วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ถ้าปราศจาก "อนิจสัญญาจิต" (ความกำหนดหมายทางจิตว่าไม่เที่ยง) แล้ว แม้ตาจะเห็นว่ารูปมันไม่เที่ยง ก็ไม่เป็นมรรคทุกขนิโรธะเลย แม้หูจะได้ยินสััทธธาตุว่ามันไม่เที่ยง ก็ไม่เป็นมรรคทุกขนิโรธะได้เลย ถ้าปราศจาก อนิจสัญญาแล้ว ย่อมเป็นแบบนั้น ฯเป แม้มโนวิญญาณจะเห็นธมฺม ว่ามันแปรปรวนมีลักษณะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นสิ่งว่างเปล่า ก็ยังไ่่สามารถเป็นมรรคทุกขนิโรธะได้ เพราะยังปราศจากอนิจสัญญา อนัตสัญญา แล้วย่อมเป็นเช่นนั้น แม้วิญญาณจะเห็นเวทนาธาตุ ว่ามันเคลื่อนแปรปรวนเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ก็ไม่สามารถเป็นมรรคทุกขนิโรธะได้เลย ถ้าปราศจากอนิจสัญญาเข้าไปเห็นแล้ว ย่อมเป็นเช่นนั้น แม้วิญญาจะเห็นสัญญาธาตุ ว่ามันเคลื่อนแปรปรวนไม่เที่ยง ก็ยังไม่สามารถเป็นมรรคทุกขนิโรธะได้ เพราะปราศจากอนิจสัญญา แม้วิญญาณจะเห็นสังขารธาตุ ว่ามันเคลื่อนแปรปรวนมีการไม่เที่ยง ก็ยังไม่สามารถเป็นมรรคทุกขนิโรธะได้ เพราะปราศจากอนิจจสัญญา ช่วงที่โลกว่างจากพระศาสนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เว้นพระปัจเจกหรือคำสอนพระปัจเจกเสีย มนุษย์ทั้งหลาย ก็มีการเห็นรูปที่เคลื่อนที่แปรปรวน ก็มีการได้ยินเสียง เสียงก็แปรปรวนสูงต่ำทำนองต่างระดับ ฯเปฯ ก็มีการทราบธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์นั้นก็แปรปรวนมีลักษณะอยู่ในสภาพเดิมมิได้ เพราะปราศจาก อนิจสัญญา สมัยที่โลกไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ สมัยนั้นมีบุคคลที่เพียบพร้อมด้วยบารมี จะสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธะ ก็เพียงแค่มองไม้ใบที่ล่นลง แล้ว ทำอนิจสัญญา จนถึงกับสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธะ ก็คนหาฟืน คนล่าเนื้อ คนป่า ไม่เคยเห็น ใบไม้หลุดล่วงหรือ ต้องเคยเห็นแน่นอน ก็เมื่อเห็นใบไม้หลุดล่วง ทำไมไม่บรรลุธรรม ตอบ เพราะบารมียังไม่พร้อม แม้ภิกษุในพระศานาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ที่เขริญอนิจสัญญา ก็ยังไม่บรรลุธรรมทันที เนื่องจากอินทรีย์หรือบารมียังไม่แก่กล้า แต่เมื่อพระองค์ตรัสอานอสงค์ของ อนิจสัญญา ว่ามีอานิสงค์มากกว่่า ถวายวิหารทานที่มีพระพุมธเจ้าเป็นประมุข #มันยังคิดว่า สิ่งที่มันจะทำ นั่น อันที่จะต้องเกี่ยวข้องในรูปปะธาตุ นั่นมีจริง จะเข้าไปจัดการ #เรื่องซีดี #เหตุการณ์อันเป็นการกระทำที่ผ่านมาซึ่งไร้สาระเพราะความหลง มีไว้สอนใจในปัจจุบัน ว่า อย่าให้พลาดไปเป็นอย่างนั้นอีก#


พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อนิจจวรรคที่ ๑
อัชฌัตติกอนิจจสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาค แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑
อัชฌัตติกทุกขสูตร
[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
หู เป็นทุกข์ ฯลฯ
จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ
ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ
กายเป็นทุกข์ ฯลฯ
ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๒
อัชฌัตติกอนัตตสูตร
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
หูเป็นอนัตตา ฯลฯ
จมูกเป็นอนัตตา ฯลฯ
ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ
กายเป็นอนัตตา ฯลฯ
ใจเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๓
พาหิรอนิจจสูตร
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ...ย่อมทราบชัด ... ฯ
จบสูตรที่ ๔
พาหิรทุกขสูตร
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๕
พาหิรอนัตตสูตร
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๖
อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน
หู จมูก ลิ้น กาย
ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง
จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นปัจจุบัน ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน
หู จมูก ลิ้น กาย
ใจที่เป็น อดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่ เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๘
อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน
หู จมูก ลิ้น กาย
ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
พาหิรสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต
ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า
เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์...
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่ เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอนิจจวรรคที่ ๑
_____________________
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร ๓. อัชฌัตติกอนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรอนัตต สูตร ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร ฯ
_______________________
ไทย(ฉบับหลวง) ๑๘/๑-๖/๑-๑๒.
If there is no "anijaya citta" (the definition of the mind as impermanent)
 already
 even though the eye sees that the image is not permanent
 It's not a path at all.
 even if the ear hears the truth that it is impermanent
 It's not a path at all.
 If there is no such promise surely be like that
 the
 Even if the mind sees the Dhamma that it is variegated, looks unbearable in its original condition is empty
 Still can not be the path of nirodha.
 because there is no vain covenant, and anatta covenant, then so shall it be
 Even if the spirit sees the elemental feeling that it fluctuates in a way that is impermanent
 It cannot be the way of life at all.
 If there is no promise to see
 surely so
 Even if the soul sees the elemental contract that it's invariably moving
 is still unable to become the path of nirodha
 because without a promise
 Even if the spirit sees the body
 that it fluctuates with impermanence
 is still unable to become the path of nirodha
 because without a promise
 During the time when the world is free from the religion of the Arahants, fully enlightened except individual monks or individual teachings
 all humans I saw a figure that moves in variance.
 I have heard The sound was varying highs and lows, different levels of melody.
 P.E.
 I have to know the Dharma. That dharma cannot be changed, its appearance cannot be in its original state.
 because without a promise
when the world did not have a Buddha
 At that time, there were people who were full of prestige.
 will succeed as a Buddha
 Just look at the fallen leaves
 and then made an anicara contract until he became a Paccekabuddha
 The wood-gatherers, the hunters, the foresters, have they not seen the fallen leaves? must have seen for sure
 when he saw the fallen leaves Why not attain enlightenment
 Answer: Because the prestige is not ready yet.
 Even the monks in the religion of an Arahant, fully enlightened at the end of the contract Still not attained immediately.
 because organic or prestige is not yet mature
 But when His Highness said the wish of Anjana
 that there are more virtues Offering an alms temple with Buddha as the head of state
 #it ​​still thinks What it's going to do, that's what it's going to involve in the element, is real.
 Going to manage #CD story
 #Events which are past actions that are nonsensical because of delusion
  There is a teaching in the present.
 that I don't want to make a mistake like that again#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น