วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ที่เคยสงสัย เรื่องกายทิพย์หรือกายในที่ถอดไปดูดวงจันทร์กายหยาบ สามารถเห็นได้ด้วยตา และการจับกายในหรือกายทิพย์ก็คือกายในที่เห็นได้ ด้วย ใจ,วิญญาณ,จิตภิกษุพึ่งเป็นผู้เห็นกายในกายกายในตัวนี้ หลวงพ่อสด บอกก็คือกายที่ฝัน#ส่วนถ้ามันอยู่ในร่าง จะเรียกว่ากายในถ้ามันออกจากกายหยาบ เรียกว่ากายในออกจากร่าง(กายหยาบ)จะเป็นกายที่ เห็นนายนิรยะบาล

ที่เคยสงสัย เรื่องกายทิพย์หรือกายในที่ถอดไปดูดวงจันทร์

กายหยาบ สามารถเห็นได้ด้วยตา และการจับ

กายในหรือกายทิพย์
ก็คือกายในที่เห็นได้ ด้วย ใจ,วิญญาณ,จิต

ภิกษุพึ่งเป็นผู้เห็นกายในกาย

กายในตัวนี้ หลวงพ่อสด บอก
ก็คือกายที่ฝัน

#
ส่วนถ้ามันอยู่ในร่าง จะเรียกว่ากายใน
ถ้ามันออกจากกายหยาบ 
เรียกว่ากายในออกจากร่าง(กายหยาบ)

จะเป็นกายที่ เห็นนายนิรยะบาล
______________
๑๓. เรื่องสัฏฐิกูฏเปรต [๕๗]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภสัฏฐิกูฏเปรต๑- ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยาวเทว อนตฺถาย" เป็นต้น. 
____________________________ 
๑- เปรตผู้มีศีรษะอันไม้ค้อน ๖ หมื่น ต่อยแล้ว

               พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นสัฏฐิกูฏเปรต               
               ความพิสดารว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมกับพระลักขณเถระ กระทำการยิ้มแย้มในประเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยนัยมีในก่อนนั้นแล ถูกพระเถระถามถึงเหตุแห่งการยิ้มแย้ม จึงกล่าวว่า "ท่านพึงถามผม ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า" 
               ในกาลแห่งพระมหาโมคคัลลานเถระเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม นั่งแล้ว ถูกพระเถระถามอีก จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่ง มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต, ค้อนเหล็ก ๖ หมื่นอันไฟติดลุกโพลงแล้ว ตกไปเบื้องบนแห่งกระหม่อมของเปรตนั้นแล้ว ตั้งขึ้น ทำลายศีรษะ, ศีรษะที่แตกแล้วๆ ย่อมตั้งขึ้นอีก, โดยอัตภาพนี้ อัตภาพเห็นปานนี้ ผมยังไม่เคยเห็น, ผมเห็นอัตภาพนั้น จึงได้กระทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ." 
               จริงอยู่ ในเรื่องเปรต พระมหาโมคคัลลานเถระหมายเอาซึ่งเปรตนี้นั่นแหละ 
               จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า๑- :- 
                         ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น บริบูรณ์แล้วโดยประการทั้งปวง 
                         ย่อมตกไปบนศีรษะของเจ้า ต่อยกระหม่อมอยู่เสมอ. 
____________________________ 
๑- ขุ. เปต. เล่ม ๒๖/ข้อ ๑๓๖.

               พระศาสดาทรงรับรองว่าเปรตมี               
               พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ แม้เรานั่งอยู่ที่โพธิมัณฑประเทศ ก็เห็นแล้วเหมือนกัน เราไม่บอกก็เพื่ออนุเคราะห์แก่คนเหล่าอื่นว่า ‘ก็แลคนเหล่าใด ไม่พึงเชื่อคำของเรา; ความไม่เชื่อนั้น พึงมีเพื่อกรรมไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่านั้น’, แต่ว่า บัดนี้ เราเป็นพยานของโมคคัลลานะ จึงบอกได้." ภิกษุทั้งหลายฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงทูลถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้น. 
               แม้พระศาสดาก็ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า :-

               บุรพกรรมของสัฏฐิกูฏเปรต               
               "ดังได้ยินมา ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ได้มีบุรุษเปลี้ยคนหนึ่งถึงซึ่งความสำเร็จในศิลปะของบุคคลผู้ดีดก้อนกรวด. บุรุษนั้นนั่ง ณ ภายใต้ต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร อันพวกเด็กชาวบ้านกล่าวอยู่ว่า "ท่านจงดีดก้อนกรวดไปเจาะใบไทรนั้นแสดงรูปช้างแก่พวกเรา, แสดงรูปม้าแก่พวกเรา" ก็แสดงรูปทั้งหลายอันพวกเด็กปรารถนาแล้วๆ ได้วัตถุมีของเคี้ยวเป็นต้น จากสำนักพวกเด็กเหล่านั้น. 
               ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จถึงประเทศนั้น. พวกเด็กซ่อนบุรุษเปลี้ยไว้ในระหว่างย่านไทรแล้ว ก็หนีไป. เมื่อพระราชาเสด็จเข้าไปสู่โคนต้นไม้ในเวลาเที่ยงตรง เงาของช่องส่องต้องพระสรีระ. ท้าวเธอทรงดำริว่า "นี้อะไรหนอแล?" ทรงตรวจดูในเบื้องบน ทอดพระเนตรเห็นรูปมีรูปช้างเป็นต้นที่ใบไม้ทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า "นี่กรรมของใคร?" ทรงสดับว่า "ของบุรุษเปลี้ย" จึงรับสั่งให้หาบุรุษเปลี้ยนั้นมาแล้ว ตรัสว่า "ปุโรหิตของเรา ปากกล้านัก เมื่อเราพูดแม้นิดหน่อย ก็พูดเสียมากมาย ย่อมเบียดเบียนเรา, ท่านอาจเพื่อดีดมูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง เข้าในปากของปุโรหิตนั้นได้หรือ?" 
               บุรุษเปลี้ยทูลว่า "อาจ พระเจ้าข้า, ขอพระองค์จงให้คนนำมูลแพะมา แล้วประทับนั่งภายในม่านกับปุโรหิต, ข้าพระองค์จักรู้กรรมที่ควรกระทำในเรื่องนี้." 
               พระราชาได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น. 
               บุรุษเปลี้ยนอกนี้ ให้กระทำช่องไว้ที่ม่านด้วยปลายแห่งกรรไกร เมื่อปุโรหิตพูดกับด้วยพระราชา พออ้าปาก ก็ดีดมูลแพะไปทีละก้อนๆ. ปุโรหิตกลืนมูลแพะที่เข้าปากแล้ว ๆ. เมื่อมูลแพะหมด บุรุษเปลี้ยจึงสั่นม่าน. 
               พระราชาทรงทราบความที่มูลแพะหมดด้วยสัญญานั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ท่านอาจารย์ เราพูดกับท่าน จักไม่อาจจำคำไว้ได้, ท่านแม้กลืนกินมูลแพะประมาณทะนานหนึ่งแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นผู้นิ่ง เพราะความที่ท่านมีปากกล้านัก." 
               พราหมณ์ถึงความเป็นผู้เก้อ จำเดิมแต่นั้น ไม่อาจเพื่ออ้าปากเจรจากับพระราชาได้. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยมาแล้ว ตรัสว่า "เราได้ความสุขเพราะอาศัยท่าน" ทรงพอพระทัย จึงพระราชทานชื่อหมวด ๘ แห่งวัตถุทั้งสิ้นแก่เขา ได้พระราชทานบ้านส่วย ๔ ตำบล ในทิศทั้ง ๔ แห่งเมือง. 
               อำมาตย์ผู้พร่ำสอนอรรถและธรรมของพระราชาทราบความนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- 
                         ชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้. 
                         ท่านจงดูเถิด, ด้วยการดีดตามประสาคนเปลี้ย บุรุษเปลี้ยได้ 
                         บ้านส่วย อันตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔. 
               (ก็อำมาตย์นั้น) โดยสมัยนั้น ได้เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า คือเรานี่เอง. 
               ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งเห็นสมบัติอันบุรุษเปลี้ยได้แล้ว จึงคิดว่า "บุรุษชื่อนี้ เป็นคนเปลี้ย อาศัยศิลปะนี้ จึงถึงแล้วซึ่งสมบัติใหญ่, แม้เราศึกษาศิลปะนี้ไว้ก็ควร." เขาเข้าไปหาบุรุษเปลี้ย ไหว้แล้วกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ ขอท่านจงให้ศิลปะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด." 
               บุรุษเปลี้ยกล่าวว่า "พ่อ เราไม่อาจให้ได้." เขาถูกบุรุษเปลี้ยนั้นห้ามแล้ว คิดว่า "ช่างเถอะ, เราจักยังบุรุษเปลี้ยนั้นให้ยินดี" จึงกระทำกิจมีการนวดมือและเท้าเป็นต้น แก่บุรุษเปลี้ยนั้นอยู่ ให้บุรุษเปลี้ยนั้นยินดีแล้วสิ้นกาลนาน วิงวอนบ่อยๆ แล้ว. 
               บุรุษเปลี้ยคิดว่า "คนนี้มีอุปการะแก่เราเหลือเกิน" จึงมิอาจเพื่อห้ามเขาได้ ให้เขาศึกษาศิลปะแล้ว กล่าวว่า "พ่อ ศิลปะของท่านสำเร็จแล้ว, บัดนี้ท่านจักกระทำอะไรเล่า?" 
               บุรุษ. ข้าพเจ้าจักไปทดลองศิลปะในภายนอก. 
               บุรุษเปลี้ย. ท่านจักทำอย่างไร? 
               บุรุษ. ข้าพเจ้าจักดีดแม่โคหรือมนุษย์ให้ตาย. 
               บุรุษเปลี้ยกล่าวว่า "พ่อ เมื่อคนฆ่าแม่โค สินไหมมีอยู่ ๑๐๐, เมื่อฆ่ามนุษย์ สินไหมมีอยู่ ๑ พัน, ท่านแม้ทั้งบุตรและภรรยา จักไม่อาจเพื่อจะปลดเปลื้องสินไหมนั้นได้, ท่านจงอย่าฉิบหายเสียเลย เมื่อท่านประหารบุคคลใด ไม่ต้องเสียสินไหม, ท่านจะตรวจดูใครๆ ผู้หามารดาบิดามิได้เช่นนั้น." 
               บุรุษนั้นรับว่า "ดีละ" แล้วเอากรวดใส่พกเที่ยวเลือกดูบุคคลเช่นนั้นอยู่ เห็นแม่โคแล้ว ไม่อาจดีดได้ด้วยคิดว่า "แม่โคนี้มีเจ้าของ" เห็นมนุษย์แล้วไม่อาจดีดได้ ด้วยคิดว่า "คนนี้มีมารดาบิดา." 
               ก็โดยสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุเนตตะ อาศัยพระนคร อยู่ในบรรณศาลา. บุรุษนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาต ยืนอยู่ที่ระหว่างประตูพระนคร จึงคิดว่า "พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ เป็นผู้ไม่มีมารดาบิดา, เมื่อเราดีดผู้นี้ ไม่ต้องมีสินไหม, เราจักดีดพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ทดลองศิลปะ" ดังนี้แล้ว จึงดีดก้อนกรวดไป หมายช่องหูเบื้องขวาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. 
               ก้อนกรวดเข้าไปโดยช่องหูเบื้องขวา ทะลุออกโดยช่องหูเบื้องซ้าย ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่อาจจะเที่ยวไปเพื่อภิกษาได้ จึงไปสู่บรรณศาลาโดยอากาศ ปรินิพพานแล้ว. 
               พวกมนุษย์ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มา คิดว่า "ความไม่ผาสุกอะไรๆ จักมี" จึงไปที่บรรณศาลานั้น เห็นท่านปรินิพพานแล้ว ร้องไห้คร่ำครวญแล้ว. แม้บุรุษนั้น เห็นมหาชนไปอยู่ ไปที่บรรณศาลานั้นแล้ว จำพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ จึงกล่าวว่า "พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ เมื่อเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พบเราที่ระหว่างประตู, เราเมื่อจะทดลองศิลปะของตน จึงประหารพระปัจเจกพุทธเจ้านี้." 
               พวกมนุษย์กล่าวว่า "ได้ยินว่า คนชั่วนี้ประหารพระปัจเจกพุทธเจ้า พวกท่านจงจับ ๆ" โบยให้บุรุษนั้นถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. บุรุษนั้นเกิดในอเวจีไหม้แล้ว จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นโยชน์หนึ่ง บังเกิดเป็นสัฏฐิกูฏเปรต ที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ.

