วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ 1. “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่พวกเธอซึ่ง “สรรพสิ่ง” (สิ่ง ทั้งปวง, ครบหมด, ทุกสิ่งทุกอย่าง), จงฟังเถิด; อะไรเล่าคือ สรรพสิ่ง:- ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กาย กับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ - นี้เราเรียกว่า สรรพสิ่ง” 1 2. “พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “โลก โลก” ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก?” “ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ, ที่นั่นก็มีโลก หรือบัญญัติว่า เป็นโลก, ที่ใดมีหู...มีจมูก...มีลิ้น...มีกาย...มีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณ มีสิ่งอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ ที่นั้นก็มีโลก หรือบัญญัติว่าโลก” 2 “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดโลก เป็นสิ่งที่รู้ ได้ เห็นได้ ถึงได้ ด้วยการไป, แต่เราก็ไม่กล่าวเช่นกันว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดโลก จะทำความสิ้นทุกข์ได้” (พระอานนท์กล่าว :-) “ข้อความที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ยังมิได้ทรงแจกแจงเนื้อความ โดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจความโดยพิสดารดังนี้:- บุคคลย่อมสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก ด้วยสิ่งใดสิ่งนั้นเรียกว่า “โลก” ในอริยวินัย.” “ด้วยอะไรเล่า คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก? ด้วยตา...ด้วยหู....ด้วยจมูก....ด้วยลิ้น ....ด้วยกาย....ด้วยใจ คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก” 3 “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอุทัยพร้อม และการอัสดงแห่งโลก, จงฟังเถิด. การอุทัยพร้อมแห่งโลก เป็นไฉน? อาศัยตา และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ, ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น คือ ผัสสะ, เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี, เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี, เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี, เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็มีพร้อม; นี้คือการอุทัยพร้อมแห่งโลก” “อาศัยหู...อาศัยจมูก...อาศัยลิ้น...อาศัยกาย... อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิด มโนวิญญาณ ฯลฯ นี้คือ การอุทัยพร้อมแห่งโลก” “การอัสดงแห่งโลกเป็นไฉน? อาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ, ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้นคือ ผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา, เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี, เพราะตัณหานั้นแหละสำรอกดับไป ไม่เหลือ ความดับอุปาทานจึงมี, เพราะดับอุปาทาน ความดับภพจึงมี, เพราะดับภพ ความดับชาติจึงมี, เพราะดับชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงดับ, ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งหมด ย่อมมี ได้อย่างนี้; นี้เรียกว่าการอัสดงแห่งโลก” อาศัยหู...อาศัยจมูก...อาศัยลิ้น...อาศัยกาย... อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิด มโนวิญญาณ ฯลฯ นี้คือ การอัสดงของโลก” 4 “พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “มาร มาร” ...เรียก กันว่า “สัตว์ สัตว์” ...เรียกกันว่า “ทุกข์ ทุกข์” ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีมารหรือบัญญัติว่ามาร...จึงมีสัตว์ หรือบัญญัติว่าสัตว์...จึงมีทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์ ?” “ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ มีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ, ที่นั้นก็มีมาร หรือบัญญัติว่ามาร...สัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์...ทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์” 5 “เมื่อตามีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขทุกข์, เมื่อตาไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติว่าสุขทุกข์, เมื่อหู...เมื่อจมูก...เมื่อลิ้น...เมื่อกาย...เมื่อใจมีอยู่ พระอรหันต์ ทั้งหลาย จึงบัญญัติสุขทุกข์ เมื่อหู ฯลฯ ใจไม่มี พระอรหันต์ ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติสุขทุกข์” 6 “ภิกษุทั้งหลาย ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง จักเป็นสุข จัก เป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน” “รูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน” 7 “ภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้างอกงามบริบูรณ์ และคนเฝ้าข้าวกล้าก็ประมาทเสีย, โคกินข้าวกล้า ลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงเมาเพลินประมาทเอาจนเต็มที่ ฉันใด, ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ไม่สังวรใน ผัสสายตนะ 6 ย่อมเมาเพลิน ประมาทในกามคุณ 5 จนเต็มที่ ฉันนั้น” 8 “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ 6 เหล่านี้ที่ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สังวร ย่อมเป็นเครื่องนำทุกข์มาให้ ...ผัสสายตนะ 6 เหล่านี้ ที่ฝึกดีแล้ว คุ้มครองดี รักษาดี สังวรดี ย่อมเป็นเครื่องนำสุขมาให้...” 9 “ตาเป็นเครื่องผูกล่ามรูปไว้, รูป เป็นเครื่องผูกล่ามตาไว้; หู-เสียง; จมูก-กลิ่น; ลิ้น-รส; กาย- โผฏฐัพพะ; ใจเป็นเครื่องผูกล่ามธรรมารมณ์ไว้, ธรรมารมณ์ เป็นเครื่องผูกล่ามใจไว้ ดังนี้หรือ ?” “(หามิได้) ตาก็มิใช่เครื่องผูกล่ามรูปไว้, รูปก็มิ ใช่เครื่องผูกล่ามตาไว้; ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด) ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ตาและรูปนั้น ฯลฯ ใจก็ไม่ใช่ เครื่องผูกล่ามธรรมารมณ์, ธรรมารมณ์ก็มิ ใช่เครื่องผูกล่ามใจ:- ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ และธรรมารมณ์ทั้งสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ใจและธรรมารมณ์นั้น” “หากตาเป็นเครื่องผูกล่ามรูปไว้ หรือรูป เป็นเครื่องผูกล่ามตาไว้แล้วไซร้, การครอง ชีวิตประเสริฐ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็จะปรากฏไม่ได้; แต่ เพราะเหตุที่ตาไม่ใช่เครื่องผูกล่ามรูป, รูปมิ ใช่เครื่องผูกล่ามตา, ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตา และรูปสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ตาและรูป นั้น เพราะเหตุฉะนั้น การครองชีวิตประเสริฐเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏได้ ฯลฯ” “พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระจักษุ, พระ ผู้มีพระภาคก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ, (แต่) ฉันทราคะ ไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระ ผู้มีพระภาคทรงมีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว; พระ ผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระโสต...พระฆานะ...พระชิวหา... พระกาย...