ชื่อว่าโทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง. อันเว้นจากโทษ ๕ ประการเหล่านี้ คือเป็นที่แข็งขรุขระ ๑ อยู่ในต้นไม้ ๑ มีที่รกกำบัง ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑ ด้วยการกำหนดอย่างสูง. ท่านกล่าวว่า ที่จงกรมยาว ๖๐ ศอก กว้างศอกครึ่ง. คือ
เดินดู เหมาะ 25 ก้าว ไม่เหมาะ 20 ก้าวตามหลวงตามหาบัว ญาณะสัมปันโณ เขียน
สะอาด ยาวโค้งก็ได้ แขงแต่ไม่ขรุขะก็ได้
คำบริกรรม. บริกรรมว่า โผฏฐัพพะๆพร้อมกับมุ่งเอาจิตไปรู้ที่เท้ากระทบ
หรือ 2. เดินแบบชิวๆมีสติดูจิตไปแบบสบายๆ
หรือ 3. เดินแบบให้มองเห็นเท้าขวาเท้าซ้ายปรากฏทางการเห็นเพื่อให้จิตรู้สึกที่กายส่วนเท้า เป็นผลคือดึงไม่ให้จิตไหลไปกับธรรมารมณ์ความคิดฟุ้งซ่าน
หรือ 4. เดินแบบเอามือขัดหลังให้แจนมือกระทบหลังเวลาเคลื่อนไหวเดิน ใจไม่ไหลไปกับความคิดฟุ้งซ่าน สลับทราบกายทราบใจ
หรือ 5. เดินมือขัดหน้าหรือขัดหลังเหมาะ พระมงคลชัย กิตติโสภโณ เหมาะมือขัดหลังเดินจึงเดินแบบมือขัดหลังมาเรื่อยๆ. ตอนแรกมือขัดหน้าตามหลวงตามหาบัว ญาณะสัมปันโณ แสดงธรรม รู้สึกไม่เหมาะ
กสิน คืนสู่กายฐาน
นึกภาพกระโหลกศรีษะด้านหลัง ขาวๆ. พร้อมกับกำหนดจิตมาที่กระโหลกศรีษะด้านหลัง
จิตหายเตลิดไปข้างหน้า
กสินคืนสู่ฐานกาย
นึกภาพ กระดูกสันหลัง ขาวๆ พร้อมกับกำหนดจิตมาที่ด้านหลังตรงกระดูกขาวๆ
จิตจะคืนสูกาย
ดูก่อนสารีบุตร เราเมื่ออยู่ในที่นั้น ก็เสียสละผ้าที่มีค่ามากที่ตนนุ่งห่มเสีย ก็เมื่อจะละผ้า ได้เห็นโทษ ๙ ประการในผ้านั้นจึงละเสีย.
ความจริงประกาศโทษ ๙ ประการในผ้าแก่ผู้บวชเป็นดาบสทั้งหลาย.
โทษ ๙ ประการคืออะไร ทรงแสดงว่า เราละผ้าที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการเหล่านี้คือ ผ้าเป็นของมีค่า ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยผู้อื่น ผ้าหมองไปทีละน้อยด้วยการใช้ ผ้าที่หมองแล้วจำต้องซักต้องย้อม ผ้าเก่าไปด้วยการใช้ ผ้าที่เก่าแล้วจำต้องทำการชุน ทำการปะ ผ้าเกิดได้ยากในการแสวงหาใหม่ ไม่เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่พวกโจร ต้องคุ้มครองโดยที่พวกโจรลักไปไม่ได้ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้นุ่งห่ม ผู้ที่พาเที่ยวไปกลายเป็นคนมักมาก แล้วจึงนุ่งผ้าเปลือกไม้.
บทว่า วากจีรํ ความว่า เราถือเอาผ้าที่สำเร็จด้วยเปลือกไม้ ซึ่งกรองด้วยหญ้ามุงกระต่ายเป็นเส้นๆ ทำแล้ว เพื่อใช้นุ่งห่ม.
บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ.
ในบทนี้ คุณศัพท์มีอรรถว่าอานิสงส์ เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังได้ทักษิณามีอานิสงส์ร้อยหนึ่ง.
