะไรว่างไปหมด เป็นกระดูกทั้งโลก กระดูกล้มหายสลายไปเป็นดินหมด ใจตอนนั้นมันเบาและบริสุทธมากๆเย็นมากๆสว่างมากๆจ้าเลย 
มันสว่างแบบไม่เคยเจอในชีวิต
เหมือนกับมันหลุดออกจากอะไรบางอย่าง
เป็นแบบนั้นอยู่ประมาณ3วัน วันที่3มีตัวบันดานจะให้ฆ่าตัวตาย  เพราะสิ่งทั้งหลายมันว่างหมด ใจนี่ไม่เกาะเกี่ยวอะไรเลย ทุกอย่างจอมปลอมหมดเลย คนทั้งโลกมันหลงกัน เล่นตลกกันทั้งโลก ทุกสิ่งทุกอย่างมันว่างไปหมด
จะฆ่าตัวตาย เพราะมันว่าง ตัวเราก็ไม่มีจะอยู่ไปทำไม
แต่สุดท้ายก็มีความคิดกลัวตายมาหยุดไว้ และหลังจากวันนั้นใจมันสบายเป็นอิสระเป็นเดือนเลย คือมองไปไหนก็ปรุงแต่งว่าเขาเป็นกระดูก หมาก็กระดูกคนก็กระดูก แล้วหายสลายไป
ปัจจุบันที่เห็นหลอกลวงกัน


พอมารู้ตอนนี้ ไอ้ใจเรานี่เองไปให้ความหมายกับกับโลกเขา ว่าอย่างนั้นอย่างนี้เอง
 ตอนนี้ปัจจุบันผมจะเห็นใจมันวิ่งไปให้ความหมายต่อสิ่งนั้นที่มันเห็นที่มันไปหมายรู้
เมื่อก่อนตอนยังไม่ปฏิบัติธรรม ผมเห็นรูปผู้หญิงสวยๆในเฟส
ตอนนี้ผมก็เพิ่งรู้ว่าที่ผ่านมาใจมันเพลินหลงไปแช่กับอารมณ์นั้นที่ดูรูปสวยๆ

ตอนนี้เวลาเห็นรูปผู้หญิงในหน้าเฟสจะเห็นใจที่มันไปให้ความหมายต่อรูปที่เห็น ว่าเขาสวย ว่าเขาน่ารัก ว่าเขาน่าสงสาร เวลาเห็นรูปอื่นตรงกันข้าม ก็จะเห็นใจไปให้ความหมายว่าสกปกๆ ทั้งๆที่รูปเขาก็เป็นอย่างนั้นธรรมตามแบบนั้นของรูป ใจเรานี่เองไปให้ความหมาย

และเวลาดูกายจะเห็นใจ อาการความรู้สึกที่ใจไปหมายรู้กาย มันเบาว่างๆโล่งๆ
และก็เห็นว่าเราเป็นคนรู้เบาเราเป็นคนเห็นอาการความรู้สึกเบาๆนั้น
บางทีก็เห็นอาการแสบๆร้อนๆอยู่ภายในหน้าอก,ท้อง, และบริเวรใบหน้าบริเวรหัว เหมือนมันเป็นกระแสความเศร้ามาครอบไว้ บางทีสดชื่นมันก็สว่างเย็นๆ
เหมือนมีก้อนน้ำแข็งอยู่ในตัว
และผมจะเห็นใจที่มันพอใจกับความเย็นที่ปรากฏขึ้น

ตอนนี้เหมือนจะจับทางรู้ว่า อารมณ์ต่างๆทั้งหมด ทั้งเย็นใจสว่าง ทั้งแสบๆร้อนๆ ทั้งเศร้าๆมันเป็นสิ่งที่ถูกผมรู้

อารมณ์ต่างๆทั้งหมดมันเหมือนเป็น ลูกโลกกลมๆใบ1หนึ่ง
มี3ประเทศ 
ประเทศที่1ทุกข์ แสบๆร้อนๆ เศร้าๆหดหู่
ประเทศ2 สุข รู้สึกเย็นใจเบิกบานใจ
(เหมือนกับที่ได้อ่าน คุณดังตฤณพิมอนุญาติครั้งแรก)

 ประเทศที่3 ว่างๆโล่งๆเบาๆ เหมือนอากาศเปล่าๆ เฉยๆ
เวลาดูกายก็จะรู้สึกเหมือนรู้อากาศ เวลาดูใจก็จะเห็นแต่ความว่างปรากฏ ณ ปัจจุบัน


ใจมันไปให้ความหมายต่อสิ่งที่เห็น ที่มันได้ยิน ได้กลิ่นเหม็นๆก็จะเห็นใจมันไปหมายว่าไม่ชอบ

3ประเทศนั้นมันเป็นก้อนเดียวกัน เป็นโลกกลมๆใบนี้  มันหมุนตลอดเวลา
มาให้เราดู ผมเริ่มรู้สึกเบื่อกับการดู
 และผมจะเห็นความคิดมันผุดขึ้นมาบันดานให้ทำนั้นทำนี่
ผมมองดูคนทั่วไปก็จะคิดว่า คนในโลกความคิดบันดาน (เป็นความคิดคำสั่งที่ให้เรารู้ที่หลัง เช่นลุกจากเก้าอี้ไปแล้ว  ผมก็เลยใช้คำว่าความคิดบันดานสั่ง)
คนทั้งโลกคงถูกความคิดบันดานผุดขึ้นสั่งโดยไม่รู้ตัวและทำตามอย่างที่ความคิดมันผุดขึ้นสั่ง ไม่อิสระ น่าสงสาร เวลาทุกข์ก็คงจะว่าเราเป็นคนทุก
เหมือนที่เราเคยมีความเห็นอย่างนั้น

และผมรู้สึกว่า จิตมันตื่นมาก นอนก็ไม่หลับ เหมือนมันไม่ค่อยเชื่ออารมณ์ ใดๆเลย
แม้แต่อารมณ์ง่วงๆจะมาครอบ มันก็เห็น
มีความคิดสงสารร่างกายจึงไหลไปกับอารมณ์ง่วง
และเวลาจะนั้งสมาธิก็จะเห็นไอ้ตัวบันดานให้นั้งสมาธิ พอนั้งลงรู้ลมหายใจ
เหมือนกับว่าเราเป็นคนรู้ลม
ลมมันเข้ามันออกเองของมัน

ความสงสัยก็ผุดขึ้นโชว์ให้รู้
(เอ๋ นี่เราอยู่ไหน เป็นใครกัน
ก็ในเมื่อลมเป็นสิ่งที่ถูก แล้วเราจริงๆอยู่ไหน)

พอนั้งไปแล้วบางทีก็ได้ยินเสียงดนตรีกอง เหมือนมีใครเล่นดนตรี
พอได้ยินเสียงเกิดขึ้นมาเห็นใจมันอยากรู้ เสียงนั้นมันก็หายไป

อยากให้คุณดังตฤณแนะนำตอบคำถามหน่อยครับ
ว่าจะทำยังไงกับอารมณ์อาการทั้งหลายที่เวียนมาให้รู้เหล่านั้น

และก็นั้งสมาธิรู้ลมหายใจ
ผู้รู้ลมหายคือเรา แล้วเราคือใคร
ผู้รู้หรือเราคืออะไรครับ
_____________
ถ้าหากอยากจะรู้ว่ากรรมมีผลในชีวิตของเราจริงๆหรือเปล่า?