พระทัย...” 10 “พระองค์ผู้เจริญ ! ถึงแม้ข้าพระองค์จะชราแล้ว เป็น ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ ส่วนกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็ตาม, ขอพระ ผู้มีพระภาคสุคตเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์แต่ โดยย่อเถิด ข้าพระองค์คงจะเข้าใจ ความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่ ข้าพระองค์คงจะเป็นทายาทแห่งพระดำรัสของพระ ผู้มีพระภาคได้เป็นแน่” “แน่ะมาลุงกยบุตร ! ท่านเห็นเป็นประการใด? รูป ทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุอย่างใด ๆ ซึ่งเธอยังไม่เห็น ทั้งมิเคย ได้เห็น ทั้งไม่เห็นอยู่ ทั้งไม่เคยคิดหมายว่าขอเราพึงเห็น, ความพอใจ ความใคร่ หรือความรัก ในรูปเหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม?” “ไม่มี พระเจ้าข้า” “เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย อย่างใด ๆ เธอไม่ได้ทราบ ไม่เคยทราบ ไม่ทราบอยู่ และทั้งไม่เคยคิดหมายว่าเราพึงทราบ, ความพอใจ ความใคร่ หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม?” “ไม่มีพระเจ้าข้า” “มาลุงกยบุตร ! บรรดาสิ่งที่เห็นได้ยินรู้ทราบเหล่านี้ ในสิ่งที่เห็น เธอจักมีแค่เห็น ในสิ่งที่ได้ยิน จักมีแค่ได้ยิน ในสิ่งที่ ลิ้มดมแตะต้อง จักมีแค่รู้ (รสกลิ่นแตะต้อง) ในสิ่งที่ทราบจักมีแค่ทราบ; เมื่อใด (เธอมีแค่เห็นได้ยินได้รู้ ได้ทราบ) เมื่อนั้น เธอก็ไม่มีด้วยนั่น (อรรถกถาอธิบายว่า ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ), เมื่อไม่มีด้วยนั่น ก็ ไม่มีที่นั่น (อรรถกถาอธิบายว่า ไม่พัวพันหมกติดอยู่ในสิ่งที่ ได้เห็นเป็นต้นนั้น), เมื่อไม่มีที่นั่นเธอก็ไม่มีที่นี่ ไม่มีที่โน่น ไม่มีระหว่างที่นี่ที่โน่น (ไม่ใช่ภพนี้ ไม่ใช่ภพโน้น ไม่ ใช่ระหว่างภพทั้งสอง), นั่นแหละคือจุดจบของทุกข์” (พระมาลุงกยบุตรสดับแล้ว กล่าวความตามที่ตน เข้าใจออกมาว่า:-) “พอเห็นรูป สติก็หลงหลุด ด้วยมัว ใส่ใจแต่นิมิตหมายที่น่ารัก แล้วก็มีจิตกำหนัดติดใจ เสวยอารมณ์ แล้วก็สยบอยู่กับอารมณ์นั้นเอง, เวทนาหลากหลายอันก่อกำเนิดขึ้นจากรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น จิตของเขาก็คอยถูกระทบกระทั่ง ทั้งกับ ความอยากและความยุ่งยากใจ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน” “พอได้ยินเสียง...พอได้กลิ่น...พอลิ้มรส...พอถูก ต้องโผฏฐัพพะ...พอรู้ธรรมารมณ์ สติก็หลงหลุด ฯลฯ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน” “เห็นรูปก็ไม่ติดในรูป ด้วยมีสติมั่นอยู่, มีจิตไม่ติดใจ เสวยเวทนาไป ก็ไม่สยบกับอารมณ์นั้น; เขามีสติดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อเห็นรูป และถึง จะเสพเวทนา ทุกข์ก็มีแต่สิ้น ไม่สั่งสม; เมื่อไม่สั่งสมทุกข์ อยู่อย่างนี้ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน” “ได้ยินเสียง...ได้กลิ่น...ลิ้มรส...ถูกต้องโผฏฐัพพะ... รู้ธรรมารมณ์ ก็ไม่ติดในธรรมารมณ์ด้วยมีสติมั่นอยู่ ฯลฯ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน” 11 “ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ ไม่คุ้มครองทวาร ? คนบางคนเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก ย่อมขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ ไม่น่ารัก มิได้มีสติกำกับใจ เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ (มีใจ เล็กนิดเดียว), ไม่เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่ง ความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพ้น ด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัว เขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ; ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ทราบธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจใน...ธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขุ่นเคืองขัดใจใน...ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ” “ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวาร ? ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก ไม่ขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติกำกับใจ เป็นอยู่อย่าง ผู้มีจิตกว้างขวาง ไม่มีประมาณ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่ง ความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพ้น ด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัว เขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ, ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมไม่น้อมรักฝากใจใน... ธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขุ่นเคืองขัดใจใน...ธรรมารมณ์อัน ไม่น่ารัก ฯลฯ” 12 “ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วย ความไม่ประมาท ? เมื่อภิกษุสังวร จักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อม ไม่ซ่านแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ, เมื่อมีจิต ไม่ซ่านแส่ ปราโมทย์ก็เกิด, เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด, เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ, ผู้มีกายสงบ ย่อมเป็นสุข, ผู้มีสุขจิตย่อมเป็นสมาธิ, เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรม ทั้งหลายก็ปรากฏ, เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ผู้นั้น จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท” (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน) 13 อานนท์ การอบรมอินทรีย์ ที่ยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน เป็นอย่างไร ? เพราะเห็นรูป ด้วยตา...เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก... เพราะรู้รสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดความชอบใจบ้าง เกิด ความไม่ชอบใจบ้าง เกิดทั้งความชอบใจและ ไม่ชอบใจบ้างแก่ภิกษุ; เธอเข้าใจชัดดังนี้ว่า ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น แล้วแก่เรานี้เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น, ภาวะต่อไปนี้จึง จะสงบประณีต นั่นคืออุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง), (ครั้น แล้ว) ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ ไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับไป อุเบกขาก็ ตั้งมั่น” “สำหรับบุคคลผู้ใดก็ตาม ความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป อุเบกขาย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลันทันที โดยไม่ยาก เสมือนคนหลับตาแล้วลืมตา หรือลืมตาแล้วหลับตา ฯลฯ นี้ เรียกว่า การอบรมอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน...” 14 “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ผู้ยัง ไม่ตรัสรู้ เราได้เกิดความดำริขึ้นดังนี้ว่า :- อะไรเป็นคุณ ( ความหวานชื่น ความอร่อย) ของจักษุ ? อะไรเป็นโทษ ( ข้อเสีย ความบกพร่อง) ของจักษุ ? อะไรเป็นทางออก ( เป็นอิสระ ไม่ต้องอิงอาศัย) แห่งจักษุ ? อะไรเป็นคุณ... เป็นโทษ...เป็นทางออกแห่งโสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย... มโน ?” “เราได้เกิดความคิดขึ้นดังนี้:- สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้คือคุณของจักษุ, ข้อที่จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้คือ โทษของ จักษุ, การกำจัด ฉันทราคะ การละฉันทราคะในเพราะจักษุเสียได้ นี้คือทางออกแห่งจักษุ” (ของโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน) “ตราบใด เรายังมิ ได้รู้ประจักษ์ตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน 6 เหล่านี้โดยเป็นคุณ, ซึ่งโทษโดยเป็นโทษ, ซึ่งทางออกโดย เป็นทางออก, ตราบนั้นเราก็ยังไม่ปฏิญญาว่าเราบรรลุ แล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ...” (ต่อไปตรัสถึงคุณ โทษ ทางออกพ้นแห่งอายตนะภายนอก 6 ในทำนองเดียวกัน) 15 “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น รู้เห็นรูป ทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เห็น จักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติดพัน ในเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิด เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อผู้นั้นไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป, อนึ่ง ตัณหาที่ เป็นตัวการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ ก็จะถูกละไปเสียด้วย, ความกระวนกระวายทางกายก็ดี ความกระวนกระวายทางใจก็ดี ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้; ผู้นั้นย่อมเสวย ทั้งความสุขทางกายทั้งความสุขทางใจ, บุคคลผู้เป็นเช่น นั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ, มี ความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ, มี ความพยายามใด ความพยายามนั้นก็ เป็นสัมมาวายามะ, มีความระลึกใดความระลึกนั้นก็ เป็นสัมมาสติ, มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ, ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว; ด้วยประการดังนี้ เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐังคิกมรรคอันถึงความเจริญบริบูรณ์” ( เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน) 16 « บทก่อนหน้า

