วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ระวังตัว มีสติคุ้มครองจิต

อาหาร ๔ เข้าใจง่าย)
สมเด็จพระสังฆราช

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นดังได้กล่าวแล้ว ก็คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ท่านพระสารีบุตรได้แสดงสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบไว้ ว่าเห็นอย่างไรเป็นความเห็นชอบ และยังได้แสดงไว้ต่อไป ดังที่จะกล่าว ณ บัดนี้ คือภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟังท่านพระสารีบุตรอธิบายสัมมาทิฏฐิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงได้ถามท่านต่อไปว่า ยังมีอธิบายโดยปริยายคือทางอันอื่นอีกหรือไม่ ท่านพระสารีบุตรก็ได้ตอบว่ามี และก็ได้แสดงอธิบายปริยายคือทางอธิบายต่อไปอีกว่า
สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ก็คือ ความรู้จักอาหาร รู้จัก อาหาระสมุทัย เหตุเกิดแห่งอาหาร รู้จัก อาหาระนิโรธ ความดับอาหาร และรู้จัก อาหาระนิโรธะคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับอาหาร
อาหาร ๔
คำว่า อาหาร นั้นเป็นคำที่ทุก ๆ คนก็เรียกกัน ถึงอาหารที่บริโภคเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย แต่ว่าคำว่าอาหารมิใช่หมายความถึงเพียงอาหารสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอาหารอย่างอื่นอีกด้วย ท่านพระสารีบุตรได้แสดงอธิบายอาหารไว้ ๔ ประการ คือ
๑ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
๒ ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจ และ
๔ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
อาหารของกาย
คำว่า อาหาร นั้นตามศัพท์แปลว่านำมา ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นปัจจัย คือเป็นเครื่องอาศัยที่นำผลมา
ข้อที่ ๑ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ก็หมายถึงอาหารที่บุคคลตลอดจนถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายบริโภค เป็นอย่างละเอียดก็มี เป็นอย่างหยาบก็มี ยกเอาคำข้าวขึ้นเป็นที่ตั้งเป็นชื่อ เพราะว่าข้าวนั้นก็ถือว่าเป็นอาหารหลักสำหรับที่จะบำรุงเลี้ยงร่างกาย ฉะนั้นจึงยกขึ้นเป็นชื่อของอาหารสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกาย อันหมายคลุมถึงอาหารทุกอย่างที่บริโภคสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกาย นี้คือ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวข้อที่ ๑
อาหารของนาม
ข้อที่ ๒ ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ หมายถึงอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มาประชุมกันเรียกว่าสัมผัสหรือผัสสะ อันแปลว่ากระทบ เป็นอาหารแห่งนามธรรมทั้งหลาย คือแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณเองที่เกิดสืบต่อไป กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวข้อแรก เป็นอาหารของรูปธรรม คือร่างกายส่วนรูป ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะหรือสัมผัส เป็นอาหารของนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดสืบเนื่องกันไป
ผัสสาหารอาหารคือผัสสะข้อที่ ๒ นี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ว่า คือความประชุมของอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ โดยที่เมื่อตากับรูปประจวบกันก็ย่อมเกิดวิญญาณ คือความรู้ในรูป ที่เรียกว่าเห็นรูป อันการเห็นรูปดังที่พูดกัน ก็มักจะพูดกันว่าเห็นรูปด้วยจักษุคือตา แต่เมื่อแสดงตามทางอภิธรรม ท่านแสดงว่าเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ คือความรู้รูปทางจักษุ ตานั้นเป็นเพียงประสาทสำหรับเป็นที่อาศัยรับรูปที่มาประจวบกันเท่านั้น ถ้ายังไม่เกิดจักขุวิญญาณ การเห็นรูปก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องเกิดจักขุวิญญาณ วิญญาณทางตา ก็คือรู้รูปทางตาที่เรียกกันว่าเห็นรูป เพราะฉะนั้นการเห็นรูปจึงมิใช่เห็นด้วยจักขุหรือจักษุ แต่ว่าเห็นด้วยจักษุวิญญาณ
เมื่อพูดตามธรรมดา ก็พูดว่าเห็นรูปด้วยจักษุ แต่ว่าเมื่อพูดตามทางอภิธรรม ก็จะต้องพูดว่าเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ แม้ในอายตนะข้อต่อไปก็เช่นเดียวกัน หูกับเสียงมาประจวบกัน ก็เกิดโสตะวิญญาณ ได้ยินเสียง จมูกกับกลิ่นมาประจวบกัน ก็เกิดฆานะวิญญาณ รู้กลิ่นทางจมูก ลิ้นกับรสมาประจวบกัน ก็เกิดชิวหาวิญญาณ รู้รสทราบรสทางลิ้น กายกับโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้องมาประจวบกัน ก็เกิดกายวิญญาณ รู้สิ่งถูกต้องทางกาย มโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวมาประจวบกัน ก็เกิดมโนวิญญาณรู้เรื่องที่ใจคิดทางมโนคือใจ นี้เป็นปรกติของอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณทางอายตนะทั้ง ๖ นี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นปรกติแก่ทุก ๆ คน ทุก ๆ เวลา และเมื่อทั้ง ๓ นี้มาประชุมกันจึงเรียกว่าเป็นสัมผัส ที่แปลว่าความกระทบ หรือเรียกสั้นว่าผัสสะ
และผัสสะหรือสัมผัสดังกล่าวมานี้เองเป็นอาหารของนามธรรมทั้งหลาย คือของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณที่เกิดสืบจากสังขาร เพราะฉะนั้นตามอธิบายนี้วิญญาณจึงบังเกิดขึ้น ในเมื่ออายตนะภายในอายตนะภายนอก มาประจวบกัน ก็เป็นวิญญาณขึ้นตามทางอายตนะ และเมื่อทั้ง ๓ มาประชุมกันเป็นสัมผัส จึงเกิดเวทนา เกิดสัญญา เกิดสังขาร แล้วก็เกิดวิญญาณสืบต่อกันไปอีก เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงมาตรงที่ เมื่ออายตนะภายในอายตนะภายนอกประจวบกัน นั้นหนหนึ่ง และเมื่อมาประชุมกันเป็นสัมผัสหรือผัสสะ ก็เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร และก็เป็นวิญญาณขึ้นอีก วิญญาณก็มาบังเกิดขึ้นสืบจากสังขารอีกครั้งหนึ่ง และก็มาเป็นสัมผัส เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร แล้วก็เป็นวิญญาณ แล้วก็วนกันไปอยู่ดั่งนี้ในอารมณ์ทั้งหลายที่จิตนี้รับ