ให้สังเกตอารมณ์ดังนี้

*ถ้าอามรมณ์มันอ่อนโยนลง สุขุมลง แสดงว่ากรรมที่เราทำไปนั้น เป็นไปทางทำให้ชีวิตผู้อื่นดีขึ้น สว่างขึ้น  และอารม์จะมีความความอ่อนโยนละเอียดอ่อน เห็นอารมณ์ต่างๆได้แจ่มใสชัด และรู้สึกสุขุมมีความสุขขึ้น และความคิดของเรามันจะเปลี่ยนแปลงไปทางดี คิดแต่ทางที่เป็นกุศล จะไม่ค่อยไหลหาอกุศลความคิดที่ไม่ดีที่มืดๆ
 แต่สภาวะจิตมันจะรู้สึกไปทางดีทางสว่างขึ้น เหมือนกับถอยออกมาจากถ้ำถอยออกมาจากอารมณ์ที่ไม่ดีที่เป็นอกุศดำมืด

 จากนั้นจิตมันจะตั้งมันในทางสว่างมากขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับๆเหมือนเครื่องกรองน้ำที่กรองจิตตัวเอง จะเห็นสิ่งที่ไม่ดี เห็นความคิดที่เป็นอกุศล อย่างนั้นอย่างนี้ ผุดขึ้นมา ดับลง หลายตัว

ก็คือจิตมันตั้งมั่นมันสบาย ไม่ไปฟุ่งซ้าน หรือไปมีปัญหากับอารมณ์ไปทะเทาะกับความคิดตัวเอง
และจิตมันจะมีความเด่นมั่นใจในภพชาติใหม่ต่อไป
ว่าปลอดภัย



#อันนี้ก็คือกรรมที่เห็นๆในปัจจุบัน

ส่วนการไปเกิดภพใหม่
ด้วยจิตที่สว่างแบบนี้ ถ้ามาเกิดเข้าท้องแม่
แม่นั้นจะรู้สึกดี รู้สึกสว่าง อารมณ์ดีแจ่มใส
รู้สึกอารมณ์จิตมันแจ่มใสอ่อนโยน
ไม่เหมือนตอนยังไม่ตั้งท้อง
บางที่ก็อยากสวดมนต์ หรืออยากทำบุญ หรือทำสิ่งที่ดีๆ อารมณ์ความคิดดีขึ้นแจ่มใสขึ้น อย่างสว่าง
อันนี้ก็คือแม่จิตใจละเอียดอ่อนที่สังเกตก็จะรู้

*และพอคลอดออกมาก็จะเห็นกรรมเก่าของเด็กได้พอคร้าวๆ คือเหมือนอย่างเช่น ชาติที่แล้ว เราเคยไปเปลี่ยนชีวิตผู้อื่นไปไว้ ให้เขาไปทางดี
หรือซักนำชีวิตผู้อื่นไปทางดีทางสว่าง
พอเกิดมาเห็นครั้งแรก มองดูก็รู้สึกเด่นอยากเข้าไปใกล้ อยากเข้าไปหา เห็นแล้วสบายใจเจริญตา น่ารักน่าชม  ผิวพรรณดี คือไม่ผิวพรรณทรามไม่ผิวพรรณหยาบ

*แต่ถ้าเป็นคนที่เปลี่ยนชีวิตผู้อื่นไปทางที่แย่ที่ไม่ดี ไปทางบาปอย่างนี้
พอคลอดออกมา ก็จะรู้กรรมได้คราวๆเหมือนกัน
ว่า หน้าตาพอมองเห็นแล้ว มันจะรู้สึกในใจไม่ดีเป็นขัดๆเขืองๆ น่าเกลียด อยู่ภายในนิดหนึ่ง ก็เช่นเห็นริมฝีปากเห็นแขนเห็นขาเห็นนิ้วมันขาดคือมันไม่สมบูรณน่ารักเหมือนลูกชาวบ้านคนอื่น ผิวพรรณก็ทรามมองดูแล้ว ไม่น่าดู ไม่ค่อยดีใจเท่าไร่ เหมือนต้นผลไม้ที่ออกดอกเตรียมจะเป็นผลออกมา พอเราเห็นผลไม้ก็รู้สึกไม่ค่อยน่าจับไม่ค่อยอยาเอามากิน ประมาณนี้

ก็คือเด็กสองคนนี้ได้เกิด แต่กรรมต่างกัน
คนหนึ่งเกิดมาดีมองดูแล้ว ร่ารักเจริญตา อยากเข้าไปหาเข้าไปใกล้ อยากเอาขนมให้กิน

ส่วนอีกคน เห็นแล้วไม่อยากเข้าไปใกล้ จากที่อารม์ดีๆมา พอมองเห็นแล้วความอารมณ์ดีหายไปเลย
น่าเกลียดไม่น่าชอบใจเลย



#จากนั้นเรื่องฐานะ

*ผู้ที่มีฐานะมั่งคังคือผู้ที่ให้ไว้มาก ให้ทานแบบไม่เลือกหน้า จะรวยมาก
และเคยรักษาศีลดี 
ศีลเป็นตัวกำหนดให้พื้นชะตาชีวิต
ความมั่นคงที่จะรองรับความรวยแค่ไหน
ถ้าพอมีศีลดีพอ ของใหม่มันก็จะมีความมั่นคงเหมือนแผ่นดิน ท่านเปรียบเหมือนแผ่นดินที่มีความพร้อมจะรองรับอะไรๆที่มันสูงขึ้นไปแค่ไหนก็ได้ หนักแค่ไหนก็ได้

