วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

แมวดำ หัวเหมือนถูกอะไรฟัน หูขาดเป็นสองซีกน่ากลัวหนอ วิบาก ผลของกรรม

แมวดำ หัวเหมือนถูกอะไรฟัน หูขาดเป็นสองซีก

น่ากลัวหนอ วิบาก ผลของกรรม
_________
หลังจากตื่นนอน
จิตจะมีกำลังในการเจริญปัญญา
เห็นไตรลักษณ์ เห็นวิญญาณเกิดดับ

#อ๋อ เข้าใจแล้วว่าทำไม่ต้องทำสมาธิ


#
สิ่งที่ดึงไว้ 
คือ งานทำงานพิมพ์เอกสาร อยู่เป็นเลขา (ขาดสติ)

การงานที่มาก เป็นการงาน ที่ขัดขวางการทำสมาธิ (อยู่คลุกคีด้วยหมู่คณะ)


พระบวชเข้ามาแล้ว ถ้าชาวบ้านเอาการมาให้ทำมาก
พระจิตจะไม่ว่าง จะไม่เห็นสภาวะเบาว่าง
จะเจริญสติไม่ได้ง่าย หรือแทบไม่ได้

ดูทีวีก็จิตก็ไม่ว่าง
การงานมากจิตก็ไม่ว่าง

#นอกจากผู้เข้าถึงผู้รู้แล้ว
จะการงานกวาดมากแบบทำผู้เดียว จะไม่กระทบ
_________
ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา..

ร่างกายที่เป็นตัวเป็นตนอยู่นี่
นั่งยืนเป็นตัวเป็นตนอยู่นี่
ไม่ใช่ของเรา

ขอให้ลองพิจารณาความจริง
ก็ถ้าร่างกายที่เป็นตัวเป็นตนอยู่นี่
มีขึ้นมาตั้งอยู่นี่ มาจากไหน

มาจาก อาหาร

ย้อนไปอีก
มาจาก อาหารที่มารดาบิดาป้อน

ย้อนกลับเข้าไปอีก อยู่ในอวัยวะเพศแม่ อยู่ในลำไส้แม่

ก่อนจะออกมาจากลำไส้แม่
ก็อยู่ด้วยอาหารที่แม้กิน

ก่อนจะอยู่ด้วยอาหารที่แม่กินละ

เป็นตัวอ่อนมีสัตะวิญญาณตั้งอยู่แล้ว

ก่อนจะมีวิญญาณมาปฏิสนธิเกิดตั้งยังลงในครรณ์มารดาละ


ในรูปธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ บิดามารดากำลังร่วมกันมีเพศสัมพันธ์
ดินไฟธาตุของบิดา
ลมน้ำธาตุของมารดา
กำลังเชี่ยวกัน

สัตตะวิญญาณดวงสุดท้ายดับจากจากภพอื่น



แล้วก็จะรู้จะเห็นแล้วว่า ร่างกายนี้มีแต่อาหาร
ร่างอาหาร
ในธาตุอาหาร มี ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ 

แล้วส่วนนามมาร่วม
เวทนา สัญญา สังขาร 

และตัวรู้ คือวิญญาณ ๕


ก็จะเห็นและรู้ว่า ร่างกายอาหารนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแน่นอน

ทั้งนาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร
ก็ไม่ใช่ของเรา

เพราะมีนามรูป จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ จึงมีนามรูป

นาม๓ เวทนา สัญญา สังขาร
นาม๑ วิญญาณ

แสดงว่า
รูปธาตุ๔ มีเหตุให้เกิด นาม๓ เวทนา สัญญา สังขาร 
(เพราะมีนามรูปจึงมีวิญญาณ)

จึงมีวิญญาณ มาตั้งปฏิสนธิ
มาร่วมกับนามรูป


วิญญาณที่เกิดนี่มาจากไหน

มาจาก..ภพอื่น
วิญญาณดับจากภพอื่นมา-
________
ก็ไม่ต่างจาก นักสุราเมา
เรียราดไม่ได้หลักได้ฐาน


ขนาดเวลาแบ่งไว้แล้ว

ยังทำไม่ได้ตามที่จัดไว้เลย


#ถ้าอึดอัดจากการรู้ลมหายใจ
ให้คิดบ้างก็ได้ เช่นคิดถึงความตายให้มันสงบ

หลวงปู่เหรียญ

**ทันใดนั้นก็ความคิดผึดขึ้นมาว่า

รู้ลมแล้วอึดอัด ให้คิดพิจารณากายภายใน ตับใต ไส้พุง กระดูก
พอจิตสงบแคบเข้ามามันจะรู้ลมเอง
_____________
ท่าเรือสุปาระกะ

ในสุณาปะรันตะชนบท
คือประเทศไทยในปัจจุบัน
_________
ถ้าพอใจร่างกายตนเองว่าผิวสวย
ผิวขาว สมส่วน ลักษณะรูป ดี

=ก็เท่ากับ อาการของจิตคือ พอใจกรรมวิบาก

เพราะร่างกายมาจากกรรมวิบาก

และถ้าเกลียดร่างกาย
ไม่พอใจร่างกายว่ามัน ไม่สวย
ก็เพราะอาการของจิตเหมือนกัน

ต้องรู้อาการของจิต
_______
ฝากจากออมสิน เข้า BBL 
ค่าธรรมเนียม 50 บาท



ฝากจากธนาคาร BBL เข้า BBL สะสมทรัพย์ (ระวังสะสมกิเลส)

ฟรี
________"
ถาม – เวลาคนอื่นขอยืมเงินเรา เราให้เขายืม แต่พอเรามีปัญหา แม้เงินเราเองเราขอทวงคืนเขาก็บอกจะผ่อนให้ แต่ผ่อนได้เดือนเดียวก็ยังไม่ให้อีก เลยมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อเขา จะมีวิธีทำใจอย่างไร ที่จะไม่คิดร้ายกับเขา และยังอยากได้เงินคืน ถ้าไม่ได้คืนจะทำใจอย่างไร ไม่ให้เป็นทุกข์? 



เพื่อความสบายใจ เวลาผมให้เงินใครผมไม่คิดว่าให้ยืม แต่คิดว่าให้เลย ถ้าไม่ให้ก็แปลว่าไม่มีจะให้ หรือรู้สึกว่าเกินกว่าจะให้ คนเราถ้าเดือดร้อนหน้าแห้ง ขนาดมีประวัติต้องตระเวนขอหยิบขอยืมจากใครๆ ล้วนแล้วแต่ออกแนวนี้แหละครับ พอยืมได้ล่ะก็ แม้จะมีใช้คืนแล้ว แต่ก็นึกเสียดาย กั๊กไว้ในกระเป๋าตัวเองอยู่ดี ด้วยความคิดว่าคนอื่นคงมีพอกินพอใช้ แบ่งๆให้ตนแค่นี้คงไม่เป็นไร 

ที่คิดอย่างนั้นได้เพราะอะไร? เพราะความตระหนี่และความโลภลวงใจให้เขาสำคัญผิด รู้สึกว่าเงินในกระเป๋าเขาก็ต้องเป็นเงินของเขา คุณให้เขาแล้วก็ต้องเป็นสิทธิ์ของเขาแล้ว จำเป็นอะไรที่เขาต้องสละเงินตัวเองให้กับคุณ แม้คุณจะอ้างว่าเป็นเจ้าของเก่าก็ตาม กรณีของคุณถือว่าโชคดีแล้วที่เขาใช้คืนมาก้อนหนึ่ง ส่วนใหญ่ไปแล้วไปลับไม่กลับคืนมาทั้งก้อน 

บาปกรรมประเภทยืมแล้วไม่คืนนี้ ทุกคนเคยๆทำกันมาทั้งนั้น เพราะธรรมชาติของกิเลสมันเป็นอย่างนี้เสมอ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต คุณไม่ทำตอนแก่ก็อาจจะเคยทำตอนหนุ่มสาว หรือถ้าไม่ทำตอนหนุ่มสาวก็อาจทำตอนเด็ก หรือถ้าไม่ทำตอนเด็กก็อาจทำตอนเป็นคนแก่ในชาติที่แล้ว ฯลฯ ฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าชั่วชีวิตแต่ละคนต้องโดนกันสักครั้ง 

ว่าไปแล้ว โทษอันเกิดจากการชักดาบ ยืมเงินแล้วไม่คืนนั้น อาจหนักหนาเสียยิ่งกว่าการขโมยซึ่งๆหน้า เพราะโจรที่ปล้นเงินตรงไปตรงมา มีจิตคิดเอาของคนอื่นไปเป็นของตนโดยไม่ตั้งใจคืน ส่วนคนยืมเงินเพื่อนนั้น นอกจากคิดเอาไปไม่ใช้คืนแล้ว ยังต้องด้านทนเวลาเขาทวงคืน เท่ากับต้องพอกพูนความตระหนี่ให้ทวียิ่งๆขึ้นไปอีก 

ความตระหนี่เป็นเหตุให้อัตคัด ส่วนการฉ้อโกงเป็นเหตุให้ทรัพย์พินาศ พวกยืมเงินแล้วไม่คืนทั้งที่มีพอจะคืนนั้น ได้ชื่อว่าทั้งตระหนี่ทั้งฉ้อโกง ในอนาคตนอกจากยากจนยังโดนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด มีเหตุให้ทรัพย์พินาศเนืองๆ ส่วนในชาติปัจจุบันบาปอาจพัฒนาตัวเอง ทำให้หน้ามืดตามัว เห็นผิดเป็นชอบ รู้สึกเหมือนตนเองจนตรอกอยู่ตลอดเวลา แรกๆก็ตากหน้ายืมญาติด้วยความเขินอาย ต่อมาก็ยืมเพื่อน ยืมแฟน พอทุกคนบอกศาลากันหมด ไม่เหลือใครให้ยืมอีกแล้ว ก็ยกระดับขึ้นสู่วิชาชีพคดโกงขั้นต่อๆไป 

เมื่อคิดได้อย่างนี้ ก็หันมาเปรียบเทียบกับตัวเอง บอกตัวเองว่ายังดีที่คุณเป็นฝ่ายถูกโกง ไม่ใช่คุณไปโกงเขา คุณไม่ได้สร้างเหตุแห่งความอัตคัด เพราะคุณเป็นฝ่ายสละความตระหนี่ และคุณก็ไม่ได้สร้างเหตุให้ทรัพย์พินาศ เพราะคุณไม่ได้ฉ้อโกงใคร 

ส่วนที่ทรัพย์พินาศไปด้วยการโดนยืมแล้วชักดาบ อันนั้นก็ให้ถือเป็นการลงโทษของกรรมเก่าที่เคยไปทำใครเขามา อภัยได้ก็ถือว่าหมดเวรกัน คนเราถ้าเจ็บแค้นแล้วสามารถอภัย นึกปรารถนาดีกับผู้ทำให้เจ็บแค้นได้ ก็จะลิ้มรสเมตตาที่อร่อยกว่าปกติ แล้วมีกำลังใจที่จะทำดีด้านอื่นๆตามมาอีกมาก 

หากพยายามทำใจแล้วอภัยไม่ได้ ก็ลองทำบุญใหญ่ ถวายสังฆทานหรือเลี้ยงอาหารเด็กหรือคนชราตามสถานสงเคราะห์ดู คำแนะนำนี้เหมือนจะให้จ่ายเพิ่ม ไม่ได้เงินคืนแล้วยังเสียเงินอีก แต่ขอให้ลองเถิด ลองคิดว่าเราบวกเงินเพิ่มเข้าไปจากที่เสีย รวมกันเพื่อเจตนาสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เท่านี้คุณจะรู้สึกว่าเงินที่เสียไปทั้งหมดล้วนเพื่อทำทาน อย่างน้อยใจคุณต้องสบายขึ้นเป็นกอง และหากฟลุกๆ ลูกหนี้ยังมีความละอายอยู่บ้าง ก็อาจถูกข่ายคลื่นแห่งมหาทานของคุณเข้าท่วมทับ รุ่งขึ้นกลับใจโทร.มาขอคืนเงินเห็นทันตา 

แต่ถ้าเกินจะอภัย ยกเงินให้เฉยๆไม่ไหว และทำอย่างไรเขาก็ไม่คืน เช่นนั้นคงต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรมแบบโลกๆกันต่อไป ซึ่งนั่นก็พ้นขอบเขตที่ผมจะให้คำแนะนำ บอกได้แต่เพียงว่าจะทำอะไรขอให้มีโทสะเจืออยู่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็แล้วกันครับ 

โดย ดังตฤณ
_______________
เพื่อนบางคน ไม่ได้เป็นเพื่อนกันแค่ในชาตินี้ชาติเดียว
แต่เป็นเพื่อนกันมาแล้วในชาติอดีต
ก็เคยเป็นเพื่อนกันมาแล้ว

บ้างก็เป็นเพื่อนที่ดีเกื้อช่วยเหลือกันกัน(พระสูตรมิตรแท้)
(พระสูตรมิตรเทียม)
(พระสูตรเจ้ากรรมนายเวร)

บางครั้งก็เป็นเพื่อนเวร(เจ้ากรรมนายเวรแบบเพื่อน) มาเป็นเพื่อน

จนสงสัยว่า เพื่อนอะไร จะทำแบบนี้กับเพื่อนได้ลง"

จนเป็นทุกข์น้อยใจอยู่ฝ่ายเดียว

#ธรรมชาติกรรม
ตัดสินให้ผลเที่ยงแท้ ไม่มีลำเอียง

จนบอกว่า มันสมควรแล้วแหละ
ถ้าหากหนีไปที่อื่น ก็เจออีกแบบหนึ่ง "หนีเสือปะจระเจ้"

"เหมือนหมาตัวหนึ่ง กำลังใช้กรรมป่วยเป็นโรคใกล้จะตาย 
แต่เจ้าของหมามีความสงสาร ไม่อยากให้ทรมาณ จึงช่วยให้มันตายอย่างเร็ว ฆ่ามันตายใช้เวลาไม่ถึงครึ่งนาที

แล้วหมาตัวนั้นก็ตาย
ไปเกิดเป็นหมาอีก

แทนที่หมาตัวนั้นจะได้ใช้กรรมให้หมด ในส่วนนั้น
แต่ต้องไปเกิดเป็นหมาอีกเพราะยังมีเชื้อกรรมเหลือเศษกรรมให้ต้องไปเกิด"

ถ้าเจ้าของหมาปล่อยให้มันตายตามกรรมของมันเอง
ชาตินั้นของมันก็จะพ้นความเป็นหมา ไปเกิดเป็นคน

เปรียบเสมือน เจอเพื่อนที่เป็นเจ้ากรรม
แล้วลาออกย้ายหนี หนีจากเพื่อนเจ้ากรรม
 ไปเรียนโรงเรียนใหม่
ไปทำงานที่ใหม่

ก็ต้องเจออีกเจ้ากรรมอีกแบบหนึ่ง
_________
ลำพังเขาเกิดมาเห็นผิด(ไม่รู้) เป็นมิจฉาทิฐิ ก็น่าสงสารอยู่แล้ว

ฉไนเลย เราจะไม่พูดให้เขาเห็นผิด เข้าใจผิด มากกว่านี้
________
ทำไมคนต้องมองตรงหน้ากัน. 
_______
มิจฉาทิฐิกำลังเจริญ

คนจะเห็นผิดเป็นชอบ
เห็นอสาระเป็นสาระ

น่าสลดสังเวส
_________
ระหว่างที่รอบวช
ต้อง เจริญจิตแบบนี้นะ ในชีวิตประจำวัน เท่าที่จะทำได้

เวทนามี ๓ อย่าง
๑.สุขเวทนา (ธาตุสุข)
๒.ทุกข์เวทนา  ธาตุทุกข์)
๓.ไม่สุขไม่ทุกข์ (ธาตุอุเบกขา)

และก็มี  "เราหรือจิต) ท่องเที่ยวรู้เวทนาทั้งสาม
ตลอดทั้งวันทั้งคืนทุกวันเลย
สลับไปรู้อารมณ์สุข
สลับไปรู้อารมณ์ทุกข์
สลับไปรู้อารมณ์อุเบกขา

สลับแบบนี้ตลอดเลย
สลับไปแช่สภาวะทุุกข์ห้านาทีบ้าง
หรือสลับไปแช่สภาวะสุขหนึ่งนาทีบ้าง
หรือสลับไปแช่ สภาวะอุเบกขา สิบห้านาทีบ้าง  อันนี้ก็คือยกตัวอย่าง)
ความจริงแล้วเราไม่สามารถบังคับบัญชามันได้ วันนี้ต้องสุข1ชัวโมงนะ ทุกข์1นาทีพอ นอกนั้นอุเบกขานะ
ถ้าคิดแบบนี้เราไม่ได้ตามที่ต้องการหรอก

ถ้าจิตหนุ่มเสวยอุเบกขาอยู่ (ให้พูดในว่า" อุเบกไม่เที่ยงหรอก เดี๋ยวก็แปรเปลี่ยนเป็นสุขหรือไม่ก็ทุกข์แทน