ศาสนาปัจจุบันนี้ในไทย หรือในทั่วโลก
มี๒กลุ่มใช่ไหม
๑.
กลุ่มพุทธวจนะผู้ถือเอาคำสอนอย่างเคร่งครัดและฉลาด คำสอนที่นอกเหนือจากพระพุทธเจ้าพูดหรือนอดเหนือจากสาวกภาษิตที่พระพุทธเจ้ารับรองไว้แล้วไม่เอา แม้จะอยู่ในพระไตรปิฎกก็ไม่เอาเลยหรืออย่าไร

๒. กลุ่มที่ยอมรับถือเอาคำสอนในพระไตรปิฎกด้วย และยอมรับคำสอนนอกพระไตรปิฎกด้วย
ยอมรับแบบไม่กลั่นกรองเลย
1.หรือเห็นว่าบุคคลจำพวกนี้ท่านห่มผ้าเหลือง ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่หมด เพราะท่านเป็นพระหนิ
2.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่หนึ่ง
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่านมีอภิญญาญาณวิเศษล่วงรู้อนาคตได้
หวยเบอร์ออกอะไร ทราบหมด
ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่หมด
3.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่สอง
แต่เห็นว่าบุุคคลนี้ท่านเป็นผู้ศึกษาอ่านพระไตรปิฎกมาแล้ว
ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่หมด
4.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่สาม
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่านเป็นผู้ศึกษาพระไตรปิฎกด้วย และปฏิบัติด้วย
ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่หมด
5.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่สี่
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่านสมณะศักดิ์ใหญ่
ท่านพูดธรรมอะไรออกมา ก็คงจะใช่ถูกหมด
6.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่ห้า
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่านสมณะศักดิ์ใหญ่และปฏิบัติธรรมด้วย
ท่านพูดธรรมอะไรออกมา ก็คงจะใช่ถูกหมด
7.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่หก
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่าน (จบเปรียญธรรม ประโยค ๙)
ท่านพูดธรรมอะไรออกมา ก็คงจะใช่ถูกหมด
8.หรือไม่ใช่บุุคลจำพวกที่เจ็ด
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่าน จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค และปฏิบัติธรรมด้วย
ท่านพูดธรรมอะไรออกมา ก็คงจะใช่ถูกหมด
9.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่แปด
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่าน จบเปรียญธรรม ๘ ประโยค
ท่านพูดธรรมอะไรออกมา ก็คงจะใช่ถูกหมด
10.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่เก้า
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่านจบ ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่ถูกหมด
6.หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่ห้า
แต่เห็นว่าบุคคลนี้ท่าน และปฏิบัติธรรมด้วย) หรือ ป.๘...หรือ ป.๗... หรือ ป.๖... หรือ ป.๕.... หรือ ป.๔... หรือ ป.๒... หรือ เปรียญธรรม ประโยค.๑)..... หรือจบ (ธรรม.เอก ) หรือ ธ.โท.... หรือ ธ. ตรี....
หรือเป็นเจ้าคณะภาค... หรือเป็นเจ้าคณะจังหวัด หรือเป็นเจ้าคณะอำเภอ... เจ้าคณะตำบล... เจ้าคณะจังหวัด... เจ้าอาวาส..
ท่านพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่หมด