ม อักษรทำการต่อบท ถึงพร้อมด้วยคุณ ๑๒ ประการเหล่านี้ คือ ผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการคือ มีค่าน้อย ๑ ไม่เนื่องด้วยผู้อื่น ๑ อาจทำได้ด้วยมือตนเอง ๑ แม้เมื่อเก่าเพราะการใช้ก็ไม่ต้องเย็บ ๑ ไม่มีโจรภัย ๑ ผู้แสวงหาก็ทำได้ง่าย ๑ เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส ๑ ไม่เป็นฐานการแต่งตัวของผู้ใช้ ๑ มีความมักน้อยในปัจจัยคือจีวร ๑ ใช้สะดวก ๑ เปลือกไม้ที่เกิดก็หาได้ง่าย ๑ แม้เมื่อผ้าเปลือกไม้สูญหายก็ไม่เสียดาย ๑.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิตอยู่ ณ บรรณศาลาอาศรมนั้น ตอนใกล้รุ่งก็ลุกขึ้นพิจารณาถึงเหตุออกบวชของตน คิดอย่างนี้ว่า เราละบ้านเรือนซึ่งมีอาการประหนึ่งที่อยู่อันประเสริฐของเทพยดา อันงดงามด้วยสมบัติอันโอฬาร น่ารื่นรมย์ของคฤหัสถ์ชนด้วยการสัมผัสกำไลมือกำไลเท้าทองใหม่เป็นต้นระคนด้วยเสียงและการหัวเราะการพูดที่ไพเราะ เหมือนละก้อนเขฬะ เข้าไปยังป่าตโปวัน บำเพ็ญตบะเครื่องลอยบาปของชนทั้งปวง เพราะเป็นผู้เพลินด้วยวิเวก แต่การอยู่ที่บรรณศาลา ณ อาศรมนี้ของเราก็เป็นเหมือนการครองเรือนครั้งที่สอง เอาเถิด เราจะอยู่เสียที่โคนไม้.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐโทสสมากิณฺณํ ความว่า เกลื่อนคือประกอบพร้อมด้วยโทษ ๘ ประการ.
โทษ ๘ ประการอะไรบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ เหล่านี้ คือการที่สร้างให้สำเร็จจำต้องใช้เครื่องสัมภาระมาก ๑ จำต้องบำรุงอยู่เป็นนิตย์ด้วยหญ้าใบไม้และดินเหนียวเป็นต้น ๑ จำต้องออกไปโดยเข้าใจว่า ไม่มีเอกัคคตาจิตสำหรับผู้จำต้องออกไปในเวลาไม่สมควร ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าเสนาสนะ จักทรุดโทรมไป ๑ ต้องทนุถนอมกาย เพราะกระทบเย็นร้อน ๑ ต้องปกปิดคำครหาที่ว่า ผู้เข้าไปบ้านเรือนอาจทำชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ๑ ต้องหวงแหนว่านี้ของเรา ๑ ต้องนึกอยู่เสมอว่า นี้บ้านเรือน มีอยู่อย่างผู้มีเพื่อน ๑ ต้องเป็นของทั่วไปเป็นอันมาก เพราะต้องทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหลายมีเล็น เลือด จิ้งจกเป็นต้น ๑ ดังนี้แล้วจึงละบรรณศาลาเสีย.
บทว่า คุเณหิ ทสหุปาคตํ ความว่า เราปฏิเสธที่กำบัง เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
คุณ ๑๐ ประการอะไรบ้าง.
ตรัสว่า เราเห็นคุณ ๑๐ เหล่านี้ คือ มีความริเริ่มขวนขวายน้อย ๑ ได้ความไม่มีโทษ โดยง่ายว่าเพียงเข้าไปโคนไม้นั้นเท่านั้น ๑ ทำอนิจจสัญญาให้ตั้งขึ้นด้วยการเห็นความแปรปรวนของต้นไม้และใบไม้ ๑ ไม่ตระหนี่เสนาสนะ ๑ เมื่อจะทำชั่ว ณ โคนไม้นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีที่ลับทำชั่ว ๑ ไม่ทำความหวงแหน ๑ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ๑ ปฏิเสธที่กำบัง ๑ ใช้สอยสะดวก ๑ ไม่ห่วงใยเพราะเสนาสนะคือโคนไม้ หาได้ง่าย ในทุกสถานที่ไป ๑ แล้วจึงเข้าไปยังโคนไม้.
และตรัสว่า
โคนไม้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสรรเสริญแล้ว
และตรัสว่า เป็นนิสสัย ที่อาศัยที่อยู่ของผู้สงัด เสมอ
ด้วยโคนไม้ จะมีแต่ไหน.
แท้จริง ผู้อยู่โคนไม้อันสงัด อันกำจัดความ
ตระหนี่ที่อยู่ อันเทวดารักษาแล้ว ชื่อว่าผู้มีวัตรดี.
ผู้เห็นต้นไม้และใบไม้ ที่มีสีแดง เขียว เหลือง
อันหล่นแล้ว ย่อมบรรเทานิจจสัญญาเข้าใจว่าเที่ยง
เสียได้.
เพราะฉะนั้นแล ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ไม่
ควรดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ที่เป็นทรัพย์มรดกของ
พระพุทธเจ้า เป็นที่อยู่ของผู้ยินดียิ่งในภาวนา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น