วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ความฉลาดไม่เนื่องด้วยอิทธิวิธี



ความฉลาดไม่เนื่องด้วยอิทธิวิธี
จะเห็นว่าความฉลาดในฐานะ ๗ และพิจารณา โดยธรรม ๓ มีความหมายครอบคลุมถึงคำ ว่า จบกิจ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ แม้ในสมัยพุทธกาลที่ เดียรถีย์เข้ามาบวชหวังทําาอิทธิวิธีเรียกลาภยศ สรรเสริญ พระพุทธองค์ทรงเรียกมา ชี้ให้ดูถึงมุมมอง โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
๑. ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ กาย ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ชรา มรณะดับเพราะ ชาติดับ
๒. ชาติดับ เพราะภพดับ (คือ กรรมภพ อันปรุงแต่ง อภิสังขาร ๓ ด้วยเจตนาดับ)
๓. ภพดับ เพราะอุปาทานดับ (คือ ไม่มี ความยึดมั่นในอุปาทาน ๔ ย่อมไม่ก่อกรรมภพ)
๔. อุปาทานดับ เพราะตัณหาดับ (เมื่อไร้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)
๕. ตัณหาดับ เพราะเวทนาดับ (คือ ไม่มี ความเผลอเพลินในเวทนาอย่างฝังใจ)

๖. เวทนาดับ เพราะผัสสะดับ (ไม่หลงเข้าไป ยึดมั่นว่า “เราผัสสะ”)
๗. ผัสสะดับ เพราะอายตนะดับ (เห็น อายตนะ เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”)คือ รูป ธาตุ ๔ เป็นส่ิงถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”
เสียงเป็นธาตุ เป็นส่ิงถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”
กลิ่นเป็นธาตุ เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”
รสเป็นธาตุ เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”สัมผัสกายเป็นธาตุ เป็นส่ิงถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”
ความคิดธรรมมารมณ์เป็นธาตุ เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่ใช่ “เรา”
๘. อายตนะดับ เพราะนามรูปดับ (ไม่หลง ยึดมั่นว่าขันธ์ ๕ เป็น “เรา”)
๙. นามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ (ไม่หลง การรับรู้ คือ วิญญาณธาตุว่าเป็น “เรา”)
๑๐. วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ (ไม่หลง ว่า ความคิดปรุงแต่งเป็น “เรา”)

๑๑. สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ (เห็น ความจริงว่า รูปนามท้ังหลายเป็นของโลก ไม่ใช่ “เรา”)
พระพทุธองค์จึงทรงตรัสว่าผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้น้ัน เห็นเราตถาคต

จากหนังสือ "ฉลาด"
หลวงพ่ออำนาจ โอภาโส

ขอบคุณมากๆ ที่แชร์ออกมา
เจริญพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น