               พระศาสดาตรัสสอนพวกภิกษุ               
               พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือความเป็นอิสระ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ชื่อว่าคนพาล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความฉิบหาย, ด้วยว่า คนพาลได้ศิลปะหรือความเป็นอิสระแล้ว ย่อมทำความฉิบหายแก่ตนถ่ายเดียว" ดังนี้แล้ว 
_____________
หลักจรณะ ๑๕ นำไปสู่ความพ้นทุกข์
จรณะ ๑๕
๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล.
๒. อินทริยสังวร สำรวมอินทรีย์.
๓. โภชนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกินอาหาร.
๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่.
๕. สัทธา ความเชื่อ.
๖. หิริ ความละอายแก่ใจ.
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด.
๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก. คือได้รับศึกษา
๙. วิริยะ ความเพียร.
๑๐. สติ ความระลึกได้.
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้.
๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่หนึ่ง.
๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่สอง.
๑๔. ตติยฌาน ฌานที่สาม.
๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่สี่.
ม. ม. ๑๓/๒๖.
อธิบาย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้
ในธรรมภาษิตว่า จรณะนั้น ได้แก่ปฏิปทาคือทางเป็น
เครื่องบรรลุวิชชา เป็นศัพท์แปลก เทียบ
ด้วยศัพท์จรณะที่แปลว่าอวัยวะเป็นเครื่องเดิน ได้แก่เท้า
ไม่ใช่เรียกปฏิปทาทั่วไป.
มรรคมีองค์ ๘ เป็นจรณะแห่งความรู้อริยสัจ ๔ ฌาน ๔
เป็นจรณะโดยลำดับแห่งวิชชา ๓ วิชชาเบื้องต้น
เป็นจรณะแห่งวิชชาเบื้องปลาย
ในเสขปฏิปทาสูตรแสดงจรณะเป็นสาธารณะ
โดยชื่อว่าเสขปฏิปทาคือทางดำเนินแห่งพระเสขะ.
ในเสขปฏิปทาสูตร แสดงไว้โดยบุคคลาธิษฐาน ถือเอา
ความในนิทเทสแห่งสูตร โดยธรรมาธิษฐาน ดังนี้ :-
๑. สีลสัมปทาได้แก่การสำรวมในปาฏิโมกข์ ประกอบ
ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในความผิดแม้น้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
๒. อินทริยสังวร ได้แก่การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา, หู,
จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำ
ในเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น.
๓. โภชนมัตตัญญุตา ได้แก่ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย
พิจารณาแล้วจึงกินอาหาร
และเพ่งประโยชน์อันจักเกิดแต่อาหารนั้น ไม่บริโภค
โดยสะเพร่าและโดยอำนาจความมักกินเป็นต้น.
๔. ชาคริยานุโรคได้แก่การประกอบความเพียร
ไม่เห็นแก่ หลับนอนเกินไป หรือไม่ยอมให้
ความง่วงเหงาซบเซาเข้าครอบงำท่านแสดงไว้ว่า
กลางวันชำระจิตจากนีวรณ์ด้วยเดินบ้าง
นั่งบ้างตลอดวัน. กลางคืน แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามต้น
ชำระจิตอย่างนั้น,ยามกลาง พักผ่อน
นอนตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน
มีสติสัมปชัญญะมนสิกาสัญญาว่าจะลุกขึ้น, ยามที่สุด
ลุกขึ้นทำความเพียรอย่างยามต้น.ในบาลีไม่ได้กำหนด
ไว้ว่า ยามละกี่โมง แต่ในอรรถกถามโนรถปูรณีแสดงว่า
คืนและวัน แบ่งเป็น ๖ ส่วน.
ตื่นทำความเพียร ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน คือตื่น ๒๐
ชั่วโมง หลับ ๔ ชั่วโมง.พิจารณาดูว่า เวลาที่หลับน้อยนัก
ไม่น่าจะพอ แต่ท่านผู้ทำความสงบเช่นนั้น ไม่
ได้ทำกิจการหยาบ หลับเท่านั้นจะพอกระมัง ?
ขอนักปฏิบัติธรรมจงพิจารณาดูเถิด.
๕. สัทธาได้แก่ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคต
ตามนัยแห่งบทพุทธคุณ น่าจะหมายความว่าเชื่อเหตุผล
ส่วนในอรรถกถาแจกสัทธาเป็น ๒
คือ กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๑ วิปากสัทธา
เชื่อผลแห่งกรรม ๑ ยังไม่พบว่า
แบ่งสัทธาเป็น ๓ หรือ ๔ ไว้ในคัมภีร์ไหนน่า
จะเก็บรวบรวมขึ้นโดยนัยบาลีและอรรถกถานั้น ๆ.
๖. หิริ ได้แก่ความละอายต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต.ในอรรถกถาเปรียบด้วยหญิงสาว
ผู้มีสกุลไม่อาจแตะต้องของโสโครก น่า จะถือเอา
ความว่า สยะแสยงต่อเหตุ คือบาปทุจริต.
๗. โอตตัปปะ ได้แก่ความเหรงกลัวความผิดและความชั่ว
โดยนัยแห่งหิริ.
ในอรรถกถาเปรียบด้วยคนขลาด ไม่กล้าเข้าใกล้อสรพิษ
น่าจะถือเอาความว่า กลัวผลแห่งบาปทุจริต.
๘. พาหุสัจจะ ได้แก่ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือ
ได้ฟังธรรมซึ่งไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง
ไพเราะในที่สุด ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยพยัญชนะ
ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
พหุสุตมีองค์ ๕ คือ :-
[๑] พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก.
[๒] ธตา ทรงจำได้.
[๓] วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา.
[๔] มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ.
[๕] ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ.
๙. วิริยะ ได้แก่เพียรละอกุศลธรรมและยังกุศลธรรมให้เกิด
ใช้กำลังบากบั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม.
๑๐. สติ ได้แก่สติรักษาตัว และระลึกถึงกิจที่ทำ
และคำพูดแล้วแม้นานได้.
๑๑. ปัญญา ได้แก่อริยปัญญาที่รู้ความเกิด
ความดับแห่งสังขารสามารถชำแรกกิเลสทำให้สิ้นทุกข์
ได้.
๑๒. ฌาน ๔ นี้ มีอธิบายแล้วในหมวด ๔ ผู้ปรารถนาพึงดู
ในหมวดนั้น.
___________
"คาแต่สวยจนลืมทำบุญ"

"เฒ่าปานนี่ยังบ่อยอมรับเจ้าของอีกว่า
สังขารร่างกายทั้งหลายมันเสื่อมแล้ว

เรือกำลังรั่วสิจมน้ำ ให้รีบขนของใส่ลงในเรือ

บทว่า เรือรั่วสิจมน้ำ คือชีวีตกำลังจะเดินไปความตาย มรณะ

บทว่า ขนของใส่เรือ คือบุญขนใส่ลงไป 

#เวลาไปงานศพ เรามักจะเตือนตัวเองว่า
สักมื้อเฮากะต้องตายแท้ บ่เหลือเท่อเล้อนั้งเป้อเจ้ออยู่นี่ดอก
บ่อฝังกะเผา เปื่อยผุเปาะกับคืนสู่ดินสู่น้ำเมิ๊ด"