6.หรือไ
หรือเห็นว่าท่านทั้งอ่านพระไตรปิฎกมาแล้วทั้งปฏิบัติมาแล้ว
แล้วท่านพูดอะไรก็เชื่อไปหมด

หรือไม่ใช่บุคคลจำพวกที่.. 
แต่เห็นว่าบุคคลนี้เป็นลูกเราอายุเพียงหนึ่งขวบ
แล้วพูดธรรมอะไรออกมาก็คงจะใช่ไปหมด
เพราะเป็นลูกเราและอายุเพียงห้าขวบ)

หรือลองนึกสมมุติเล่นๆ
ว่า พระสูตรต่างๆ ตกไปอยู่ในหัว ของคนในโลกคนละสูตร

แล้วในโลกนี้มีตั้งหลายศาสนา

คนนั้นก็พูดว่า ดูกร... ดูกร... หรือ เอวัมเมสุตัง ก่อน เหมือนกันหมดเลย
ท่านจะเอาอะไรตัดสินว่านี้เป็นคำสอนของ
พระอรหันต์(ผู้ไกลกิเลส)
สัมมา(ถูกต้อง แน่แท้ ตรงทางถูกต้อง)
สัมพุทธ(ผู้รู จริง)

แม้แต่ศีล๕ ก็มีอยู่เก่าก่อน พระองค์ก็ยอมรับ
ก็เอามาสอน


และถ้าพระอานนท์ อาราธนาให้พระองค์ดำรงอายุกัปหนึ่งหรือเกินกัปหนึ่ง
พระองค์ก็คง จะเทศสอนธรรม
ที่เป็นฝ่าย ชักชวน ให้เลิก ยึดมั่น ถือมั่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐััพะ ธรรมารมณ์
หรือ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูมโน
หรือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
หรือให้ดำเนินไปทาง กุศลกรรมบท
หรือเทศเกี่ยวกับภัยในอนาคต คล้ายๆเอามาขู่
(แต่ไม่ใช่ขู่ แต่มันเป็นสัจจะความจริง เช่น เอาอบายภูมิ๔ เศษดินปลายเล็บมาแสดง)