*แต่ถ้าหากว่าศีลไม่ดี ต่อให้ทำทานมาดี ต่อไปถ้าสมมุติรำร่วยขึ้นมาก็จะเป็นความรวยที่โยกเยก
เป็นความรำรวยที่ไม่มั่นคง ล้มแล้วลุก ลุกแล้วล้ม
หรือไม่ก็บางทีล้มแล้วหายไปเลยไม่สามรถกลับขึ้นมาได้ใหม่

แต่ถ้าหากว่าเคยเปลี่ยนชีวิตของคนอื่นแล้วไปในทางที่แย่ลง ฐานะแทนที่จะมั่งคั่งมันก็จะฟ้องว่าเราไม่เคยให้ทานเราไม่เคยรักษาศีลให้ดีพอ


#จากนั้นในเรื่องของสติปัญา
ถ้าหากว่าเคยเปลี่ยนชีวิตของผู้อื่นไปทางที่ดี ทางที่สว่างมาก่อน หรือเคยให้ความรู้ ต้องการให้เขาอย่างจิงใจ คิดเค้น...หาวิธีแก้ไขช่วยคนอื่น อย่างจริงใจแบบนี้ หรือเรียกว่าทานความรู้ ที่ให้ผู้อื่นไปทางดี
มันจะย้อนกลับมาหาเรา แบบว่า มีปัญญาเฉียบแหลมคม เหมือนกับว่าเรามีความรู้ที่มันพัฒนาของมันเอง หรือเป็นพลังปัญญามาอยู่ในหัวเราเพิ่ม
คือไม่โง่ ปั๊มๆเบอ ไม่ทันคนอะไรแบบนี้
ศึกษาเรียนอะไรที่เหมือนกับคนที่ไม่เคยแบ่งความรู้ให้ผู้อื่น คนที่สอนผู้อื่นมาก่อน จะฉลาดเข้าใจได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้ให้ทานความรู้แก่ผู้อื่น
แต่คนที่ไม่ทานความรู้ที่มากจะศึกษาอะไรก็ก็จะกว่าจะเข้าใจได้ก็เป็นวันๆหรือเป็นอาทิตย์ๆ
อันนี้ก็คือความแตกต่างกัน

บางคนบอกว่า ให้ทานกะพอรักษาศีลนิดหนึ่งกะพอให้มีเชื้อได้มาเกิดเป็นคนอีก สมาธิพำเพ็ญภาวนาบ่ต้องไปเอามันดอก บ่อต้องฝึกมันดอก ยากโพด  มันเป็นของพระ
________
พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ไม่ธรรมดา ท่านอยู่เหนือมนุษย์ทุกอย่าง
อยู่เหนือเทวดาพรหมทุกข์อย่าง

ท่านเหาะได้ ท่านรู้ทุกอย่าง
คือรู้อยู่ก็ทรงถาม
คือรู้อยู่แต่ไม่ถาม เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน

"แต่ไม่เข้าไม่เข้าใจพระสูตรนี้
ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลถาม
ตรงๆ แต่ความหมายไม่ใช่แบบตรงๆ
ในใจไม่ใช่ถามอย่างนั้นเลย

แสดงว่าพระองค์ ตอนนั้นไม่ได้ตรวจดูวาระจิต ใช่หรือไม่

หรือพระองค์ทรงตอบไปเพื่อแสดงตนว่า พระองค์ก็ทรงเป็นชีวิตธรรมดาๆเหมือนพวกเรา คุยกันได้ง่ายๆ
เหมือนที่ไม่แสดงฤทธิ์เหาะไปไหนมาไหน ทำอะไรก็ต้องใช้ฤทธิ

แต่ทรงเดินไปบิณบาตธรรมดาๆ


แบบนี้หรือเปล่า

"::ตอบ:  ถ้าสงสัยอยากรู้อยากเข้าใจสูตรนี้จริงๆ ให้อ่านให้จบทั้งเล่ม เพราะพระอาจารย์คึกฤทธิ ตอบประมานนี้ไว้ว่า
คำพูดพระพุทธเจ้าใครอ่านแล้ว สงสัย ก็จะมีพระสูตรอื่นเป็นคำตอบ อย่างอรรศจรร์.....

ตอบอีก
จะไปประมาณบุคคลอย่างพระพุทธเจ้า
นั่นไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะรู้ประมาณในพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
มันเป็นอจินไตร
เป็นปัญหาโลกแตกที่จะไปประมานบุคคลอย่างพระพุทธเจ้า
ทุกอย่างท่านทำท่านพูดถูกหมด เหตุผลของท่านถูกหมด

อยากรู้ต้องอ่านหาคำตอบ ในคำของท่าน
หรือไม่ก็
อยากรู้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเอง

อาจเป็นคำตอบ
บันลือสีหนาทว่า  “พระเจ้าข้า  เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ  แล้วยกขึ้นซึ่งคะแนนว่า  ‘หยาดน้ำทั้งหลายตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด,  ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด,  บนภูเขาเท่านี้หยาด.”  แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า  “สารีบุตร  เราก็ทราบความที่เธอสามารถจะนับได้.”  ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น  ย่อมไม่มี.  เหตุนั้นแล  ท่านจึงกราบทูลว่า:-

            “ทรายในแม่น้ำคงคา  พึงสิ้นไป  น้ำในห้วงน้ำใหญ่  พึงสิ้นไป  ดินในแผ่นดิน  พึงสิ้นไป  การแก้ปัญหาด้วยความรู้ของข้าพระองค์  ย่อมไม่สิ้นไปด้วยคะแนน.”

             มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้เป็นที่พึ่งของโลก  ก็ถ้าว่า  เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาข้อหนึ่งแล้ว  บุคคลพึงใส่ทรายเมล็ดหนึ่งหรือหยาดน้ำหยาดหนึ่ง  หรือดินร่วนก้อนหนึ่ง  เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาร้อย   หรือพัน  หรือแสนข้อ  พึงใส่คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้น  ทีละหนึ่งๆ  ณ  ส่วนข้างหนึ่งในแม่น้ำคงคา,  คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้นในแม่น้ำคงคาเป็นต้น  พึงถึงความสิ้นไปเร็วกว่า:  การแก้ปัญหาของข้าพระองค์  ย่อมไม่สิ้นไป.”