เริ่มมาจากทางอายตนะซึ่งเป็นฝ่ายรูป แล้วก็มาเป็นนามธรรม
ขันธ์ ๕ นามรูป
เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันประกอบย่อเข้าเป็นรูปเป็นนาม รูปก็เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นนาม รวมเป็นขันธ์ ๕ ย่อก็เป็นรูปเป็นนาม อันเรียกว่านามรูปนี้ จึงเป็นสิ่งที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดก่อขึ้นในครรภ์ของมารดา แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จนเมื่อได้คลอดออกมาจึงมีความสมบูรณ์ แต่แม้เช่นนั้นก็ยังอ่อน เมื่อเติบโตขึ้นจึงเจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น จนมีความสมบูรณ์เต็มที่ ดังรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ของบุคคลที่เติบโตขึ้น ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นเด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว ก็เป็นความสมบูรณ์ของขันธ์ ๕ ขึ้นมาโดยลำดับ
ดังจะพึงเห็นได้ว่าเมื่อส่วนรูปมีความสมบูรณ์ ส่วนนามก็สมบูรณ์ ดังเช่นเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย มนะคือใจสมบูรณ์ จึงรับอายตนะภายนอกต่าง ๆ ได้ฉับพลัน คล่องแคล่วว่องไว วิญญาณที่บังเกิดขึ้น สัมผัสที่บังเกิดขึ้น สืบมาถึงเวทนา สัญญา สังขาร และต่อไปวิญญาณอีก ก็สมบูรณ์ฉับพลัน
วิปัสสนาภูมิ
และตรงนี้ก็น่าที่จะต้องอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า ในขันธ์ ๕ นั้นไม่จัดใส่วิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในช่วงนี้เข้าไว้ จัดรูปเป็นที่ ๑ แล้วก็มาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่อท้าย ตัดเอาวิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในระหว่างรูปกับเวทนาเสีย ถ้าหากว่าจะใส่ไว้ด้วยก็ไม่ใช่เป็นขันธ์ ๕ จะต้องเป็นขันธ์ ๖ ขันธ์ ๗ แต่นี่ไม่ใส่ไว้ ตัดเอาวิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในช่วงนี้ออกเสีย จึงเป็นขันธ์ ๕ แสดงวิญญาณไว้ข้างท้ายเท่านั้น พิจารณาดูก็เพื่อสะดวกเป็นวิปัสสนาภูมิ คือเป็นภูมิแห่งวิปัสสนา คือเป็นกรรมฐานสำหรับวิปัสสนาในอันที่จะกำหนดพิจารณาให้รู้ให้เห็นได้สะดวก เพราะว่ารูปนั้นก็เป็นของหยาบ พิจารณาได้สะดวก มาเวทนาก็นับว่าเป็นนามธรรมที่หยาบ บังเกิดขึ้นทั้งทางกายทั้งทางใจ จึงมาเป็นที่ ๒ จึงมาถึงสัญญา ถึงสังขารซึ่งเป็นส่วนนามธรรมล้วน ๆ  แล้วจึงมาวิญญาณซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียด ก็เอาคุมไว้ข้างท้าย สำหรับที่จะพิจารณาเป็นกรรมฐาน เป็นวิปัสสนาภูมิ ได้โดยสะดวก
ฉะนั้น ผัสสะจึงมีความหมายถึงความประชุมของทั้ง ๓ อย่างดังที่กล่าวนั้น เป็นอาหารของเวทนา คือเป็นปัจจัยนำผลมา คือนำให้เกิดเวทนา ความรู้เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ให้เกิดสัญญาคือความรู้จำได้ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำเรื่องราวอะไรต่าง ๆ ได้ เป็นสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดต่าง ๆ  และเมื่อคิดปรุงไปก็รู้ไปด้วยก็เป็นวิญญาณ แล้วก็วนเป็นวงกลมมาใหม่อีก ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ เป็นเรื่องของรูปและนามที่บังเกิดอยู่ในปัจจุบันของบุคคลทุก ๆ คน
โดยที่รูปนั้นก็ต้องอาศัยอาหารคือคำข้าว หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ส่วนนามก็อาศัยอาหารคือผัสสะดั่งที่กล่าวมาแล้ว ถ้าหากว่ารูปไม่ได้อาศัยอาหารคือคำข้าวก็ดำรงอยู่ไม่ได้ นามไม่อาศัยอาศัยอาหารคือผัสสะหรือสัมผัส นามก็บังเกิดขึ้นเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น อาหารคือคำข้าวจึงเป็นที่ ๑ อาหารคือผัสสะจึงเป็นที่ ๒
อาหารของกรรม
มาถึงข้อที่ ๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจ ตรัสว่าเป็นอาหารของกรรม และพระสารีบุตรก็ได้แสดงอธิบายตามพระพุทธเจ้า เพราะว่ากรรมคือการงานที่บุคคลกระทำ ทางกายก็เป็นกายกรรม ทางวาจาก็เป็นวจีกรรม ทางใจก็เป็นมโนกรรม ย่อมเกิดจากมโนสัญเจตนาคือความจงใจ จะต้องมีมโนสัญเจตนา หรือเรียกสั้นว่าเจตนา ความจงใจเป็นเหตุ จึงได้กระทำทางกายเป็นกายกรรม กระทำทางวาจาเป็นวจีกรรม กระทำทางใจเป็นมโนกรรม พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเอาไว้ว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาคือความจงใจว่าเป็นกรรม คือเป็นเหตุให้กระทำกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาคือความจงใจแล้ว จึงกระทำทางกายบ้าง กระทำทางวาจาบ้าง และกระทำทางใจบ้าง
ฉะนั้น กรรมที่บุคคลกระทำทุก ๆ อย่าง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรือบุญกรรม ไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมหรือบาปกรรม ย่อมมีเจตนาคือความจงใจ หรือมโนสัญเจตนา เป็นเหตุ คือเป็นอาหาร เป็นปัจจัยที่นำผลมา คือนำให้บังเกิดกรรม ฉะนั้น มโนสัญเจตนา หรือเจตนาคือความจงใจ จึงเป็นอาหารของกรรม นับเป็นข้อที่ ๓
วิญญาณอาหารของนามรูป
มาถึงข้อที่ ๔ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ อันวิญญาณนี้ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น ท่านเรียกว่าเป็นวิถีวิญญาณ เป็นวิญญาณในวิถี อันหมายความว่าเป็นวิญญาณที่บังเกิดขึ้นตามวิถีคือตามทาง วิถีคือทางก็คือวิถีของกายจิตนี้ที่ประกอบกันอยู่เป็นไปอยู่ อันนับแต่อายตนะภายใน อายตนะภายนอกมาประจวบกัน เป็นวิญญาณ เป็นสัมผัส เป็นเวทนา เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้ว นี้เรียกว่าเป็นวิถี คือเป็นทางแห่งความเป็นไปของกายและจิตที่อาศัยกันอยู่ ที่ประกอบกันอยู่ ที่ดำเนินไปอยู่ จึงเรียกว่าวิถีวิญญาณ