กลุ่มที่หนึ่ง ที่ว่าถือเอาคำสอนพุทธวจนะอย่างชานฉลาดก็คือ แม้คนที่เอาคำสอนพระพุทธเจ้าออกมาเผ่ยแผ่ถ่ายทอดผิด ก็สามารถรู้ได้เลยว่า เอ่อที่ท่านเทศนา..ส่วนนี้ผิดหนิ เอ่อ..ที่ท่านเทศนาส่วนนี้ถูก
และถือเอาเฉพาะส่วนที่ถูกนั่นไปอย่างฉลาด

ส่วนกลุ่มที่สอง คำสอนพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกก็เอา
ทั้งพุทธภาษิต สาวกภาษิต อรรถกถา ฎีกา  เทศนาของหลวงปู่หลวงตา
บางหลวงปูอ่านหนังสือไม่ออกก็มีก็เอาเหมือนกัน
หรือคนสมามัญธรรมดาพูด ก็เอาเหมือนกัน


ก็ในเมื่อปัจจุบันปรากฏเป็นแบบนี้ ผู้ฉลาดเขาจะถือเอาแบบไหนอย่างไรจึงจะสามารถนำพาเอาตัวเองรอดฉลาดไปในฝ่ายกุศลไ้้ด้เจริญดีงามต่อยอดขึ้นไปอีก

ก็ต้องอยู่ที่เราตัดสินใจถูก
การจะรู้ได้ว่าถูกหรือผิด
ก็ต้องมาจากปัญาของเราที่เคยอบรมมา ทั้งจากการอ่านในสิ่งที่ถูกต้องจริง ทั้งจากการฟังในสิ่งที่ถูกต้องจริง และการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องจริง

จึงจะวิเคารห์ได้ด้วยตนเองว่านี่ถูกนี่ผิด อันนี้สอนให้เป็นไปในกุศล
อันนี้สอนให้เป็นไปในอกุศล

อาตมาเอง
{ช่วงพรรษา ๑ }
พูดมาแล้วก็ต้องขอขอบพระคุณพระอาจารย์คึกฤทธิ โสถิผโล ที่เป็นผู้มีอุปการคุณแก่อาตมาก
ที่ท่านได้จำคำสอนพระพุทธเจ้ามา พูดแสดงธรรมในวันนั้น และขอบคุณโยมคนที่ตั้งคำถามๆขึ้นด้วย
และที่พระอาจารย์แสดงธรรมส่วนที่ถูกนั่นด้วย
"ธรรมข้อไหนน้อ ?
"ก็จะตอบว่า " มนุษย์ทั้งหมดที่ตายแล้วส่วนมากคติทางไปคืออบายภูมิ๔ ส่วนที่รอดคือเศษดินปลายเล็บ
เทวดาทั้งหมดที่ตายแล้วส่วนมากคติทางไปคืออบายภูมิ๔ ส่วนที่รอดคือเศษดินปลายเล็บ"
ประมาณนี้แหละ
ทำให้อาตมามีความสลดใจ กลัวภัยในอบายข้างหน้า สัมปรายภพข้างหน้า เราจะไม่ยอมตกนรก ก็คิดกลัวอยู่อย่างนี้
สลดสังเวชกลัวภัยเสี่ยงนี่มากๆ (เพื่อนพระหนุ่มด้วยกัน สึกไปหลายแล้ว แต่อาตมายังไม่สึก)

จึงมีจิตมุ่งมาทางธรรม ศึกษาพุทธวจน ชอบฟังพุทธวจนะมาก และทำซีดีพุทธวจนแจกคนที่มาสมโภชด้วย
ด้วยอยากให้เขารู้
และ"อะไรที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ"
 อาตมาไม่อยากทำเลย เช่นสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น และ เจริญพุทธมนต์ ไม่อยากสนที่จะสวด ก็เงียบ เกรงว่าจะเป็นการทำลายคำสอนพระพุทธเจ้าที่บัญญัติไว้เก่าก่อน กล้าสวดเฉพาะอิติปิโส พุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณ 

{ช่วงพรรษา ๒ }
ตระหนักว่าแผนที่ของสังสาวัฏ และเหตุให้เข้าถึงภพต่างๆ
มีบอกในพระไตรปิฎก
อาตมาจึงเริ่มอ่านพระไตรปิฎกมากขึ้น
จึงทำให้เวลาในการฟังธรรมะพระอาจารย์คึกฤทธิ สั้น หรือน้อยลง
แต่การอ่านพระไตรปิฎกนั้นอ่านเฉพาะฉบับหลวงในแอพ อ่านตั้งแต่ค่ำจนถึงดึก
ใช้เวลาไม่หลายวันเท่าไรก็จบเป็นเล่มๆไป
เพราะอิทธิบาทสี่นี่เอง

