วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทาน

พระมงคลชัย กิตติโสภโณ อย่าหลงวิบากเด้อ
๗ เดือนบรรลุธรรม
สุดโต่ง ๒ ด้านของการทำทานที่ผิดพลาด
“กวางเจอหนังสือธรรมะเล่มหนึ่ง เขาบอกว่าถ้าไม่สบายใจอะไร
ให้ทำทานมากๆ ช่วยเหลือคนอื่นมากๆ แต่อย่าหวังผล แล้วจะมี
ความสุขมากขึ้นตามหลักเบื้องต้นของพุทธศาสนา กวางลอง
แล้ว แต่ไม่เป็นสุขขึ้นเลย พี่นะช่วยบอกหน่อยซิคะว่ากวางเข
้าใจอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า?”
เมื่อกำหนดวาระจิตคนได้ก็ง่ายต่อการยิงเข้าเป้า ตรง
กับเงื่อนปมปัญหา รบชนะเห็น ‘จิตใจที่แห้งแล้งขณะทำบุญ’
ของใจนุช เพราะเหตุที่เธอห้ามตัวเองไม่ให้คิดหวังจนเกินไป
• “..ถ้าทำบุญด้วยความโลภ
ก็เป็นสุดโต่งความผิดพลาดในการทำทานด้านหนึ่ง
: คือทำแบบนักลงทุน
ไม่ได้ทำแบบผู้แสวงบุญ !
• แต่ถ้าไปคิดผิดแบบใหม่
คือทำบุญต้องไม่ได้อะไรเลย ห้ามหวังอะไรเลย
อย่างนั้นก็เป็นสุดโต่งความผิดพลาดในการทำทานอี
กด้านหนึ่ง
: คือมีแต่ ‘กรรมทางกาย’
‘กรรมทางใจ’ หดหายเกือบหมด !
• การให้ทานต้องให้ด้วยความเต็มใจ
: ปรารถนาจะให้ ‘อยู่ก่อน’ และ
: ‘ขณะให้ทาน’ ต้องปลื้มใจในบุญ
: ‘หลังให้ทาน’ ต้องคิดถึงความน่าชื่นใจในการสละความตระหนี่
• ถ้าให้ดีก็คือ ‘อธิษฐาน’ ว่าขอบุญนี้จงเป็นตัวอย่าง
เป็นพื้นฐานในการสละกิเลสยิ่งๆขึ้นไป..”
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
► ถาม : ทำบุญควรหวังผล หรือไม่หวังผลกันแน่ครับ?
(บทความสมทบจากเฟสบุ๊คของคุณดังตฤณ)
• แม้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสครับ
ว่าอานิสงส์ของบุญอย่างนั้นอย่างนี้
ทำให้ได้รับอะไรเป็นผลตอบแทน
• เบื้องต้น ท่านให้ทำความเข้าใจก็จริงว่า
ทำทานนั้น เป้าหมายเพื่อสละ เพื่อทำลายความตระหนี่
แต่สำหรับคนที่ยังขาดกำลังใจ
ท่านก็ชี้ให้เห็นว่าทำไปแล้วจะได้อะไร
.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..
ในทานสูตร ท่านจำแนกไว้ชัดเจน
• ทำบุญหวังผล จิตยังประกอบด้วยความโลภ
สะสมมากแล้วก็ได้ผลเป็นสวรรค์
--> แต่เป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุดคือ "จาตุมหาราช"
• ทำบุญไม่หวังผล แต่เห็นว่าทานเป็นของดี
จิตไม่ประกอบด้วยความโลภ
--> สะสมมากแล้วได้ผลเป็นสวรรค์สูงขึ้น คือ "ดาวดึงส์"
• ทำบุญหวังสืบทอดประเพณี
แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ที่เคยทำไว้
--> ไป "ยามา"
• ทำบุญหวังอนุเคราะห์ผู้อื่น ใจดี ใจบุญจริงๆ
--> ไป "ดุสิต"
• ทำบุญกับนักบวช ด้วยใจเหมือนฤๅษีบูชาเทวดา
--> ไป "นิมมานรดี"
• ทำบุญเพื่อให้เกิดโสมนัส สะสมมากแล้ว
--> ไป "ปรนิมมิตวสวัตตี"
• ทำบุญเพื่อเห็นอาการปรุงแต่งทางจิต
--> ไปได้สูงสุดถึงความเป็น "อนาคามีพรหม"
ถ้าแจกแจงอย่างนี้ก็ไม่ต้องขัดแย้งกัน
พิจารณาให้เห็นว่าตนสั่งสมทานประเภทไหน
ก็ไปสู่สภาพที่เหมาะสม
ทั้งในปัจจุบันและอนาคตครับ
_______________
ที่มา : หนังสือ "๗ เดือนบรรลุธรรม"
หนังสือประสบการณ์ธรรมะกึ่งนิยาย
นิยายที่แต่งขึ้นจากประสบการณ์จริงของเหล่านักภาวนา
ผนวกเข้ากับวิธีการเจริญสติตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ฟังฟรีที่ http://bit.ly/WfdRop
อ่านฟรีที่ http://bit.ly/1tYK12x
โดย # ดังตฤณ | www.facebook.com/Dungtrin
เรียบเรียงและโพสต์โดยแอดมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น