อีกอย่างหนึ่งปฏิสนธิวิญญาณ วิญญาณในปฏิสนธิ วิญญาณในปฏิสนธินี้ก็ได้แก่วิญญาณธาตุคือธาตุรู้ หรือจิตที่อาศัยอยู่ในกายนี้ ซึ่งบุคคลทุก ๆ คนนี้มีกายและจิตประกอบกันอยู่ ถ้าหากว่าไม่มีจิต กายนี้ก็ดำรงอยู่มิได้ต้องแตกสลาย เพราะฉะนั้น จึงได้มีแสดงเอาไว้ในบางพระสูตรว่า เมื่อมีชาติคือความเกิด ตั้งต้นแต่เกิดขึ้นในครรภ์ของมารดา เริ่มก่อเกิดขึ้นก็มีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งมีคำเรียกว่า คันธัพพะ คนธรรพ์ เข้ามาสู่ครรภ์ของมารดาอีกส่วนหนึ่ง มาประกอบเข้ากับส่วนประกอบที่เป็นรูป เมื่อเป็นดั่งนี้สัตว์จึงเริ่มมีชาติคือความเกิดขึ้นมา และเมื่อคันธัพพะ หรือปฏิสนธิวิญญาณเข้าสู่ครรภ์ของมารดา ในขณะที่ได้เริ่มก่อรูปขึ้น ตั้งต้นแต่เป็นกลละ และก็เริ่มเติบโตขึ้นแตกเป็น ปัญจะสาขา มีอายตนะที่บริบูรณ์ขึ้นโดยลำดับ ก็จะต้องมีปฏิสนธิวิญญาณประกอบอยู่ด้วยตลอด
ถ้าหากว่าปฏิสนธิวิญญาณ หรือว่าจิต หรือว่าคนธรรพ์ดังที่เรียกในพระสูตร พรากออกไปเสียเมื่อใด รูปที่ก่อขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั้น ก็เป็นอันว่าแตกสลาย ไม่ก่อเกิดขึ้นอีกต่อไป แม้ว่าเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์ของมารดาแล้ว กายและจิตนี้ก็ต้องประกอบกันอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณที่มาตั้งแต่ในเบื้องต้นนั้นก็ต้อง จะต้องอยู่ ถ้าหากว่าปฏิสนธิวิญญาณที่มาตั้งแต่เบื้องต้นนั้น หรือว่าจิตออกไปเสียจากร่างกายนี้เมื่อใด ร่างกายอันนี้ก็เป็นอันว่าหยุดที่จะเติบโต แตกสลายที่เรียกว่าตาย จะดำรงอยู่ต่อไปมิได้ หรือจะเรียกว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม เมื่อวิญญาณดังกล่าวไม่มีแล้ว ขันธ์ ๕ หรือรูปนามก็แตกสลาย
ได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ที่ใช้เป็นบทสำหรับพิจารณาว่า อจิรํ วัตยํ กาโย ไม่นานหนอกายนี้ ปฐวึ อธิเสสฺสติ จักนอนทับแผ่นดิน ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโน ปราศจากวิญญาณถูกทิ้ง นิรตฺถํว กลิงฺครํ ราวกับท่อนไม้ท่อนฟืนไม่มีประโยชน์ คาถาบทนี้ก็เป็นเครื่องแสดงว่ากายนี้ ทั้งรูปกายทั้งนามกาย คือขันธ์ ๕ หากปราศจากวิญญาณเสียแล้วก็จักต้องนอน หรือถูกทอดทิ้งให้นอนทับแผ่นดิน เหมือนอย่างท่อนฟืนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ กาย ทั้งรูปกาย ทั้งนามกาย หรือขันธ์ ๕ นี้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะยังมีวิญญาณ ไม่ปราศจากวิญญาณ ฉะนั้นวิญญาณนี้จึงเป็นอาหารสำคัญของนามรูป หรือของขันธ์ ๕ หรือว่าของรูปกายนามกาย เมื่อวิญญาณนี้ยังอยู่ นามรูปก็ยังดำรงอยู่ แต่เมื่อปราศจากวิญญาณเสียแล้ว นามรูปก็เป็นอันว่าแตกสลาย ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นอาหารของนามรูป เป็นข้อที่ ๔
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอาหารไว้ ๔ อย่างดั่งนี้ และพระสารีบุตรก็ได้แสดงตาม สัมมาทิฏฐิก็คือความรู้จักอาหารทั้ง ๔ เหล่านี้ ว่าคำข้าวเป็นอาหารของกาย คือของรูปกาย ผัสสะหรือสัมผัสเป็นอาหารของนาม มีเวทนาเป็นต้น มโนสัญเจตนา หรือเจตนาความจงใจ เป็นอาหารของกรรม วิญญาณเป็นอาหารของนามรูป
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
ต่อจากนี้ท่านพระสารีบุตรก็ได้แสดงอธิบาย ให้รู้จัก อาหาระสมุทัย เหตุเกิดแห่งอาหาร ก็ชี้เอาตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก สัมมาทิฏฐิก็คือความรู้จักว่าตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก เป็นเหตุแห่งอาหารทั้ง ๔ ดังกล่าว และแสดงต่อไปว่าความรู้จัก อาหาระนิโรธ คือความดับอาหาร ก็คือความรู้จักว่าดับตัณหาเสียได้ก็เป็นความดับอาหาร และปัญญาที่รู้จักดั่งนี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร
ต่อไปก็แสดงว่าปัญญาที่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ก็คือมรรคมีองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ปัญญาที่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหารดั่งนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
พิจารณาดูแนวอธิบายของท่านดั่งนี้ก็จะพึงเห็นได้ว่า เพราะตัณหานี้เองเป็น โปโนพฺภวิกา เป็นเหตุให้ถือภพถือชาติใหม่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้แสวงหาอาหาร แห่งรูปธรรม นามธรรม แห่งกรรม และแห่งวิญญาณ อยู่ตลอดไป ซึ่งเมื่อมีอาหารเหล่านี้อยู่ก็เป็นอันว่าไม่มีที่จะจบภพจบชาติ เป็นแนวอธิบายในทางดับภพดับชาติ จึ่งได้แสดงว่าตัณหาเป็นตัวสมุทัยแห่งอาหาร และดับตัณหาเสียได้ก็เป็นการดับอาหาร คือเป็นการดับภพดับชาติ และก็มรรคมีองค์ ๘ นั้นแหละเป็นทางปฏิบัติ
แม้จะกล่าวว่าท่านแสดงมุ่งในทางดับภพดับชาติ แต่ก็เป็นสัจจะคือความจริง ว่าความสืบต่อภพชาติก็เพราะมีตัณหานี้เองเป็นตัวเหตุ เพราะสัจจะคือความจริงเป็นดั่งนี้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า โลกอันตัณหาก่อขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นโลก ก็เพราะยังมีตัณหาอยู่เป็นตัวก่อให้เกิดขึ้น ดับตัณหาเสียได้ก็ดับโลก แล้วก็เป็นการดับทุกข์ เป็นสัจจะคือความจริง แต่แม้เช่นนั้นเมื่อไม่ประสงค์จะดับโลก ไม่ประสงค์จะดับตัณหา ยังต้องการโลกอยู่ ยังอยู่กับโลก ก็ปฏิบัติในการแสวงหาอาหารทั้ง ๔ นี้ โดยทางที่ชอบ เพื่อจะได้ภพชาติที่ดี ที่ชอบ ภพชาติในปัจจุบันก็เป็นภพชาติที่ดีที่ชอบมีความสุข ภพชาติต่อไปก็มีความสุข ดั่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้แสดงสัจจะคือความจริง และความที่มีปัญญารู้จักความจริงในเรื่องอาหาร ในเรื่องเหตุเกิดอาหาร ในเรื่องความดับอาหาร ในเรื่องทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ดั่งนี้แหละ คือเป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ แม้จะเป็นข้อที่จะต้องพิจารณา เรียกว่ายากขึ้นไปจากประการแรก แต่ก็สามารถจะพิจารณาให้เห็นสัจจะคือความจริงได้ และจะทำให้เข้าใจธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้แสดงว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ก็ย่อมจะมีความเห็นตรง ย่อมจะมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
-------------------------------