ไปงานศพบ้านโพนขวาว คุณครู อายุ 30 ปี ตาย (ถ้าจำอายุไม่ผิดนะ ไม่30ก็31ปี) 

"เพิลตายตอนอายุ30ปี"

เราก็มาคิดพิจารณาว่า

"ความตายมาจากหยังนอ เป็นหยังเพิลคึตาย"

จึงทราบว่า

"มาจากอาการ เจ็บ ภายในร่างกาย 
ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันบ่อสามารถทำงานให้มีชีวิตได้ต่อแล้ว

ถืกรถชนก็ เจ็บ ปวด แล้ว ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันบ่อสามารถทำงานให้มีชีวิตได้ต่อแล้ว

แมนสิเป็นโรคหยังตายกะตามคือกันเมิ๊ด 
ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันบ่อสามารถทำงานให้มีชีวิตได้ต่อแล้ว

หรือว่าวิญญาณบ่อเข้าร่าง
ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันกะสิเริ่มพัง บ่อสามารถทำงานให้มีชีวิตได้ต่อแล้ว

"โอ้ ความตายมาจากนี่เด่"

แล้วความเจ็บปวด มาจากหยัง"


จึงทราบว่า

"มาจากการกินอาหารด้วย และใช้งานร่างกายหนักด้วย 
จิตใจจมอยู่แต่อารมณ์ทุกข์ด้วย"

แล้วว่าจังใด๋ต่ออีก"


จึงทราบว่า

"มันมาจาก อายุ30 ปีนำ"

อายุสามสิบปี มาแต่ใสนอ"

จึงทราบว่า

"มาแต่ 29 เด้"

แล้วอายุ 29 นี่มาแต่ใสละ"

จึงทราบว่า

"มาแต่ 28 ปี ,27 ปี, 26 ปี, 25 ปี, 24 ปี, 
23 ปี, 22 ปี,

แล้วอายุ 22 นี่มันมาแต่ใสนอ

จึงทราบว่า

"มาแต่ อายุซำเฮา นี่หละ
เฮาอายุ 21ปี ยุเดียวนี่ "

"หือ. มาแต่อายุซำเฮาเบาะ
แมนอิหลี" โอ้ยย้านๆ(กลัวๆ)

แล้วอายุ 21 ปีนิมันมาแต่ใสอีก"

จึงทราบว่า

"มาแต่ 20 ปี ,19ปี , 18ปี,
มาแต่ ม.6 ม5 ม.4 ม.3 ม.2 ม.1 
มาแต่ป.6 ป.5 ป.4 ป.3 ป.2 ป.1
มาแต่ อนุบาล2 ,อนุบาล1,
มาแต่ เกิด
มาแต่ ออกจากท้อง
มาแต่ วิญญาณเข้าไปปฏิสนธิ
ในธาตุพ่อธาตุแม่สมกัน

ก่อนสิมาปฏิสนธิเข้าท้อง"

มาแต่ใส่น้อ"

ตายมาแต่ภพใด๋นอ

นี่เฮาตายมาจักชาติละน่อ

"พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้วา
หาภพชาติเกิดแรกบ่อได้ นับไม่ได้"

เหมือนนับริ้วรถในล้อรถ นับวนจังใด๋กะบอจบจักเถือ"

#เบื่อการเกิดแท้น่อ เกิดแล้วก็ลืม
เกิดมามีแต่ทุกข์
สิไปหาความสุขกับเรื่องผู้งิง
กะฮู้ความจริงเกี่ยวกับร่าง กาย,จิต เขาเมิ๊ดละ คือกันเมิ๊ด

จิตสัตว์ทั้งหลาย ที่วนเวียนตายเกิด
สลับไปอยู่กับจิตดวงนั้นแน ดวงนี่แน
คือลูกแก้วเด็กน้อยเล่น
เขย่าๆมันก็เปลี่ยนต่ำแหน่งเดิมของมัน
ด้วยอำนาจกรรม
บ่ออยากกะต้องเกิด เพราะบ่อหมดกิเลส เบื่อแท้นอ

เด้อชาตินี่ สิ บรรลุอรหันต์ให้ได้
อีก 3 พรรษา สิไปหาครูบาอาจย์
_______________
เวรย่อมระงับ
ด้วยการไม่จองเวร

#ชาติที่หนึ่ง
มีคนทำไม่ดีกับเรา
ทางกาย,วาจา,
ถ้าเราคิดจะจองเวรชายหรือหญิงคนหนึ่งนั้น
ซึ่งเขาได้ทำไม่ดีกับเรา
ทางกาย ทางวาจา

และเรายังติดใจยังจะเอาคืนเขาให้ได้
ให้เขาต้องรับทุกข์ทรมาณอย่าสาสมใจให้ได้

"ด้วยจิตคิดอาฆาตจองเวรแบบนี้แหละ"

พอตายถ้ากุศลให้ผลนะ


#ชาติที่สอง
พอตายลงด้วยกุศลส่งพอให้ได้เกิดเป็นมนุศย ส่งให้ทั้งสองคนเลยนะ
ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์
คือได้เกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในแวดวงใกล้กัน
เช่น คนรู้จัก ,ญาติ  ,เพื่อน , คนรัก หรือใกล้ขนาดกระทั้งเป็น(แม่เวรแม่กรรม
พ่อเวรพ่อกรรม
ลูกเวรลูกกรม)
คืออยู่ในสายเลือดตระกูลเดียวกันเลย

พอสองคนนั้น ได้เกิดชาติมนุษย์ใหม่แล้ว
ทั้งที่ไม่รู้จักกันเลยจำกันไม่ได้ในอดีตชาติ
เลย
ก็จะต้องมีเหตุการณ์ที่จะต้องได้เจอกัน
มีแรงผลักดันหรือพลังอำนาจลึกลับที่จะให้เราต้องเอาคืนเขา เพราะเป็นทีของเรา กรรมมันจะดันลักษณะแบบนี้
 แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราด้วยเราจะสนองทำตามอำนาจแรงผลักดันนั้นไหม
ถ้าตั้งสติได้.ปฏิญานในใจ ไม่เอาคืนๆไม่ทำๆ จะอภัยๆ อภัยให้เขาทั้งๆที่
มันน่าจัดสุดๆ ตบสักฉากให้หายอึดอัด กำปั้นใส่สักทีให้สะใจ 
ทางวาจา เปิดปากพ้นไฟพูดให้ไหม้ไปถึงโคตรมันเลย
ทางใจ กูจะคิดพยาบาต อาฆาตจองเวรสาบแช่ง มันให้ฉิบหายไปเลย เป็นต้น
โทษฐานทำความเดือดร้อน
เป็นทุกข์ทางกาย
เป็นทุกข์ทางใจให้กรู

แต่... เรากลับไม่ทำ
เราเลือกอภัยให้เขา ทำดีต่อเขาพูดดีต่อเขาคิดดีต่อเขา
ก็คือไม่ต้องการเอาจิตไปผูกเวรเขาไว้

เวรก็จะระงับด้วยการไม่จองเวร ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

แต่ถ้าเราเลือก ฮื๋อ..มันน่าจัดสุดๆ ตบสักฉากให้หายอึดอัด กำปั้นใส่สักทีให้สะใจ 
ทางวาจา เปิดปากพ้นไฟพูดให้ไหม้ไปถึงโคตรมันเลย
ทางใจ กูจะคิดพยาบาต อาฆาตจองเวรสาบแช่ง มันให้ฉิบหายไปเลย เป็นต้น
โทษฐานทำความเดือดร้อน
เป็นทุกข์ทางกาย
เป็นทุกข์ทางใจให้กรู

มันก็จะไม่ระงับ

#ชาติที่สาม
ทั้งสองได้อยู่ในแวดวงเหมือนชาติที่สอง

เขาได้ครูดีความคิดเขาจึงเปลี่ยนไป
รู้จักบาปบุญคุณโทษ กรรมดี กรรมไม่ดี
กรรมดำ กรรมขาว กรรมไม่ดำกรรมไม่ขาว ก็คือเขาเปลี่ยนไป เขาเป็นคนดีในสังคม เขามีศีลสัตย์ อยู่ในธรรมะ เขาเจริญภาวนา
เขาเดิดมรรคเพื่อเป็นโสดาบัน หรือเขาบรรลุอรหันต์ 

แต่ว่าด้วยแรงกรรม ด้วยอำนาจมืดผลักดัน มันให้โอกาสเราทำเขา
ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ หลายอย่าง

"ถ้าเราไม่มีสติ ยับยั่ง 
ก่อกรรมทางกาย
ทางวา
ทางใจ
เราฉิบหายแน่ๆเลย ถ้าไปทำกับคนอย่างนั้นเข้า
ถึงกรรมจะให้โอกาสเป็นทีเราก็ตาม

ถ้าเราฝืนไม่ได้ ทำลงไป ภพใหม่อาจล่วงลงถึงนรก 
โดยเฉพาะทำกับพระโสดาปัตติมรรคขึ้นไป
คือ บุคคลที่ธรรมะธรรมโมหน่อย กำลังเจริญภาวนาเพื่อขึ้นเป็นโสดาบัน

คนที่ภาวนานั้นดูได้ยากมาก
ว่าคนไหนภาวนา
เพราะมันนามธรรม จับต้องจิตไม่ได้เลย
จึงรู้ได้ยาก