หรือถ้าจิตหนุ่มเสวยทุกข์อยู่
(ให้พูดในใจว่า"ทุกข์ไม่เที่ยงหรอก
เดี๋ยวก็แปรเปลี่ยนเป็นอุเบกขาหรือไม่ก็สุขแทน

หรือถ้าจิตหนุ่มเสวยสุขอยู่
(ก็ให้พูดในใจเลยว่า"สุขไม่เที่ยงหรอก เดี๋ยวก็แปรเปลี่ยนเป็นทุกข์แทน
หรือเป็นสุขแทน"

ให้หนุ่มเป็นผู้รู้หรือผู้ดู
ดูอาการของธาตุทั้งสามมันวนเวียนมาให้รู้

#ถ้าสงสัยถามเลยน่ะ
_______
เมื่อจะต้องเลือกคู่
แต่ละคนมักอยากเลือกคนที่คบแล้วรู้สึกว่าใจของตนเองไม่ต้องเปลี่ยนมากนัก
ยิ่งเป็นตัวตนเดิม
หรือใกล้เคียงตัวตนเดิมมากเท่าไรยิ่งดี
อย่างที่เรียกว่าจะได้ ‘เป็นตัวของตัวเอง’ นั่นแหละ
ทว่าในความเป็นจริง
คนที่ ‘ลงตัว’ ขนาดให้อยากสละโสดนั้น
มักไม่ใช่คนที่ทำให้รู้สึก ‘เท่าเดิม’
โชคดีก็ได้คนที่ปรุงภาษาในหัวให้ประณีตขึ้น
โชคร้ายก็ได้คนที่ปรุงภาษาในหัวให้หยาบลง
ดังนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่
เลือกคู่เป็นใคร
ก็คือเลือกใจที่แตกต่างให้ตนเองตามนั้น
จุดสังเกตง่ายๆ
ถึงแม้ปากจะพูดจาเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน
แต่คุณอาจรู้สึกได้ว่า ภาษาในหัวต่างไปมาก
หลังจากเอาตัวไปอยู่กับใครคนหนึ่งนานๆ

หากภาษาในหัวของคุณคงเดิม
คุณจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปเท่าไร
หากภาษาในหัวของคุณดีขึ้น
คุณจะรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น
หากภาษาในหัวของคุณแย่ลง
คุณจะรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปในทางแย่ลง
ตรงไปตรงมาแค่นี้

ภาษาในหัวเป็นสิ่งที่คุณรู้อยู่คนเดียว
ตอบตัวเองได้อยู่คนเดียวว่า
โดยมากมีความหยาบหรือประณีต
ถ้าไม่ถามตัวเอง
บางทีคุณจะไม่ย้อนมาสังเกตเลยว่า
หลังจากคบใคร หรืออยู่กับใครสักคน
ใจตัวเองดีขึ้นหรือแย่ลงแค่ไหน

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธานในชีวิต
เปลี่ยน ‘ใจ’ เท่ากับเปลี่ยนชีวิต
ใจจึงน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สุด
เมื่อจะต้องชั่งน้ำหนัก ชั่งใจ ในการเลือกคู่
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ 
คนส่วนใหญ่ถูกบีบให้คำนึงถึงตัวแปรอื่นก่อน
ซึ่งนั่นก็เท่ากับต้องเสี่ยงดวงเอาว่า
เลือกใครมาเป็นคู่
แล้วจะได้ใจใหม่ให้ตัวเองแบบไหน
___________

         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง   เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง    เพราะ
อุปาทานดับ  ภพจึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง   เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง   เพราะภพดับ
ชาติพึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         พ.  ก็อีกอย่างหนึ่ง  เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง  เพราะชาติดับ
ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ.
         ภิ.  ไม่เป็นอย่างนั้น  พระเจ้าข้า.
         [๑๙๕]   ดีละ ๆ ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงสำคัญ    จงเชื่อซึ่งข้อ
นั้นไว้อย่างนั้นเถิด    พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด    จงหมด
ความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด   นั่นเป็นที่สุดทุกข์.
                                          จบปริวีมังสนสูตรที่  ๑

                                           
ทุกขวรรคที่  ๖

     

                                 
อรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑

  

         พึงทราบวินิจฉัยในปริวีมังสนสูตรที่  ๑  แห่งทุกขวรรคต่อไป.
         บทว่า ปริวีมํสมาโน  แปลว่า  เมื่อพิจารณา.  บทว่า  ชรามรณํ  ชราและ
มรณะ  ความว่า  หากถามว่า "เพราะเหตุไร ชราและมรณะข้อเดียวเท่านั้น
จึงมีประการต่าง  ๆ  หลายอย่าง.   ตอบว่า   "เพราะเมื่อจักชรามรณะนั้น
ได้แล้ว   ก็จะเป็นอันจับทุกข์ทั้งปวงได้" เหมือนอย่างว่า  เมื่อบุรุษถูกกับที่
ผมจุก    บุรุษนั้นย่อมชื่อว่าถูกจับโดยแท้      ฉันใด      เมื่อจับชราและ
มรณะได้แล้ว   ธรรมที่เหลือย่อมชื่อว่าเป็นอันจับได้โดยแท้  ฉันนั้น.
เมื่อจักชราและมรณะได้แล้วเช่นนี้      ทุกข์ทั้งปวงย่อมชื่อว่าเป็นอันจับ
หน้าที่ 245 

 ได้โดยแท้.     เพราะฉะนั้น      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า      ทุกข์นี้มี
ประการต่าง ๆ  หลายอย่างเกิดขึ้นในโลก   ดังนี้     ทรงแสดงทุกข์ทั้งปวง
เหมือนบุรุษผู้อาบน้ำแล้วยืนอยู่    ชื่อว่า  ทรงจับชราและมรณะ  เหมือนจับ
บุรุษนั้นที่ผมจุก.   บทว่า ชรามรณนิโรธสารุปฺปคามินี  ความว่า  ปฏิปทา
ชื่อว่าเป็นเช่นกันนั้นเทียว เพราะความไม่มีกิเลส  คือ  บริสุทธิ์  เป็นเครื่อง
ให้ถึงโดยภาวะสมควรแก่ความดับแห่งชราและมรณะ.   บทว่า     ตถา
ปฏิปนฺโน  จ  โหติ  ความว่า  ภิกษุอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
ผู้ปฏิบัติตามนั้นอย่างใด  ก็ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น. บทว่า  อนุธมฺมจารี
เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร  ความว่า  ประพฤติ  คือ    บำเพ็ญธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติที่ไปตามธรรม  คือ  พระนิพพาน.  บทว่า  ทุกฺขกฺขยาย
ปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์  ได้แก่ เป็นผู้ทำศีลให้เป็นเบื้องต้น
แล้วปฏิบัติเพื่อความดับแห่งทุกข์คือชราและมรณะ. บทว่า สงฺขารนิโรธาย
เพื่อความดับแห่งสังขาร ได้แก่เพื่อความดับแห่งทุกข์คือสังขาร. พระเทศนา
จนถึงพระอรหัต   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.
         บัดนี้    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการพิจารณาอรหัตผล
และธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจแล้วจึงกลับเทศนาอีก.    ถามว่า    พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำอย่างนั้น  แต่ทรงถือเอาคำว่า  อวิชฺชาคโต
บุคคลตกอยู่ในอวิชชานี้    เพราะเหตุไร.     ตอบว่า    ทรงถือเอาเพื่อทรง
แสดงวัฏทุกข์อันพระขีณาสพก้าวล่วงแล้ว.    อีกอย่างหนึ่ง      เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า  ทรงปรารภวัฏฏะตรัสถึงวิวัฏฏะ  (พระนิพพาน)  อยู่  ก็จะ
มีสัตว์ผู้จะตรัสรู้อยู่ในเรื่องนี้.   พึงทราบว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ
เอาคำนี้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของสัตว์นั้น.  ในพระบาลีนั้น  บทว่า  อวิชฺชาคโต
หน้าที่ 246 

 ตกอยู่ในอวิชชา   ได้แก่    เข้าถึง    คือ    ประกอบด้วยอวิชชา.   บทว่า 
ปุริสปุคฺคโล  บุรุษบุคคล  ได้แก่  บุคคลคือบุรุษ  พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสสมมติกถา    ด้วยคำทั้งสองนั้น.     ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีกถา
(การกล่าว)  อยู่  ๒ อย่าง  คือ   สมมติกถา ๑   ปรมัตถกถา  ๑.  ใน
กถาทั้ง ๒ นั้น  กถาที่เป็นไปอย่างนั้นคือ  สัตว์   นระ    ปุริสะ   ปุคคละ
ติสสะ  นาคะ  ชื่อว่า  สมมติกถา.  กถาที่เป็นไปอย่างนี้คือ  ขันธ์ทั้งหลาย
ธาตุทั้งหลาย   อายตนะทั้งหลาย   ชื่อว่า    ปรมัตถกถา.   พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย  เมื่อจะทรงกล่าวปรมัตถกถา   ย่อมทรงกล่าวไม่ทิ้งสมมติทีเดียว.
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น   เมื่อทรงกล่าวสมมติก็ดี    เมื่อทรงกล่าวปรมัตถ์ก็ดี
ย่อมทรงกล่าวเรื่องจริงเท่านั้น.  ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
                     "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเมื่อจะตรัส
              (เรื่องใด ๆ)    ได้ตรัสสัจจะ  (ความจริง)  ๒  คือ
              สมมติสัจจะ  ๑  ปรมัตถสัจจะ ๑.  ใคร ๆ ย่อมไม่ได้
              สัจจะที่  ๓  (เพราะไม่มี).   การกล่าวถึงสิ่งที่รู้   ชื่อ
              สมมติสัจจะ  เพราะเหตุที่เป็นโลกสมมติ   (สิ่งที่
              ชาวโลกรู้).   ส่วนการกล่าวถึงประโยชน์   อย่างยิ่ง
              อันเป็นลักษณะจริงของธรรมทั้งหลาย   ชื่อปรมัตถ-
              สัจจะ"
         บทว่า  ปุญฺ?ญฺเจ    สงฺขารํ  ถ้าสังขารเป็นบุญ  ได้แก่   ปุญญาภิสังขาร
อันต่างด้วยเจตนา  ๑๓.  บทว่า  อภิสงฺขโรติ  ปรุงแต่ง  ได้แก่  กระทำ.
ข้อว่า  ปุญฺญูปคํ  โหติ   วิญฺ?าณํ  วิญญาณย่อมเข้าถึงบุญ  ได้แก่  กัมม-
วิญญาณย่อมเข้าถึง   คือ  ประกอบพร้อมด้วยกุศลกรรม.   แม้วิปากวิญญาณ
หน้าที่ 247 

 ก็ย่อมเข้าถึง คือประกอบพร้อมด้วยกุศลวิบาก. บทว่า  อปุญฺ?ญฺเจ  สงฺขารํ 
ถ้าสังขารที่เป็นบาป"    ได้แก่    อปุญญาภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา  ๑๒.
บทว่า   อาเนญฺชญฺเจ  สงฺขารํ  ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชา ได้แก่  อเนญชา-
ภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา  ๔.  บทว่า  อาเนญฺชูปคํ  โหติ  วิญฺ?าณํ
วิญญาณย่อมเข้าถึงอเนญชา  ได้แก่  กัมมวิญญาณย่อมเข้าถึง   คือ ประกอบ
พร้อมด้วยกรรมที่เป็นอเนญชา      วิปากวิญญาณย่อมเข้าถึง     ด้วยวิบากที่
เป็นอเนญชา.   ปัจจยาการซึ่งมี  ๑๒  บท  ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอาแล้วแล  เพราะค่าที่ได้ทรงถือเอากัมมาภิสังขาร  ๓  ในพระสูตร
นี้.  วัฏฏะเป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.
บัดนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน
จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ในกาลใดแล"   เป็นอาทิ.  ในพระบาลี
นั้น  บทว่า  อวิชฺชา   แปลว่า   ความไม่รู้ในอริยสัจ  ๔.   บทว่า  วิชฺชา
ได้แก่  อรหัตมรรคญาณ.  และในพระบาลีนี้  มีอธิบายว่า    "เมื่อละอวิชชา
ได้ก่อนแล้วนั่นแหละ     วิชชาจึงเกิดขึ้น.    เหมือนอย่างเมื่อมีความมืดอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘   จะละความมืดได้ก็ด้วยการจุดประทีปให้ลุกโชติช่วง
ฉันใด    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น.   ก็พึงทราบว่าเป็นอันละอวิชชาได้    ฉันนั้น.   
บทว่า  "ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ  ในโลก"  ได้แก่ ไม่ยึดมั่น คือ ถือมั่นธรรม
อะไร ๆ ในโลก.   บทว่า  "เมื่อไม่ยึดมั่น   ก็ไม่สะดุ้งกลัว"     อธิบายว่า
เมื่อไม่ยึดมั่น  เมื่อไม่ถือมั่น  ก็ย่อมไม่สะดุ้งเพราะตัณหา   ไม่สะดุ้งเพราะ
กลัว   ความว่า ย่อมไม่อยาก ไม่กลัว.  บทว่า    "เฉพาะตัวเท่านั้น"   ได้แก่
ย่อมปรินิพพานด้วยตนเองเท่านั้นแหละ      ไม่ปรินิพพานเพราะอานุภาพ
ของผู้อื่น.
หน้าที่ 248 

          ถามว่า      เพราะเหตุไร     พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำนี้ว่า 
ภิกษุนั้น    ถ้าเสวยสุขเวทนา.     ตอบว่า    ทรงเริ่มเพื่อแสดงการพิจารณา
ของพระขีณาสพแล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่เนืองนิจ.    บทว่า  "อันตนไม่
ยึดถือแล้วด้วยตัณหา"    คือ    อันตนไม่กล้ำกลืนเก็บยึดถือไว้ด้วยตัณหา.
ถามว่า    เมื่อเป็นเช่นนี้     เพราะเหตุใด     จึงตรัสถึงทุกขเวทนา.     ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่หรือไร.   ตอบว่า  ใช่    ยังมีอยู่   เพราะ
ผู้ที่เพลิดเพลินความสุขอยู่นั่นแหละ    ชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์    เพราะ
ผู้ถึงทุกข์ปรารถนาความสุข  และความสุขก็กลายเป็นทุกข์เพราะปรวนแปร.
บทว่า  "ที่ปรากฏทางกาย"  คือ  กำหนดได้ด้วยกาย.  อธิบายว่า   กาย
คือทวาร   ๕   ยังเป็นไปอยู่ตราบใด   บุคคลย่อมเสวยเวทนาทางทวาร  ๕
ที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น.     บทว่า      "ที่ปรากฏทางชีวิต"       ได้แก่
กำหนดได้ด้วยชีวิต.  อธิบายว่า    ชีวิตยังเป็นไปอยู่ตราบใด    บุคคลย่อม
เสวยเวทนาทางมโนทวารที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น.
         บรรดาเวทนาทั้งสองนั้น       เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๕      เกิด
ขึ้นที่หลัง   แต่ดับก่อน.   เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร  เกิดขึ้นก่อน  แต่
ดับทีหลัง.  ก็ในขณะปฏิสนธิ  เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารนั้น  ย่อมตั้ง
อยู่ในวัตถุรูปเท่านั้น.    ในปวัตติกาล  เวทนาที่เป็นไปทางทวาร  ๕  เป็น
ไปอยู่ด้วยอำนาจทวาร   ๕.   ในเวลาที่คนมีอายุ  ๒๐   ปี  เป็นต้นในปฐมวัย
ย่อมมีกำลังแรงยิ่ง   ด้วยอำนาจความรัก  ความโกรธ  และความหลง, ในเวลา
ที่คนมีอายุ  ๕๐ ปีย่อมคงที่ จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ  ๖๐  ปี  ก็จะเสื่อมลง,
ครั้นถึงเวลาที่คนมีอายุได้  ๘๐-๙๐  ปี   ก็จะอ่อนลง  (ในที่สุด)  ใน
หน้าที่ 249 