         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง   เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง    เพราะ
อุปาทานดับ  ภพจึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง   เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง   เพราะภพดับ
ชาติพึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง  เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะชาติดับ
ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         [๑๙๕]   ดีละ ๆ ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงสำคัญ    จงเชื่อซึ่งข้อ
นั้นไว้อย่างนั้นเถิด    พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด    จงหมด
ความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด   นั่นเป็นที่สุดทุกข์.
                                          จบปริวีมังสนสูตรที่  ๑

                                           
ทุกขวรรคที่  ๖

     

                                 
อรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑

  

         พึงทราบวินิจฉัยในปริวีมังสนสูตรที่  ๑  แห่งทุกขวรรคต่อไป.
         บทว่า ปริวีมํสมาโน  แปลว่า  เมื่อพิจารณา.  บทว่า  ชรามรณํ  ชราและ
มรณะ  ความว่า  หากถามว่า "เพราะเหตุไร ชราและมรณะข้อเดียวเท่านั้น
จึงมีประการต่าง  ๆ  หลายอย่าง.   ตอบว่า   "เพราะเมื่อจักชรามรณะนั้น
ได้แล้ว   ก็จะเป็นอันจับทุกข์ทั้งปวงได้" เหมือนอย่างว่า  เมื่อบุรุษถูกกับที่
ผมจุก    บุรุษนั้นย่อมชื่อว่าถูกจับโดยแท้      ฉันใด      เมื่อจับชราและ
มรณะได้แล้ว   ธรรมที่เหลือย่อมชื่อว่าเป็นอันจับได้โดยแท้  ฉันนั้น.
เมื่อจักชราและมรณะได้แล้วเช่นนี้      ทุกข์ทั้งปวงย่อมชื่อว่าเป็นอันจับ
หน้าที่ 245 