              ภิกษุแม้มีปัญญามากอย่างนี้  ก็ยังไม่เห็นเงื่อนต้นหรือเงื่อนปลายแห่งปัญหาที่พระศาสดาถามแล้วในพุทธวิสัย  ต่อตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว  จึงแก้ปัญหาได้.  ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว  สนทนากันว่า  “แม้ชนทั้งหมด  อันพระศาสดาตรัสถามปัญหาใด  ไม่อาจแก้ได้,พระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีผู้เดียวเท่านั้น  แก้ปัญหานั้นได้.”  พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้วตรัสว่า  “สารีบุตรแก้ปัญหาที่มหาชนไม่สามารถจะแก้ได้  ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้;  แม้ในภพก่อน  เธอก็แก้ได้แล้วเหมือนกัน”  ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา  ตรัสชาดกนี้โดยพิสดารว่า:
__________
เมื่อคืนนั้งสมาธิ นั้งเสร็จ 
ก็นั้งแพร่เมตตาต่ออีกแต่พยายามแผ่กระแสจิตที่เย็นๆนึกหาเจ้ากรรมนายเวร?
หลังจากนั้นก็นอน แล้วได้ฝัน"
ในสถานที่นั้นเป็นหมู่บ้าน รู้สึกว่าเราคุ้นเคยเป็นอย่างดีมากๆเหมือนเราเป็นคนในหมู่บ้านนั้นเลย และก็ได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินมา หน้าตาดีสวยแต่ไม่ค่อยสวยมาก (ความรู้สึกตอนนั้นบอกว่า นี่แหละผู้หญิงคนนีแหละเป็นคนรักของเรา และเราก็รักเขาเหมือกัน แต่เขารักมึงมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ผู้หญิงคนที่ว่าเรารู้สึกว่าเคยรักกันนี่ ก็เดินมาหาเรา " จับมือเรา
เขาไปในพิธิอะไรสักอย่าง เหมือนเป็นพิธีมั่นกันไว้
 จะรอทำพิธีจริงอีกครั้งในพรุ่งนี้จะเป็นเจ้าของของกันจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในวันพรุ่งนี้" 

และความรู้สึกในฝัน "รู้สึว่าเราผูกพันกับเขามาก มากเหลือเกินเหมือนดูใจกันมานานรักกันมานาน " 

แล้วหลังจากนั้นก็ได้เห็นภาพเธอเดินกลับบ้านไป
ดูท่าเธอ จะ เตรียมตัวจะเข้าพิธีแต่งงานอยู่ร่วมกันกับเราในวันพรุ่งนี้ ดูท่าเธอดีใจมาก"

แต่ทันใดนั้นเราก็ได้เดินไปเห็นวัดเห็นพระภิกษุ ๔ รูป
"ความรู้สึกตอนนั้น เราอยากบวชมาก อยากบวชมากๆ
 แต่ยังมีความคิดว่า แล้วคนรักล่ะ จะแต่งงานอยู่ด้วยกันกับเธอพรุ่งนีแล้วนะ"

โดยที่ยังลังเลคิดอยากบวชแต่เสียดายที่ต้องแต่งงานพรุ่งนี้และรักผู้หญิงคนนี้มากคงต้องเลือกแต่ง ล้มเลิกไมได้"

ทันใดนั้นภิกษุ ๔ รูป ก็เดินมาจับเราบวช
เราก็ยอมให้บวชอย่างว่าง่ายๆเลย
และรู้สึกพอใจกับการเป็นพรรพชิตเพศนักบวชมาก"

หลังจากนั้นก็เห็นภาพเธอ "เหมือนขาดอะไรบางอย่างที่สำคัญในชีวิตไป" ดูเธอเศร้าๆง๋อยๆ

หลังจากนั้นก็รู้สึกตัวขึ้นมาจากความฝัน "จิตมันบอกเลย นี่ละเจ้ากรรมนายเวร เขาต้องการให้รู้ "
เป็นคนรักเก่า ที่เคยรักกันมาก ทิ้งเธอในอดีตชาติเพราะเลือกการบวช และเธอยังตามด้วยตอนนี้ไม่ให้ในชีวิตสมหวังกับหญิงใด"
ไปดูขี้แมลงวัน ในที่ลับน่ะ"

หลังจากนั้นก็ไปดู ปรากฏว่ามีจริงๆ 

"ด้วยความที่ตอนเป็นเด็กนั้นผมเคยอ่านตำราของการดูขี้แมลวันของศาสตรพราม
เขาบอกว่า อยู่กับผู้หญิงยาก
ถ้าฝืนอยู่ก็ไปกันไม่รอด
ถ้าแก้ให้ทุเลาก็พอจะทำให้เบาบางได้ แต่ไม่หาย100%
เพราะเป็นวิบากเก่า

"เราก็มาพิจารณา
______________
ถ้าจะถามว่า: เสียงเป็นธาตุอะไร
ก็ต้องตามต่อด้วยว่า

ความรู้สึกทางใจ(ธรรมารมณ์เป็นธาตุอะไร

ความรู้สึกเมื่อกายกระทบอะไรเข้า(โพฐฐัพพะเป็นธาตุอะไร

ความรู้สึกเมื่อลิมอาหาร(รสชาติเป็นธาตุอะไร

ความรู้สึกเมื่อดมอะไรเข้า(กลิ่นเป็นธาตุอะไร

ความรู้สึกเมื่อได้ยิน(เสียงเป็นธาตุอะไร

ความรู้สึกเมื่อได้เห็น(อาที่รู้สึกเห็นเป็นธาตุอะไร
____________________
พระสูตรศีล
พระสูตรพระสารีบุตรนายนิรยบาล
พระสูตรให้คิดได้อกุศลกรรมบทสิบ
พระสูตรจิตสุดท้ายใกล้ตาย ต้องการสต
ิต้องการกุศล
พระสูตรเรียงทานกุศลศีลกุศล ภาวนากุศล และอริยสัจสีกุศล


พระสูตศีล

พระสูตรพระสารีบุตร พรามนายนิรยะบาล
พระสารีบุตรนี่ท่านรู้จักกับพรามผู้หนึ่ง
ชื่อธนันชนิพราม ธนันชานิพรามนี่เป็นคนประมาทในบุญกุศล แต่ก่อนธรัชานิพรามคนนี้ เป็นคนที่ขวานขวายในบุญกุศลตลอด
เพราะว่าเมียนั่นมีศรัทธาชอบบุญชอบกุศล ผัวกะเลยต้องตามเมีย ชอบบุญชอบกุศลเหมือนกัน

