วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

แปลวินัยผิด บางสิกขาบท

ขอแจ้งเรื่อง การแปลบาลี คือแต่ละสำนักแปลบาลีไม่เหมือนกัน
โดยเฉพาะ ปาราชิก สิกขาบทที่ ๔ อวดอุตริมนุษธรรมอันไม่มีในตน
เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ว่าแต่ละสำนักมีหัวข้อต่างกัน
จุฬา ขึ้นหัวข้อว่า (เรื่องที่ ๒๒ )
ฉบับหลวง ขึ้นหัวข้อว่า (เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง)
มหามงกุฏ ขึ้นหัวข้อว่า (เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง)
คือว่า ฉบับมหาจุฬาแปลต่างจากสำนักอื่น
ด้วยเหตุอย่างใดก็ไม่รู้
แต่สำนักอื่น คือทั้งฉบับหลวง,ฉบับมหามงกุฏ,
ต่างแปลออกมาว่า
ภิกษุรูปนั้น"มี"ความประสงค์จะพูดอวด
แต่มหาจุฬา แปลออกมาว่า
ภิกษุรูปนั้น"ไม่มี"ความประสงค์จะพูดอวด
ดังนั้นจึงขอแจ้งให้ ท่านที่จะอัดเสียงอ่านพระไตรปิฏกนี้ทราบ
และขออนุโมทนากับท่านด้วย สาธุ

______
พระมงคลชัย กิตติโสภโณ อย่าหลงวิบากเด้อ
ขอเสนอแนะ ความคิดเห็น. คือได้ฟังเสียงอ่านพระไตรฯ ฉบับประชาชนแล้ว คำนี้ [ ปฏิจฺจสมุปฺปาท] ต้องอ่านว่า ( ปะ ฏิด จะ สะ มุป บาด ) จึงจะถูก ขอเจริญพร

กราบนมัสการครับ จริงๆ พอเข้าใจเหมือนกันครับ แต่โยมเบื่อคนไทยมากเลย คือ เขาอ่านกันหลายแบบมาก จนโยมไม่แน่ใจ ว่าจะอ่านแบบไหนดี หลายคำ ที่ควรอ่านแบบบาลี แต่ว่า คนส่วนใหญ่อ่านแบบไทยอะครับ โยมก็เลยเลือกคำที่คนส่วนใหญ่ออกเสียง แต่อนาคต อัดฉบับจริง โยมคงเลือกที่จะอัดแบบบาลีเป็นหลักก่อนครับ ทั้ง โอป ปา ติ กะ ที่ไปอ่าน เป็น โอ ปะ ปา ติ กะ มานาน รวมถึง ปะ ติ จะ สะ สุป บาท กราบขอบพระคุณที่มาช่วยยืนยันนะครับ ถ้ามีคำอื่นอีก รบกวนชี้แนะได้ เพื่อโยมจะได้อ่านให้ถูกครับ แต่โยมแปลกใจมากกว่า ทำไมคนไทยอ่านคำไม่ค่อยเหมือนกัน ยะ มะ กะ ก็ไปอ่าน ว่า ยะมก จุล ละ ปัน ถะ กะ ก็ไปอ่าน จุนละปันถก มันทำให้โยมอึดอัดมากเวลาอัดครับ เพราะว่า ทำให้ไม่รู้จะเอาไงดี บางท่านบอก ออกเสียงได้หลายแบบ บางท่านก็ให้ว่าตามบาลีดีกว่า แต่หลายคำ โยมอ่านผิด หลายจุดครับ แต่แก้ไม่ไหวแล้ว คงไปเริ่มต้นใหม่ที่ พระไตรปิฎก ฉบับจริงครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น