 ได้โดยแท้.     เพราะฉะนั้น      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า      ทุกข์นี้มี
ประการต่าง ๆ  หลายอย่างเกิดขึ้นในโลก   ดังนี้     ทรงแสดงทุกข์ทั้งปวง
เหมือนบุรุษผู้อาบน้ำแล้วยืนอยู่    ชื่อว่า  ทรงจับชราและมรณะ  เหมือนจับ
บุรุษนั้นที่ผมจุก.   บทว่า ชรามรณนิโรธสารุปฺปคามินี  ความว่า  ปฏิปทา
ชื่อว่าเป็นเช่นกันนั้นเทียว เพราะความไม่มีกิเลส  คือ  บริสุทธิ์  เป็นเครื่อง
ให้ถึงโดยภาวะสมควรแก่ความดับแห่งชราและมรณะ.   บทว่า     ตถา
ปฏิปนฺโน  จ  โหติ  ความว่า  ภิกษุอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
ผู้ปฏิบัติตามนั้นอย่างใด  ก็ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น. บทว่า  อนุธมฺมจารี
เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร  ความว่า  ประพฤติ  คือ    บำเพ็ญธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติที่ไปตามธรรม  คือ  พระนิพพาน.  บทว่า  ทุกฺขกฺขยาย
ปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์  ได้แก่ เป็นผู้ทำศีลให้เป็นเบื้องต้น
แล้วปฏิบัติเพื่อความดับแห่งทุกข์คือชราและมรณะ. บทว่า สงฺขารนิโรธาย
เพื่อความดับแห่งสังขาร ได้แก่เพื่อความดับแห่งทุกข์คือสังขาร. พระเทศนา
จนถึงพระอรหัต   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.
         บัดนี้    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการพิจารณาอรหัตผล
และธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจแล้วจึงกลับเทศนาอีก.    ถามว่า    พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำอย่างนั้น  แต่ทรงถือเอาคำว่า  อวิชฺชาคโต
บุคคลตกอยู่ในอวิชชานี้    เพราะเหตุไร.     ตอบว่า    ทรงถือเอาเพื่อทรง
แสดงวัฏทุกข์อันพระขีณาสพก้าวล่วงแล้ว.    อีกอย่างหนึ่ง      เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า  ทรงปรารภวัฏฏะตรัสถึงวิวัฏฏะ  (พระนิพพาน)  อยู่  ก็จะ
มีสัตว์ผู้จะตรัสรู้อยู่ในเรื่องนี้.   พึงทราบว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ
เอาคำนี้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของสัตว์นั้น.  ในพระบาลีนั้น  บทว่า  อวิชฺชาคโต
หน้าที่ 246 

 ตกอยู่ในอวิชชา   ได้แก่    เข้าถึง    คือ    ประกอบด้วยอวิชชา.   บทว่า 
ปุริสปุคฺคโล  บุรุษบุคคล  ได้แก่  บุคคลคือบุรุษ  พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสสมมติกถา    ด้วยคำทั้งสองนั้น.     ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีกถา
(การกล่าว)  อยู่  ๒ อย่าง  คือ   สมมติกถา ๑   ปรมัตถกถา  ๑.  ใน
กถาทั้ง ๒ นั้น  กถาที่เป็นไปอย่างนั้นคือ  สัตว์   นระ    ปุริสะ   ปุคคละ
ติสสะ  นาคะ  ชื่อว่า  สมมติกถา.  กถาที่เป็นไปอย่างนี้คือ  ขันธ์ทั้งหลาย
ธาตุทั้งหลาย   อายตนะทั้งหลาย   ชื่อว่า    ปรมัตถกถา.   พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย  เมื่อจะทรงกล่าวปรมัตถกถา   ย่อมทรงกล่าวไม่ทิ้งสมมติทีเดียว.
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   เมื่อทรงกล่าวสมมติก็ดี    เมื่อทรงกล่าวปรมัตถ์ก็ดี
ย่อมทรงกล่าวเรื่องจริงเท่านั้น.  ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
                     "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเมื่อจะตรัส
              (เรื่องใด ๆ)    ได้ตรัสสัจจะ  (ความจริง)  ๒  คือ
              สมมติสัจจะ  ๑  ปรมัตถสัจจะ ๑.  ใคร ๆ ย่อมไม่ได้
              สัจจะที่  ๓  (เพราะไม่มี).   การกล่าวถึงสิ่งที่รู้   ชื่อ
              สมมติสัจจะ  เพราะเหตุที่เป็นโลกสมมติ   (สิ่งที่
              ชาวโลกรู้).   ส่วนการกล่าวถึงประโยชน์   อย่างยิ่ง
              อันเป็นลักษณะจริงของธรรมทั้งหลาย   ชื่อปรมัตถ-
              สัจจะ"
         บทว่า  ปุญฺ?ญฺเจ    สงฺขารํ  ถ้าสังขารเป็นบุญ  ได้แก่   ปุญญาภิสังขาร
อันต่างด้วยเจตนา  ๑๓.  บทว่า  อภิสงฺขโรติ  ปรุงแต่ง  ได้แก่  กระทำ.
ข้อว่า  ปุญฺญูปคํ  โหติ   วิญฺ?าณํ  วิญญาณย่อมเข้าถึงบุญ  ได้แก่  กัมม-
วิญญาณย่อมเข้าถึง   คือ  ประกอบพร้อมด้วยกุศลกรรม.   แม้วิปากวิญญาณ
หน้าที่ 247 

 ก็ย่อมเข้าถึง คือประกอบพร้อมด้วยกุศลวิบาก. บทว่า  อปุญฺ?ญฺเจ  สงฺขารํ 
ถ้าสังขารที่เป็นบาป"    ได้แก่    อปุญญาภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา  ๑๒.
บทว่า   อาเนญฺชญฺเจ  สงฺขารํ  ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชา ได้แก่  อเนญชา-
ภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา  ๔.  บทว่า  อาเนญฺชูปคํ  โหติ  วิญฺ?าณํ
วิญญาณย่อมเข้าถึงอเนญชา  ได้แก่  กัมมวิญญาณย่อมเข้าถึง   คือ ประกอบ
พร้อมด้วยกรรมที่เป็นอเนญชา      วิปากวิญญาณย่อมเข้าถึง     ด้วยวิบากที่
เป็นอเนญชา.   ปัจจยาการซึ่งมี  ๑๒  บท  ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอาแล้วแล  เพราะค่าที่ได้ทรงถือเอากัมมาภิสังขาร  ๓  ในพระสูตร
นี้.  วัฏฏะเป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.
บัดนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน
จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ในกาลใดแล"   เป็นอาทิ.  ในพระบาลี
นั้น  บทว่า  อวิชฺชา   แปลว่า   ความไม่รู้ในอริยสัจ  ๔.   บทว่า  วิชฺชา
ได้แก่  อรหัตมรรคญาณ.  และในพระบาลีนี้  มีอธิบายว่า    "เมื่อละอวิชชา
ได้ก่อนแล้วนั่นแหละ     วิชชาจึงเกิดขึ้น.    เหมือนอย่างเมื่อมีความมืดอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘   จะละความมืดได้ก็ด้วยการจุดประทีปให้ลุกโชติช่วง
ฉันใด    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น.   ก็พึงทราบว่าเป็นอันละอวิชชาได้    ฉันนั้น.   
บทว่า  "ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ  ในโลก"  ได้แก่ ไม่ยึดมั่น คือ ถือมั่นธรรม
อะไร ๆ ในโลก.   บทว่า  "เมื่อไม่ยึดมั่น   ก็ไม่สะดุ้งกลัว"     อธิบายว่า
เมื่อไม่ยึดมั่น  เมื่อไม่ถือมั่น  ก็ย่อมไม่สะดุ้งเพราะตัณหา   ไม่สะดุ้งเพราะ
กลัว   ความว่า ย่อมไม่อยาก ไม่กลัว.  บทว่า    "เฉพาะตัวเท่านั้น"   ได้แก่
ย่อมปรินิพพานด้วยตนเองเท่านั้นแหละ      ไม่ปรินิพพานเพราะอานุภาพ
ของผู้อื่น.
หน้าที่ 248 