ถ้าเราเผลอทำกรรมกับคนประเภทนั้นลงไป
จะหนักมาก
#ทำกรรมทางกาย,
#ทำกรรมทางวาจา,
ล้วนออกมาจากเจ้านาย คือจิตวิญญาณ
หรือมโน,ใจ

ขอยกเรื่องพระสูตรหนึ่งขึ้นมา

ในสมัยพุทธกาล
มีชายคนหนึ่งไปเรียนดีดกวาดกับอาจารย์
หลังจากเรียนจบ
พอเรียนจบแล้ว
อยากจะทดลองวิชาดีดกวาดที่ตนเองได้เรียนมา อาจารย์จึงบอกว่า อย่าไปดีดใส่สัตว์ใส่คน เพราะเขามีเจ้าของ

หลังจากเวลานั้นผ่านไป
เขาเห็นชายคนหนึ่งกำลังจะเดินผ่าน จึงคิดว่า จะทดลองกับ ชายคนนี้แหละ คงจะไม่มีเจ้าของ
ชายคนนั้นกำลังเดินจะไปขออาหารในหมู่บ้าน

ชายดีดกวาด จึงดีดกวาดใส่รูหูซ้าย ของชายที่กำลังเดินไปขออาหารนั้น
ก็ได้โดนรู้หูซ้ายทะลุรูหูขวา

ชายขออาหารคนนั้นเมื่อโดนดีดใส่แล้ว เลือดก็ไหลออก ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้นอย่างแรงกล้า
ไม่สามารถเดินเข้าไปบิณฑบาตได้ต่อ

จึงเข้าฌานแล้วเหาะกลับไปที่ภูเขาที่ตนอยู่
แล้วก็ปรินิพพาน


#ชายขออาหารคนนั้นก็คือพระปัจเจกพุทธะ

#คนดีดกวาดคือผู้ทำกรรมใหม่ หรืออาจเป็นเจ้ากรรมนายเวรของ พระปัจเจก ที่กรรมให้โอกาสเอาคืน


สรุปคือ ชายขออาหารคือพระปัจเจก ท่านตรัสรู้ธรรมแล้ว ท่านจึงปรินิพพาน

ชายดีดกวาด ต่อมาได้ตาย และหมกไหม้อยู่ในนรกหลายล้านๆๆๆปี
พอกรรมเบาบาง เคลือนจากนรก
มาเป็นเปตรถูกไฟไหมตลอดเวลา

จนเวลาผ่านมาถึง ศาสนาของพระพุทธเจ้า
เราในปัจจุบัน พระพุทธะเจ้าเราตรัสรู้แล้ว
จึงบอกบุพกรรมของเปตรนั้นคราวทีเป็นมนุษย์ และเปตรตนนั้นก็ยังไม่พ้นจากอัตภาพความเป็นเปตรเลย
__________________
ดีดก้อนกวาดใส่พระปัจเจกพุทธะ

คนดีดไปเกิดในนรกหลายแสนปี
หลังจากนั้นมาเกิดเป็นเปตรถูกไฟไหม้

#พระปัจเจกนั้นมีญาณยั่งรู้ในอนาคตแน่นอน และน่าจะรู้วันปรินิพานของตนเอง
และต้องปรินิพพานด้วยอาการอย่างไรตายอย่างไร ท่านคงรู้


จะเห็นได้ว่า สมมุติว่า ถึงพระปัจเจกจะเคยทำปาณาติบาติกรรมดำในชาติที่ท่านยังไม่ตรัสรู้
กับคนดีดกวาด หรือบุคคลอื่น

แต่เมื่อท่านได้ตรัสรู้แล้ว
ท่านก็ไม่อาจหนีกรรมไปได้เลย
ท่านต้องเจอประสพวิบากกรรมเก่า
แน่นอน (พระพุทธเจ้า แม้ตรัสรู้แล้ว กรรมก็ยังให้ผล)


ท่านออกบิณบาติ ยังไม่ทันได้อาหาร
ท่านโดนชายฝึกหัดดีดก้อนกวาด ดีกวาดใส่ด้วยเจตนาตั้งใจ ทดลองฝึกซ่อมลองวิชา ดีดกวาดที่เรียนมาพึงจบ

ชายดีดกวาดเล่งใส่หูพระปัจเจก
(เพราะไม่รู้จักพระปัจเจกเลย ท่านคงแต่งผ้าธรรมดาๆ ทั่วไป ขออาหารทั่วไป ละทิ้ง ไม่มีลูกไม่มีเมีย ไม่มีบ้าน)

ชายดีดกวาดจึงดีดโดนหูซ้ายทะลุหูขวาพระปัจเจก ทุกขเวทนากล้าแข็งเจ็บแสบเผ็ดร้อนปรากฏแก่พระปัจเจกๆ จึงเหาะไปยังภูเขาแล้วปรินิพพานที่นั้น

ทั้งๆที่ท่านก็มีฤทธิ์ แต่ท่านไม่อธิฐาน ประสานกระดูกเหมือนพระโมคคัลลานาเลย#



แสดงว่า กรรมเก่าของท่านให้ผลท่าน ท่านต้องปรินิพพาน

#เข้าใจแล้วว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า
"ไม่ให้จองเวรกัน เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร"
 ถ้าเราประทุษร้ายอาฆาสจองเวรใคร
หรือใครคนนั้นบุคคลนั้นจะเคยทำร้ายเรามาก็ตาม

ถ้าหากต่อไป เขาบรรลุอรหันต์
แต่ด้วยกรรมที่เรามีเจตนาผูกเวนจะเอาคืนเขา

พอชาติใหม่เป็นคิวเราที่ต้องเอาคืนเขา จะมีความคิดหรือแรงขับดัน
อยากจะให้เรา เอาคืนเขา

ทั้งๆที่ก็ระลึกขาติไม่ได้ ลืมหมด เรื่องที่เขาทำไม่ดีในชาติก่อนให้เรา เราจะประทุษร้ายต่อเขาเอาคืนเขาทำร้ายเขาคืน ก็คือลืมหมดเรื่องชาติก่อน

เพราะเจอกันชาติใหม่ หน้าตาก็เปลี่ยนกันใหม่หมด ไม่เหมือนเดิม

แต่ด้วยอำนาจจิต ยังมีกระแสโยงกันไว้อยู่ ถึงหน้าจะเปลี่ยนไปเพราะเกิดในชาติใหม่ก็ตาม  จิตยังมีเวรต่อกันอยู่

เหมือนพระเทวฑัตกับพระพุทธเจ้า
ในชาติก่อนจะตรัสรู้ นับถอยที่หลังทีละชาติ
หน้าตาท่านก็ไม่เหมือนเดิมเลย
และการเกิดใหม่ต้องลืม

แต่ฉะไหน พระเทวทัตท่านยังต้อง มีการทำกรรมไม่ดีต่อพระโพธิสัตว์ได้ถูกคน เกิดมาแล้วทำกรรมถูกตัวถูกคน
ก็เพราะอำนาจของจิตแน่นอน


จนลามมาชาติสุดท้ายของพระพุทธะเจ้า ซึ่งผลก็คือพระเทวทัตทำร้ายจอมพระอรหันต์นั่นเอง


ทีนี้การทำร้ายพระอรหันต์
คิดประทุษร้ายกับพระอรหันต์ ย่อมเป็นบาปใหญ่หลวง

ไม่คุ้มเลยที่เราจะจองเวรใคร
ถึงเขาคนนั้นจะทำไม่ดีต่อเรา
(เหมือนพระพุทธเจ้าสอนว่า
ถ้าเขาเอาเลือยมาตัดขาเธอ เธอก็อย่าประทุษร้ายต่อเขา อย่าจองเวรเขา)

ถ้าเขาคนนั้นบรรลุเป็นอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ
หรือปัจเจกพุทธะ
หรืออรหันต์สาวก

เรานี่ได้สิทธิเอาคืนเขาแน่นอน
และจะมีแรงขับดันเอาคืนมาโน้มนาวจิตใจเราแน่นอน

ถ้าเราสติไม่ดีเผลอทำกรรมดำลงไป เช่น ปานาติบาติ เผากุฏีท่าน  ใส้ร่ายท่าน อกุศลกรรมบท ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่งลงไป ก็จะเป็นดกรรมหนัก ลากไปสู้นรกได้เลย

(ใช่อยู่ถึงเขาจะเคยทำไม่ดีกับเรา เขาทำร้ายเรา เขาใส่ร้ายเรา หรืออกุศลกรรมบท๑๐ข้อใดก็ตามกับเรา)

ถ้าเขาบรรลุธรรมแล้ว
ก็คือจิตเขาเปลี่ยนไปแล้ว เป็นคนละคนแล้ว

เขาเป็นพระอรหันต์


#พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า
ทำนองว่า
ไม่ให้ประทุษร้าย ไม่ให้จองเวร
ให้มีอภัย มีเมตตาต่อกัน

#ขณะพิมพ์ ปรุงแต่งว่า จิตส่งไปในอารมณ์ธรรมลึกมาก จิตตื่นขึ้นมา และก็พิมพ์ต่อ
_____________
เดินจากวัดไปถึงหนองขุ่นแล้วขึ้นรถตู้แล้ว  ถึง บขสอุบล 11:30 น
_________
ความคิดโยม: มีแต่ให้โยมทำบุญ
นำพระ พระลิแต่บ่ทำ!
___________
ขอรหัส ID mbangking

เอาแฟตไดร คืนเจ้าของ

ซื้อหูฟังใหม่ Happy

ซื้อยาถ่าย (น้ำมะเขือเทศ)
___________
#เรื่องสภาวะ
จะยึดไว้มันก็ไม่เที่ยง ไม่ได้ตามที่ยึดไว้หรอก

ถึงไม่ยึด มันก็ไม่เที่ยงของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมดาของมัน

ยึดแล้วทุกข์
ไม่ยึดไม่ทุกข์
________
๑.ศึกษาเล่าเรียนสุตะมะยะปัญญา
๒.การคิด จินตามะยะปัญญา
๓.อบรมฝึกฝนภาวนา มะยะปัญา
๔.ซะชาติกะปัญญา
คือปัญญาที่ติดมาแต่กำเนิด
ได้แก่ความเฉลียวฉลาด
คือการเรียนรู้อะไรเข้าใจได้เร็ว
สามารถขยายการเรียนรู้ของตนได้ไกลกว่าได้ยินได้ฟังมา
_________________
เปตรข้อร้องให้ ทำทาน รักษาศีล แล้วอุทิศบุญให้ อยากจะพ้นจากอัตภาพเปตรเต็มทน แต่เราเสริมเจริญภาวนาให้ด้วย
แล้วอุทิศส่วนกุศลให้เรา ผีเปตร2ตนชาย พูดทำนองแบบนี้
เปตรหญิง1 รู้สึกว่าบ้านโพนขวาว

เห็นในนิมิตอยู่ในป่า
_____________
ช่วยสัตว์เลี้ยงไปดี

ให้มีอุปนิสัยที่ดีติดตัวมา

อยู่ใกล้ชิดกับกัณยานิมิตรที่ดี

ได้ประกอบกรรมดี

ยึดมั่นในความดีก่อนตาย
___________
การเกิด คือการตกเป็นเครื่องมือของกรรม
________
ตอนอยู่สุรินทร์ เราไปขายโอ่งกับลุงอยู่สุรินทร์
ลุงจอดแวะเข้าป่าทำธุระส่วนตัวของลุง
แต่อาตมายังอยู่ในรถ
ก็เห็นพระสององค์เดินมา อาตมาก็อยากจะใส่บาตพระมาก จึงขวานขวายหาสิ่งที่จะไปใส่บาติ

ก็เห็นแต่นม และเงิน ๑๐ บาติ ที่เป็นของเรา
เราใส่บาติ 



#ถ้ากำลังเทศ
เทศไปเรื่องราวต่างๆของผู้ตาย
ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
ในเรื่องกายกรรมดี วจีกรรมดี มโนกรรมดี

และย้อนกลับไปหาลูก
ถ้าอยากให้ลูกได้ดี ต้องปล่อยต้องวางลูก

#สำหรับมีอภิญญา
____________,,_,,,,
สมาทานธรรม
ไม่จองเวร ไม่ผูกเวร ไม่ประทุษร้าย เท่ากับ ไม่พยาบาติ

ธรรมที่จะทำให้เกิดการ
จองเวร การผูกเวร ประทุษร้าย เท่ากับ พยาบาติ 

คือกิเลส
โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ
จะมายั่วทาง ๖ ทางนี้
ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย ธรรมารมณ์
หรือ ๖ ธาตุนี้
ธาตุรูป ธาตุเสียง ธาตุกลิ่น ธาตุรส ธาตุสัมผัส ธาตุอารมณ์

การจะทำกรรมดำหรือกรรมขาว 
กรรมดำทางมโน จองเวร ผูกเวร ประทุษร้าย พยาบาติ
ก็ล้วนมีเหตุมาจาก ๖ ทางนี้
การได้เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส การได้สัมผัส การรู้สภาวะธรรมาอารมณ์

จึงเกิดการ ทำกรรมดำ
กายกรรมดำ วจีกรรมดำ มโนกรรมดำ
หรือกรรมขาว กายกรรมดำ วจีกรรมดำ มโนกรรมดำ
________,,,,,
ถ้าชอบสันโดด
ไม่ชอบคลุกคลี 
เราอยู่แบบของเรา แบบไม่เบียดเบียนใครทางจิต
ไม่ผูกเวรไม่คิดประทุษร้าย


วิหารธรรม

ตั้งจิตไว้ ไม่จองเวร ไม่อาฆาต ไม่ประทุษร้าย

#ถ้าเขาเหล่านั้นบรรลุธรรม
ถึงคิวเราที่จะเอาคืนเขา ถ้าเราไม่ทำจิตให้ ไม่จองเวร ไม่อาฆาต ไม่ประทุษร้าย ไว้

คงต้องมีแรงขับให้สร้าง กายกรรมดำ วจีกรรมดำ มโนกรรมดำ



#มีความคิดว่า "จิตมันกลัวตนเองเดือดร้อนเผ็ดร้อนเหมือนไฟจะไหม้"

ครั้งแรกมันกลัวตกนรก
เป็นม้าอาชาไนประเภท ๔

ถ้าเราพิจารณาใคร่ควร
ถึงเหตุถึงผล ชาติชรา มรณะ
การที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
มีอะไรคุ้ม มีอะไรไม่คุ้ม
ให้จิตได้เห็นจากการพิจารณา

#เพราะมันยังวางจิต จิตฉันๆ ยังไม่ได้
ก็เป็นจิตที่ เริ่มต้นต้องฝึก ในขั้นต้น ที่ต้องฝึกในระดับจิตแบบนี้
____________
ถ้าชอบสันโดด
ไม่ชอบคลุกคลี 
เราอยู่แบบของเรา แบบไม่เบียดเบียนใครทางจิต
ไม่ผูกเวรไม่คิดประทุษร้าย


วิหารธรรม

ตั้งจิตไว้ ไม่จองเวร ไม่อาฆาต ไม่ประทุษร้าย

#ถ้าเขาเหล่านั้นบรรลุธรรม
ถึงคิวเราที่จะเอาคืนเขา ถ้าเราไม่ทำจิตให้ ไม่จองเวร ไม่อาฆาต ไม่ประทุษร้าย ไว้

คงต้องมีแรงขับให้สร้าง กายกรรมดำ วจีกรรมดำ มโนกรรมดำ



#มีความคิดว่า "จิตมันกลัวตนเองเดือดร้อนเผ็ดร้อนเหมือนไฟจะไหม้"

ครั้งแรกมันกลัวตกนรก
เป็นม้าอาชาไนประเภท ๔

ถ้าเราพิจารณาใคร่ควร
ถึงเหตุถึงผล ชาติชรา มรณะ
การที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
มีอะไรคุ้ม มีอะไรไม่คุ้ม
ให้จิตได้เห็นจากการพิจารณา

#เพราะมันยังวางจิต จิตฉันๆ ยังไม่ได้
ก็เป็นจิตที่ เริ่มต้นต้องฝึก ในขั้นต้น ที่ต้องฝึกในระดับจิตแบบนี้
__________
บุคคลประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่ประทุษร้าย

ได้รับทุกขเวทนาแก่กล้าแข็ง๑

ถึงความเสื่อมทรัพย์ ๑

อุบัติทวัตเหตุ ถูกตัดแข็ง ตักขา
สรีระร่างกาย หรืออุบัติเหตุต่างที่จะนำความบาดเจ็บมาสู่ตน ๑

อาพารหนัก ๑

จิจฟุ่งซาน ๑

อุปสรรคขัดขวางจากพระชารา หรือผู้เป็นใหญ่ ๑

การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑

ถึงความย่อยยับแห่งเคลียญาติ ๑

ความเสียหายแห่งโภคะ ๑

ไฟย่อมไหม้เรือนของเขา ๑

นอกจากนี้เมื่อสิ้นชีพแล้วย่อมไปบังเกิดในนรก ๑
____________,_,,,,,
จรณะ คือ
__________,______
ผู้ประพฤพรมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรมจรรย์เบียดเบียนเสียเเล้ว

ผู้ประพฤพรมจรรย์ซึ่งมีความปรถนาเกินประมาณ

ถูกความปรถนาเกินประมาณเบียดเบียนเสียแล้ว
__________
ได้ธรรมะ จากการถูกพระรูปอื่นฉันอาหารในปิ่นโตที่โยมแม่ค่ำเราเจาะจง

แล้วรู้สึกโกธรร้อนเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมา แต่ก็เนื่องจากเคยเจริญสติมา

จึงเห็นโทสะได้ชัดมาก เห็นเป็นความฉุนเฉียวขึ้นมาเลย

พอเห็นโทสะชัดแล้ว

ก็ย้อนกลับมาดูที่ใจ ก็ปรุ่งไปว่า

"เรายังไม่หมดกิเลส ยังเป็นแบบนี้เลย

ถ้าเราไปพักเข้าป่าที่ไหน อันที่ที่เขามีเจ้าของหวง

เขาก็คงจะโกรธเรา อาจใช้ฤทธิ์ทำร้ายเรา เพราะไม่ได้เจริญสติ

ดังนั้นเราจะไปพักเข้าป่าที่ไหน ถึงจิตจะสะอาดไม่กลัวอะไร คิดดีกับทุกสรรพสัตว์ก็ต้องบอกกล่าว