 ครั้งนั้น   (คือในเวลาที่มีอายุ  ๘๐-๙๐  ปี)  เมื่อพวกชนกล่าวว่า    พวก
เรานั่งนอนรวมกันเป็นเวลานาน   สัตว์ทั้งหลายกล่าวว่า    พวกเราไม่รู้สึก
คือย่อมกล่าวถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้นแม้มีประมาณยิ่งว่า  เราไม่เห็น   ไม่ได้
ยิน  คือไม่รู้ว่า  กลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น     ดีหรือไม่ดี    แข็งหรืออ่อน.
เวทนาอันเป็นไปทางทวาร  ๕   ของชนเหล่านั้นย่อมเป็นอันแตกแล้วอย่าง
นี้.  ส่วนเวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่.   เวทนาแม้นั้น    เมื่อ
เสื่อมไปโดยลำดับ     ย่อมอาศัยที่สุดแห่งหทัยนั่นแหละเป็นไปในเวลา
มรณะ.  อนึ่ง  เวทนานั้น   ยังเป็นไปอยู่ตราบใด  ก็พูดได้ว่า  สัตว์ยังมี
ชีวิตอยู่ตราบนั้น.   เมื่อใด  เวทนานั้นไม่เป็นไป  เมื่อนั้น   เรียกว่าสัตว์ตาย
คือดับ.
         ความข้อนี้   พึงแสดง    (เปรียบเทียบ)  ด้วยสระ.    เหมือนอย่าง
บุรุษก่อสร้างสระให้สมบูรณ์ด้วยทางน้ำ  ๕ สาย.  เมื่อฝนตกลงมาครั้งแรก
น้ำพึงไหลไปตามทางน้ำทั้ง  ๕  สายจนเต็มบ่อภายในสระ     ครั้งฝนตกอยู่
บ่อย ๆ น้ำพึงขังเต็มทางน้ำ  ไหลลงสู่ทางประมาณคาวุตหนึ่งบ้าง  กึ่งโยชน์
บ้าง น้ำที่หลากมาแต่ที่นั้น ๆ ครั้นเขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานในนา
น้ำก็ไหลออกไป.  ในเวลาที่ข้าวกล้าแก่ น้ำก็ไหลออก. น้ำแห้งถึงการที่ควร
กล่าวว่า  เราจะจับปลา.   จากนั้นอีก  ๒-๓  วัน   น้ำก็ขังอยู่ในบ่อนั่นเอง.
และถ้าในบ่อยังมีน้ำขังอยู่ตราบใด   ก็ย่อมจะนับได้ว่า   ในสระใหญ่
มีน้ำอยู่ตราบนั้น.      แต่ถ้าน้ำในบ่อนั้นแห้งเมื่อใด    เมื่อนั้น  ก็พูดได้ว่า
ในสระไม่มีน้ำ  ฉันใด   พึงทราบข้อเปรียบเทียบ  ฉันนั้น.  เวลาที่เวทนา
อันเป็นไปทางมโนทวาร   ตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิครั้งแรกนั่นเอง
เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่ครั้งแรก  น้ำไหลเข้าไปตามทาง  ๕  สาย    บ่อก็
หน้าที่ 250 

 เต็ม.   เมื่อเจตนาทางมโนทวารเป็นไปแล้ว     ความเป็นไปแห่งเวทนาทาง
ทวาร  ๕   เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่บ่อย  ๆ ทาง  ๕  สายก็เต็ม.    ภาวะที่
เวทนาอันเป็นไปทางทวาร  ๕  นั้นมีกำลังมากยิ่ง        ด้วยอำนาจความรัก 
เป็นต้นในเวลาที่คนมีอายุ  ๒๐  ปี ในปฐมวัย    เหมือนน้ำที่ท่วมท้นทาง
ตั้งคาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ น้ำยังไม่ไหลออกจากสระตราบใด  เวลาที่เวทนา
นั้นตั้งอยู่ในเวลาที่คนมีอายุ  ๕๐  ปี     เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่ในสระเก่า
ตราบนั้น.   ความเสื่อมแห่งเวทนานั้น     จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ  ๖๐  ปี
เหมือนเวลาที่เขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานอยู่   น้ำก็ไหลออก.    เวลา
ที่เวทนาอันเป็นไปทางทวาร ๕ อ่อนลง   ในเวลาที่คนมีอายุ  ๘๐- ๙๐  ปี
เหมือนเวลาเมื่อฝนตกแล้ว   น้ำทรงอยู่โดยรอบในทางน้ำ.    เวลาที่เวทนา
อันเป็นไปทางมโนทวาร      อาศัยที่สุดแห่งหทยวัตถุเป็นไป       เหมือน
เวลาที่น้ำทรงอยู่ในบ่อนั่นเอง.    ความเป็นไปนั่นเหมือนเวลาเมื่อให้สระมี
น้ำอยู่แม้เพียงนิดหน่อย    ก็ควรกล่าวว่า    ในสระมีน้ำอยู่ตราบใด    เมื่อ
เวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่    ก็ย่อมกล่าวได้ว่า    สัตว์ยังมี
ชีวิตอยู่ตราบนั้น.      อนึ่ง  เมื่อน้ำในบ่อแห้งขาดไป        ย่อมกล่าวได้ว่า
ไม่มีน้ำในสระ  ฉันใด     เมื่อเวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารไม่เป็นไปอยู่
สัตว์ก็เรียกว่า   ตายแล้วฉันนั้น.   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเวทนา
นี้   (เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร )  จึงตรัสว่า  "ภิกษุเสวยเวทนาอันมี
ชีวิตเป็นที่สุดรอบ."  คำว่า  "กายสฺส   เภทา  เพราะความแตกแห่งกาย"
ได้แก่   เพราะความแตกแห่งกาย.  บทว่า  ชีวิตปริยาทานา   อุทฺธํ   ได้แก่
หลังจากการสิ้นชีวิต.  บทว่า  "อิเธว  ในโลกนี้แล"  คือในโลกนี้แหละ
เพราะมาข้างหน้าด้วยอำนาจปฏิสนธิ.    บทว่า "สีตีภวิสฺสนฺติ   จักเป็น
หน้าที่ 251 

 สิ่งที่เย็น"  ความว่า  เป็นสิ่งที่เว้นจากความดิ้นรนและความกระวนกระวาย
จึงชื่อว่า      เป็นสิ่งที่เย็น  คือ  มีความไม่เป็นไปเป็นธรรมดา.     บทว่า
สรีรานิ   ได้แก่   สรีรธาตุ.        บทว่า  "อวสิสฺสนฺติ     จักเหลืออยู่"
ได้แก่   จักเป็นสิ่งที่เหลืออยู่.                                                   
         บทว่า  "กุมฺภการปากา   จากเตาเผาหม้อ  ได้แก่   จากที่เป็นที่
เผาภาชนะของช่างหม้อ.  บทว่า    "ปติฏฺ€เปยฺย  วางไว้"  ได้แก่  ตั้งไว้.
บทว่า   "กปลฺลานิ   กระเบื้องหม้อ"  ได้แก่   กระเบื้องหม้อที่เนื่องเป็น
อันเดียวกันพร้อมทั้งขอบปาก.     บทว่า  "อวสิสฺเสยฺยุํ     พึงเหลืออยู่"
ได้แก่  พึงตั้งอยู่.    ในคำว่า   "เอวเมว  โข"  นี้    มีข้อเปรียบเทียบ
ด้วยอุปมาดังนี้  ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนเตาเผาหม้อที่ไฟติดทั่วแล้ว.     พระ
โยคาวจรเหมือนช่างหม้อ.   อรหัตมรรคญาณเหมือนไม้ขอที่ใช้เกี่ยวภาชนะ
ของช่างหม้อออกมาจากเตาเผา.        พื้นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เหมือนภาคพื้นที่เรียบเสมอ.  เวลาที่พระโยคาวจรผู้ปรารภวิปัสสนา   เห็น
แจ้งหมวด  ๗  แห่งรูปและหมวด  ๗  แห่งอรูป       เมื่อกัมมัฏฐานปรากฏ
คล่องแคล่วแจ่มแจ้งอยู่    ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นเห็นปานนั้น     นั่งอยู่บน
อาสนะเดียว   เจริญวิปัสสนา  บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ    ยกตนขึ้น
จากอบาย  ๔     แล้วดำรงอยู่ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ   อันไม่มีปัจจัย
ปรุงแต่งด้วยอำนาจผลสมาบัติ   พึงเห็นเหมือนเวลาที่ช่างหม้อเอาไม้ขอเกี่ยว
หม้อที่ร้อนมาแล้ว วางหม้อไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ.   ส่วนพระขีณาสพไม่
ปรินิพพานในวันบรรลุพระอรหัต  เหมือนหม้อที่ยังร้อนฉะนั้น  แต่เมื่อจะ
สืบต่อประเพณีแห่งศาสนาก็ดำรงอยู่ถึง  ๕๐-๖๐  ปี  ย่อมปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ   เพราะความแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์  เพราะถึง
หน้าที่ 252 

 จิตดวงสุดท้าย   เมื่อนั้น  สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลือ
อยู่   เหมือนกระเบื้องหม้อแล.  ก็คำว่า  สรีรานิ   อวสิสฺสนฺตีติ     ปชานาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.
         บทว่า "วิญฺ?าณํ   ปญฺ?าเยถ  วิญญาณพึงปรากฏ"  ได้แก่
ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ.     บทว่า "สาธุ  สาธุ  ดีละ ๆ"  ได้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ.         บทว่า
เอวเมตํ  ความว่า  คำว่า  เมื่ออภิสังขาร  ๓  อย่างไม่มี   ปฏิสนธิวิญญาณ
ก็ไม่ปรากฏเป็นต้น.  คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน.    บทว่า   อธิมุจฺจถ
ได้แก่  จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ.  ข้อว่า "เอเสวนฺโต
ทุกฺขสฺส   นั่นเป็นที่สุดทุกข์"    ได้แก่    นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ
คือ นี้เป็นข้อกำหนด  ได้แก่  พระนิพพาน.
            จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑
______________________
อาหาร ๔ เข้าใจง่าย)
สมเด็จพระสังฆราช