          ถามว่า      เพราะเหตุไร     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำนี้ว่า 
ภิกษุนั้น    ถ้าเสวยสุขเวทนา.     ตอบว่า    ทรงเริ่มเพื่อแสดงการพิจารณา
ของพระขีณาสพแล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่เนืองนิจ.    บทว่า  "อันตนไม่
ยึดถือแล้วด้วยตัณหา"    คือ    อันตนไม่กล้ำกลืนเก็บยึดถือไว้ด้วยตัณหา.
ถามว่า    เมื่อเป็นเช่นนี้     เพราะเหตุใด     จึงตรัสถึงทุกขเวทนา.     ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่หรือไร.   ตอบว่า  ใช่    ยังมีอยู่   เพราะ
ผู้ที่เพลิดเพลินความสุขอยู่นั่นแหละ    ชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์    เพราะ
ผู้ถึงทุกข์ปรารถนาความสุข  และความสุขก็กลายเป็นทุกข์เพราะปรวนแปร.
บทว่า  "ที่ปรากฏทางกาย"  คือ  กำหนดได้ด้วยกาย.  อธิบายว่า   กาย
คือทวาร   ๕   ยังเป็นไปอยู่ตราบใด   บุคคลย่อมเสวยเวทนาทางทวาร  ๕
ที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น.     บทว่า      "ที่ปรากฏทางชีวิต"       ได้แก่
กำหนดได้ด้วยชีวิต.  อธิบายว่า    ชีวิตยังเป็นไปอยู่ตราบใด    บุคคลย่อม
เสวยเวทนาทางมโนทวารที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น.
         บรรดาเวทนาทั้งสองนั้น       เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๕      เกิด
ขึ้นที่หลัง   แต่ดับก่อน.   เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร  เกิดขึ้นก่อน  แต่
ดับทีหลัง.  ก็ในขณะปฏิสนธิ  เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารนั้น  ย่อมตั้ง
อยู่ในวัตถุรูปเท่านั้น.    ในปวัตติกาล  เวทนาที่เป็นไปทางทวาร  ๕  เป็น
ไปอยู่ด้วยอำนาจทวาร   ๕.   ในเวลาที่คนมีอายุ  ๒๐   ปี  เป็นต้นในปฐมวัย
ย่อมมีกำลังแรงยิ่ง   ด้วยอำนาจความรัก  ความโกรธ  และความหลง, ในเวลา
ที่คนมีอายุ  ๕๐ ปีย่อมคงที่ จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ  ๖๐  ปี  ก็จะเสื่อมลง,
ครั้นถึงเวลาที่คนมีอายุได้  ๘๐-๙๐  ปี   ก็จะอ่อนลง  (ในที่สุด)  ใน
หน้าที่ 249 

 ครั้งนั้น   (คือในเวลาที่มีอายุ  ๘๐-๙๐  ปี)  เมื่อพวกชนกล่าวว่า    พวก
เรานั่งนอนรวมกันเป็นเวลานาน   สัตว์ทั้งหลายกล่าวว่า    พวกเราไม่รู้สึก
คือย่อมกล่าวถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้นแม้มีประมาณยิ่งว่า  เราไม่เห็น   ไม่ได้
ยิน  คือไม่รู้ว่า  กลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น     ดีหรือไม่ดี    แข็งหรืออ่อน.
เวทนาอันเป็นไปทางทวาร  ๕   ของชนเหล่านั้นย่อมเป็นอันแตกแล้วอย่าง
นี้.  ส่วนเวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่.   เวทนาแม้นั้น    เมื่อ
เสื่อมไปโดยลำดับ     ย่อมอาศัยที่สุดแห่งหทัยนั่นแหละเป็นไปในเวลา
มรณะ.  อนึ่ง  เวทนานั้น   ยังเป็นไปอยู่ตราบใด  ก็พูดได้ว่า  สัตว์ยังมี
ชีวิตอยู่ตราบนั้น.   เมื่อใด  เวทนานั้นไม่เป็นไป  เมื่อนั้น   เรียกว่าสัตว์ตาย
คือดับ.
         ความข้อนี้   พึงแสดง    (เปรียบเทียบ)  ด้วยสระ.    เหมือนอย่าง
บุรุษก่อสร้างสระให้สมบูรณ์ด้วยทางน้ำ  ๕ สาย.  เมื่อฝนตกลงมาครั้งแรก
น้ำพึงไหลไปตามทางน้ำทั้ง  ๕  สายจนเต็มบ่อภายในสระ     ครั้งฝนตกอยู่
บ่อย ๆ น้ำพึงขังเต็มทางน้ำ  ไหลลงสู่ทางประมาณคาวุตหนึ่งบ้าง  กึ่งโยชน์
บ้าง น้ำที่หลากมาแต่ที่นั้น ๆ ครั้นเขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานในนา
น้ำก็ไหลออกไป.  ในเวลาที่ข้าวกล้าแก่ น้ำก็ไหลออก. น้ำแห้งถึงการที่ควร
กล่าวว่า  เราจะจับปลา.   จากนั้นอีก  ๒-๓  วัน   น้ำก็ขังอยู่ในบ่อนั่นเอง.
และถ้าในบ่อยังมีน้ำขังอยู่ตราบใด   ก็ย่อมจะนับได้ว่า   ในสระใหญ่
มีน้ำอยู่ตราบนั้น.      แต่ถ้าน้ำในบ่อนั้นแห้งเมื่อใด    เมื่อนั้น  ก็พูดได้ว่า
ในสระไม่มีน้ำ  ฉันใด   พึงทราบข้อเปรียบเทียบ  ฉันนั้น.  เวลาที่เวทนา
อันเป็นไปทางมโนทวาร   ตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิครั้งแรกนั่นเอง
เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่ครั้งแรก  น้ำไหลเข้าไปตามทาง  ๕  สาย    บ่อก็
หน้าที่ 250 