##
และต่อไปนี้ไม่ว่าเวลาจะเร่งด่วนขนาดไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไร นาทีฉุกเฉินเร่งรีบขนาดไหน

เราจะไม่เลี้ยงสภาวะ ความทุกข์ร้อนที่เป็นความดันปะทุอยู่ในอก

ให้สัจจะสัญญา
____________
๒. กฬารขัตติยสูตร
[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล กฬารขัตติยภิกษุเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้
ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โมลิยผัคคุณภิกษุได้
ลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำเสียแล้ว ฯ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุณะนั้นคงไม่ได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้
เป็นแน่ ฯ
ก. ถ้าเช่นนั้น ท่านพระสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง ฯ
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมไม่มีความสงสัยเลย ฯ
ก. ท่านผู้มีอายุ ก็ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ ฯ
สา. ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่สงสัยเลย ฯ
[๑๐๕] ลำดับนั้น กฬารขัตติยภิกษุลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตร
อวดอ้างพระอรหัตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ เธอจงไปเรียกสารีบุตร
มาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน ฯ
ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วเรียนต่อท่านว่า
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน ฯ
ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฯ
[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร เขาว่าเธออวดอ้างอรหัตผลว่า
เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความตามบท
ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่ ฯ
ภ. ดูกรสารีบุตร กุลบุตรย่อมอวดอ้างอรหัตผลโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุคคลทั้งหลายก็ต้องเห็นอรหัตผลที่อวดอ้างไปแล้วโดยความเป็นอันอวดอ้าง ฯ
สา. พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่าข้าพระองค์หาได้
กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่ ฯ
ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร  จึงอวดอ้าง
อรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้ไม่มี เพราะรู้ได้ว่า เมื่อปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้วเพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุสิ้นไป พระพุทธ
เจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ ฯ
[๑๐๗] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ชาติมี
ภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด ฯ
[๑๐๘] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า  มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ภพมี
อุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นสมุทัย มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ฯ
[๑๐๙] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็น
เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดเมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทาน
มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ฯ
[๑๑๐] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่ามีอะไรเป็น
เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดเมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหา
มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ฯ
[๑๑๑] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่ามีอะไรเป็น
เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดเมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เวทนามี
ผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ฯ
[๑๑๒] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความ
พลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์  อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้ารู้ว่า เวทนา ๓ เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ฯ
[๑๑๓] ถูกละๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความดังนี้ว่า
 เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น ดูกรสารีบุตรถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่าน
สารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร ท่านจึงอวดอ้างอรหัตผลว่า ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ
พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อาสวะ
ทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุด
พ้นในภายใน เพราะอุปาทานทั้งปวงสิ้นไป ทั้งข้าพเจ้าก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย พระพุทธ
เจ้าข้า เมื่อถูกถามอย่างนี้                  ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ 
[๑๑๔] ถูกละๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความดังนี้
ว่า อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ในอาสวะเหล่า
นั้นว่า อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้วหรือยัง ฯ
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตตรัสดังนี้แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยัง
___________________
       เขมสูตรที่ ๒
[๒๘๑] เขมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประพฤติกับตนเองดังศัตรู ย่อมทำกรรม
ลามกอันอำนวยผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว  ย่อมเดือดร้อนภาย
หลัง มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้น
ทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มี
หัวใจแช่มชื่นเบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วเป็นการดี
บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้น
ทีเดียว อย่าพยายามเป็นนักปราชญ์เจ้าความคิด ด้วยความคิดอย่างพ่อค้า
เกวียน พ่อค้าเกวียนละหนทางสายใหญ่ที่เรียบร้อยสม่ำเสมอเสีย แวะ
ไปสู่ทางที่ขรุขระ เพลาก็หักสะบั้นซบเซา ฉันใดบุคคลละทิ้งธรรม
หันไปประพฤติตามอธรรม ก็ฉันนั้น เป็นคนเขลาเบาปัญญา ดำเนิน
ไปสู่ทางมฤตยูซบเซาอยู่ เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหักแล้ว
 ฉะนั้น ฯ


  [๓๓๖] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้  จบลงแล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถ้าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รัก ไม่พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุข
นั้นไม่เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะพึงได้โดยง่าย ฯ
เมื่อบุคคลถูกมรณะครอบงำ ละทิ้งภพมนุษย์ไปอยู่ ก็อะไรเป็นสมบัติ
ของเขา และเขาย่อมพาเอาอะไรไปได้ อนึ่ง  อะไรเล่าจะติดตามเขาไป
ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น ฯ
ผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือ  เป็น
บุญและเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
 และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป (สู่ปรโลก)อนึ่ง บุญและบาปนั้น
ย่อมเป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น ฯ
เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก
(เพราะว่า) บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่ง
____________
ทาน

[๒๘๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า
ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล
ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น สมควรเปลื้อง
ความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำมลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญเท่านั้น
ย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ
[๒๘๔] ส. น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสแจ่มแจ้งแล้ว
ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล
ย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น สมควรเปลื้อง
ความเหนียวแน่นเสีย ครอบงำมลทินของใจเสีย พึงให้ทาน บุญ
เท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ
[๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน
 มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทานที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน หม่อมฉัน
ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย ครั้นต่อมา
 พวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาหม่อมฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน แต่พวก
หม่อมฉันไม่ได้ให้ ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทาน
กระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าว   ชมการ
ให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกหม่อมฉันจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบ   ประตูด้านแรก
ให้แก่พวกฝ่ายในไป เขาพากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ครั้นต่อมา พวกกษัตริย์พระราชวงศ์พากันเข้าไปหาหม่อมฉัน ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรง
บำเพ็ญทาน พวกฝ่ายในก็บำเพ็ญทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ทาน  เป็นการชอบที่
พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยใต้  ฝ่าละอองธุลีพระบาทกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันก็คิดเห็นว่า
เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้า
จะให้ทานเราจะ ว่าอะไร แล้วจึงมอบ ประตูด้านที่สองให้แก่พวกกษัตริย์
ราชวงศ์ไป พวก กษัตริย์  พระราชวงศ์ต่างก็พากันให้ทานในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ครั้นต่อมา พวกพลกาย (ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภ    ขึ้นว่า พระองค์
ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล   พวกกษัตริย์พระราชวงศ์ก็ทรง
บำเพ็ญพระกุศล พวกข้าพระพุทธเจ้ามิได้ให้ทาน   เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัย
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทานกระทำ           บุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก
เป็นทานบดี เป็นผู้       กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะ
ว่าอะไร   แล้วจึงมอบประตูด้านที่สามให้พวกพลกายไป เขาก็พากันให้ทานใน ที่นั้น ทาน ของ
หม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา มีพวกพราหมณ์    คฤหบดี (ข้าราชการ
ฝ่ายพลเรือน) เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์   ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกกษัตริย์พระราช   วงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าราชการ
ฝ่ายทหารก็ให้ทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้า  ไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้
อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  ให้ทานกระทำบุญบ้าง หม่อมฉันจึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็น
ทายก เป็นทานบดี เป็น   ผู้กล่าวชมการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน
เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบประตูด้านที่สี่ให้พวกพราหมณ์คฤหบดีไป เขาต่างก็พากันให้ทาน
ในที่นั้น ทานของหม่อมฉันก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเจ้าหน้าที่   ทั้งหลายต่างพากัน
เข้าไปหาหม่อมฉัน ได้ทูลสนองขึ้นว่า บัดนี้พระองค์จะไม่ทรง บำเพ็ญทานในที่ไหนๆ อีกหรือ
 เมื่อเขาทูลอย่างนี้ หม่อมฉันจึงกล่าวตอบไปว่าท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในท้องถิ่นชนบท
นอกๆ ออกไป มีรายได้ใดๆ     เกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในเมือง (เข้าท้อง
พระคลัง) เสียกึ่งหนึ่ง      อีกกึ่งหนึ่งพวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดิน
ทางไกล         วณิพกและยาจกทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด (เป็นเช่นดังกราบบังคมทูลถวายนี้แหละ
พระเจ้าข้า) หม่อมฉันจึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้     ก่อสร้างไว้ตลอด
กาลนานอย่างนี้ โดยที่จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้เป็นบุญพอแล้ว         เท่านี้เป็นผลของบุญพอแล้ว
 หรือเท่านี้ที่เราพึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรม (คือพร้อม เพรียงร่วมทำบุญกับเขาพอแล้ว) ฯ
[๒๘๖] น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้   พระผู้มีพระภาค
________________
ขณะเดินจงกลม ฟังกรรมพยากรณ์
ก็เห็น"กามราคะทางเพศก็เกิดขึ้น

ทันใดนั้นก็มีความคิดผุดขึ้นว่า"

แนะ กามราคะใคร่ทางเพศเกิดขึ้น

มันมาจากการสะสมหมักหม๋มอยู่กามราคะทางเพศในอดีตหลายภพหลายชาติ

และทันใดนั้นก็คิดว่า"เราจะทำให้มันหายจะให้มันดับไป เพราะไม่ชอบไม่อยากเลี้ยงไว้นาน

ก็มีความคิดขึ้นมาอีกว่า"
ถึงจะทำให้มันดับลงไปได้

มันก็มาอีกอยู่ดี

ทำให้มันดับไปได้ก็จริง แต่มันก็มีมาอีก จะเรียกว่าสามารถบังคับมันได้หรอ

ไม่ใช่แล้วมั่ง

หลวงพ่อปราโมทบอกว่า
เราไม่สามารถบังคับมันได้หรอก

ถ้ามีทิฐิว่าบังคับมันได้ เป็นมิจฉาทิฐิ

แต่การดับมันก่อนเข้าฌาน เพื่อดับมัน ไม่ใช่มิจฉาทิฐิ

##
ขณะนั้นกำลังกวาดใบไม้อยู่บริกำแพงโบด ก็ฟังกรรมพยากรณไปด้วย

ก็ฟังถึงตอน "รูปสวยผิวสวยของผู้หญิงหรือผู้ชาย

ก็มาจากกรรม รักษาศีล๕ หรือมากกวามาก่อน จึงสวย ออกมาผลลับเป็นอย่างนี้

ไฉนเลยก็เห็นความคิด" เราไม่ควรพอใจกับ รูปร่างกายที่สวยเพราะแค่กรรมจากการรักษาศีล๕

เพราะยังเป็นการหลอกอยู่ ยังอยู่ใน เวียนว่ายตายเกิดอยู่"

ทันใดนั้น ก็มีความคิดขึ้นว่า
แต่พระพุทธเจ้าให้มีศีล๕เป็นหลักก่อน"


ต่อมาพิจารณว่าทำไม
ก็ทราบว่า
ศีล๕เป็นเหตุให้อยู่เป็นสุขและเป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้


