กสิณ ๓ เป็นบาทของทิพจักขุญาณ
จะแนะถึงวิธีปฏิบัติในกสิณ ๓ อย่าง คือ
๑. เตโชกสิณ ๒. โอทาตกสิณ
๓. อาโลกกสิณ
กสิณสามอย่างนี้แต่เพียงพอ
เป็นทางปฏิบัติ เพื่อบำเพ็ญเพื่อได้ทิพจักขุญาณ
แต่ท่านอย่าลืมนะว่าการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องหาครู
ผู้สอน ถ้าทำเองโดยไม่มีใครแนะนำและควบคุมแล้ว ดีไม่ดี
จะเกิดสำเร็จเร็วกว่าความเป็นจริง ตัวอย่างในปัจจุบันมี
ไม่น้อย พอเห็นอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็คิดว่าสำเร็จเสียแล้วเลย
ไม่พบดีกัน
ขณะที่เขียนหนังสือนี้อยู่ มีนักปฏิบัติกลุ่มหนึ่งมาถามว่า "ฉัน
ได้ไปสอบกับครูผู้สอน คุณครูบอกว่าได้องค์ธรรมแล้ว ท่าน
ช่วยตรวจด้วยเถอะว่าฉันได้แค่ไหนแล้ว?"
ทำเอาข้าพเจ้างงงันคอแข็งไปเลย ไม่มีแบบมีแผนที่ไหนที่
ผู้ปฏิบัติถึงธรรมแล้ว กลับไม่รู้ว่าตัวได้ แปลกมาก
ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นปัจจัตตัง เมื่อได้แล้วต้องรู้เอง ไม่
ใช่ไปขอร้องให้คนอื่นช่วยบอก แล้วครูเอาอะไร
เป็นเครื่องวัดว่าลูกศิษย์ได้ดวงธรรม ในเมื่อเจ้าตัวเองก็ยัง
ไม่รู้เรื่องรู้ราวสักนิด ข้าพเจ้าได้วินิจฉัยดูเห็นว่า ก. ข. ยัง
ไม่กระดิกหูเลย จึงย้อนถามว่าใครเป็นครู ท่านกลุ่ม
นั้นก็บอกครูและสำนัก ถามถึงระเบียบการสอนก็บอก
ให้ทราบ ดูแล้วช่างไม่ถูกไม่ตรงเสียแล้ว
เสียดายธรรมของพระพุทธเจ้า สงสารพระพุทธเจ้า
อุตส่าห์พร่ำสอนเสียเป็นวรรคเป็นเวร เกือบล้มเกือบตาย
แต่ลูกศิษย์ลูกหาไม่ได้เชื่อฟัง กลับเอาลัทธิหลอกลวงมาใช้
แล้วแอบอ้างเอาพระนามของพระองค์มารับรอง
น่าสงสารแท้ ๆ ธรรมที่ว่าสอบได้นั้น เขาบอกว่า เห็นดวง
เล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นพระบ้าง โธ่! น่าสงสาร ของเท่านี้
ยังไกลต่อคำว่าได้อีกหลายล้านเท่า ท่านระวังไว้นะ! ดี
ไม่ดีจะไปพบครูจระเข้แบบนี้เข้าจะลำบาก
ทิพจักขุญาณนี้ ความจริงแล้วอาจจะได้จากกรรมฐานกอง
อื่นก็ได้ ไม่เฉพาะกสิณ ๓ อย่างนี้ เมื่อทำสมาธิถึงแล้ว
และรู้จักวิธีปฏิบัติแม้กรรมฐานกองอื่นก็ทำทิพจักขุญาณ
ให้บังเกิดได้ แต่ที่แนะนำไว้ในที่นี้ว่าให้ปฏิบัติในกสิณ ๓ ก็
เพราะว่ากสิณ ๓ นี้เป็นบาทของทิพจักขุญาณโดยตรง
แนะตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านว่าไว้อย่างนี้
ก็เขียนไปตามท่าน แต่ถ้าใครตามได้คนนั้นก็
ได้ทิพจักขุญาณจริง
อาโลกกสิณ กสิณกองนี้ ตามในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า
เป็นกสิณที่เหมาะแก่ทิพจักขุญาณที่สุด มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ ผู้ใดที่เคยเจริญ
อาโลกกสิณ มาแต่ชาติก่อน ชาตินี้แม้เพียงแลดูแสงจันทร์
หรือแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดช่องฝามาเท่านั้น ก็สำเร็จ "
อุคคหนิมิต" ( คือรูปนั้นติดตาแม้หลับแล้วก็ยังเห็นภาพ
นั้นติดตาติดตาอยู่ เรียกว่า "อุคคหนิมิต" ) และ "
ปฏิภาคนิมิต" ( คือ เห็นแสง
นั้นสว่างไสวคล้ายแสงดาวประกายพรึก