ที่นี้พออ่านไปๆ ก็ไปเจอพระสูตรที่ค้านกับพระอาจารย์คึกฤทธิเทศก็มี
แต่เราก็ไม่ใส่ใจนักเพราะศรัทธาในท่านหนัก
ก็อ่านไปต่อ... ก็เจออีก.. ก็อ่านต่อ.. ก็เจออีก
จนถึงกับบันทึกไว้ในแอพ
อยากจะนำมาแสดงในนี้เหมือนกัน
แต่เพราะด้วยเหตุที่ข้อมูลนั้นอยู่ในโน๊ตบุ๊ก ซึ่งโน๊ตบุ๊กนั้น มันมีอาการเสียที่ซิฟ จึงไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรไ้้ด้ มิได้โกหกเลย)


ก็มาพิจารณาว่าจะเอาไงดีเรา
จากนั้นเลยลงมือปฏิบัติมาเรื่อยๆ ในด้านกำหนดรู้มโนสัญญาเจตนา หรือพูดในทางสติปัฏฐาน ก็คือดูจิตดูความรู้สึกตรงๆนี่แหละ ปัจจุบันดีๆนี่แหละ
เห็นขันธ์เวียนมาให้รู้โดยเป็นธรรมชาติ
หรือจะว่าเวียนไปรู้ขันธ์โดยเป็นธรรมชาติ
เมื่อปฏิบัติไป
เกิดธรรมรวบยอด ว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐััพะธรรมารมณ์
ในอนาคตก็ไม่เที่ยง
ไหลผ่านปัจจุบันไปเป็นอดีตเสมอ

และรู้เลยว่า ในจักรวาลนี้
มีธรรมอยู่๒ฝ่าย
๑ฝ่ายหมุ่นเข้า เข้าไปติด เข้าไปพัวพันถือมั่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพะ ธรรมารมณ์
๒ฝ่ายหมุ่นออก ออกจากความถือมั่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์


ในตอนนี้ อาตมาถือเอาคำสอนอย่างไร
ในบวรพุทธศาสนา
ใครจะถือเอาแบบอาตมาบ้าง
คือ
#(ขันธ์๕เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพะ ธรรมารมณ์ ที่จะมีมาในอนาคตก็เป็นอนิจจัง ทุขขัง อนัตตา)

#วิญญาณ 
(จักขุวิญญาณ, โสตะวิญญาณ, ฆานะวิญญาณ,
ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,
มโนวิญญาณ, เมื่อวิญญาณมีการไปตั้งที่ตาย่อมรู้แจ้งรูป,ไปตั้งที่หูย่อมรู้แจ้งเสียง,ไปตั้งที่จมูกย่อมรู้แจ้งกลิ่น,ไปตั้งที่ลิ้นย่อมรู้แจ้งรส,ไปตั้งที่กายย่อมรู้แจ้งโผฏฐัพพะ,ไปทางมโนย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์)
#เวทนา (สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขเวทนา, ที่เกิดจากต่อผัสสะทางตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ) 
ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
#สัญญา (รูปสัญญา, สัทธะสัญญา, คัณทะสัญญา รสสัญญา, โผฏฐัพพะสัญญา, ธรรมสัญญา, ที่เกิดต่อจากเวทนา)
ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
#สังขาร (รูปสัญญเจตนา, สัทธะสัญญาเจตนา, คัณทะสัญญเจตนา,
รสสัญญเจตนา,
โผฏฐัพพะสัญญาเจตนา,
ธรรมสัญญเจตนา, ที่เกิดต่อจากสัญญา)
ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ธรรมอื่นไม่ค่อยใส่ใจเท่าไร
(จะว่าอาตมาเห็นแก่ตัวไหม)
รู้สึกว่า คล้ายๆว่า จิตมันจะลบความเห็นว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
ลบสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาออก
ไม่ให้มีใน สิ่งที่วิญญาณเห็น
รูปะ
มีแต่เม็ดสีเคลื่อนไหวไปมา ไม่คงที่

ลบความเห็นว่ามีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาออกเสีย
ไม่ให้มีใน เสียง
มีแต่ลักษณะของเสียงที่แตกต่างขึ้นๆลง

ที่ว่าเขาด่าเรา เขาพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้ 
คิดไปเองทั้งนั่นเลย

อาตมาเมื่อจิตอยู่ในภาวะเช่นนี้แล้ว
ถือเอาคำสอนอย่างไร ขอให้อ่านให้จบ


#ฆ่าคนที่บิดเบียดคำสอนพระพุทธเจ้า ก็ไม่ควร
#ด่าคนที่บิดเบียนคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ควร
#ฉาบแช่ง ผูกเวร จองเวร ผูกอาฆาต คนที่บิดเบียดคำสอนพระพุทธเจ้าก็ไม่ควร  เพราะอันตรายคืออกุศลเกิดแก่ตนเอง บาปแม้เล็กน้อยก็ไม่ควรสะสม
ยิ่งบ่อยๆนั่นเป็นการฝึก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ตน ให้เป็นอกุศล โดยแท้  เมื่อบ่อยเข้าๆก็เป็นอาจิณกรรม
(กรรมที่ทำเคยชิน)

#เสพคบธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว 
ความโลภ - ต้องเบาบางคล้ายๆจางคลายออกเรื่อยๆไหม ธรรมฝ่ายตรงข้าม ความอยากเป็นผู้ให้เกิดขึ้นมีเกิดขึ้นเรื่อยๆไหม
#เสพคบธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว
ความโกธร -
ต้องเบาบางคล้ายๆจางคลายออกเรื่อยๆไหม
กลับมีธรรมฝ่ายตรงข้ามเริ่มเกิดขึ้น
คือความเมตตาไหม สว่างเบากายเย็นสุขใจมีขึ้นเรื่อยๆไหม
#เสพคบธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว
ความหลง-
ต้องเบาบางคล้ายๆจางคล้ายออกเรื่อยๆไหม
แต่กลับต้องเกิดมีธรรมฝ่ายตรงข้ามขึ้นเรื่อยๆ
คือสติ ที่เป็นไปพร้อมกับฐานทั้ง๔ สม่ำเสมอ
เกิดขึ้นไหม พัฒนาเจริญขึ้นไหม


ผู้เสพคบธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว#อกุศล
ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ต้องเบาบางลงไหม
แต่กลับมีธรรมฝ่ายตรงข้ามเกิดขึ้นคือกุศลใช่ไหม

พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไหมหนอ
ว่าศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้ว

"ให้เป็นทัพพี ที่ไม่รู้รสแกง"
(อันนี้อาตมาเคยสอนตนเอง
อายุมนุษย์มันไม่ใช่แปดหมื่นปีนะ แต่มันน้อยกว่าร้อยปี ถ้าใช้ชีวิต80ตาย  นั้นแสดงว่าได้ใช้ชีวิตแค่50ปี เสียเวลา30ปีให้กับนอน
ให้รีบทำความเพียร สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน
ลำพังเขาทุกข์เพราะ ความโลภ ความราคะ ความโทสะ กิเลสไฟต่างๆ อยู่แล้ว 
นี่เรายังจะไปด่า ไปคิดพยาบาท ช้ำเติมเขาอีก )

#################

พระทั้งหลายทั้งปวง หรือผู้ที่ไม่ใช่พระทั้งหลายทั้งปวงที่เทศนาในโลกนี้ (สมมุติเราลบบุคคลทั้งปวงในโลกออกเสีย ลบพระลบโยมออกเสีย ไม่ให้มีสักคนเลยในโลกนี้ ให้มีแค่เราคนเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดในบุคคล(ฉันทาคติ)
แต่ให้ติดถือเอาเฉพาะในธรรมอันที่เป็นกุศล เลือกเฉพาะฝ่ายกุศลเท่านั้น)

เมื่อไม่มีใครแล้วในโลกนี้ มีแค่เราคนเดียว

และก็มี ..แค่เสียง ในโลก ก็พอ..


อาตมามีหลักว่า:   เนื้อหา "เสียง .. ที่มันลอยมาจากความว่างนั้น

เนื้อหาในเสียงนั้น แม้ไม่มีในพระไตรปิฎก 
แต่ฟังแล้วเป็นฝ่ายสอนให้เกิดการละอกุศลกรรมบทหนิ 
เป็นฝ่ายสอนให้เกิดการทำกุศลกรรมบทหนิ
อันนี้ควรเงื่อหูลงฟัง 

(เหมือนยุคที่มนุษย์อายุเหลือสิบปี
แล้วมีการเริ่มประพฤติกุศลกรรมบท
ในตอนนั้นมีคำสอนพระพุทธเจ้าไหม?
คนเหล่านั้น เขาคงถือเอาเฉพาะเสียงที่สอน
แนะที่ดี แม้ไม่ใช่พุทธวจนะ)

ถ้าเสียงนั้น
#ชี้แนะไม่ให้ฆ่าสัตว์ 
(ควรฟัง
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้ลัก 
(ควรฟัง
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้พูดโกหก 
(ควรฟัง
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้ดื่มน้ำเมา
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้พูดส่อเสียด 
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้พูดคำหยาบ
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้พูดเพ้อเจ้อ
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้ความโลภความอยากอยาก เจริญขึ้น 
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะไม่ให้ความพยาบาทมาดร้าย จองเวร โทสะ เจริญขึ้น
(ควรฟัง ควรฟังควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)
#ชี้แนะให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
คือมีความเห็นที่ถูกต้องในธรรมะ 
(ควรฟัง ควรปฏิบัติ
แม้เป็นคำที่แต่งเก่าหรือแต่งใหม่ก็ตาม)