ทันใดนั้นก็มีความคิดขึ้นอีกว่า
ถึงอย่างไร เราก็ไม่ควรพอใจกับรูปร่างกายของหญิงของชายที่สวยที่หล่อ ที่เกิดกรรมรักษาศีล๕


ทันใดนั้นก็ผุดขึ้นมาอีกว่า"
เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ให้หลงในรูปร่างกายที่สวย"


"ถ้าเชื่อเสียงที่น่ารัก แสดงว่าโง่อยู่น่ะ
ยังข้องอยู่
ยังติดใจในกรรม  เสียงน่ารักก็เพราะกรรม"
__________________
      สัญโญชนสูตรที่ ๔
[๑๘๔] เทวดาทูลถามว่า
โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของ
โลกนั้น เพราะละขาดซึ่งธรรมอะไรจึงเรียกว่านิพพาน ฯ
[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
ของโลกนั้น เพราะละตัณหาเสียได้ขาด
จึงเรียกว่านิพพาน

      อิจฉาสูตรที่ ๙
[๑๙๔] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรผูกไว้ เพราะกำจัดอะไร เสียจึงจะหลุดพ้น  เพราะละอะไร
ได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้ทุกอย่าง
[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันความอยากผูกไว้ เพราะกำจัดความอยากเสียได้จึงหลุดพ้น เพราะ
ละความอยากได้ขาด จึงตัดเครื่องผูก

      พันธนสูตรที่ ๕
[๑๘๖] เทวดาทูลถามว่า
โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องผูกไว้ อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของ
โลกนั้น เพราะละเสียได้ซึ่งอะไร จึงตัดเครื่องผูกได้หมด ฯ
[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของ
โลกนั้น เพราะละตัณหาเสียได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้หมด ฯ


     อัพภาหตสูตรที่ ๖
[๑๘๘] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรหนอกำจัดแล้ว อันอะไรหนอล้อมไว้แล้ว อันลูกศรคือ อะไรเสียบแล้ว
อันอะไรเผาแล้วในกาลทุกเมื่อ
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันมฤตยูกำจัดแล้ว อันชราล้อมไว้แล้ว อันลูกศรคือ  ตัณหาเสียบ
แล้ว อันความอยากเผาให้ร้อนแล้วใน

      อุฑฑิตสูตรที่ ๗
[๑๙๐] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรหนอดักไว้ อันอะไรหนอล้อมไว้ โลกอันอะไรหนอปิดไว้
โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร ฯ
[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันตัณหาดักไว้ อันชราล้อมไว้ โลกอันมฤตยูปิดไว้โลกตั้งอยู่แล้ว
ในทุกข์ ฯ



[๒๓๓] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยากนี้ คือความ
สันโดษ ยินดี ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้ว
ในความอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้น ย่อมได้แม้
ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก ฯ
[๒๓๔] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่ ตั้งมั่นได้ยากนี้
คือจิต ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น  ย่อมตั้งมั่น
ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลายเหล่านั้นตัดข่าย
แห่งมัจจุไปได้ ฯ
[๒๓๕] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้
เสมอ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เสมอ
ที่ไปได้ยาก
ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เสมอ
ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะอริยะทั้งหลาย เป็นผู้
สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ ฯ
    ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗
[๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส ในที่คับแคบหนอ  ผู้ใดได้รู้ฌาน
เป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจเป็นมุนี ฯ
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ  เพื่อการบรรลุ
ธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น 
      ปิหิตสูตรที่ ๘
[๑๙๒] เทวดาทูลถามว่า
โลกอันอะไรหนอปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในอะไร โลกอันอะไรหนอ
ดักไว้ อันอะไรหนอล้อมไว้ ฯ
[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกอันมฤตยูปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์ โลกอันตัณหาดักไว้

      โลกสูตรที่ ๑๐
[๑๙๖] เทวดาทูลถามว่า
เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมชมเชยในอะไรโลกยึดถือ
ซึ่งอะไร โลกย่อมเดือดร้อนเพราะอะไร ฯ
[๑๙๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เมื่ออายตนะ ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมทำความชมเชยใน
อายตนะ ๖ โลกยึดถืออายตนะ ๖ นั่นแหละโลกย่อมเดือดร้อนเพราะ
อายตนะ ๖ ฯ
____________________
สิ่งที่เราสร้าง สิ่งที่เราทำ
อาจเบียงเบียนคำพยากรณ์ของ หมอดูที่แม่นที่สุดในโลกได้

#
พี่นะกับจ๊ะจะได้พบกันอีกทุกชาติไหม

ตอบ
แรงเหวียงของกรรมใหญ่ฝ่ายกุศล
จะดึงดูดให้วิญญาณตามติดกันไปเรื่อยๆ คล้ายดาวแม่กับดาวบริวาลนั้นแหละ
ตราบใดที่ใจเรายังเห็นดีเห็นงามกับกุศลผลบุญกับเขา
และก็ร่วมทำประโยชน์ให้สาธารณะชนไม่เลิกลา เกิดใหม่ ก็จะได้อยู่ด้วยกันอีกเสมอไป

เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
พลาดไปอยู่ภพต่ำ ปล่อยให้อีกฝ่ายโดดไปอยู่สูง
ตามลำพัง ก็อาจคลาดกันระยะหนึ่ง


#
ถาม เกิดใหม่กลัวพลาด จากคนรักไป กลัวไม่ได้เจอกัน กลัวไม่รวย

ตอบ: ก็อธิฐานเอาซี อยากเป็นอย่างไรให้ทำอย่างนั้นตลอดชีวิต แล้วอธิฐานไปเรื่อย ว่าขอเป็นคนอย่างนี้ ขอมีครูอย่างนี้



ถาม: เห็นอกุศล ตลอดเลย ทั้งทีก็ไม่ได้คิด จะทำยังไง

ตอบ: ความคิดอกุศลบางทีเป็นแค่คลื่น หรือสัญญาปรุงแต่ง17 ธันวา 2531
____________,____________
ภาวะรู้สึกเห็นความร้อนกาย

เมื่อเช้า 
ฉันปลาโดน้อย ฉันป่นปลาทู
ฉันผลไม้ มะละกอสุก องุ่น ส้ม2ผล ขนมสองก้อน
__________________
แล้วจะตั้งกฏขึ้นมาทำไมหนอ ก็ถ้าไม่ปฏิบัติตาม

ใกล้จะฉิบหายแล้วหนอ

กิตติโสภโณ ติดข้องเพลินในน้ำหวานของยอดทุกข์แล้วหนอ
ซึ่งต่อไปจะเป็นอื่นไปไม่ได้
จะต้องขมระทมทุกข์แน่นอน

ถ้ายังไม่สลัดออก

กิตติโสภโณ สมาทานธรรมน่าชัวแล้วหนอ เป็นผู้ถูกอกุศลธรรมลามก
_____________________
คาถาป้องกันงู ** ตามความเชื่อแต่ละบุคคล
ปะถะมังพันธุ กังชาตัง ทุติยังทัณฑะ เมวะจะ
ตะติยังเภทะกัญเจวะ จะตุตถังอังกุ สัมภะวัง
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะงู นะกาโร โหติสัมภะโว
( ใช้ภาวนาเมื่อต้องเข้าป่า ที่รก
หรือแม้แต่เมื่อขณะพบเจองู จะทำให้คุณปลอดภัย )
________________
คนเราทุกข์เพราะ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาญ

ทุกข์เพราะดิน
ทุกข์เพราะต้องการดิน
ทุกช์เพราะไม่ต้องการดินไ

ทุกข์เพราะน้ำ
ทุกข์เพราะต้องการน้ำ
ทุกข์เพราะไม่ต้องการน้ำ

ทุกข์เพราะลม
ทุกข์เพราะต้องการลม
ทุกข์เพราะไม่ต้องการลม

ทุกข์เพราะไฟ
ทุกข์เพราะต้องการไฟ
ทุกข์เพราะไม่ต้องการไฟ


ทุกข์เพราะเสียง
ทุกข์เพราะต้องการเสียง
ทุกข์เพราะไม่ต้องการเสียง

ทุกข์เพราะรูป
ทุกข์เพราะต้องการรูป
ทุกข์เพราะไม่ต้องการรูป

ทุกข์เพราะกลิ่น
ทุกข์เพราะต้องการกลิ่น
ทุกข์เพราะไม่ต้องการกลิ่น

ทุกข์เพราะรส
ทุกข์เพราะต้องการรส
ทุกข์เพราะไม่ต้องการรส

ทุกข์เพราะสัมผัส
ทุกข์เพราะต้องการสัมผัส
ทุกข์เพราะไม่ต้องการสัมผัส

ทุกข์เพราะธรรมารมณ์
ทุกข์เพราะต้องการธรรมารมณ์แบบนี้
ทุกข์เพราะไม่ต้องการธรรมารมณ์แบบนี้

วั๋นใหวไปกับภาพเป็นเหตุแห่งอารมณ์ฟุ้ง

ตัณหาคือความอยากต้องการ
เมื่อกายช้า
เป็นเหตุแห่งทุกข์

เมื่อเห็นรูป ธาตุหวันใว๋ก็จะเกิด
_________________
มนุษย์เรานั้น เกิดมาเปรียบเสมือน
บุรุษที่จะเข้าป่า เพราะต้องการ กุญแจเพื่อปลดล็อกตนเอง
แต่เขาเข้าไปแล้ว เจอดอกไม้บ้าง เจอ สิ่งล่อตาหล่อใจบ้าง นั้นคือ กามคุณ5