สว่างจ้าเหมือนลืมตาเห็นดวงอาทิตย์ ) ได้ง่ายดาย
สำหรับผู้ที่ฝึกหัดใหม่นั้นท่านให้เพ่งดูแสงจันทร์
และแสงอาทิตย์ ที่ส่องลงมาตามช่องฝาเป็นแสงกลม
ลืมตามองดูแล้วตั้งใจจดจำไว้ว่า แสงที่ส่องลงานั้น
เป็นอย่างไร มีรูปคือลักษณะช่องกลมอย่างไร
แล้วบริกรรมว่า โอภาโส ๆ หรือจะภาวนาว่า อาโลโก ๆ
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ จนกว่าภาพนั้นจะติดตา คือ
ภาวนาไปด้วย นึกถึงภาพนั้นไปด้วย เมื่อภาพนั้นติดตา
แล้วก็ให้กำหนดใจว่าขอภาพนั้นจงใหญ่ขึ้น เมื่อภาพนั้น
ใหญ่ขึ้น ก็นึกให้เล็กลง ภาพนั้นก็เล็กลง นึกว่าภาพนี้จงสูงขึ้น
ภาพนั้นก็สูงขึ้น นึกว่าขอภาพนี้จงต่ำลง ภาพนั้นก็ต่ำลง
อย่างนี้เรียกว่าได้ "อุคคหนิมิต" เป็นอุปจารสมาธิ
ถึงอุปจารฌาน ต้องให้ได้จริง ๆ นึกขึ้นมาเมื่อไร
ต้องเห็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น แม้ไม่มีแสงให้ดูภาพนั้นก็
ยังติดตาติดใจอยู่
และเมื่อต้องการจะเห็นภาพนั้นเมื่อไร คือ เมื่อกำลังง่วง
ต้องการเห็นต้องการบังคับ ก็เห็นได้บังคับได้
เมื่อกำลังเหนื่อย เมื่อหิว เมื่อตื่นนอนใหม่ ๆ เห็นได้บังคับ
ได้ทุกขณะทุกเวลา จึงชื่อว่า ได้อุคคหนิมิตที่แท้ ต่อไป
ให้ฝึกอย่างนั้นจนชำนาญ จนได้ "ปฏิภาคนิมิต" คือ
เห็นแสงสว่างผ่องใสเป็นแท่งหนาทึบ คล้ายแสงมากองรวม
กันอยู่ คล้ายดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ที่มองเห็น
ในขณะลืมตา อย่างนี้เรียกว่า "ปฏิภาคนิมิต"
เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วก็ชื่อว่าจิตสมควรแก่การที่จะได้ "
ทิพจักขุญาณ" เมื่อประสงค์จะเห็นอะไร ให้เพ่งนิมิตนั้นก่อน
เมื่อเห็นนิมิตชัดเจนแล้ว ให้กำหนดจิตว่า
ขอภาพนิมิตจงหายไป ภาพที่ต้องการจงปรากฏขึ้น เพียง
เท่านี้ภาพที่ต้องการก็ปรากฏขึ้น จะเป็นภาพนรก สวรรค์
พรหมโลก หรือ ญาติที่ตายไป และจะเป็นอะไรก็ได้ เมื่อได้
แล้วให้ฝึกไว้เสมอ ๆ จะได้ชำนาญและคล่องแคล่วใช้งาน
ได้ทุกขณะ
สำหรับข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะหัดให้คล่องทั้งลืมตา
และหลับตา เพราะจะเป็นประโยชน์มาก เพื่อว่า
ถ้าเราอยากจะรู้อะไร ในขณะที่คุยกับเพื่อนหรือไป
ในระหว่างคนมาก ถ้ามัวไปหลับตาอยู่ เขา
จะคิดว่าเรานี่ท่าทางคงจะไม่ใคร่ตรง ดีไม่ดีพวก
จะพาส่งโรงพยาบาลบ้าเสียก็ได้ เพราะฉะนั้น ควรฝึก
ให้คล่องเสียทั้งสองอย่าง ทั้งลืมตาและหลับตา
เอาละนะ! แนะนำไว้แบบเดียวก็พอจะได้ไม่ยุ่ง
ทิพจักขุญาณนี้มีประโยชน์มาก
เหมาะแก่การพิสูจน์ประวัติต่าง ๆ เช่น พระพุทธบาท
ปฐมเจดีย์ หรือเรื่องราวเก่า ๆ ที่สงสัย ถ้าปรารถนาจะรู้
แล้วจะรู้ได้เลย ภาพเก่า ๆ จะปรากฏคล้ายดูภาพยนตร์
พร้อมทั้งรู้เรื่องรู้ชื่อคน ชื่อสถานที่ไปในตัวเสร็จ แต่ระวังใช้
ให้ถูกทาง อย่านำไปใช้ในทางลามก ถ้าทำอย่างนั้น
จะเสื่อมเร็ว
ขอความสุขสวัสดีจงมีแต่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ... สวัสดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น