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นดังได้กล่าวแล้ว ก็คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ท่านพระสารีบุตรได้แสดงสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบไว้ ว่าเห็นอย่างไรเป็นความเห็นชอบ และยังได้แสดงไว้ต่อไป ดังที่จะกล่าว ณ บัดนี้ คือภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟังท่านพระสารีบุตรอธิบายสัมมาทิฏฐิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงได้ถามท่านต่อไปว่า ยังมีอธิบายโดยปริยายคือทางอันอื่นอีกหรือไม่ ท่านพระสารีบุตรก็ได้ตอบว่ามี และก็ได้แสดงอธิบายปริยายคือทางอธิบายต่อไปอีกว่า
สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ก็คือ ความรู้จักอาหาร รู้จัก อาหาระสมุทัย เหตุเกิดแห่งอาหาร รู้จัก อาหาระนิโรธ ความดับอาหาร และรู้จัก อาหาระนิโรธะคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับอาหาร
อาหาร ๔
คำว่า อาหาร นั้นเป็นคำที่ทุก ๆ คนก็เรียกกัน ถึงอาหารที่บริโภคเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย แต่ว่าคำว่าอาหารมิใช่หมายความถึงเพียงอาหารสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอาหารอย่างอื่นอีกด้วย ท่านพระสารีบุตรได้แสดงอธิบายอาหารไว้ ๔ ประการ คือ
๑ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
๒ ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจ และ
๔ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
อาหารของกาย
คำว่า อาหาร นั้นตามศัพท์แปลว่านำมา ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นปัจจัย คือเป็นเครื่องอาศัยที่นำผลมา
ข้อที่ ๑ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ก็หมายถึงอาหารที่บุคคลตลอดจนถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายบริโภค เป็นอย่างละเอียดก็มี เป็นอย่างหยาบก็มี ยกเอาคำข้าวขึ้นเป็นที่ตั้งเป็นชื่อ เพราะว่าข้าวนั้นก็ถือว่าเป็นอาหารหลักสำหรับที่จะบำรุงเลี้ยงร่างกาย ฉะนั้นจึงยกขึ้นเป็นชื่อของอาหารสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกาย อันหมายคลุมถึงอาหารทุกอย่างที่บริโภคสำหรับบำรุงเลี้ยงร่างกาย นี้คือ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวข้อที่ ๑
อาหารของนาม
ข้อที่ ๒ ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ หมายถึงอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มาประชุมกันเรียกว่าสัมผัสหรือผัสสะ อันแปลว่ากระทบ เป็นอาหารแห่งนามธรรมทั้งหลาย คือแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร และแห่งวิญญาณเองที่เกิดสืบต่อไป กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวข้อแรก เป็นอาหารของรูปธรรม คือร่างกายส่วนรูป ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะหรือสัมผัส เป็นอาหารของนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดสืบเนื่องกันไป
ผัสสาหารอาหารคือผัสสะข้อที่ ๒ นี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ว่า คือความประชุมของอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ โดยที่เมื่อตากับรูปประจวบกันก็ย่อมเกิดวิญญาณ คือความรู้ในรูป ที่เรียกว่าเห็นรูป อันการเห็นรูปดังที่พูดกัน ก็มักจะพูดกันว่าเห็นรูปด้วยจักษุคือตา แต่เมื่อแสดงตามทางอภิธรรม ท่านแสดงว่าเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ คือความรู้รูปทางจักษุ ตานั้นเป็นเพียงประสาทสำหรับเป็นที่อาศัยรับรูปที่มาประจวบกันเท่านั้น ถ้ายังไม่เกิดจักขุวิญญาณ การเห็นรูปก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องเกิดจักขุวิญญาณ วิญญาณทางตา ก็คือรู้รูปทางตาที่เรียกกันว่าเห็นรูป เพราะฉะนั้นการเห็นรูปจึงมิใช่เห็นด้วยจักขุหรือจักษุ แต่ว่าเห็นด้วยจักษุวิญญาณ
เมื่อพูดตามธรรมดา ก็พูดว่าเห็นรูปด้วยจักษุ แต่ว่าเมื่อพูดตามทางอภิธรรม ก็จะต้องพูดว่าเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ แม้ในอายตนะข้อต่อไปก็เช่นเดียวกัน หูกับเสียงมาประจวบกัน ก็เกิดโสตะวิญญาณ ได้ยินเสียง จมูกกับกลิ่นมาประจวบกัน ก็เกิดฆานะวิญญาณ รู้กลิ่นทางจมูก ลิ้นกับรสมาประจวบกัน ก็เกิดชิวหาวิญญาณ รู้รสทราบรสทางลิ้น กายกับโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้องมาประจวบกัน ก็เกิดกายวิญญาณ รู้สิ่งถูกต้องทางกาย มโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวมาประจวบกัน ก็เกิดมโนวิญญาณรู้เรื่องที่ใจคิดทางมโนคือใจ นี้เป็นปรกติของอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณทางอายตนะทั้ง ๖ นี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นปรกติแก่ทุก ๆ คน ทุก ๆ เวลา และเมื่อทั้ง ๓ นี้มาประชุมกันจึงเรียกว่าเป็นสัมผัส ที่แปลว่าความกระทบ หรือเรียกสั้นว่าผัสสะ
และผัสสะหรือสัมผัสดังกล่าวมานี้เองเป็นอาหารของนามธรรมทั้งหลาย คือของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณที่เกิดสืบจากสังขาร เพราะฉะนั้นตามอธิบายนี้วิญญาณจึงบังเกิดขึ้น ในเมื่ออายตนะภายในอายตนะภายนอก มาประจวบกัน ก็เป็นวิญญาณขึ้นตามทางอายตนะ และเมื่อทั้ง ๓ มาประชุมกันเป็นสัมผัส จึงเกิดเวทนา เกิดสัญญา เกิดสังขาร แล้วก็เกิดวิญญาณสืบต่อกันไปอีก เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงมาตรงที่ เมื่ออายตนะภายในอายตนะภายนอกประจวบกัน นั้นหนหนึ่ง และเมื่อมาประชุมกันเป็นสัมผัสหรือผัสสะ ก็เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร และก็เป็นวิญญาณขึ้นอีก วิญญาณก็มาบังเกิดขึ้นสืบจากสังขารอีกครั้งหนึ่ง และก็มาเป็นสัมผัส เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร แล้วก็เป็นวิญญาณ แล้วก็วนกันไปอยู่ดั่งนี้ในอารมณ์ทั้งหลายที่จิตนี้รับ
เริ่มมาจากทางอายตนะซึ่งเป็นฝ่ายรูป แล้วก็มาเป็นนามธรรม
ขันธ์ ๕ นามรูป
เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันประกอบย่อเข้าเป็นรูปเป็นนาม รูปก็เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นนาม รวมเป็นขันธ์ ๕ ย่อก็เป็นรูปเป็นนาม อันเรียกว่านามรูปนี้ จึงเป็นสิ่งที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดก่อขึ้นในครรภ์ของมารดา แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จนเมื่อได้คลอดออกมาจึงมีความสมบูรณ์ แต่แม้เช่นนั้นก็ยังอ่อน เมื่อเติบโตขึ้นจึงเจริญขึ้นสมบูรณ์ขึ้น จนมีความสมบูรณ์เต็มที่ ดังรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ของบุคคลที่เติบโตขึ้น ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นเด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว ก็เป็นความสมบูรณ์ของขันธ์ ๕ ขึ้นมาโดยลำดับ
ดังจะพึงเห็นได้ว่าเมื่อส่วนรูปมีความสมบูรณ์ ส่วนนามก็สมบูรณ์ ดังเช่นเมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย มนะคือใจสมบูรณ์ จึงรับอายตนะภายนอกต่าง ๆ ได้ฉับพลัน คล่องแคล่วว่องไว วิญญาณที่บังเกิดขึ้น สัมผัสที่บังเกิดขึ้น สืบมาถึงเวทนา สัญญา สังขาร และต่อไปวิญญาณอีก ก็สมบูรณ์ฉับพลัน
วิปัสสนาภูมิ
และตรงนี้ก็น่าที่จะต้องอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า ในขันธ์ ๕ นั้นไม่จัดใส่วิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในช่วงนี้เข้าไว้ จัดรูปเป็นที่ ๑ แล้วก็มาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่อท้าย ตัดเอาวิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในระหว่างรูปกับเวทนาเสีย ถ้าหากว่าจะใส่ไว้ด้วยก็ไม่ใช่เป็นขันธ์ ๕ จะต้องเป็นขันธ์ ๖ ขันธ์ ๗ แต่นี่ไม่ใส่ไว้ ตัดเอาวิญญาณกับสัมผัสที่บังเกิดขึ้นในช่วงนี้ออกเสีย จึงเป็นขันธ์ ๕ แสดงวิญญาณไว้ข้างท้ายเท่านั้น พิจารณาดูก็เพื่อสะดวกเป็นวิปัสสนาภูมิ คือเป็นภูมิแห่งวิปัสสนา คือเป็นกรรมฐานสำหรับวิปัสสนาในอันที่จะกำหนดพิจารณาให้รู้ให้เห็นได้สะดวก เพราะว่ารูปนั้นก็เป็นของหยาบ พิจารณาได้สะดวก มาเวทนาก็นับว่าเป็นนามธรรมที่หยาบ บังเกิดขึ้นทั้งทางกายทั้งทางใจ จึงมาเป็นที่ ๒ จึงมาถึงสัญญา ถึงสังขารซึ่งเป็นส่วนนามธรรมล้วน ๆ  แล้วจึงมาวิญญาณซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียด ก็เอาคุมไว้ข้างท้าย สำหรับที่จะพิจารณาเป็นกรรมฐาน เป็นวิปัสสนาภูมิ ได้โดยสะดวก
ฉะนั้น ผัสสะจึงมีความหมายถึงความประชุมของทั้ง ๓ อย่างดังที่กล่าวนั้น เป็นอาหารของเวทนา คือเป็นปัจจัยนำผลมา คือนำให้เกิดเวทนา ความรู้เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ให้เกิดสัญญาคือความรู้จำได้ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำเรื่องราวอะไรต่าง ๆ ได้ เป็นสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดต่าง ๆ  และเมื่อคิดปรุงไปก็รู้ไปด้วยก็เป็นวิญญาณ แล้วก็วนเป็นวงกลมมาใหม่อีก ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ เป็นเรื่องของรูปและนามที่บังเกิดอยู่ในปัจจุบันของบุคคลทุก ๆ คน
โดยที่รูปนั้นก็ต้องอาศัยอาหารคือคำข้าว หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ส่วนนามก็อาศัยอาหารคือผัสสะดั่งที่กล่าวมาแล้ว ถ้าหากว่ารูปไม่ได้อาศัยอาหารคือคำข้าวก็ดำรงอยู่ไม่ได้ นามไม่อาศัยอาศัยอาหารคือผัสสะหรือสัมผัส นามก็บังเกิดขึ้นเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น อาหารคือคำข้าวจึงเป็นที่ ๑ อาหารคือผัสสะจึงเป็นที่ ๒
อาหารของกรรม
มาถึงข้อที่ ๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจ ตรัสว่าเป็นอาหารของกรรม และพระสารีบุตรก็ได้แสดงอธิบายตามพระพุทธเจ้า เพราะว่ากรรมคือการงานที่บุคคลกระทำ ทางกายก็เป็นกายกรรม ทางวาจาก็เป็นวจีกรรม ทางใจก็เป็นมโนกรรม ย่อมเกิดจากมโนสัญเจตนาคือความจงใจ จะต้องมีมโนสัญเจตนา หรือเรียกสั้นว่าเจตนา ความจงใจเป็นเหตุ จึงได้กระทำทางกายเป็นกายกรรม กระทำทางวาจาเป็นวจีกรรม กระทำทางใจเป็นมโนกรรม พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเอาไว้ว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาคือความจงใจว่าเป็นกรรม คือเป็นเหตุให้กระทำกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาคือความจงใจแล้ว จึงกระทำทางกายบ้าง กระทำทางวาจาบ้าง และกระทำทางใจบ้าง
ฉะนั้น กรรมที่บุคคลกระทำทุก ๆ อย่าง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรือบุญกรรม ไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมหรือบาปกรรม ย่อมมีเจตนาคือความจงใจ หรือมโนสัญเจตนา เป็นเหตุ คือเป็นอาหาร เป็นปัจจัยที่นำผลมา คือนำให้บังเกิดกรรม ฉะนั้น มโนสัญเจตนา หรือเจตนาคือความจงใจ จึงเป็นอาหารของกรรม นับเป็นข้อที่ ๓
วิญญาณอาหารของนามรูป
มาถึงข้อที่ ๔ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ อันวิญญาณนี้ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น ท่านเรียกว่าเป็นวิถีวิญญาณ เป็นวิญญาณในวิถี อันหมายความว่าเป็นวิญญาณที่บังเกิดขึ้นตามวิถีคือตามทาง วิถีคือทางก็คือวิถีของกายจิตนี้ที่ประกอบกันอยู่เป็นไปอยู่ อันนับแต่อายตนะภายใน อายตนะภายนอกมาประจวบกัน เป็นวิญญาณ เป็นสัมผัส เป็นเวทนา เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้ว นี้เรียกว่าเป็นวิถี คือเป็นทางแห่งความเป็นไปของกายและจิตที่อาศัยกันอยู่ ที่ประกอบกันอยู่ ที่ดำเนินไปอยู่ จึงเรียกว่าวิถีวิญญาณ
อีกอย่างหนึ่งปฏิสนธิวิญญาณ วิญญาณในปฏิสนธิ วิญญาณในปฏิสนธินี้ก็ได้แก่วิญญาณธาตุคือธาตุรู้ หรือจิตที่อาศัยอยู่ในกายนี้ ซึ่งบุคคลทุก ๆ คนนี้มีกายและจิตประกอบกันอยู่ ถ้าหากว่าไม่มีจิต กายนี้ก็ดำรงอยู่มิได้ต้องแตกสลาย เพราะฉะนั้น จึงได้มีแสดงเอาไว้ในบางพระสูตรว่า เมื่อมีชาติคือความเกิด ตั้งต้นแต่เกิดขึ้นในครรภ์ของมารดา เริ่มก่อเกิดขึ้นก็มีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งมีคำเรียกว่า คันธัพพะ คนธรรพ์ เข้ามาสู่ครรภ์ของมารดาอีกส่วนหนึ่ง มาประกอบเข้ากับส่วนประกอบที่เป็นรูป เมื่อเป็นดั่งนี้สัตว์จึงเริ่มมีชาติคือความเกิดขึ้นมา และเมื่อคันธัพพะ หรือปฏิสนธิวิญญาณเข้าสู่ครรภ์ของมารดา ในขณะที่ได้เริ่มก่อรูปขึ้น ตั้งต้นแต่เป็นกลละ และก็เริ่มเติบโตขึ้นแตกเป็น ปัญจะสาขา มีอายตนะที่บริบูรณ์ขึ้นโดยลำดับ ก็จะต้องมีปฏิสนธิวิญญาณประกอบอยู่ด้วยตลอด
ถ้าหากว่าปฏิสนธิวิญญาณ หรือว่าจิต หรือว่าคนธรรพ์ดังที่เรียกในพระสูตร พรากออกไปเสียเมื่อใด รูปที่ก่อขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั้น ก็เป็นอันว่าแตกสลาย ไม่ก่อเกิดขึ้นอีกต่อไป แม้ว่าเมื่อคลอดออกมาจากครรภ์ของมารดาแล้ว กายและจิตนี้ก็ต้องประกอบกันอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณที่มาตั้งแต่ในเบื้องต้นนั้นก็ต้อง จะต้องอยู่ ถ้าหากว่าปฏิสนธิวิญญาณที่มาตั้งแต่เบื้องต้นนั้น หรือว่าจิตออกไปเสียจากร่างกายนี้เมื่อใด ร่างกายอันนี้ก็เป็นอันว่าหยุดที่จะเติบโต แตกสลายที่เรียกว่าตาย จะดำรงอยู่ต่อไปมิได้ หรือจะเรียกว่าขันธ์ ๕ หรือรูปนาม เมื่อวิญญาณดังกล่าวไม่มีแล้ว ขันธ์ ๕ หรือรูปนามก็แตกสลาย
ได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ที่ใช้เป็นบทสำหรับพิจารณาว่า อจิรํ วัตยํ กาโย ไม่นานหนอกายนี้ ปฐวึ อธิเสสฺสติ จักนอนทับแผ่นดิน ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโน ปราศจากวิญญาณถูกทิ้ง นิรตฺถํว กลิงฺครํ ราวกับท่อนไม้ท่อนฟืนไม่มีประโยชน์ คาถาบทนี้ก็เป็นเครื่องแสดงว่ากายนี้ ทั้งรูปกายทั้งนามกาย คือขันธ์ ๕ หากปราศจากวิญญาณเสียแล้วก็จักต้องนอน หรือถูกทอดทิ้งให้นอนทับแผ่นดิน เหมือนอย่างท่อนฟืนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ กาย ทั้งรูปกาย ทั้งนามกาย หรือขันธ์ ๕ นี้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะยังมีวิญญาณ ไม่ปราศจากวิญญาณ ฉะนั้นวิญญาณนี้จึงเป็นอาหารสำคัญของนามรูป หรือของขันธ์ ๕ หรือว่าของรูปกายนามกาย เมื่อวิญญาณนี้ยังอยู่ นามรูปก็ยังดำรงอยู่ แต่เมื่อปราศจากวิญญาณเสียแล้ว นามรูปก็เป็นอันว่าแตกสลาย ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นอาหารของนามรูป เป็นข้อที่ ๔
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอาหารไว้ ๔ อย่างดั่งนี้ และพระสารีบุตรก็ได้แสดงตาม สัมมาทิฏฐิก็คือความรู้จักอาหารทั้ง ๔ เหล่านี้ ว่าคำข้าวเป็นอาหารของกาย คือของรูปกาย ผัสสะหรือสัมผัสเป็นอาหารของนาม มีเวทนาเป็นต้น มโนสัญเจตนา หรือเจตนาความจงใจ เป็นอาหารของกรรม วิญญาณเป็นอาหารของนามรูป
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
ต่อจากนี้ท่านพระสารีบุตรก็ได้แสดงอธิบาย ให้รู้จัก อาหาระสมุทัย เหตุเกิดแห่งอาหาร ก็ชี้เอาตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก สัมมาทิฏฐิก็คือความรู้จักว่าตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก เป็นเหตุแห่งอาหารทั้ง ๔ ดังกล่าว และแสดงต่อไปว่าความรู้จัก อาหาระนิโรธ คือความดับอาหาร ก็คือความรู้จักว่าดับตัณหาเสียได้ก็เป็นความดับอาหาร และปัญญาที่รู้จักดั่งนี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร
ต่อไปก็แสดงว่าปัญญาที่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ก็คือมรรคมีองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ปัญญาที่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหารดั่งนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
พิจารณาดูแนวอธิบายของท่านดั่งนี้ก็จะพึงเห็นได้ว่า เพราะตัณหานี้เองเป็น โปโนพฺภวิกา เป็นเหตุให้ถือภพถือชาติใหม่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้แสวงหาอาหาร แห่งรูปธรรม นามธรรม แห่งกรรม และแห่งวิญญาณ อยู่ตลอดไป ซึ่งเมื่อมีอาหารเหล่านี้อยู่ก็เป็นอันว่าไม่มีที่จะจบภพจบชาติ เป็นแนวอธิบายในทางดับภพดับชาติ จึ่งได้แสดงว่าตัณหาเป็นตัวสมุทัยแห่งอาหาร และดับตัณหาเสียได้ก็เป็นการดับอาหาร คือเป็นการดับภพดับชาติ และก็มรรคมีองค์ ๘ นั้นแหละเป็นทางปฏิบัติ
แม้จะกล่าวว่าท่านแสดงมุ่งในทางดับภพดับชาติ แต่ก็เป็นสัจจะคือความจริง ว่าความสืบต่อภพชาติก็เพราะมีตัณหานี้เองเป็นตัวเหตุ เพราะสัจจะคือความจริงเป็นดั่งนี้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า โลกอันตัณหาก่อขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นโลก ก็เพราะยังมีตัณหาอยู่เป็นตัวก่อให้เกิดขึ้น ดับตัณหาเสียได้ก็ดับโลก แล้วก็เป็นการดับทุกข์ เป็นสัจจะคือความจริง แต่แม้เช่นนั้นเมื่อไม่ประสงค์จะดับโลก ไม่ประสงค์จะดับตัณหา ยังต้องการโลกอยู่ ยังอยู่กับโลก ก็ปฏิบัติในการแสวงหาอาหารทั้ง ๔ นี้ โดยทางที่ชอบ เพื่อจะได้ภพชาติที่ดี ที่ชอบ ภพชาติในปัจจุบันก็เป็นภพชาติที่ดีที่ชอบมีความสุข ภพชาติต่อไปก็มีความสุข ดั่งนี้ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้แสดงสัจจะคือความจริง และความที่มีปัญญารู้จักความจริงในเรื่องอาหาร ในเรื่องเหตุเกิดอาหาร ในเรื่องความดับอาหาร ในเรื่องทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร ดั่งนี้แหละ คือเป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ แม้จะเป็นข้อที่จะต้องพิจารณา เรียกว่ายากขึ้นไปจากประการแรก แต่ก็สามารถจะพิจารณาให้เห็นสัจจะคือความจริงได้ และจะทำให้เข้าใจธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้แสดงว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ก็ย่อมจะมีความเห็นตรง ย่อมจะมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
____________________
  [๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคาร
มารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะ
โมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่าง
ของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ
กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบ
เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ
คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ
ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง
หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ
หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจ
หรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ
โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ
             [๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ
             [๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย
ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม
อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์เถิด ฯ
             [๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ
จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้
เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย
จักมีแก่เรา ฯ
             [๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต
ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว
ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ
             [๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้
ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ
             [๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ
อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา
ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน-
*มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ  มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
             [๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ
สัมปชัญญะ ฯ
             [๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล-
*ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม
ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก
รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง
พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน
เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ
โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ
ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
             [๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
             ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา
จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์
แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด
ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด
กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์
พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมือง
ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดย
สวัสดี ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์
ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอัน
ท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม
คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ
             ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า
เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ
             [๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็
ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา
อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ
สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้
ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ
             [๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค-
*คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่
ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา
เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่
ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ
กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก
คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี
ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน
เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง
ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ
มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน
ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว
มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ
ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่
มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น
จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
__________________,,,,
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก

โดย อาจารย์วศิน อินทสระ

คราเมื่อพระพุทธองค์ทรงปรงพระชนมายุสังขาร พระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาลาลเจดีย์ประทับภายใต้ต้นไม้ซึ่งมีเงาครึ้มต้นหนึ่ง ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า

“อานนท์ เพราะอบรมอิทธิบาทสี่มาอย่างดีแล้วทำจนแจ่มแจ้งแล้ว อย่างเรานี้ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึงหนึ่งกัปป์(คือหนึ่งร้อยยี่สิบปี) ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้” พระโลกนาถตรัสดังนี้ถึงสามครั้ง แต่พระอานนท์ก็คงเฉยมิได้ทูลอะไรเลยความวิตกกังวลและความเศร้าของท่านมีมากเกินไป จึงปิดบังดวงปัญญาเสียหมดสิ้น ความจงรักภักดีอย่างเหลือล้นที่ท่านมีต่อพระศาสดานั้นบางทีก็ทำให้ท่านลืมเฉลียวใจถึงความประสงค์ของผู้ที่ท่านจงรักภักดีนั้น ปล่อยโอกาสทองให้ล่วงไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อเห็นพระอานนท์เฉยอยู่พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

“อานนท์ เธอไปพักผ่อนเสียบ้างเถิด เธอเหนื่อยมากแล้วแม้ตถาคตก็จะพักผ่อนเหมือนกัน” พระอานนท์จึงหลีกไปพักผ่อน ณ โคนต้นไม้อีกต้นหนึ่ง

ณ บัดนั้น พระตถาคตเจ้าทรงลำพึงถึงอดีตกาลนานไกลซึ่งล่วงมาแล้วถึงสี่สิบห้าปี สมัยเมื่อพระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ท้อพระทัยในการที่จะประกาศสัจธรรม เพราะเกรงว่าจะทรงเหนื่อยเปล่า แต่อาศัยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ จึงตกลงพระทัยย่ำธรรมเภรีและครานั้นพระองค์ทรงตตั้งพระทัยไว้ว่าถ้าบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ยังไม่สามารถย่ำยีปรูปวาทคือคำกล่าวจ้วงจาบล่วงเกินนจากพาหิรลัทธิที่จะพึงมีต่อพระพุทธธรรมคำสอนของพระองค์ยังไม่แพร่หลายเพียงพอ ตราบใด พระองค์ก็จะยังไม่นิพพานตราบนั้น

ก็แลบัดนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์แพร่หลายเพียงพอแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฉลาดสามารถพอที่จะดำรงพรหมจรรย์ศาสโนวาทของพระองค์แล้ว เป็นการสมควรที่พระองค์จะเข้าสู่มหา ปรินิพพาน