หลังจากนั้นหลายปีผ่านไป เมียก็ได้ทำกาละลง
พรามผู้นี่ยังไม่พอ ก็เลยหาเมียใหม่
ได้ไปได้เมียที่ไม่มีศรัทธาในศาสนาของพุทธเจ้าเลย พรามก็เลยคล้อยตามเมีย
กลายเป็นผู้ที่ประมาทในบุญกุศ คุณธรรมอะไรต่างๆที่ดีหายไปหมด
แถมยังไปปล้นพวกพรามปล้นพวกชาวบ้าน เพราะทำงานให้หลวงมีอำนาจ ก็เลยไม่มีผู้จับได้

พระสารีบุตรรู้ ก็เลยคิดจะไปโปรด
พอบิฑบาติเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้ว ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็เลยจะไปบ้านของพรามนั้น
ลำดับนั้นพระสารีบุตรเดินถึงบ้านพรามนั้นแล้ว
ก็ได้เจอพรามกำลังรีดนมโคอยู่
พรามได้เห็นพระสารีบุตรแล้ว ก็พูดคุยทักทาย
พระสารีบุตรจึงบอกว่า เราจะไปพักกลางวันที่ใต้ต้นไม้นั้น
ท่านควรมาหาเรา เรื่องอะไรหน่อจึงต้องเรียกเรา
พรามก็เลยรับปาก กินข้าวเช้าแล้วพรามก็ได้เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงใต้ต้นไม้

พระสารีบุตรถามว่า
ท่านยังเป็นคนดี ประพฤถูกธรรม มีหิริโอตตับปะคุณธรรมอยู่หรือ
กลัวบาป กลัวต่อผลของบาป อยู่หรือไม่

พรามตอบว่า
ไม่เลยท่านสารีบุตร
เพราะข้าพระเจ้า  ต้องเลี้ยงมารดาบิดา
ต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงภรรยา
ต้องเลี้ยงพวก ทาส กรรมกร คนรับใช้
ต้องทำกิจสำหรับมิตรอำมาต์ ทำงานช่วยมิตรอำมาต
ต้องทำกิจสำหรับญาติสาโลหิต ทำงานช่วยญาติสาโลหิต
ต้องทำกิจสำหรับแขกตอนรับอยู่กับแขก
ต้องทำบุญอุทิศให้บุพเปตรชน
ต้องทำการบวงทรวงแก่พวกเทวดา
ต้องทำงานให้หลวง
ต้องบำรุงดูแลร่างกายตนเองให้อิ่มหน่ำ

ข้าพระเจ้าจึงไม่ได้ประพฤถูกธรรมนั้น

พระสารีบุตรถามว่า: ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ในโลกนี้มีบุรุษคนหนึ่ง
เขาไม่ประพฤธรรมที่เป็นกุศล และเขายังประพฤผิดธรรม
เพราะเหตุว่ามารดาและบิดา

บุรุษนั้นครั้นทำกาละลงแล้ว
นายนิรยบาลจะฉุดดึงเขาไปยังนรก
บุรุษนั้นกล่าวขึ้นมาว่า ท่านนายนิรยะบาล
ท่านอย่าฉุดข้าพระเจ้าลงไปนรกเลย
เหตุที่ข้าพระเจ้าไม่ได้ประพฤธรรม และยังประพฤผิดธรรม เพราะมารดาและบิดา

พระสารีบุตร: ท่านพรามคิดว่า นายนิรยะบาลจะปล่อยเขาไหมจะทำตามคำอ้อนวอนเขาไหม

พรามตอบว่า: ไม่เลยท่าน ถึงบุรุษนั้นจะอ้อนวอนอย่างไร นายนิรยะบาลก็ต้องลากไปยังนรก

พระสารีบุตร: แล้วถ้ามารดาบิดามาอ้อนวอนนายนิรยะบาลว่า
ท่านนายนิรยะบาล เหตุที่ลูกคนนี้ไม่ได้ประพฤธรรม แต่ยังประพฤผิดธรรม เพราะเราทั้งสอง
ขอนายนิรยะบาลจงปล่อยลูกเราไปเถิด

พระสารีบุตร: ท่านพรามคิดว่า นายนิรยะบาลจะทำตามที่มารดาบิดานั้นขอร้องหรือไม่

พราม: ไม่เลยท่าน ถึงมารดาบิดาจะอ้อนวอนอย่างไร นายนิรยะบาลก็ไม่ทำตามแน่
มีแต่แต่จะฉุดลงไปนรกต่อ
__________
  เรื่อง#สมเด็จโต โดนทำคุณไสยใส่)

สามประโยคสั้น ๆ เรื่องเล่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 
อาตมาได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ด้วยตัวอาตมาเอง ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา ๑๕ ปี โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย นอกจากคำว่า...

" พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ "

ซึ่งมีความหมายว่า....

" ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง "

อาตมาไปที่แห่งหนตำบลใดก็จะกล่าวเพียงคำนี้ ตลอดเวลาของจิตใจอันเป็นที่พึ่งของอาตมา อาตมาเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนแห่งประเทศสยาม ในดงพญาไฟขณะนั้น ในหมู่บ้านมีชาวบ้านอาศัยอยู่เพียงเล็กน้อย อาตมาจึงได้ปักกลดอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน มีชาวบ้านนำอาหารมาถวายตามกำลังที่เขาจะพอทำได้ เมื่อเห็นมีพระภิกษุมาปักกลดในที่แห่งนั้น อาตมาอาศัยอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลาหลายปี และ ณ ที่แห่งนั้น อาตมาจึงได้พบคุณวิเศษแห่งการสวดมนต์
คือมีชาวบ้านผู้หนึ่งได้เข้ามาสนทนากับอาตมาหลังจากได้ถวายอาหารแล้ว ชาวบ้านผู้นั้นอาตมาทราบชื่อภายหลังว่าชื่อ นายผล นายผลได้เล่าให้อาตมาฟังว่า เขาเป็นผู้ฝึกเวทมนตร์คาถาอาคมเล่าเรียนจนมีญาณแก่กล้า และมักจะทดสอบเวทมนตร์คาถาอาคมแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาปักกลด ณ บริเวณนี้เป็นประจำ เขาเล่าให้อาตมาฟังว่าเขาได้ส่งอำนาจคุณไสยเข้ามาทำร้ายอาตมาทุกคืน แต่ไม่ได้หวังทำร้ายเป็นบาปเป็นกรรมถึงตาย เพียงแต่ต้องการทดสอบดูว่าภิกษุรูปนั้น จะมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถที่จะต่อสู้กับคุณไสยเขาได้หรือไม่ นายผลก็ได้ทำคุณไสยใส่อาตมาถึง ๗ วัน เต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยควายธนู หรือปล่อยหนังควาย ปล่อยตะขาบ ตลอดจนภูติพรายเข้ามาทำร้ายอาตมา แต่ปรากฏสิ่งที่ปล่อยมาก็ไม่สามารถเข้ามาทำร้ายอาตมาได้เลย
วันนี้จึงได้มากราบเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับอาตมา อาตมาจึงได้บอกว่าตัวอาตมาเองไม่ได้ศึกษาพระเวทมนตร์คาถา หรือคุณไสยใด นายผลก็ไม่ยอมเชื่อหาว่าอาตมาโกหก ถ้าหากไม่มีของดีแล้วไซร้ไฉนอำนาจคุณไสยดำที่เขาส่งมาจึงกลับมายังเขา ซึ่งเป็นผู้กระทำ ไม่สามารถทำร้ายอาตมาได้อาตมาก็พยายามชี้แจงให้เขารู้ว่า อาตมาไม่มีวิชาเหล่านี้จริง ๆ ทำให้นายผลสงสัยยิ่งนักว่าเหตุใดอาตมา จึงไม่ได้รับภัยอันตรายจากอำนาจเวทมนตร์คุณไสยดำที่เขาส่งมาทำร้ายได้ อาตมาได้บอกกล่าวแก่เขาว่า
เมื่ออาตมาจะนอน อาตมาก็จะสวดแต่คำว่าพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิจนจิตมีความสงบนิ่งแล้ว จึงได้แผ่ส่วนกุศลไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลยอย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย และอาตมาก็จำวัดนอนเป็นปกติ