 เต็ม.   เมื่อเจตนาทางมโนทวารเป็นไปแล้ว     ความเป็นไปแห่งเวทนาทาง
ทวาร  ๕   เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่บ่อย  ๆ ทาง  ๕  สายก็เต็ม.    ภาวะที่
เวทนาอันเป็นไปทางทวาร  ๕  นั้นมีกำลังมากยิ่ง        ด้วยอำนาจความรัก 
เป็นต้นในเวลาที่คนมีอายุ  ๒๐  ปี ในปฐมวัย    เหมือนน้ำที่ท่วมท้นทาง
ตั้งคาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ น้ำยังไม่ไหลออกจากสระตราบใด  เวลาที่เวทนา
นั้นตั้งอยู่ในเวลาที่คนมีอายุ  ๕๐  ปี     เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่ในสระเก่า
ตราบนั้น.   ความเสื่อมแห่งเวทนานั้น     จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ  ๖๐  ปี
เหมือนเวลาที่เขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานอยู่   น้ำก็ไหลออก.    เวลา
ที่เวทนาอันเป็นไปทางทวาร ๕ อ่อนลง   ในเวลาที่คนมีอายุ  ๘๐- ๙๐  ปี
เหมือนเวลาเมื่อฝนตกแล้ว   น้ำทรงอยู่โดยรอบในทางน้ำ.    เวลาที่เวทนา
อันเป็นไปทางมโนทวาร      อาศัยที่สุดแห่งหทยวัตถุเป็นไป       เหมือน
เวลาที่น้ำทรงอยู่ในบ่อนั่นเอง.    ความเป็นไปนั่นเหมือนเวลาเมื่อให้สระมี
น้ำอยู่แม้เพียงนิดหน่อย    ก็ควรกล่าวว่า    ในสระมีน้ำอยู่ตราบใด    เมื่อ
เวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่    ก็ย่อมกล่าวได้ว่า    สัตว์ยังมี
ชีวิตอยู่ตราบนั้น.      อนึ่ง  เมื่อน้ำในบ่อแห้งขาดไป        ย่อมกล่าวได้ว่า
ไม่มีน้ำในสระ  ฉันใด     เมื่อเวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารไม่เป็นไปอยู่
สัตว์ก็เรียกว่า   ตายแล้วฉันนั้น.   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเวทนา
นี้   (เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร )  จึงตรัสว่า  "ภิกษุเสวยเวทนาอันมี
ชีวิตเป็นที่สุดรอบ."  คำว่า  "กายสฺส   เภทา  เพราะความแตกแห่งกาย"
ได้แก่   เพราะความแตกแห่งกาย.  บทว่า  ชีวิตปริยาทานา   อุทฺธํ   ได้แก่
หลังจากการสิ้นชีวิต.  บทว่า  "อิเธว  ในโลกนี้แล"  คือในโลกนี้แหละ
เพราะมาข้างหน้าด้วยอำนาจปฏิสนธิ.    บทว่า "สีตีภวิสฺสนฺติ   จักเป็น
หน้าที่ 251 

 สิ่งที่เย็น"  ความว่า  เป็นสิ่งที่เว้นจากความดิ้นรนและความกระวนกระวาย
จึงชื่อว่า      เป็นสิ่งที่เย็น  คือ  มีความไม่เป็นไปเป็นธรรมดา.     บทว่า
สรีรานิ   ได้แก่   สรีรธาตุ.        บทว่า  "อวสิสฺสนฺติ     จักเหลืออยู่"
ได้แก่   จักเป็นสิ่งที่เหลืออยู่.                                                   
         บทว่า  "กุมฺภการปากา   จากเตาเผาหม้อ  ได้แก่   จากที่เป็นที่
เผาภาชนะของช่างหม้อ.  บทว่า    "ปติฏฺ€เปยฺย  วางไว้"  ได้แก่  ตั้งไว้.
บทว่า   "กปลฺลานิ   กระเบื้องหม้อ"  ได้แก่   กระเบื้องหม้อที่เนื่องเป็น
อันเดียวกันพร้อมทั้งขอบปาก.     บทว่า  "อวสิสฺเสยฺยุํ     พึงเหลืออยู่"
ได้แก่  พึงตั้งอยู่.    ในคำว่า   "เอวเมว  โข"  นี้    มีข้อเปรียบเทียบ
ด้วยอุปมาดังนี้  ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนเตาเผาหม้อที่ไฟติดทั่วแล้ว.     พระ
โยคาวจรเหมือนช่างหม้อ.   อรหัตมรรคญาณเหมือนไม้ขอที่ใช้เกี่ยวภาชนะ
ของช่างหม้อออกมาจากเตาเผา.        พื้นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เหมือนภาคพื้นที่เรียบเสมอ.  เวลาที่พระโยคาวจรผู้ปรารภวิปัสสนา   เห็น
แจ้งหมวด  ๗  แห่งรูปและหมวด  ๗  แห่งอรูป       เมื่อกัมมัฏฐานปรากฏ
คล่องแคล่วแจ่มแจ้งอยู่    ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นเห็นปานนั้น     นั่งอยู่บน
อาสนะเดียว   เจริญวิปัสสนา  บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ    ยกตนขึ้น
จากอบาย  ๔     แล้วดำรงอยู่ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ   อันไม่มีปัจจัย
ปรุงแต่งด้วยอำนาจผลสมาบัติ   พึงเห็นเหมือนเวลาที่ช่างหม้อเอาไม้ขอเกี่ยว
หม้อที่ร้อนมาแล้ว วางหม้อไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ.   ส่วนพระขีณาสพไม่
ปรินิพพานในวันบรรลุพระอรหัต  เหมือนหม้อที่ยังร้อนฉะนั้น  แต่เมื่อจะ
สืบต่อประเพณีแห่งศาสนาก็ดำรงอยู่ถึง  ๕๐-๖๐  ปี  ย่อมปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ   เพราะความแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์  เพราะถึง
หน้าที่ 252 