จนเสียเวลาหมดไปกับ  เก็บดอกไม้บ้าง เก็บผลไมบ้าง
กามคุณห้า

หลังจากนั้นเวลาก็หมด
บุรุษย์นั้น คือเป็นลมแล้วฟืนขึ้นมาลืมความตั้งใจ
ก็กลับทางเดินไม่เป็น หลาย
_____________
คาแต่สวยจนลืมทำบุญ
_____________
คนเราเกิดมาก็มาคนเดียว
ตายไปก็ไปคนเดียว
จะยังไงก็ต้องพรัดพรากจากกันอยู่ดี 
ทั้งคนที่เรามีอารมณ์รักให้ ทั้งคนที่เรามีอารมณ์เกลียดให้

คนเหล่านั้น
ไม่ว่าเราจะจากเร็วหรือจากช้า
ชาตินี้ หรือชาติหน้า
คุณก็จะต้องจากทุกคนไป
และจากทุกๆสิ่งไป ซ้ำๆซากๆ อยู่แบบนี้ วนเวียน น่าเบื่ออยู่แบบนี้ จนกว่าจะไม่เกิดอีก 

และระหว่างนี้คุณยังต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย คุณจะถูกวิบากกรรมขาวกรรมดำที่คุณทำนั้นแหละ
ตามให้ผลคุณประดุจเงาติดตามตัว

๑.วิบาก ให้ผลทางกาย
๒.กรรม ให้ผลทางใจ

คนที่เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะข้อ๒.ทางใจเสียส่วนมาก

ทุกข์เพราะไม่มีศรัทธาไม่เชื่อธรรมะของ
พระพุทธเจ้าว่า

ความทุกข์ทางใจเป็นสิ่งที่ถูกเรารู้
 เราเป็นผู้รู้ 
ความทุกข์เป็นสิ่งที่ถูกรู้

ความทุกข์อยู่คนละฝั่งกับเรา
เราผู้รู้อยู่ฝั่งหนึ่ง
สิ่งที่ถูกรู้คือความทุกข์มันอยู่อีกฝั่งหนึ่ง

ภาวะสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั้นมันไม่เที่ยง ไม่มั่นคง แปรปวนตลอดเวลา
ไม่ใช่เราอย่างแน่นอน

บุคคลเช่นนี้เรียกว่าตั้งท่ารับมือ กับความทุกข์ทางใจ ได้แบบชาวพุทธอย่างแท้จริง
________________
อัคโข แปลว่า ยุ่งยาก
_____________
พายุความคิด ถ้าเชื่อ
____________
ขณะกำลังกวาดใบไม้
ก็มีเรื่องโยมลุงออดผุดขึ้นมา
เรื่อง ที่เคยไปพูดให้แกว่า ครูบาอาจย์ทำนายว่า ตายแล้วเป็นเปตร" 

ก็มีความคิดว่า"
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว
นี่เรายังไปทำให้เขาทุกข์เพิ่มอีก
"
ไม่ได้ละๆ เราต้องไปแก้ 
ต้องเอาลำโพงธรรมะไปให้แกฟัง
และเทศเพิ่มเติมนิดหน่อยนำแก
เรื่องการเปลี่ยนเส้นทางของกรรม
ทางใจ
ถ้าเปลี่ยนเส้นทางใจได้ ก็เปลี่ยนคติภพภูมิได้

ให้เปลี่ยนเป็นคนใหม่นะ

ฉลาดทางกาย วาจา ใจ

#ขู่กันเรื่องที่ไม่รู้จริงถือว่าผิดหลักการเกลือกล่อมคนคิดสั้นนะค่ะ
ถ้าอยากให้จะกลับใจ
พี่เอินควรหาจุดอ่อนของจ๊ะให้เจอ
จุดที่สะกิดแล้วเกิดความสำนึกผิด
จุดที่ฟังแล้วเกิดจินตนาการแล้วอยากมีชีวิตอยู่ทนดิ้นกระแด๋วๆต่อ

เอินหาอุบายให้ไหม
แค่เช่นแกล้งพูดโกหกว่า จะขับรถกลับกรุงเทพ จะอย่ากับสามี และขณะนั้นก็ถ่วงเวลาพูดคุยเกลือกล่อม

"
ทำผิดอะไรนักหนาถึงกักขังตัวเองไว้ กับแนวบ่อดี

ธรรมะของพระพุทธเจ้า
แม่นสิเอาให้ปานใด เดให้ปานใด
งัดปากออกสิเอาให้กินปานใด๋
เขาบ่อยอมกิน เฮากะสิถือว่าเอานิเทศขี้ร้าย
"###
____________
พระมงคลชัย กิตติโสภโณ พิจารณาขี้หมา

ขณะกวาดใบไม้อยู่ ก็เหลือบไปเห็น ก้อนขี้หมา ก้อนหนึ่ง

ก็ได้คิดว่า ก้อนขี้หมาน่ารังเกลียด
"แต่ว่าความรังเกลียดอ่อนกำลังจากแต่เดิม เหมือนตอนเป็นโยนที่รังเกลียดขี้หมามากๆๆๆ แตกต่างกันมากๆ

และก็มีความความคิดผุดขึ้น ถ้าใช้มือจับคงน่ารังเกลียดนิดหนึ่ง

แต่ก็ ถ้าหากว่าร่างกายเราตายไปกับตรงจุดก้องขี้หมา คงเป็นสภาพเหมือนกัน คือธาตุดิน


และก็มีความคิดผุดขึ้น
ถ้าหากใช้เท้าไปถูกขี้หมาจะไม่น่ารังเกลียดมากเท่าไร่

แต่ถ้าใช้มือจะน่ารังเกลียดมาก

ถ้าหากใช้ดาก ก้น ไปนั้งทับก็ไม่น่ารังเกลียดเท่ามือไปจับ

นี่มันยึดมั่นถือมันส่วนมือ ส่วนบนมากกว่าส่วนล่าง

เพราะมันใช้แต่มืออำนาวยความสดวงให้มัน ได้ดี ในรูปเสียงกลิ่นรส โผดฐัพพะ ธรรมอารม

แสดงว่ามันยึดมือมากกว่า

ไฉนเลย เราควร ละความยึดมั่นถือมันส่วนบน
ที่มันสำคัญ เช่นมือ ใบหน้า
เป็นต้น
_____________________
ถ้ามีกฏ แล้วไม่เคารพกฏ
มันก็ไม่มีประโยชน์

เปรียบเสมือน
กฏคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
มรรคมีองค์ ๘ ถ้ามีแล้ว ไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่มีประโยชน์
___________
เวลาทีกามราคะทางเพศขึ้น

อุณภูมิตัวจะร้อน เลือดจะอุ่นหรือร้อนมาก

จะมีกำลังมาก

และในช่วงเช่นนั้น
จะไม่มีความคิด เกี่ยวกับสมาธิที่สะอาดผุดขึ้นมาให้เปรียบเทียบเลย

จะมีก็แต่ตัณหาที่อยากจะดับมัน คิดปรุงแต่ง ให้เป็นธาตุ๔ ให้ความรู้สึกกามราคะหายไปให้ความร้อนหายไป


"ภาพความคิด คืออารมณ์ 
กรรมคืออารมณ์"
ใช่หรือไม่
________________
ร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุ๔
ดิน น้ำ ลม ไฟ
สวย หล่อ แค่ไหนก็มีพื้นฐานมาจากธาตุดินน้ำคืออาหาร
ขาดแค่ธาตุลม
ก็กลายเป็นผี ไม่มีใครเอา
เหลือแต่บุญกับบาปจะตามเราไป
ท่านทั้งหลาย สะสมสะเบียงบุญกัน
ตั้งแต่วันนี้เถิด..ให้ทาน รักษาศีล ทำวัตร สวดมนต์
ปฏิบัติเดินจงกรม สมาธิภาวนา พุทโธๆ

อย่าไปยุ่งกับผู้หญิงผู้ชาย
ร่างกายผู้หญิงผู้ชาย ถ้าลอกเนื้อหนัง กระดูก เอาตับไตไส้พุง ปอด พังผืด อวัยวะทุกอย่างออกหมด..!! มันก็ไม่ต่างอะไรกับเราหรอก ก็จะไม่เหลืออะไรที่ว่าเป็นหญิงเป็นชาย

เหลือแต่ดวงจิต
ไอ้ดวงจิตนี้ มันไม่ใช่ผู้หญิงมันไม่ใช่ผู้ชาย
คือมันไม่มีเพศเลย มันเป็นแต่เพียงดวงจิตเฉยๆ เป็นจิตเฉยๆเป็นธาตุรู้เฉยๆ รู้สุขรู้ทุกข์
ไม่ใช่ชายไม่ใช่หญิง
ถ้าเรารักร่างกายผู้หญิง แต่รู้ว่า ดวงจิตที่ครองร่างนั้นไม่ใช่ผู้หญิงละ
เพราะดวงจิตนี้ไม่ใช่เพศหญิงไม่ใช่เพศชาย

เราจะรักแค่ก้อนดินที่ปั่นมาเป็นร่างกาย หลอกๆแค่นั้นหรือ

#หมั่นพิจารณา ร่างกาย อยู่เนืองๆ
ถอดหนังไปกองไว้อีกที่หนึ่ง
ถอดอวัยวะไปกองไว้อีกกองหนึ่ง
ถอดกระดูกไปกองไว้อีกกองหนึ่ง
ถอดสมองไปกองไว้อีกกองหนึ่ง

เหมือนถอดชิ้นส่วนรถออก ถอดกาบ ถอดล้อ ถอดท่อ ถอดเครื่องในทุกอย่างออกมา กระจัดกระจาย แล้วพิจารณาส่วนต่างๆว่า
มันยังไงเป็นยังไง เอาให้ชัดว่า ไอ้ที่อวัยวะกองอยู่นั้นทั้งหมด มันใช่เราไหม เราผู้ที่กำลังรู้อยู่นี่ กับกองกระดูกกองเนื้อ

มันใช่เราผู้ที่กำลังรู้ไหม
______

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น