นายผล เมื่อได้ฟังดังนั้น จึงได้บอกแก่อาตมาว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านในวันนี้ ก่อนที่ท่านจะจำวัดจงหยุดการสวดมนต์สัก 1 คืนได้หรือไม่ ข้าพเจ้าต้องการจะพิสูจน์ว่าการสวดมนตร์ของท่านเช่นนี้ จะเป็นเกราะคุ้มครองภัยท่านหรือเป็นเพราะอำนาจเวทมนตร์คาถาในภูตผีปิศาจ ของข้าพเจ้าเสื่อมกันแน่ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า จะไม่ทำอันตรายแก่ท่านอาจารย์อย่างเด็ดขาด เพียงแต่ต้องการที่จะทดสอบให้ความรู้แจ้งเห็นจริงว่าเกิดอะไรขึ้น

อาตมาก็ตกลงรับปากแก่นายผลว่า คืนนี้จะไม่ทำการสวดมนต์ นายผลจึงได้ลากลับไป ครั้นถึงเวลาพลบค่ำอาตมาก็นอนโดยมิได้ทำการสวดมนตร์ตามที่ได้ปฎิบัติเป็นปกติ เมื่ออาตมานอนหลับไป อาตมารู้สึกตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าอาตมาได้ยินเสียง กุกกัก...กุกกัก ดังขึ้นมา จึงได้จุดเทียน และพบตะขาบใหญ่ยาวเท่าขาของอาตมากำลังเลื้อยเข้ามาอยู่ใกล้ตัว ของอาตมามาก อาตมารู้สึกตกใจถึงหน้าถอดสี และด้วยสัญชาติญาณจึ่งกล่าวคำสวดมนต์

" พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
 ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ "

ด้วยจิตยึดมั่นในพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้ เสียงกุกกักและตะขาบที่อยู่ข้างหน้าก็อันตรธานหายไป จากนั้นอาตมาจึงได้จำวัดนอนเป็นปกติ ในวันรุ่งขึ้น นายผลก็มาหาอาตมาและได้กล่าวว่า เมื่อคืนนี้ข้าพเจ้าได้ปล่อยตะขาบเข้าไปในกลดที่ท่านพักพำนักอยู่ อาตมาบอกว่าอาตมาได้ตื่นมาและตกใจ จึงได้สวดมนต์ภาวนา ตะขาบตัวนั้น ก็อันตรธานหายไป
นายผลจึงได้ยกมือพนมขึ้น แล้วกล่าวว่า บัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อแล้วว่า อำนาจเวทมนตร์คาถา และคุณไสยใดๆ ของข้าพเจ้ามิอาจทำร้ายท่านได้ ก็เพราะอำนาจแก่การสวดมนตร์ภาวนาของท่านเป็นเกราะคุ้มครองภัยอันตรายต่างๆ ได้
ที่อาตมาได้เล่าให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ได้ฟังกัน เพื่อให้เป็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ว่า เหล่าพรหมเทพได้มาฟังการสวดมนตร์จริงดังที่อาตมาได้เทศน์ไว้ เพราะถ้าไม่ใช่เหล่าพวกพรหมเทพแล้วไซร้ ก็คงไม่สามารถที่จะขับไล่สิ่งที่เกิดจากอำนาจคุณไสย ที่นายผลส่งมาเล่นงานอาตมาได้อย่างแน่นอน ท่านเจ้าพระยา และ อุบาสก อุบาสิกาในที่นั้น เมื่อได้ฟังคำเทศนาแล้วต่างก็ยกมือขึ้นสาธุว่า อานิสงส์ของการสวดมนตร์มีคุณค่าสูงส่งยิ่งนัก

และอีกเรื่องหนึ่ง
#การที่เราแผ่เมตตา จะมีกระแสธาตุไฟออกจากวิญญาณ#
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อทุกครั้งที่เราแผ่เมตตาก็จะมีรัสมีพลังงานออกจากกายเราจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน
 สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นรัสมีแสงพลังงานกระจายออกไปฉะนั้น ตาเนื้อมองไม่อาจเห็นได้ แต่ตาทิพย์นี่เขาเห็น และท่านผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำจะมีอายุยืน
และจะจิตแน่วแน่ โรคที่เป็นอยู่ทางกายมันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้
ฉะนั้นพวกท่านทั้งหลายอย่าได้มัวประมาทในชีวิตที่น้อยนี้เลย
วันคืนมันก็ล่วงไปๆบัดเราทำอะไรอยู่

และหลังบุญทุกครั้งขอให้ญาติโยมจงแผ่เมตตา และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้งตามนี้      
"ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง ๒๐ ชั้นพรหมโลก 6 ชั้นเทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง ๔ มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ"

บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้ากันหรอกนะ ขอเจริญพร

หมายเหตุ
- ไตรสรณคมน์ 

แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ได้แก่การเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่า

พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ธมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
สงฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ
ตติยมฺปิ