ทรงดำริดังนี้แล้วจึงทรงปรงอายุสังขาร คือตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า พระองค์จะปรินิพพานในวันวิสาขะปูรณมี คือวันเพ็ญเดือนหก

อันว่าบุคคลผู้มีกำลังกลิ้งศิลามหึมาแท่งทึบจากหน้าผาลงสู่สระ ย่อมก่อความกระเพื่อมสั่นสะเทือนแก่น้ำในสระฉันใดการปลงพระชนมายุ สังขารอธิษฐานพระทัยว่าจะปรินิพพานของพระอนาวรณญาณก็ฉันนั้น ก่อความวิปริตแปรปรวนแก่โลกธาตุทั้งสิ้น มหาปฐพีมีอาการสั่นสะเทือนเหมือนหนังสัตว์ที่เขาขึงไว้แล้วตีด้วยท่อนไม้ท่อนใหญ่ก็ปานกัน รุกขสาขาหวั่นไหวไกวแกว่งด้วยแรงวายุโบกสะบัดใบอยู่พอสมควร แล้วนิ่งสงบมีอาการประหนึ่งว่าเศร้าโศกสลดในเหตุการณ์ครั้งนี้ เหมือนกุมารีน้อยคร่ำครวญปริเวทนา ถึงมารดาผู้จะจากไปจนสลบแน่นิ่ง ณ เบื้องบน ท้องฟ้าสีครามกลายเป็นสีแดงเข้มดุจเสื่อลำแพน ซึ่งไล้ด้วยเลือดสด ปักษาชาติร้องระงมสนั่นไพรเหมือนจะประกาศว่าพระผู้ทรงมหากรุณากำลังจะจากไปในไม่ช้านี้

พระอานนท์สังเกตเห็นความวิปริตแปรปรวนของโลกธาตุดังนี้ จึงเข้าเฝ้าพระจอมมุนี ทูลถามว่า

“พระองค์ผู้เจริญ โลกธาตุวิปริตแปรปรวนผิดปรกติ ไม่เคยมีไม่เคยเป็นได้เป็นแล้วเพราะเหตุอะไรหนอ”

พระทศพลเจ้าตรัสว่า

“อานนท์เอย อย่างนี้แหละคราใดที่ตถาคต ประสูติ ตรัสรู้ หมุนธรรมจักร ปลงอายุสังขารและนิพพาน ครานั้นย่อมจะมีเหตุการณ์วิปริตอย่านี้เกิดขึ้น”

พระอานนท์ทราบว่า บัดนี้พระตถาคตเจ้าปลงพระชนมายุสังขารเสียแล้ว ความสะเทือนใจและความว้าเหว่ประดังขึ้นมาจนอัสสุชลธาราไหลหลั่งสุดห้ามหัก เพราะความรักเหลือประมาณที่ท่านมีในพระเชฏฐภาดา ท่านหมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาในข้าพระองค์และหมู่สัตว์ จงดำรงพระชนม์ชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย” กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่อาจทูลอะไรต่อไปอีก เพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย

“อานนท์เอย” พระศาสดาตรัสพร้อมด้วยทอดทัศนการไปเบื้องพระพักตร์อย่างสุดไกล ลีลาแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์

“เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะอีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์ เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมา ไม่น้อยกว่าสิบหกครั้งแล้วว่า คนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์ (คือหนึ่งร้อยยี่สิบปี) หรือมากกวานั้นก็พออยู่ได้แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ มิได้ทูลเราเลย เราตั้งใจว่า ในคราวก่อนๆนั้น ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไป เราจะห้ามเสียสองครั้ง พอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอ แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก” พระศาสดาหยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสต่อไปว่า “อานนท์ เธอยังจำได้ไหม ครั้งหนึ่ง ณ ภูเขาซึ่งมีลักษณะยอดเหมือนนกแร้ง อันมีนามว่า “คิชฌกูฏ” ภายใต้ภูเขานี้มีถ้ำอันขจร นามชื่อ “สุกรขาตา” ที่ถ้ำนี้เอง สาวกผู้เลื่องลือว่าเลิศทาง ปัญญาของเราคือ“สารีบุตร” ได้ถอนตัณหานุสัยโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะฟังคำที่เราสนทนากับหลานชายของเธอผู้มีนามว่า “ทีฆนขะ” เพราะไว้เล็บเสียยาว”

“เมื่อสารีบุตรมาบวชในสำนักของเราแล้ว ทีฆนขะปริพาชกเที่ยวตามหาลุงของตนมาพบลุงของเขาคือสารีบุตร ถวายงานพัดเราอยู่ จึงพูดเปรยๆ เป็นเชิงกระทบกระเทียบว่า พระโคดมทุกสิ่งทุกอย่างข้าพเจ้าไม่พอใจหมด ซึ่งรวมความว่า เขาไม่พอใจตัวเราด้วย เพราะตถาคตก็รวมอยู่ในคำว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เราได้ตอบเขาไปว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอก็ควรไม่พอใจความคิดเห็นอันนั้นของเธอเสียด้วย”

“อานนท์ เราได้แสดงธรรมอื่นอีกเป็นอเนกปริยาย สารีบุตรถวายงานพัดไปฟังไป จนจิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง”

“อานนท์เอย ณ ภูเขาคิชฌกูฏดังกล่าวนี้ เราเคยพูดกับเธอว่า คนอย่างเรานี้ถ้าจะอยู่ต่อไปอีกหนึ่งกัปป์หรือเกินกว่านั้นก็พอได้ แต่เธอหารู้ความหมายแห่งคำที่เราพูดไม่”

“อานนท์ ต่อมาที่โคตมนิโครธ ที่เหวสำหรับทิ้งโจรที่ถ้ำสัตตบรรณ ใกล้เวภารบรรพต ที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเลื่องลือมาแต่โบราณการว่าเป็นที่อยู่อาศัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอันมาก เมื่อท่านเข้าไป ณ ที่นั้นแล้วไม่มีใครเห็นท่านออกมาอีกเลย จึงกล่าวขานกันว่าอิสิคิลิบรรพต(ภูเขากลืนกินฤษี) ที่เงื้อมเขาชื่อสัปปิโสณฑิกาใกล้ป่าสีตวันที่ตโปทาราม ที่ เวรุวันสวนไผ่อันร่มรื่นของจอมเสนาแห่งแคว้นมคธที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่มัททกุจฉิมิคทายวันทั้งสิบแห่งนี้มีรัฐเขตแขวงราชคฤห์”

“ต่อมาเมื่อเราทิ้งราชคฤห์ไว้เบื้องหลัง แล้วจาริกสู่เวสาลีนครอันรุ่งเรืองยิ่ง เราก็ให้นัยแก่เธออีกถึงหกแห่งคือที่ อุเทนเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ โคตมกเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ และ ปาวาลเจดีย์เป็นแห่งสุดท้ายคือสถานที่ซึ่งเราอยู่ ณ บัดนี้แต่เธอก็หาเฉลียวใจไม่ ทั้งนี้เป็นความบกพร่องของเธอเอง เธอจะคร่ำครวญเอาอะไรอีก”

“อานนท์เอย บัดนี้สังขารอันเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งนั้นมิใช่วิสัยของตถาคต อานนท์ เรามิได้ปรักปรำเธอ เธอเบาใจเถิดเธอได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บัดนี้เป็นการสมควร ที่ตถาคตจะจากโลกนี้ไปแต่ยังเหลือเวลาอีกสามเดือน บัดนี้สังขารของตถาคตเป็นเสมือนเรือรั่วคอยแต่เวลาจะจมลงสู่ท้องธารเท่านั้น”

“อานนท์ เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ”

และแล้วพระจอมศาสดาก็เสด็จไปยังภัณฑุคาม และโภคนครตามลำดับ ในระหว่างนั้นทรงให้โอวาทภิกษุทั้งหลายด้วยพระธรรมเทศนา อันเป็นไปเพื่อโลกุตตราริยธรรม กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ วิมุติญาณทรรศนะ เป็นต้นว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่ง แผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้น ใจย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบ ใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดด และฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ ไม่กระวนกระวาย เมื่อลม แดด และฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยีและเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ ให้ เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้นย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการมีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ”

“อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ย่อมพบกับปีติปราโมทย์อันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมาหาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยด้วยธรรมตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่าบัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาดย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปดประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้าพระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลง ติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจาก ตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน เป็นของตน ที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆเพียงสักว่าๆไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวาง และการสำรวมตนอยู่ในธรรม”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่นเขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจ ให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็กๆ เพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ เมื่อมีเกียรติมากขึ้นภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพ่งมองแต่ความแต่เจริญทางด้านวัตถุนั้นจิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยประสพความสงบเย็นเลยเขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและหลอกลวงหาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื้อรังตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบาย แต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุเต็มไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้นในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำกับคนจนๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ ทำ ด้วย กะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจ แม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า แน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกินแต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันไปทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภหลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกันและลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหา และดำเนินชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขความเยือกเย็น เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอนสับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาษของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไรจะคิดอะไรก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชีวิต ที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้น ก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและใจ ดูๆแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่นฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ มันเป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ สัตว์เดรฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือ เรื่องเกียรติคงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้

อีกอย่างคือเรื่องกาม แต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกีย์วิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติมิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามมิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเขามาบวกด้วยจึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไปอนิจา”

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากหลาย การอยู่รวมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง"

"ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆ เราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือบุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงรัดมัดผูกสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยาก คือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหยื่อของโลก เมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ไม่มีรูปใดที่จะรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูปแห่งสตรี”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ยังตัดอาลัยในสตรีไม่ได้ ย่อมจะต้องเวียนเกิด เวียนตายอยู่ร่ำไป แม้แต่สตรีก็เช่นกัน ถ้ายังตัดอาลัยในบุรุษไม่ได้ ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ กิเลสนั้นมีอำนาจควบคุมอยู่โดยทั่วไม่ว่าอยู่ในวัยใดและเพศใด”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ผู้หลงใหลอยู่ในโลกียารมณ์ ผู้เพลินอยู่ในความบันเทิงสุขอันเนื่องมาจากความมึนเมาในทรัพย์สมบัติชาติตระกูลความหรูหราฟุ่มเฟือย ยศศักดิ์และเกียรติอันจอมปลอมในสังคม ที่อยู่อาศัยอันสวยงาม อาหารและเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ต้องใส่ อำนาจและความทะนงตน ทั้งหมดนี้ทำให้บุคคลมีนัยน์ตาฝ้าฟาง มองไม่เห็นความงามแห่งพระสัทธรรม ความเมาในอำนาจเป็นแรงผลักดันที่มีพลังมากพอให้คนทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีอำนาจยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น พร้อมๆกันนั้นมันทำให้เขาลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่แยแสต่อเสียงเรียกร้องของศีลธรรมหรือมโนธรรมใดๆ มันค่อยๆระบายจิตใจของเขาให้ดำมืดไปทีละน้อยๆ จนเป็นสีหมึก ไม่อาจมองเห็นอะไรๆ ได้อีกเลย หัวใจที่เร่าร้อนอยู่แล้วของเขา ถูกเร่งเร้าให้เร่าร้อนมากขึ้นด้วยความทะยานอยากอันไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน วัตถุอันวิจิตรตระการตานั้นช่วยเป็นเชื้อให้ความทะยานอยากโหมแรงกลายเป็นว่ายิ่งมีมากยิ่งอยากใหญ่แม้จะมีเสียงเตือน และเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาว่าศีลธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมและคุ้มครองงโลก แต่บุคคลผู้รับรู้และพยายามประคับประคองศีลธรรมมีน้อยเกินไป สังคมมนุษย์จึงวุ่นวาย และกรอบเกรียมอย่างน่าวิตก”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้จัทน์ไม่สามารถหอมทวนลมได้ แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทิศกลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบลกลิ่นดอกมะลิ จัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพนับถือ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้ว พึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลยย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้เดินทางไปจนเมื่อยล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏฏ์คือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดใดนั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจและความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นจากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโค ซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วยตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ๆ ภิกษุทั้งหลาย น้ำตาของสัตว์ที่ ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเทียวอยู่ในวัฏฏ์สงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้น เท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมารวมกันไม่ให้กระจักกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือทุกข์เหมือนเต่าอันเขาโยนไปแล้วในกองไฟใหญ่ฉะนั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยคการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยคการทรมารกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรม พึงละเว้นเสีย ควรเดินตามสายกลาง คือ เดินตามสายกลาง คือเดินตามอริยมรรค มีองค์แปด คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบและการทำสมาธิชอบ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความทุกข์เป็นความจริงทุกประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจหรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กายความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก จากบบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้าด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันใหญ่ยิ่ง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า ความทุกข์ทั้งมวล ย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรนซึ่งมีลักษณะเป็นสาม คือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปราถนา เรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่งดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหา คลายตัณหาโดยสิ้นเชิง นั่นแลเราเรียกว่านิโรธ คือความดับทุกข์ได้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆคน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยศร ซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้นแต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยอะไร แล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาคือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยารักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศรีษะตน ทั้งๆที่ไฟลุกไหม้อยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่งและต่างคนต่างถือดุ้นไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่าร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือราคะบ้าง โทษะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจรนาเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสรี ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจรณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมารภิกษุผู้ปรารถนา พึงสลัดเหยื่อมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายพลกำลังแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้วเจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั่นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉนี้ กามเอย เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน ให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉนั้น ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำ ถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้น จากน้ำ แล้วคอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาพึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณ ให้ละบ่วงมารเสีย”

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้างคือจิตที่ดิ้นรนให้อยู่ในอำนาจ บุคลผู้มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้น คือผู้ที่สามารถเอาคนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทา สรรเสริญนั้นเป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกฝนตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พยาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภมียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่ายสามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจ โดยไม่พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันใดที่ทำไปแล้ว ต้องเดือดร้อนใจภายหลังต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาเสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดีควรเว้นเสีย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราอยู่ในวัยหนุ่มมีเกศายังดำสนิท ถูกแวดล้อมด้วยสตรีล้วนแต่สคราญตา เป็นที่น่าปรารถนาของบุรุษเพศผู้ยังตัดอาลัยในบ่วงกามมิได้ แต่เราเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย จึงสละสมบัติบรมจักรและนางผู้จำเริญตาออกแสวงหาโมกขธรรมแต่เดียวดาย เที่ยวไปอย่างไม่มีอาลัยปลอดโปร่งเหมือนบุคคลที่เป็นหนี้แล้วพ้นจากหนี้ เคยถูกคุมขังแล้วพ้นจากที่คุมขัง เคยเป็นโรคแล้วหายจากโรคหลังจากท่องเที่ยวอยู่เดียวดายและทำความเพียรอย่างเข้มงวดไม่มีใครจะทำได้ยิ่งกว่า อยู่หกปี เราก็ได้ประสบชัยชนะอย่างใหญ่หลวงในชีวิต ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณสงบเยือกเย็นถึงที่สุด ล่วงพ้นบ่วงมารทั้งปวงทั้งที่เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ มารและธิดามาร คือนางตัณหา นางราคะ และนางอรดี ได้พยายามยั่วยวนเราด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้เราตกอยู่ในอำนาจ แต่เราก็หาสนใจไยดีไม่ ในที่สุดพวกนางก็ถอยหนีไปเองเราชนะมารอย่างเด็ดขาดจนมีนามก้องโลกว่า ผู้พิชิตมาร