 จิตดวงสุดท้าย   เมื่อนั้น  สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลือ
อยู่   เหมือนกระเบื้องหม้อแล.  ก็คำว่า  สรีรานิ   อวสิสฺสนฺตีติ     ปชานาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.
         บทว่า "วิญฺ?าณํ   ปญฺ?าเยถ  วิญญาณพึงปรากฏ"  ได้แก่
ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ.     บทว่า "สาธุ  สาธุ  ดีละ ๆ"  ได้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ.         บทว่า
เอวเมตํ  ความว่า  คำว่า  เมื่ออภิสังขาร  ๓  อย่างไม่มี   ปฏิสนธิวิญญาณ
ก็ไม่ปรากฏเป็นต้น.  คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน.    บทว่า   อธิมุจฺจถ
ได้แก่  จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ.  ข้อว่า "เอเสวนฺโต
ทุกฺขสฺส   นั่นเป็นที่สุดทุกข์"    ได้แก่    นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ
คือ นี้เป็นข้อกำหนด  ได้แก่  พระนิพพาน.
                                จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑


-----------
  [๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคาร
มารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะ
โมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่าง
ของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ
กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบ
เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ
คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ
ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง
หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ
หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจ
หรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ
โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ
             [๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ
             [๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย
ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม
อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์เถิด ฯ
             [๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ
จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้
เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย
จักมีแก่เรา ฯ
             [๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต
ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว
ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ
             [๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้
ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ
             [๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ
อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา
ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน-
*มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ  มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
             [๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ
สัมปชัญญะ ฯ
             [๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล-
*ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม
ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก
รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง
พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน
เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ
โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ
ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             [๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
             ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา
จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์
แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด
ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด
กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์
พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมือง
ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดย
สวัสดี ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์
ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอัน
ท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม
คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ
             ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า
เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ
             [๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็
ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา
อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ
สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้
ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ
             [๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค-
*คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่
ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา
เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ
กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก
คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี
ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน
เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง
ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ
มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน
ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว
มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ
ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่
มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น
จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
-----------------------------------
กรรมวาจากฐิน
คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง,กะฐินจะจีวะระทุสสัง,
สังฆัสสะ, โอโณชะยามะ,สาธุ โน ภันเต,สังโฆ, อิมัง,
สะปะริวารัง,กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ,
ปะฏิคคะเหต๎วา จะ,อิมินา ทุสเสนะ,กะฐินัง,อัตถะระตุ
, อัมหากัง,ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้า
ทั้งหลาย รับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้
เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
สิ้นกาลนาน เทอญ.
คำอปโลกน์กฐิน
รูปที่ 1
ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอนิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ
…… พร้อมด้วย…….ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะ
พร้อมเพรียงกันนำมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้
อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
ก็แล ผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมา
โดยนภากาศแล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะ
ได้จำเพาะเจาะจงลงว่า เป็นของภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า
ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อ
จะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต
และมีคำพระอรรถกถาจารย์
ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูป
ใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ
รู้ธรรม 8 ประการ มีบุรพกิจเป็นต้น ภิกษุรูปนั้น
จึงสมควรเพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ
ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด
จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ. (ไม่
ต้องสาธุ)
รูปที่ 2
ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่…..เป็นผู้มีสติปัญญา
สามารถ  เพื่อกระทำกฐินนัตถารกิจให้ ถูก
ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูป
ใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ (
หยุดรอครู่หนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร์ จง
ให้สัททสัญญา สาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.(สาธุ
พร้อมกัน)
แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ,อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง
อุปปันนัง,ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง,สังโฆ อิทัง
สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อาย๎สมะโต อิตถันนามัสสะ
ทะเทยยะ,กะฐินัง อัตถะริตุง,เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ,อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง
อุปปันนัง,สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อาย๎สมะโต
อิตถันนามัสสะ เทติ,กะฐินัง อัตถะริตุง,
ย๎สสายัส๎มะโต ขะมะติ, อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสะ,
อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ ทานัง,กะฐินัง อัตถะริตุง,
โส ตุณ๎หัสสะ,ยัสสะ นักขะมะติ,โส ภาเสยยะ.
ทินนัง อิทัง สังเฆนะ,กะฐินะทุสสัง อายัส๎มะโต
อิตถันนามัสสะ กะฐินัง อัตถะริตุง,ขะมะติ สังฆัสสะ,
ตัส๎มา ตุณ๎หี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้น
แล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน
นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ผ้ากฐินผืนนี้เกิดขึ้นแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้
แก้ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐินการให้ผ้ากฐินผืนนี้
แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ย่อมชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ
ผู้มีชื่อนี้เพื่อจะกรานกฐินย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
(คำว่า อิตถันนามัสสะ ใช้เปลี่ยนตามชื่อของภิกษุ
ผู้รับกฐิน เช่น ขันติธัมโม เปลี่ยนเป็น ขันติธัมมัสสะ
ถ้าภิกษุนั้นอ่อนกว่าผุ้สวด ต้องตัดอายัส๎มะโต
ออกเสีย แล้วเติมภิกขุโน ต่อท้ายคำ อิตถันนามัสสะ
เช่น อายัส๎มะโต อิตถันนามัสสะ เปลี่ยนเป็น
อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน)
คำกรานกฐิน
ผ้าสังฆาฏิ  อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ.
ผ้าอุตตราสงค์ อิมานา อุตตะราสังเฆนะ กะฐินัง
อัตถะรามิ.
ผ้าอันตรวาสก อิมานา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง
อัตถะรามิ.
คำอนุโมทนากฐิน
อันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี
กล่าวอย่างนี้ว่า
“อัตถะตัง อาวุโส (ภันเต) สังฆัสสะ กะฐินัง,ธัมมิโก
กะฐินัตถาโร, อะนุโมทะถะ.ท่านเจ้าข้า
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม
ขอท่านทั้งหลาย อนุโมทนาเถิด.”
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า
“อัตถะตัง ภันเต (อาวุโส) สังฆัสสะ กะฐินัง, ธัมมิโก
กะฐินัตถาโร, อะนุโมทามะ. ผู้มีอายุ
กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลาย อนุโมทนา.” Source)
at java.lang.Thread.run(Thread.java:1019)
)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น