ไตรสรณคมน์เป็นการน้อมกาย วาจา ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตน เพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกยึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา

เอกสารประกอบการเขียน
- ศรัทธาชาวสุวรรณภูมิ , อ.สิริเดชะกุล
- จากเรื่องคุณไสยแพ้ สามประโยคสั้นๆ เรื่องเล่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

ขอเชิญเข้าไปอนุโมทนาบุญ อ่านธรรมะสั้นๆให้จิตคุ้นชินอยู่ในกระแสธรรมของพระพุทธเจ้า จะได้เจอพุทธศาสนาทุกภพชาติ
www.facebook.com/groups/344843882326904/ 

หรือดาวน์โหลดวิธีปฏิบัติแก้ทุกข์ในชีวิตประจำวัน (ถ้าแก้ไม่ได้ให้ด่าฟรีเลยครับ)
www.dhamma.com/tag/cd59/
__________________
นะโม 3 จบ
สาธุ ๆ พระปัญญาบารมี ๓๐
ทัศ สาธุ
ๆพระปัญญาบารมีวังแวดล้อม
วิริยะบารมีล้อมระวังดี
สีละบารมีบังหอกดาบ
เมตาตาบารมี ผาบแป้ตังปื๋น
ทานะบารมีเป๋นผืนตั้งต่อ
อุเปกขาบารมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจ
จะบารมีหื้อแวดระวังดีเป๋นไต้
ขันติบารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้
และปื๋นไฟ
อธิฐานะบารมีผันผาบไปทุกแห่ง
แข็งๆ แรงๆ ผายผาบฝูงหมู่มาร
ผีสางพายเผตทุกทวีปภพถีบปังปายหนีนางธรณี
อัศจรรย์โสสะหมื่น ผู้
อยู่ขว้างน้ำนที
นองกว้างต่อกว้าง แตกตีฟอง
นานองนานอก เป๋น
เข้าตอกดอกไม้
มาบูชาพระแก่นไท้สาทันพระพุทธัง
จู่งมาผายโผดจู่งมาอนุญาตโทษโปรด
ผู้ข้าแต้ดีหลี แม่นางธรณี
ออกมามวยผมอยู่ที่ธาตุ
ช้างร้ายข่ายขะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีลงพัดพ่ายคอหักตบต้าว
พญามารอ่าวปูนกลัว
ผายยอมือขึ้นหัวใส่เก้า
ผู้ข้าจื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
ต๋นมีบุญสมพานอันมากพระพุทธเจ้าจิ่งตั้งพระปัญญาบารมี
ไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตางหน้า ก็
ได้เก้าจั้นตั้งไว้ตางหลังก็
ได้เก้าจั้นตั้งแต่หัวแผวตี๋นก็
ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตี๋นแผวหัวก็
ได้เก้าจั้นแสนวา
ลูกปื๋นจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่าก็จักบ่มาใก้ล
ข้าพเจ้าก็เลยไหว้ว่า
พุทธคุณณัง ธัมมคุณณัง
สังฆคุณณัง พุทธอินทา
ธัมมอินทา สังฆอินทา
อัสสะอับอั้น แม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ
อยู่ก้ำแผ่นดิน กันข้าได้ระนึกกึ๊ด
ถึง ยังคุณพระพุทธเจ้า
คุณพระธมมเจ้า
คุณพระสังฆเจ้า
คุณพระปิตตาคุณพระมาตา
คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้ว
ทั้ง ๓ ประการ คุณพระพุทธัง
คุณพระธัมมัง คุณพระสังฆัง
คุณแดด คุณฝน คุณน้ำ คุณลม
คุณไฟ คุณกุสราชเจ้า ก็ดี
คุณพระเจ้าภาวนาก็ดี
คุณนางธรา ก็ดี คุณปัจเจกเจ้า
ก็ดี คุณนางแม่ธรณี ก็ดี
ขอจงก้ำหน้าก้ำหลัง
ยังตั๋วต๋นแห่งข้าพเจ้า
ในค่ำคืนนี้จิ่มเต๊อะ พุทโธ พุทธัง
กันหะ ธัมโม ธัมมัง กันหะ
สังโฆสังฆัง กันหะ
อายุวันโนสุขขัง พะลัง
นะสากาเสอุ รุ อา กัง
มาติปิตตัง ชาติ ขันทัง
มัจจุราชา นะกะรันต
______________
พระพุทธเจ้า: ภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร
ดินที่เราซ้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้
กับดินทั้งโลก อย่างไหนมากกว่ากัน

พระสาวก: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดินที่อยู่ปลายเล็บนี้น้อยมากพระเจ้าข้า
เมื่อนำไปเทียบกับทั้งโลก เปรียบเทียบประมาณไม่ได้เลยพระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้า: ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละๆ
มนุษย์ที่ตายแล้วจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนี่มีน้อยมาก เหมือนเศษดินปลายเล็บ
ส่วนดินทั้งโลกเปรียบเหมือนมนุษย์ที่ตายแล้ว ไปเกิดในนรก ในเปตรวิสัย เดรัจฉานเสียส่วนมาก

#เราทำงานอะไรอยู่ก็ตาม เราควรสร้างเหตุที่จะให้ตนเองได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ไม่ควรลืมตัวเองให้เอาตัวรอด

https://youtu.be/UgyEVWosshQ
_______________
https://www.facebook.com/groups/344843882326904/
_______________
พระมงคลชัย กิตติโสภโณ พิจารณาช่วงอทยุตนว่าตรงกับหลวงตามหาบัว ญาณะสัมปันโณ ว่าปีไหน
/ 2552ปี
/ 62
/ 72
______________
ทำยังไง เราถึงจะรู้สึกว่า เงินที่เราใช้อยู่นี้ที่เราหามาได้

ให้มันรู้สึกว่ามันไม่ใช่เงินเรา
คือลดระดับความยึดมั่นถือมั่นลง
แต่ให้ให้มีความรู้สึกว่า มันเป็นเงินส่วนรวม

แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เอาเงินไปใช้ส่วนรวม ก็คือเราเคยใช้ตามปกติแบบไหนเราก็ใช้เหมือนเดิม

แต่เปลี่ยนแค่ความรู้สึกภายในใจ ที่คิดว่ามันเป็นเงินเรามันเป็นเงินเรา
ให้รู้สึกว่ามันเป็นเงินภายนอกเป็นเงินคนอื่น ไม่ใช่เป็นของเรา เป็นธาตุของโลกที่เปลี่ยนกันใช้ เป็นของส่วนรวม