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่ง ชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อเรา หลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่น เป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมา เพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้น ทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่ง และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพลาก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้าแต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังจะรอเราอยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัว ขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอยจงมองดูชีวิตเหมือนคนยืนอยู่บนฝั่ง มองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉนั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักขุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียว และว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวีตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่ที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสียเพราะฉนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใดก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้างเพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทร์ แม้จะแห้งก็ไม่ที้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือ ไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้งมิใช่หรือ บุคคลร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน บุคคลพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน บุคคลแสนคนหาคนพูดความจริงหาได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่สละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบว่าจะหาในบุคคลจำนวนเท่าไรจึงจะพบได้หนึ่งคน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทองหรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้และที่อยู่อาศัย สิ่งอื่นๆทั้งหมดนี้บุคคลนำไปไม่ได้ต้องทอดทิ้งไว้ทั้งหมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจนั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉนั้นผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรมอันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไฟไหม้บ้าน ภาชนะเครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็ถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเอง ฉันใดคนในโลกนี้ถูกไฟ คือความแก่ ความตายไหม้อยู่ก็ฉันนั้นคนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการทำทาน ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออกดีแล้วมีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมละสมบัติและแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้วพึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เมื่อได้ให้ได้บริโภคตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา เขาเก็บพันธุ์ข้าวเปลือกไว้จนเน่าและเสีย ไม่สามารถจะปลูกได้อีกข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ด ย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใดทานที่บุคคลทำแล้วฉันนั้น ย่อมมีผลไพศาลการรวบรวมทรัพย์ไว้โดยมิได้ใช้สอยให้เป็นประโยชน์ทรัพย์นั้นจะมีคุณแก่ตนอย่างไร เหมือนผู้มีเครื่องประดับอันวิจิตรตระการตาแต่หาได้ประดับไม่ เครื่องประดับนั้นจะมีประโยชน์อะไร รังแต่จะก่อความหนักใจในการเก็บรักษา”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย นกชื่อ มัยหกะ ชอบเที่ยวไปตามซอกเขาและที่ต่างๆ มาจับต้นเลียบที่มีผลสุก แล้วร้องว่าของกู ของกู ในขณะที่มันร้องอยู่นั่นเอง หมู่นกเหล่าอื่นที่บินมากินผลเลียบตามต้องการแล้วจากไป นกมัยหกะก็ยังร้องว่าของกู ของกู อยู่นั่นเองข้อนี้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นรวบรวมสะสมทรัพย์ไว้มากมาย แต่ไม่สงเคราะห์ญาติตามที่ควรทั้งมิได้ใช้สอยเองให้ผาสุก มัวเฝ้ารักษาและภูมิใจว่าของเรามี ของเรามี ดังนี้ เมื่อเขาประพฤติอยู่เช่นนี้ทรัพย์สมบัติย่อมเสียหายไป ทรุดโทรมไปด้วยเหตุต่างๆ มากหลายเขาก็คงคร่ำครวญอยู่อย่างเดิมนั่นเอง และต้องงเสียใจในของที่เสียไปแล้ว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดหาทรัพย์ได้แล้ว พึงสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์มีญาติเป็นต้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ของคนไม่ดีนั้น ไม่สู้อำนวยประโยชน์แก่ใคร เหมือนสระโบกขรณีอันตั้งอยู่ในที่ไม่มีมนุษย์ แม้จะใสสะอาด จืดสนิทเย็นดี มีท่าลงสะดวกน่ารื่นรมย์ แต่มหาชนก็หาได้ดื่ม อาบ หรือใช้สอยตามต้องการไม่ น้ำนั้นมีอยู่อย่างไร้ประโยชน์ ทรัพย์ของคนตระหนี่ก็ฉันนั้น ไม่อำนวยประโยชน์สุขแก่ใครๆ เลย รวมทั้งตัวเขาเองด้วย ส่วนคนดีเมื่อมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุข บำรุงสมณะพราหมจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อย สะอาดเยือกเย็น น่าเรื่อนรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการ โภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลายนักกายกรรมผู้มีกำลังมาก คือนักมวยปล้ำผู้มีกำลังมหาศาลนั้น ก่อนที่จะได้กำลังมาเขาก็ต้องออกกำลังไปก่อน การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไร ย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิด มนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคน แต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย เธอทั้งหลายจงพิจรณาดูความจริงตามธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งเถิด คือแม่น้ำสายใดเป็นแม่น้ำตาย ไม่ไหล ไม่ถ่ายเทไปสู่ที่อื่น หยุดุดนิ่ง ขังอยู่ที่เดียว แม่น้ำสายนั้นย่อมพลันตื้นเขินและสกปรกเน่าเหม็น เพราะสิ่งสกปรกลงมามิได้ถ่ายเท นอกจากนี้บริเวณที่ใกล้แม่น้ำสายนั้น จะหาพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เขียวสดก็หายาก แต่แม่น้ำสายใดไหลเอื่อยลง สู่ทะเลทะเลหรือแตกสาขาออกไปไหลเรื่อยไปไม่รู้จักหมดสิ้น คนทั้งหลายได้อาศัยอาบดื่มและใช้สอยตามปรารถนา มันจะใสสะอาดอยู่เสมอไม่มีวันเหม็นเน่า หรือสกปรกได้เลย พืชพันธุ์ ธัญญาหาร ณ บริเวณใกล้เคียงก็เขียวสดสวยงาม”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตระหนี่เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็เก็บตุนไว้ไม่ถ่ายเทให้ผู้อื่นบ้าง ก็เหมือนแม่น้ำตายไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครส่วนผู้ ไม่ตระหนี่ เป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลเอื่อยอยู่เสมอ กระแสน้ำก็ไม่ขาด ทั้งยัง เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สาธุชนได้ทรัพย์แล้วพึงบำเพ็ญตนเสมือนแม่น้ำซึ่งไหลใสสะอาด ไม่พึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยัญญสัมปทา หรือทานจะมีผลมาก อานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ

๑. ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจผ่องใส ชื่นบาน

๒. เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส

๓. เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย

๔. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ

๕. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทษะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทษะ

๖. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ

ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แล เป็นการยากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนดเหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยากว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลราชาแห่งแคว้นนี้ เข้าไปหาตถาคตและถามว่า บุคคลควรจะให้ทานในที่ใด เราตอบว่า ควรให้ทานในที่ที่เลื่อมใส คือเลื่อมใสบุคคลใด คณะใด ก็ควรให้แก่บุคคล นั้น คณะนั้น พระองค์ถามต่อไปว่า ให้ทานในที่ใดจึงจะมีผลมาก เราตถาคตตอบว่า ถ้าต้องการผลมากแล้วละก็ ควรจะให้ทานผู้มีศีล การให้แก่บุคคลผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ สถานที่ทำบุญเปรียบเหมือนเนื้อนาเจตตนาและไทยทานเปรียบเหมือนเมล็ดพืช ถ้าเนื้อนาดี คือบุคคลผู้รับเป็นคนดีมีศีลธรรม และประกอบด้วยเมล็ดพืช คือเจตนาและไทยทานของทายกบริสุทธิ์ ทานนั้นย่อมมีผลมาก การหว่านข้าวลงในนาที่เต็มไปด้วยหญ้าแฝกและหญ้าคา ต้นข้าวย่อมขึ้นได้โดยยากฉันใด การทำบุญในคณะบุคคลที่มีศีลน้อย ก็ฉันนั้น คือย่อมได้บุญน้อย ส่วนการทำบุญในคณะบุคคลซึ่งมีศีลดี มีธรรมงาม ย่อมจะมีผลมาก เป็นภาวะอันตรงกันข้ามอยู่ดังนี้เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผล หยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยด ยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่ง บุญหรือบาปแม้ทีละน้อยก็ฉันนั้น ผู้สั่งสมบุญ ย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาป ย่อมเพียบแปร้ไปด้วยบาป”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระคือความสำรวม เพื่อปหานะ คือความละ เพื่อวิราคะ คือคลายความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือความดับทุกข์”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีตมิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือคิดเอาไม่ได้ หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวๆยานๆ มีอาการทรุดโทรมให้เห็นได้อย่างเด่น เหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ผูกกระหนาบคาบค้ำไว้ จะยืนนานไปได้สักเท่าไร การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมีธรรม เป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้ตถาตคก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิดมันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตามมันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่า อันเขาทิ้งเสียโดยไม่ใยดี”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของที่สกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีษ อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆ เข้าไว้แล้งซึมออกมาเสมอๆ เจ้าของร่างกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นแต่เพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่เพราะทราบชัดว่าภายในแห่งหีบศพอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุหรือใครๆก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเคารพหนักแน่นในพระศาสดา และพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์ มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเครื่องเผาบาปเคารพในไตรสิกขาและเคารพในปฏิสันถาร การต้อนรับอาคันตุกะ ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่พวกเธอยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม เคารพในสิกขาบทบัณณัติยำเกรงภิกษุผู้เป็นสังฆเถระสังฆบิดร ไม่ยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัณหาพอใจในการอยู่อาศัยเสนาสนะป่าปรารถนาให้เพื่อนพรหมจารีย์มาสู่สำนักและอยู่เป็นสุข ตราบนั้นพวกเธอจะไม่เสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่พวกเธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยคุยฟุ้งซ่าน ไม่ชอบในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว ไม่คบมิตรเลว ไม่หยุดความเพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมขั้นสูงขึ้นไปแล้ว ตราบนั้นพวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีประโยชน์แก่ผู้ไม่ทำตามเหมือนดอกไม้ที่มีสีสวย สัณฐานดี แต่หากลิ่นมิได้ แต่วาจาสุภาษิตจะมีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ทำตามเหมือนดอกไม้ที่มีสีสวย มีสัณฐานงามและมีกลิ่นหอม ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวดีแล้วนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ไพศาลแก่ผู้ไม่ทำตามโดยเคารพ แต่จะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาลแก่ผู้ซึ่งกระทำโดยนัยตรงกันข้าม มีการฟังโดยเครพเป็นต้น”

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า “มาเถิดอานนท์ เราจักไปนครกุสินารานครด้วยกัน” พระอานนท์รับพุทธบรรชาแล้ว ประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบพร้อมกัน แล้วเดินจากสถานที่นั้นมุ่งสู่กุสินารานคร ในระหว่างทางทรงเหน็ดเหนื่อยมากจึงแวะเข้าร่มพฤกษ์ใบหนาต้นหนึ่ง รับสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิทำเป็นสี่ชั้น

“อานนท์ เราเหน็ดเหนื่อยเหลือเกินอาพาธก็มีอาการรุนแรงขึ้น เร็วเขาเถิดรีบปูลาดสังฆาฏิลง เราจะนอนพักผ่อน และขอให้เธอไปนำ น้ำมาดื่มพอแก้กระหาย”

“พระเจ้าข้า” พระอานนท์ทูล “เกวียนเป็นจำนวนมากเพิ่งผ่านพ้นลำน้ำไปสักครู่นี่เอง น้ำยังขุ่นอยู่ไม่สมควรที่พระองค์จะดื่ม ขอพระองค์ไปดื่ม ณ แม่น้ำกกุธานทีเถิด มีน้ำจืดสนิทเย็นดี”

“อย่าเลย อานนท์” พระตถาคต ตรัสเป็นเชิงวิงวอน “อย่าคอยจนไปถึงแม่น้ำกกุธานทีเลยย เรากระหายเหลือเกิน ร่างกายร้อน คอแห้งผาก เธอจงรีบไปนำน้ำมาเถิด”

พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วถือบาตรของพระตถาคตเจ้าไป ท่านมีอาการเศร้าซึมและวิตกกังวล เมื่อมาถึงริมแม่น้ำยังมองเห็นน้ำขุ่นอยู่ ท่านมีอาการเหมือนว่าจะเดินกลับ แต่ด้วยความเชื่อและห่วงใยในพระศาสดา จึงเดินลงไปอีก พอท่านทำท่าจะตักน้ำขึ้นมาเท่านั้นน น้ำซึ่งมีสี ขุ่นขาวเพราะรอยเกวียนและโค ก็ปรากฏเป็นน้ำใสสะอาดเหมือนกระจก เงา ท่านจึงตักน้ำนั้นมา แล้วรีบเดินกลับน้อมบาตรน้ำเข้าไปถวายพระ ศาสดา

พระพุทธองค์ทรงดื่มน้ำด้วยความกระหายย พระอานนท์มองดู ด้วยความชื่นชมในพุทธบารมีแล้วทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า อัศจรรย์จริง สิ่งที่ไม่เคยปรากฏ ได้มี ได้ปรากฏแล้ว เป็นเพราะพุทธานุภาพโดยแท้ บารมีธรรมเป็นสั่งสมแท้” แล้วท่านก็เล่าเรื่องน้ำที่ขุ่นน กลับใสสะอาดโดย ฉับพลันให้พระผู้มีพระภาคสดับ พระจอมมุนีคงประทับสงบนิ่งด้วยอาการแห่งผู้เจนจบและเข้าใจในความเป็นไปทั้งปวง

ก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย เมื่อพระองค์ผ่านมาทางเมืองปาวา ประทับ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทะบุตรแห่งนายช่างทอง นายจุนทะอาราธนาพระพุทธองค์รับภัตตาหาร ณ บ้านของตน แล้วจัดแจงขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีต รุ่งขึ้นได้เวลาแล้ว อาราธนาพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยพระพุทธองค์ทอดทัศนาการเห็นสูกรมัทวะอาหารชนิดหนึ่งย่อยยาก จึงรับสั่งให้ถวายแด่พระองค์แต่ผู้เดียว มิให้ถวายแก่ภิกษุรรูปอื่น เมื่อพระองค์เสวยแล้วก็รับสั่งให้ฝังเสีย

ดูเถิด พระมหากรุณาแห่งพระองค์มีถึงปานนี้ สำหรับพระองค์นั้นมิได้ห่วงใยในชิวิตอีกแล้ว เพราะถึงอย่างไรก็ต้องนิพพานในคืนวันนี้แน่นอน ทรงเป็นห่วงภิกษุสาวกจะลำบาก ถ้าฉันอาหารที่ย่อยยากชนิดนั้นประการหนึ่งมารดาหรือบิดาผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมในบุตรของตน ทราบว่าอะไรจะทำให้บุตรธิดาลำบาก ย่อมพร้อมที่จะรับความลำบากอันนั้นเสียเอง

สูกรมัทวะให้ผลในทันที อาการประชวรของพระองค์ทรุดหนักลงอย่างน่าวิตก มีพระบังคนเป็นโลหิต แต่ถึงกระนั้นก็ยังเสด็จด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาสู่กุสินารานครดังกล่าวนี้

พระองค์ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ หลายครั้ง ก่อนจะถึงกุสินาราราชธานีแห่งมัลลกษัตริย์ ณ ใต้ร่มพฤกษ์ใบหนาแห่งหนึ่ง ขณะที่พระองค์หยุดพักมีบุตรแห่งมัลลกษัตริย์นามว่า ปุกกุสะ เคยเป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางมาจากกุสินาราเพื่อไปยังปาวานคร ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแล้วเกิดความเลื่อมใสจึงน้อมนำผ้าคู่งามซึ่งมีสีเหลืองเหมือนทองสิงคีเข้าไปถวายรับสั่งให้ถวายแก่พระองค์ผืนหนึ่ง แก่พระอานนท์ผืนหนึ่ง

พระอานนท์เห็นว่าผ้านั้นไม่สมควรแก่ตน จึงน้อมนำผ้านั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคอีกผืนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงนุ่งและหม่แล้วผ้านั้นสวยงามยิ่งนัก ปรากฏประดุจถ่านเพลิงปราศจากควันและเปลว พระฉวีของพระองค์เล่าก็ช่างผุดผ่องงดงามเกินเปรียบ ท่านได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์สังเกตเห็นพระฉวีของพระองค์ผุดผ่องยิ่งนัก เกินที่จะเปรียบด้วยสิ่งใดเปล่งปลั่งมีรัศมี พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระองค์ทรงมีพระชนมายุถึงแปดสิบปีแล้ว อยู่ในวัยชราเต็มทีเหมือนผลไม้สุกจนงอม อนึ่งเล่าเวลานี้พระองค์ทรงพระประชวรหนัก ร่างกายเป็นผู้มีโรคเบียดเบียน แต่เหตุไฉนผิวพรรณของพระองค์จึงผุดผ่องยิ่งนัก”

“อานนท์” พระศาสดาตรัสตอบ “เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าที่เป็นอย่างนี้ ในคราวจะตรัสรู้คราวหนึ่ง และก่อนจะนิพพานอีกคราวหนึ่ง ผิวพรรณแห่งตถาคตย่อมปรากฏงดงามประดุจรัศมีแห่งสุริยาเมื่อแรกรุ่งอรุณและจวนจะอัศดง ดูกรอานนท์ ในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้ ตถาคตจะต้องปรินิพานในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ซึ่งโน้มกิ่งเข้าหากัน มีใบใหญ่หนา มีดอกเป็นช่อชั้น” ตรัสดังนั้นแล้ว จึงเสด็จนำพระอานนท์ไปสู่ฝั่ง น้ำกุธานที เสด็จลงสรงสำราญตามพระพุทธอัธยาสัย แล้วเสด็จเสด็จขึ้นจากกกุธานที ไปประทับ ณ อัมพวัน รับสั่งให้พระจุนทะน้องชายพระสารีบุตรปูลาดสังฆาฏิเป็นสี่ชั้นแล้วบรรทมด้วยสีหะไสยา คือตะแคงขวาเอาพระหัตถ์รองรับพระเศียรซ้อนพระบาทให้เหลื่อมกัน มีพระสติสัมปชัญญะตั้งพระทัยว่าจะลุกในไม่ช้า

ในขณะนั้นเอง ความปริวิตกถึงนายจุนทะผู้ถวายสูกรมัทวก็เกิดขึ้น จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เมื่อเรานิพพานไปแล้วอาจมีผู้กล่าวโทษจุนทะว่าถวายอาหารที่เป็นพิษ จนเป็นเหตุให้เราปรินิพพาน หรือมิฉะนั้นจุนทะอาจเกิดวิปฏิสารเดือดร้อนใจตัวเองว่า เพราะเสวยสูกรมัทวะอันตนถวายแล้วพระตถาคตจึงนิพพาน ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาลมีอยู่สองคราวด้วยกันคือเมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนจะตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้ว ตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพาน คือการดับกิเลส ครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทองแล้ว เราก็นิพพานด้วยขันธนิพพาน คือดับขันธ์อันเป็นวิบากที่เหลืออยู่ ถ้าใครๆ จะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ ถ้าจุนทะจะพึงเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบใจให้เขาคลายวิตกกังวลเสีย อาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา”