ถ้าเทศสอนแนะให้ฆ่าสัตว์ แนะให้ลัก แนะให้ประพฤผิดเรื่องกามเมถุน แนะให้พูดเท็จ แนะให้กินเหล้า หรือที่เป็นเหตุให้เสียสติ
แนะให้พูดส่อเสียด แนะให้พูดคำหยาบ แนะให้พูดเพ้อเจ้อ แนะให้ความอยากความโลภ เจริญขึ้น
แนะให้มีใจประทุษร้าย พยาบาท โทสะเจริญขึ้น
แนะให้เห็นผิดมิจฉาทิฐิ

ก็ให้คิดว่า นั่นเป็นเสียงคำสอนให้ไปอบายภูมิ
เหล่านี้เป็นคำเสียงไม่ใช่แนวกุศล


#และเจริญสมาธิ
การบรรลุธรรมได้ เพราะอาศัยสมาธิระดับปฐมฌานบ้าง
การบรรลุธรรมได้ เพราะอาศัยสมาธิระดับสองบ้าง
การบรรลุธรรมได้ เพราะอาศัยสมาธิระดับสามบ้าง
การบรรลุธรรมได้ เพราะอาศัยสมาธิระดับสี่บ้าง(ฌานสี่)
การบรรลุธรรมได้ เพราะอาศัยสมาธิระดับอรูปฌานบ้าง

ในเมื่อ สมาธิระดับปฐมฌาน
(ปฐม แปลว่า แรก , ก่อน)
(ปฐม แปลว่า 1 ) 
ใช่หรือไม่

องค์ของปฐมฌาน
คือ มีวิตก มีวิจาร มีปิติ มีสุข
วิตกก็มีตั้ง๖ 
รูปวิตก สัทธะวิตก คัณทะวิตก รสวิตก โผฏฐัพพะวิตก 
ธรรมวิตก

วิจารก็มีตั้ง๖ 
รูปวิจาร สัทธะวิจาร คัณธะวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพะวิจาร ธรรมะวิจาร

รู้ท้องพองยุบ
อันนี้ก็เป็นโผฏฐัพพะวิตก ต่อ โผฏฐัพะวิจาร
(สิ่งถูกต้องกาย)

ถ้าว่า พุทโธ ๆๆๆ ไปเรื่อยๆ
และก็กำหนดรู้ พุทโธ ด้วย
แล้วจากนั้นหยุด
แต่มันก็ยังมี พุทโธ ๆๆ ของมันไปเอง
อันนี้ สัทธวิตก ต่อ สัทธะวิจาร

เหมือนที่พระพาหิยะ
ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า
แล้วบรรลุธรรม หรือคนในสมัยพุทธกาลฟังธรรมแล้วบรรลุธรรม
อันนี้ก็เป็นสัทธะวิตก ต่อ สัทธะวิจาร   ธรรมวิตก ธรรมะวิจาร

(สัทธะ แปลว่า เสียง)

ถ้ารู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
ที่กระทบช่องรูจมูก หรือกระทบลิมฝีปากบน
(ในลมมันมีกลิ่นที่ละเอียดๆไหม)
(แม้ลมก็จัดเป็นรูปธาตุ)
ก็เป็นโผฏฐัพพะวิตก ต่อ โผฏฐัพพะวิจาร

ถ้าเพ่งลูกแก้ว สีเขีว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีแดง คือเพ่งกสิณ
ก็เป็น รูปวิตก และรูปวิจาร


ถ้านึก ยกร่างกายขึ้น
ถอดแยกส่วน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯ สลายลงกับคืนเป็นดินตามเดิม
ก็เป็นรูปวิตก รูปวิจาร ธรรมะวิตก ต่อด้วย ธรรมะวิจาร

แม้นั้งสมาธิใคร่ครวนปฏิจสมปฺบาท
ก็เป็น ธรรมวิตก ธรรมะวิจาร

แม้เวลาเรานั้งสมาธิรู้ลมหายใจ
มันก็ไม่ใช่ไปรู้ลมอย่างเดียว
แต่มันยัง ไปรู้อาการท้องพองยุบ
แต่มันยัง ไปรู้สิ่งถูกต้องสัมผัสที่ก้น
แต่มันยัง ไปรู้มือที่ถูกกับอีกข้าง
แต่มันยัง ไปรู้ว่าผิวกายถูกกับผ้า
แต่มันยัง ไปรู้ความรู้สึกที่เปลือกตาปิด
แต่มันยัง ไปรู้ปากที่เม้มกัน

มีตั้งหลายวิตก มีตั้งหลายวิจาร
สุดท้ายอุปนิสัยความเคยชินเก่าที่เคยฝึกมาในชาติก่อนๆหลายๆชาติก็ดี ทำให้ไปสงบตรงท้อง

หรือทำให้ไปสงบตรงก้น

หรือทำให้ไปสงบตรงจมูก

ได้ทั้งนั้น


#เอาพระสูตรมาเม้น มากด มาข่ม มาขี่
โพสนี้ก็ได้  เพราะอาตมาเตรียมใจไว้แล้ว
อาตมามีเจตนาดี ที่จะสกิด ในฐานะที่เคยจมกับเสียงเทศนาพระอาจารย์คึกฤทธิมาก และปฏิเสธคำสอนอื่นๆ

บัดนี้อาตมา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น