ร่างกายเราก็เหมือนกันให้คิดว่ามันเป็นของส่วนรวม มันมาจากดิน มันไปก็กลับคืนไปเป็นดิน

แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นของส่วนร่วมแล้วไปให้เขาถูเขาไถผิดศีลข้อกาเม

ลดความถือมั่นในสิ่งต่างๆลง
เวลาจะมองอะไรลองมองให้มันทะลุ
เช่นมอง รถ มองให้ทะลุกาบเข้าไปข้างใน มีสายไฟโยงกันไปโยงกันมา มีอะไล่ชิ้นส่วน รกรุงลังไปหมด

มองคนก็มองให้ทะลุ ถึงตับไตใส่พุงในท้องสมองในหัว มองให้เห็นที่สุดจุดจบของมันในพริบตาเดียว
ล้มลงผุเปาะกลายเป็นกระดูกซากดินไปหมด 
______________
( โต พรหมรังสี )

บุญบริสุทธิ์

การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่หนึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน





( โต พรหมรังสี )
อานิสงส์การแผ่เมตตา

ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้
และผู้ที่นั้งสมาธิประจำจะอายุยืน




สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
" การเห็นในสมาธิ "

๑.การเห็นในสมาธิที่ตั้งใจหมายไว้อย่าง ๑
เป็นการเห็นที่เกิดจากความปารถนาของจิตเอง อันนี้ไม่ถือว่าเป็นสมาธิ หากเป็นอุปทาน ต้องลบภาพที่เห็นเช่นนี้

๒.การเห็นอย่างที่ ๒
เป็นการเห็นเพื่อขอส่วนบุญ หรือชักนำไปสู่ ความกำหนัด เกิดกามราคะ เพราะเหตุแห่งมารนำจิตไป หรือมิฉะนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายที่มีความทุกข์ต้องการมาติดต่อขอส่วนบุญ เพื่อบรรเทาความทุกข์เดือดร้อนอดอยาก การเห็นเช่นนี้เห็นโดยจิตมิได้ปารถนา มิได้ตั้งปณิธาน หรืออุปทานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เมื่อเกิดภาพนี้ขึ้นให้แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลแก่เขาไป อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

๓.การเห็นในสมาธิอย่างที่ ๓
เป็นการเห็นโดยนิมิตอันประเสริฐ เช่น เห็นพุทธนิมิต เทพนิมิต พรหมนิมิตทั้งหลาย เป็นต้น การเห็นแสงสว่างทั้งปวงก็ดี การเห็นเช่นนี้เป็นเครื่องบอกว่า ได้เดินเข้าไปในทางที่จะสามารถติดต่อกับทิพย์วิญญาณทั้งหลายได้

* พึงพิจารณาแยกให้ออกว่าอันไหนเป็นนิมิต อันไหนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญ อันไหนเป็นอุปทานที่เกิดจากความปารถนาของดวงจิต * 
* จงมีสติตั้งมั่นคุ้มครองดวงจิตโดยที่ไม่ต้องคิดหรือหวังจะให้เกิดนิมิต อันเป็นที่พึงปารถนาในทางที่จะชักนำดวงจิตเข้าไปสู่ทางอกุศลได้ต่อไป *







ในคำสอนนี้ จะเน้นที่ประคองจิตไว้ในสติ หรือ ตัวผู้รู้ และอาจจะกำหนดรู้ไว้ที่ลมหายใจ และเมื่อจิตฟุ้งหรือหาลมไม่เจอหรือเมื่ออึดอัด เมื่อจิตสงบจะบริกรรมต่อหรือจับความรู้สึกที่ลมหายใจหรือที่ตัวผู้รู้ก็ได้ เมื่อฝึกสติเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสงบหรือสมาธิ ความสงบจะนำมาซึ่งปัญญา ในการเจริญสติเราจะไม่คิดสิ่งใดเพียงกำหนดรู้เท่านั้น แต่เราจะคิดที่เป็นกุศลที่สุด



ข้อห้ามในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ 
1) ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่าคำที่นึกนั้นชัดเจนที่สุดตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต 
2) ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละและเมื่อจิตค่อยๆหยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆอาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอกก็ค่อยๆลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็วถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเองเพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ 
3) เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยบริกรรมอีกเพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิไปเรื่อยๆและสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้นๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ”

“ เมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้นเมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไปมาดูที่จิตต่อไปอีกไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่เงียบๆ ( รู้อยู่ ) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ” 
( คำสอนของ หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล )




“…พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้บอกทาง
หลวงพ่อเป็นผู้จำทางมาบอก
พวกเราก็มีหน้าที่เดินทาง

เส้นทางสายนี้ยังมีคนเดินอยู่
ยังไม่ขาดสายนะ ยังไม่ขาดระยะ
ต้องรีบเดิน ถ้ามันขาดช่วงเมื่อไหร่เนี่ย
จะหาเส้นทางนี้อีกเนี่ย ยากแสนยาก

นานหนักหนากว่าจะมีผู้รู้เส้นทางนี้ขึ้นมา
กว่าพระพุทธเจ้าจะค้นพบเส้นทางนี้
มีโอกาสแล้ว รู้เส้นทางแล้ว ต้องรีบเดิน

พระพุทธเจ้าเดินนำหายไปก่อนแล้ว
ครูบาอาจารย์เดินตามหลังมา
ยังเห็นรอยเท้าอยู่ นานไปรอยเท้านี้จะหายไป
งั้นเราต้องรีบเดินตาม
ก่อนที่รอยเท้าของท่านจะหายไปหมด…”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช


“การทำบุญให้ทานเป็นกิจสำคัญมาก เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับผู้หวังพึ่งตัวเองทั้งปัจจุบันและอนาคตที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร เพราะสัตว์ที่มีกรรมทั่วไตรโลกธาตุ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบตัวเอง ไม่มีใครจะคอยรับผิดชอบใคร ทั้งการเกิดในกำเนิดดีชั่วต่าง ๆ ตลอดการเสวยผล คือ สุขหรือทุกข์หนักเบามากน้อย ตนต้องเป็นผู้เสวยกรรมของตัวทำไว้ทั้งสิ้น ไม่มีใครทำไว้เผื่อใคร ทุกตนต่างทำไว้เพื่อตัว แม้ไม่มีเจตนาว่าทำไว้เพื่อตัวเองก็ตาม แต่ความจริงก็เป็นกฏตายตัวมาดั้งเดิมอย่างนั้น”

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น