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี ถึงกรุงกุสินารา เสด็จ เข้าสู่สาลวโนทยาน คืออุทยานซึ่งสะพรึบสะพรั่งด้วยต้นสาละ รับสั่งให้พระอานนท์จัดแท่นบรรทมระหว่างต้นสาละ ซึ่งมีกิ่งโน้มเข้าหากันให้หันพระเศียรไปทางทิศอุดร

ครั้งนั้นมีบุคคลเป็นจำนวนมาก จากสารทิศต่างๆเดินทางมาเพื่อเฝ้าพระพุทธสรีระเป็นปัจฉิมกาล แผ่เป็นปริมณฑลกว้างออกไปสุดสายตา สมเด็จพระมหาสมณะทรงเห็นเหตุการณ์ดังนี้แล้ว จึงตรัสกับพระอานนท์เป็นเชิงปรารภว่า

“อานนท์ พุทธบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่นดอกไม้ ธูป เทียนเป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ผู้ใดปฏิบัติตามธรรม ปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พระอานนท์ทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนนี้ออกพรรษาแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเดินทางมาจากทิศานุทิศเพื่อเฝ้าพระองค์ ฟังโอวาทจากพระองค์ บัดนี้พระองค์จะปรินิพพานเสียแล้ว ภิกษุทั้งหลายจะพึงไป ณ ที่ใด”

“อานนท์ สถานที่อันเป็นเหตุให้ระลึกถึงเราก็มีอยู่คือ สถานที่ที่เราประสูติแล้ว คือลุมพินีวันสถาน สถานที่ที่เราตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก คือป่าอิสิปตนมิคทายะแขวงเมืองพาราณสี สถานที่ที่เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณบรรลุความรู้อันประเสริฐ ทำกิเลสให้สิ้นไป คือโพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และสถานที่ที่เราจะปรินิพพาน ณ บัดนี้ คือป่าไม้สาละ ณ นครกุสินารา อานนท์เอย สถานที่ทั้งสี่แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถาน สารานียสถานสำหรับให้ระลึกถึงเราและเดินตามรอยพระบาทแห่งเรา”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในฐานะต่างๆ เป็นมารดาบ้าง เป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง เป็นเครือญาติบ้าง และเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยบ้าง ภิกษุจะพึงปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร”

“อานนท์ การที่ภิกษุจะไม่ดูไม่แลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี”

“ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็นเล่าพระเจ้าข้า”พระอานนท์ทูลซัก

“ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็น ก็อย่าพูดด้วย อย่าสนทนาด้วยนั้นเป็นการดี” พระศาสดาตรัสตอบ

“ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่าพระเจ้าข้า จะปฏิบัติอย่างไร”

“ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยก็จงมีสติไว้ ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์ วาจาให้เรียบร้อย อย่าให้ความกำหนัดยินดี หรือความหลงใหลครอบงำจิตใจได้ อานนท์ เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกาะเกี่ยวนั้นเป็นมลทินของพรหมจรรย์”

“แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกาะเกี่ยวเล่าพระเจ้าข้า จะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่”

“ไม่เป็นซิอานนท์ เธอระลึกได้อยู่หรือ เราเคยพูดไว้ว่า อารมณ์อันวิจิตร สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้นเพราะการดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว สิ่งวิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป”

พระผู้มีพระภาคบรรทมสงบนิ่ง พระอานนท์ก็พลอยนิ่งตามไปด้วย ดูเหมือนท่านจะตรึกตรองพุทธวจนะที่ตรัสจบลงสัครู่นี้

ความเงียบสงัดปกคลุมอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพระอานนท์ก็ทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะปฏิบัติเกี่ยวกับพุทธสรีระอย่างไร”

“อย่าเลยอานนท์” พระศาสดาทรงห้าม “เธออย่ากังวลกับเรื่องนี้เลย หน้าที่ของพวกเธอคือคุ้มครองตนด้วยดี จงพยายามทำความเพียรเผาบาป ให้เร่าร้อนอยู่ทุกอิริยาบทเถิด สำหรับเรื่องสรีระของเราเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ที่จะพึงทำกัน กษัตริย์ พราหมณ์ และคหบดีเป็นจำนวนมากที่เลื่อมใสตถาคตก็มีอยู่ไม่น้อย เขาคงทำกันเองเรียบร้อย”

“พระเจ้าข้า” พระอานนท์ทูล “เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์ก็จริงอยู่ แต่ถ้าเขาถามข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะพึงบอกเขาอย่างไร”

“อานนท์ ชนทั้งหลายเมื่อปฏิบัติต่อสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์อย่างไร ก็พึงปฏบัติต่อสรีระแห่งตถาคตอย่างนั้นเถิด”

“ทำอย่างไรเล่าพระ เจ้าข้า”

“อานนท์ คืออย่างนี้ เขาจะพันสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์ด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วพันด้วยผ้าใหม่อีก ทำอย่างนี้ถึงห้าร้อยคู่ หรือห้าร้อยชั้น แล้วนำวางในรางเหล็กซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมัน แล้วปิดครอบด้วยรางเหล็กเป็นฝา แล้วทำจิตกาธานด้วยไม้หอมนานาชนิด แล้วถวายพระเพลิง เสร็จแล้วเชิญพระอัฐิธาตุแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นไปบรรจุสถูป ซึ่งสร้างไว้ ณ ทางสี่แพร่ง และสรีระแห่งตถาคตก็พึงทำเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อผู้เลื่อมใสจักได้บูชา และเป็นประโยชน์สุขแก่เขาตลอดกาลนาน”

และแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงถูปารหบุคคลคือบุคคลผู้ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในพระสถูปสี่จำพวก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์

ตรัสแล้วบรรทมนิ่งอยู่ พระอานนท์ถอยออกจากที่เฝ้าเพราะความเศร้าสลดสุดที่จะอดกลั้นได้ ท่านไปยืนอยู่ที่สงัดเงียบแห่งหนึ่ง น้ำตาไหลพรากจนอาบแก้ม แล้วเสียงสะอื้นเบาๆก็ตามมา บัดนี้ท่านมีอายุอยู่ในวัยชรานับได้แปดสิบแล้ว เท่ากับพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า อุปสมบทมานานถึงสี่สิบพรรษา ได้ยินได้ฟังพระธรรมเทศนาอบรมจิตใจอยู่เสมอได้บรรลุธรรมขั้นต้นเป็นโสดาบันบุคคล ผู้มีองค์ประกอบดังกล่าวนี้ ถ้าไม่มีเรื่องสะเทือนใจอย่างแรงคงจะไม่เศร้าโศกปริเวทนาการถึงเพียงนี้ ท่านสะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งองค์ บางคราวจะมองเห็นผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกายสั่นน้อยๆ ตามแรงสั่นแห่งรูปกาย แน่นอนท่านรู้สึกสะเทือนใจและว้าเหว่อย่างยิ่ง เป็นเวลานานเหลือเกินที่ท่านรับใช้พระศาสดา ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก และเอื้อเฟื้อต่อกัน การจากไปของพระผู้มีพระภาค จึงเป็นเสมือนกระชากดวงใจของท่านให้หลุดลอย

“โอ พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของโลกและของข้าพระองค์” เสียงคร่ำ

ครวญออกมากับเสียงสะอื้น “ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่ได้เห็นพระองค์อีกแล้ว พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาดุจห้วงมหรรณพ มาด่วนจากข้าพระองค์ ทั้งๆที่ข้าพระองค์ยังมีอาสวะอยู่ เหมือนพี่เลี้ยงสอนให้เด็กเดิน เมื่อเด็กน้อยพอจะหัดก้าวเท่านั้น พี่เลี้ยงก็มีอันพลัดพลากจากไป ข้าพระองค์เหมือนเด็กน้อยผู้นั้น” พระอานนท์คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร

เมื่อพระอานนท์หายไปนานผิดปกติ พระศาสดาจึงตรัสถามว่า

“ภิกษุทั้งหลาย อานนท์หายไปไหน “

“ไปยืนร้องไห้อยู่โคนต้นไม้โน้น พระเจ้าข้า” ภิกษุทั้งหลายทูล

“ไปตามอานนท์มานี่เถิด” พระศาสดา ตรัสสั่ง

พระอานนท์เข้าสู่ที่เฝ้าด้วยใบหน้าที่ยังชุ่มด้วยน้ำตา พระศาสดา ตรัสปลอบใจว่า “อานนท์ อย่าคร่ำครวญนักเลย เราเคยบอกแล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ในโลกนี้หรือโลกไหนๆ ก็ตามไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรเลย สิ่งทั้งหลายมีการเกิดย่อมมีการดับเป็นธรรมดา เป็นที่สุดไม่มีอะไรยับยั้งต้านทาน”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นประดุจดวงตะวัน” พระอานนท์ทูลด้วยเสียงสะอื้นน้อยๆ “ข้าพระองค์มารำพึงว่า ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์เที่ยวติดตามประดุจฉายาต่อไปนี้ข้าพระองค์จะติดตามผู้ใดเล่า จะ พึงตั้งน้ำใช้น้ำเสวยเพื่อผู้ใด จะ พึงปัดกวาดเสนาสนะที่หลับนอน เพื่อผู้ใดอนึ่งเวลานี้ข้าพระองค์มีอาสวะอยู่ พระองค์มาด่วนปรินิพพานใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ กำจัดกิเลสให้หมดสิ้น ข้าพระองค์อยู่อย่างว้าเหว่และเดียวดาย เมื่อคำนึงอย่างนี้แล้ว ก็จะสุดหักห้ามความโศกสลดได้”

“อานนท์ เธอเป็นผู้มีบารมีธรรมที่สั่งสมมาไว้แล้วมาก เธอเป็นผู้มีบุญที่สั่งสมไว้แล้วมาก อย่าเสียใจเลยกิจอันใดที่ควรทำแก่ตถาคต เธอได้ทำกิจนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วยกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาอย่างยอดเยี่ยมจงประกอบความเพียรเถิด เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอจะต้องประสบอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ในไม่ช้า” ตรัสดังนี้แล้ว จึงเรียกภิกษุทั้งหลายเข้ามาสู่ที่ใกล้ แล้วทรงสรรเสริญพระอานนท์เป็นอเนกปริยาย เป็นต้นว่า

“ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิตเป็นผู้รอบรู้และอุปัฏฐากเราอย่างยอดเยี่ยม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ซึ่งมีภิกษุเป็นผู้อุปัฏฐากนั้น ก็ไม่ดีเกินไปกว่าอานนท์ อานนท์เป็นผู้ดำเนินกิจด้วยปัญญา รู้การที่ควรไม่ควรรู้กาลที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มาเฝ้าเราว่า กาลนี้สำหรับกษัตริย์ กาลนี้สำหรับราชามหาอำมาตย์ กาลนี้สำหรับคนทั่วไป ควรได้รับการยกย่องนานาประการ มีคุณธรรมน่าอัศจรรย์ ผู้ที่ยังไม่เคยเห็นไม่เคยสนทนาก็อยากเห็นอยากสนทนาด้วย อยากฟังธรรมของอานนท์ เมื่อฟังก็มีจิตเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่อานนท์แสดง ไม่อิ่มไม่เบื่อด้วย ธรรมวรีรส ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบุคคลที่หาได้ยากผู้หนึ่ง”

พระอานนท์ผู้มีความห่วงใยในพระศาสดาไม่มีที่สิ้นสุด กราบทูลด้วยน้ำเสียงที่ยังเศร้าอยู่ว่า

“พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นประดุจพระเจ้าจักรพรรดิ์ในทางธรรม ทรงสถาปนาอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นทรงเป็นราชาสูงยิ่งกว่าราชาใดๆในพื้นพิภพนี้ ข้าพระองค์เห็นว่า ไม่สมควรแก่พระองค์เลยที่จะปรินิพพานในเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ขอพระองค์ไปปรินิพพานในเมืองใหญ่ๆ เช่นนครราชคฤห์ สาวัตถี จำปา สาเกต โกสัมพี พาราณสี เป็นต้น เถิดพระเจ้าข้า ในมหานครเหล่านั้น กษัตริย์ พราหม เศรษฐี คหบดี และชาวนครทุกชั้นที่เลื่อมใสในพระองค์ก็มีอยู่มาก จักได้ทำมหาสักการะแด่พระสรีระแห่งพระองค์เป็นมโหฬาร ควรแก่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งอุดมรัตน์ในโลก”

“อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ชีวิตของตถาคตเป็นชีวิตแบบอย่าง ตถาคตนิพพานไปแต่เพียงรูปเท่านั้น แต่เกียรติคุณของเราคงอยู่ต่อไป เราต้องการให้ชีวิตนี้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อานนท์เอย ตถาคตอุบัติแล้วเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน เมื่ออุบัติมาสู่โลกนี้ เราเกิดแล้วในป่านามว่าลุมพินี เมื่อตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเราก็ได้บรรลุแล้วในป่าตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์ มหานคร เมื่อตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกได้สาวกเพียงห้าคน ณ ป่าอิสิปตนมิคทายะ เขตเมืองพาราณสี ครั้งนี้เป็นครั้วสุดท้ายแห่งเรา เราก็ควรนิพพานในป่าเช่นเดียวกัน”

“อนึ่ง กุสินารานี้ แม้บัดนี้เป็นเมืองน้อย แต่ในโบราณกาล กุสินารานี้เคยเป็นเมืองใหญ่มาแล้ว เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิ์ นามว่า มหาสุทัสสนะ นครนี้เคยชื่อกุสาวดีเป็นราชธานีที่สมบูรณ์ มั่งคั่งมีคนมาก มีมนุษย์นิกรเกลื่อนกล่น พรั่งพร้อมด้วยธัญญาหาร มีรมณียสถานที่บันเทิงจิต ประดุจดังราชธานีแห่ทิพยนคร กุสาวดีราชธานีนั้นกึกก้องคฤหาสน์ทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยเสียงสิบประการคือเสียง คชสาร เสียงพาชี เสียงเภรีและรถ เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงสังข์ รวมทั้งสำเนียงประชาชนเรียกกันบริโภคอาหารด้วยความสำราญเบิกบานจิต”

“พระเจ้ามหาสุทัสสนะองค์จักรพรรดิ์เล่า ก็ทรงเป็นอิสราธิบดีในปฐพีมณฑล ทรงชำนะปัจจามิตรโดยธรรม ไม่ต้องใช้ทัณฑ์และศัสตรา ชนบทสงบราบคาบปราศจากโจรผู้ร้าย มารดาและบุตรธิดามีความอิ่มอกด้วยความเพลิดเพลิน ประตูบ้านปราศจากลิ่มสลัก เป็นนครที่เรื่อยรมย์ร่มเย็นสมเป็นราชธานี แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์อย่างแท้จริง”

“อีกอย่างหนึ่ง อานนท์เอย เมื่อมองมาทางธรรมให้เกิดสังเวชสลดจิตก็พอคิดได้ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมุ่งไปสู่จุดสลายตัว อานนท์ จงดูเถิด พระเจ้าจักรพรรดิ์มหาสุทัสสนะ ก็สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เมือง

กุสาวดีก็เปลี่ยนมาเป็นกุสินาราแล้วประชาชนกุสาวดีก็ตายกันไปหมดแล้ว นี่แลไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรยั่งยืน ตถาคตเองก็จะนิพพานในไม่ช้านี้”

แล้วพระศาสดาก็รับสั่งให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวปรินิพพานแก่ มัลลกษัตริย์ว่า พระตถาคตเจ้าจักปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อมัลลกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินาราสดับข่าวนี้ต่างก็ทรงกำสรดโศกาดูรทุกข์โทมนัสทับทวี สยายพระเกศายกพระพาหาทั้งสองขึ้นแล้วคร่ำครวญล้มกลิ้งเกลือกประหนึ่งบุคคลที่เท้าขาด ร่ำไรรำพันถึงพระโลกนาถว่า”พระโลกนาถด่วนปรินิพพานนัก ดวงตาของโลกดับลงแล้ว ประดุจสุริยาซึ่งให้แสงสว่างดับวูบลง”

ด้วยอาการโศกาดูรดั่งนี้ มัลลกษัตริย์ตามพระอานนท์ไปเฝ้าพระศาสดา ณ สาลวโนทยาน พระอานนท์จัดให้เข้าเฝ้าเป็นตระกูลๆไป แล้วกลับสู่สัณฐาคาร คืนนั้นมัลลกษัตริย์ประชุมกันอยู่จนสว่างมิได้บรรทมเลย

ท่ามกลางบรรยากาศดังกล่าวนี้ นักบวชปริพาชกหนุ่มคนหนึ่งขออนุญาตผ่านฝูงชนขอเฝ้าพระศาสดา พระอานนท์ได้สดับสำเนียงนั้นจึงออกมารับและขอร้องวิงวอนว่า อย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย

“ข้าแต่พระอานนท์” ปริพาชกผู้นั้นกล่าว “ข้าพเจ้า ขออนุญาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการขอท่านได้โปรดอนุญาตเถิด ข้าพเจ้าสุภัททะปริพาชก”

“อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว พระองค์ประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน”

“ท่านอานนท์” สุภัททะวิงวอนต่อไป “โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดูโปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้า เฝ้าพระศาสดาเถิด”

พระอานนท์คงทัดทานอย่างเดิม และสุภัททะก็อ้อนวอนครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ยอมย่อท้อจนกระทั่งได้ยินถึงพระศาสดา พระมหากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด รับสั่งกับพระอานนท์ว่า

“อานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด”

เพียงเท่านี้สุภัททะปริพาชกก็ได้เข้าเฝ้าสมประสงค์ เขากราบลงใกล้แท่นบรรทมแล้วทูลว่า “ข้าแต่พระจอมมุนี ข้าพระองค์นามว่า สุภัททะ ถือเพศเป็นปริพาชกมาไม่นานได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือเกียรติคุณแห่งพระองค์ แต่ก็หาได้เคยเข้าเฝ้าไม่ บัดนี้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ขอประทานโอกาสซึ่งมีอยู่น้อยนี้ทูลถามข้อข้องใจบางประการเพื่อจะได้ไม่เสียใจภายหลัง”

“ถามถิดสุภัททะ” พระศาสดาตรัส

“พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฎฐบุตรและนิครนถ์นาฎบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิมีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์หมดกิเลสหรือประการใด”

“เรื่องนี้หรือสุภัททะที่เธอดิ้นรนขวนขวายมาหาเราด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด” พระศาสดาตรัสทั้งยังหลับพระเนตรอยู่

“เรื่องนี้เองพระเจ้าข้า” สุภัททะทูล

พระอานนท์รู้สึกกระวนกระวายทันที เพราะเรื่องที่สุภัททะมารบกวนพระศาสดานั้น เป็นเรื่องไร้สาระเหลือเกิน ขณะที่พระอานนท์จะเชิญสุภัททะออกจากที่เฝ้านั้นเอง พระศาสดาก็ตรัสขึ้นว่า

“อย่าสนใจกับเรื่องนั้นเลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด”

“ข้าแต่ท่านสมณะ ถ้าอย่างนั้นข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ ร้อยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่ สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่”

“สุภัททะ รอยเท้าในอากาศนั้นไม่มี ศาสนาใดไม่มีมรรคมีองค์แปดสมณะผู้สงบถึงที่สุดก็ไม่มีในศาสนานั้น สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะ ปัญหาของเธอมีเท่านี้หรือ”

“มีเท่านี้พระเจ้าข้า” สภัททะ ทูลแล้วนิ่งอยู่

พระพุทธองค์ผู้ทรงอนาวรณญาณ ทรงทราบอุปนิสัยของสุภัททะแล้วจึงตรัสต่อไปว่า “สุภัททะ ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ ดูกรสุภัททะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางประเสริฐสามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ดูกร สุภัททะ ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”

สุภัททะฟังพระพุทธดำรัสนี้แล้วเลื่อมใส ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ติดถิยริวาส คือ บำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจเป็นเวลาสี่เดือนก่อน แล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ สุภัททะทูลว่าเขาพอใจอยู่บำรุงปฏิบัติภิกษุทั้งหลายสักสิบปี

พระศาสดาทรงเห็นความตั้งใจจริงของสุภัททะ ดังนั้นจึงรับสั่งให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาอุปสมบท พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วนำสุภัททะไป ณ ที่ส่วนหนึ่ง ปลงผมและหนวดแล้ว บอกกรรมฐานให้ ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์และศีล สำเร็จเป็นสามเณร บรรพชาแล้วนำมาเฝ้าพระศาสดา พระผู้ทรงมหากรุณาให้อุปสมบทแก่

สุภัททะเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว ตรัสบอกกัมมัฏฐานอีกครั้งหนึ่ง

สุภัททะภิกษุใหม่ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะพยายามให้บรรลุพระอรหัตตผลในคืนนี้ ก่อนที่พระศาสดาจะนิพพาน จึงออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่สงัดแห่งหนึ่งในบริเวณอุทยานสาลวโนทยาน

บัดนี้ร่างกายของสุภัททะภิกษุห่อหุ้มด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ เมื่อต้องแสงจันทร์ในราตรีนั้น ดูผิวพรรณของท่านเปล่งปลั่งงามอำไพ มัชฌยาม แห่งราตรีจวนจะสิ้นอยู่แล้ว ดวงรัชนีกลมโตเคลื่อนย้ายไปอยู่ทางท้องฟ้าด้านตะวันตก สภัททะภิกษุตั้งใจแน่วแน่ว่า จะบำเพ็ญเพียรคืนนี้ตลอดราตรี เพื่อบูชาพระศาสดาผู้จะนิพพานในปลายปัจฉิมยาม ดังนั้นแม้จะเหน็ดเหนื่อยอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ

แสงจันทร์นวลผ่องสุกสกาวเมื่อครู่นี้ ดูจะอับรัศมีลง สุภัททะภิกษุแหงนขึ้นดูท้องฟ้า เมฆก้อนใหญ่กำลังเคลื่อนเข้าบดบังแสงจันทร์จนมิดดวงไปแล้ว แต่ไม่นานนักเมฆก้อนนั้นก็เคลื่อนคล้อยไป แสงโสมสาดส่องลงมาสว่างนวลดังเดิม

ทันใดนั้นดวงปัญญาก็พลุ่งโพลงขึ้นในดวงใจของสุภัททะภิกษุเพราะนำดวงใจไปเที่ยบกับดวงจันทร์

“อา” ท่านอุทานเบาๆ “จิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใส มีรัศมีเหมือนดวงจันทร์แต่อาศัยกิเลสจรมาเป็นครั้งคราว จิตนี้จึงเศร้าหมองเหมือนก้อนเมฆบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง”

และแล้ววิปัสสนาปัญญาก็โพลงขึ้น ชำแรกกิเลสแทงทะลุบาปธรรมทั้งมวลที่ห่อหุ้มดวงจิต แหวกอวิชาและโมหะอันเป็นประดุจตาข่ายด้วยศัสตรา คือวิปัสสสนาชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะทั้งมวล บรรลุอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้วลงจากที่จงกรมมาถวายบังคมบาทแห่งพระศาสดาแล้วนิ่งอยู่

ภายใต้แสงจันทร์สีนวลยองใยนั้น พระผู้มีพระภาคบรรทมเหยียดพระวรกายในท่าสีหะไสยา แวดล้อมด้วยพุทธบริษัทมากหลายแผ่เป็นปริมณฑล กว้างออกไปสุดสายตาประดุจดวงจันทร์ที่ถูกแวดล้อมด้วยกลุ่มเมฆก็ปานกัน

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลายอาจคิดว่าบัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้จะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง”

“อานนท์เอย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว ขอให้ธรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่งเถิด อย่าได้มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

เมื่อพระอานนท์มิได้ทูลถามอะไร พระธรรมราชาจึงตรัสต่อไปว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ผู้ใดมีความสงสัยเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรคหรือปฏิปทาข้อใดๆ ก็จงถามเสียบัดนี้ เธอทั้งหลายจะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า มาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้ว มิได้ถามข้อสงสัยแห่งตน”

ภิกษุทุกรูปเงียบกริบ บริเวณปรินิพพานมณฑลสงบเงียบ ไม่มีเสียงใดๆ เลย แม้จะมีพุทธบริษัทประชุมกันอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม ทุกคนปรารถนาจะฟังแต่พระพุทธดำรัสเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเป็นครั้งสุดท้าย

บัดนี้ พละกำลังของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลืออยู่น้อยเต็มทีแล้ว ประดุจน้ำที่เทราดไปในดินที่แตกระแหง ย่อมพลันเหือดแห้งหายไป มิได้ปรากฏแก่สายตา ถึงกระนั้นพระบรมโลกนาถก็ยังประทานปัจฉิมโอวาท เป็นพระพุทธดำรัสสุดท้ายว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม พระจันทร์โคจรไปทางขอบฟ้าทิศตะวันตก แสงโสมสาดส่องทิวไม้ลงมา ท้องฟ้าเกลี้ยงเกลาปราศจากเมฆหมอก รัชนีแจ่มจรัสดูเหมือนจะจงใจส่องแสงเปล่งปลั่งเป็นพิเศษครั้งสุดท้าย แล้วสลัวลงเล็กน้อย เหมือนจงใจอาลัยในพระศาสดาผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์

พระผู้มีพระภาคมีพระกายสงบ หลับพระเนตรสนิท พระอนุรุทธเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในเวลานั้น และได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นเลิศทางทิพยจักขุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่า พระพุทธองค์เข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ออกจากจตุถฌานแล้วเข้าสู่อรูปสมาบัติคือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ตามลำดับ แล้วถอยออกมาจากสัญญาเวทยิตนิโรธ จนถึงปฐมฌาน แล้วเข้าสู่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌานอีก เมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังไม่ทันเข้าสู่อาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนี้เอง

ในที่สุด แม้พระองค์ก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนม์ชีพว่า สัตว์ทั้งหลาย มีความตายเป็นที่สุดนั้นเป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

นึกย้อนหลังไปเมื่อสี่สิบห้าปีก่อนปรินิพพาน พระองค์เป็นผู้โดดเดี่ยว เมื่อปัญจวัคคีย์ทอดทิ้งไปแล้วพระองค์ก็ไม่มีใครอีกเลย ภายใต้โพธิบัลลังก์ครั้งกระนั้น แสงสว่างแห่งการตรัสรู้ได้โชติช่วงขึ้น พร้อมด้วยแสงสว่างแห่งรุ่งอรุณ พระองค์มีเพียงหยาดน้ำค้างบนใบโพธิ์พฤกษ์เป็นเพื่อน ต้องเสด็จออกจากโพธิมณฑลไปพาราณสีด้วยพระบาทเปล่าถึงสิบวัน เพียงเพื่อหาเพื่อนผู้รับคำแนะนำของพระองค์เพียงห้าคน แต่มาบัดนี้ มีภิกษุสงฆ์สาวกเป็นจำนวนแสนจำนวนล้าน มีหมู่ชนเป็นจำนวนมากเดินทางมาจากทิศานุทิศเพียงเพื่อได้เข้าเฝ้าพระองค์ บุคคลทั้งหลายรู้สึกว่าการได้เห็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

เมื่อสี่สิบห้าปีมาแล้ว พระองค์ทรงมีเพียงหญ้าคามัดหนึ่งที่นายโสตถิยะนำมาถวาย และทรงทำเป็นที่รองประทับ มาบัดนี้มีเสนาสนะมากหลายที่สวยงามซึ่งผู้มีจิตศรัทธาสร้างอุทิศถวาย พระองค์เช่น เชตวัน เวฬุวัน ชีวกัมพวัน มหาวัน ปุพพารามนิโครธาราม โฆสิตาราม ฯลฯ เศรษฐี คหบดี ต่างแย่งชิงกันจองเพื่อให้พระองค์รับภัตตาหารของเขา แน่นอนทีเดียวหากพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คงจะไม่ได้รับความนิยมเลื่อมใสถึงขนาดนี้ และไม่ยืนนานถึงปานนี้

เมื่อสี่สิบห้าปีมาแล้ว ภายใต้โพธิพฤกษ์อันร่มเย็นริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชราพระองค์ได้บรรลุแล้วซึ่งกิเลสนิพพาน กำจัดกิเลสและความมืดให้หมดไป และบัดนี้ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่และความเยือกเย็นแห่งปัจฉิมยาม พระองค์ก็ดับแล้วด้วยขันธ์นิพพาน

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระรูปอันวิจิตรด้วยมหา ปุริสลักษณะสามสิบสองประการประดับด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ มีพระธรรมกายอันสำเร็จแล้วด้วยนานาคุณรัตนะ มีศีลขันธ์อันบริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวงเป็นต้น ถึงฝั่งแห่งความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยยศ ด้วยบุญ ด้วยฤทธิ์ ด้วยกำลังและด้วยปัญญา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นยังต้องดับแล้วด้วยการตกลงแห่งฝนคือมรณะ เหมือนกองอัคคีใหญ่ต้องดับมอดลงเพราะฝนห่าใหญ่ตกลงมาฉะนั้น

พระองค์เคยตรัสไว้ว่า “ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย เหมือนภาชนะ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด ” นั้นช่างเป็นความจริงเสียนี่กระไร

อันความตายนี้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่นัก ไม่มีใครสามารถต้านทานต่อสู้ด้วยวิธีไดๆ ได้เลย ก้าวเข้าไปสู่ปราสาทแห่งกษัตริยาธิราช และแม้ในวงชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสง่าผ่าเผยปราศจากความสะทกสะท้านใดๆ เช่นเดียวกกับก้าวเข้าไปสู่กระท่อมน้อยของขอทาน พระยามัจจุราชนี้เป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมยิ่งนัก ไม่เคยลำเอียงหรือกินสินบนของใครเลย ย่อมพิจารณาคดีตามบทพระอัยการ และอ่านคำพิพากษาด้วยถ้อยคำอันหนักแน่นเด็จเดี่ยวไม่ฟังเสียงคัดค้านและขอร้องของใครท่ามกลางเสียงคร่ำครวญอันระคนด้วยกลิ่นธูปควันนั้นท่านได้ยื่นพระหัตถ์ออกกระชากให้ความหวังของทุกคนหลุดลอย และแล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามพระบัญชาของพระองค์ เมื่อมาถึงจุดนี้ความยิ่งใหญ่ของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายก็กลายเป็นเพียงนิยายที่เล่าสู่กันฟังเท่านั้น

มงกุฏประดับเพชรก็มีค่าเท่ากับหมวกฟาง พระคฑาอันมีลวดลายวิจิตรก็เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่าเมื่อความตายมาถึงเข้าพระราชาก็ต้องถอดมงกุฏเพชรลงวาง ทิ้งพระคฑาไว้ แล้วเดินเคียงคู่ไปกับชาวนา หรือขอทาน ผู้ทิ้งจอบ เสียม หมวกฟางและคันไถ หรือภาชนะขอทานไว้ให้ทายาทของตน

พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระกายของพระองค์เหมือนคนทั้งหลาย ซึ่งต้องแตกสลายไปในที่สุด แต่ความดีและเกียรติคุณของพระองค์ยังคงดำรงอยู่ในโลกต่อไปอีกนานเท่าใด ไม่อาจจะกำหนดได้ ความดีนี่เองที่เป็นสาระอันแท้จริงของชีวิต

“โอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณากว้างใหญ่ดุจห้วงมหรรณพ มีน้ำพระทัยใสบริสุทธิ์ดุจน้ำค้างเมื่อรุ่งอรุณ ทรงมีพระทัยหนักแน่นดุจมหิดลรับได้ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ขวนขวายเพื่อความสงบร่มเย็นของปวงชน พระองค์เป็นผู้ประทานแสงสว่างแก่โลกภายใน คือดวงจิต ประดุจพระอาทิตย์ให้แสงสว่างแก่โลกภายนอก คือท้องฟ้า ปฐพี บัดนี้พระองค์ปรินิพพานเสียแล้วมองไม่เห็นแม้แต่เพียงพระสรีระซึ่งเคยรับใช้พระองค์โปรยปรายธรรมรัตน์ประหนึ่งม้าแก้วแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นพาหนะนำเจ้าของตรวจความสงบสุขแห่งประชากร”

“โอ พระมหามุนีผู้เป็นจอมชน บัดนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นประดุจนกในเวหา ไร้โพธิ์หรือไทรที่จะจับเกาะ ประดุจเด็กน้อยผู้ขาดมารดา เหมือนเรือที่ลอยคว้างอยู่ในมหาสมุทรอ้างว้างว้าเหว่สุดประมาณ จะหาใครเล่าผู้เสมอเสมือนพระองค์”

แม้พระอานนท์พุทธอนุชาเองก็ไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้ เป็นเวลายี่สิบห้าปีจำเดิมแต่รับหน้าที่พุทธอุปัฏฐากมา เคยรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธองค์เสมือนเงาตามองค์ บัดนี้พระพุทธองค์เสด็จจากไปเสียแล้ว ท่านรู้สึกว้าเหว่และเงียบเหงาไม่ได้เห็นพระองค์อีกต่อไป เวลายี่สิบห้าปีนานพอที่จะก่อความรู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงเมื่อมีการพลัดพราก

แต่แล้วเรื่องทั้งหลายก็มาจบลงด้วยสัจธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำ สอนอยู่เสมอว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีเหตุ สิ่งนั้นย่อมดับได้

สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด

บัดนี้พระพุทธองค์ดับแล้ว ดับอย่างหมดเชื้อทิ้งวิบาก ขันธ์ และ กิเลสานุสัยทั้งปวง ประดุจกองไฟดับลงแล้วเพราะหมดเชื้อฉะนั้น ฯ
___________________


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น