#ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์
อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์
[๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหม
โลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์
พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึง
พรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้?
พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันประกอบ
ด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.
[๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรง
เข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรง
เข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่า
อัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว.
พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่า
อัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา.
[๑๒๑๐] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าว
ลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่า
ปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ.
[๑๒๑๑] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ ย่อมเบากว่า
ปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคต
ตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น
กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ
ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๒๑๒] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย
ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่
อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๑๓] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อม
ลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือ
ตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจาก
แผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
[๑๒๑๔] ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้
โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลาย
คนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
จบ สูตรที่ ๒
ภิกขุสุทธกสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาท
[๑๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตต
สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๓
ผลสูตรที่ ๑
เจริญอิทธิบาทหวังผลได้ ๒ อย่าง
[๑๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตต
สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล. [๑๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้
แล ภิกษุพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ
ถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๔
ทรงแสดงสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันแท้จริงของพระองค์ ๑ (เมื่อได?ทรงสนทนากับพระอานนท? ถึงเรื่องอันเป?นอิทธิปาฏิหาริย?เกี่ยวกับการจุติและการประสูติ เป?นต?น ของพระองค? ว?าเป?นสิ่งที่น?าอัศจรรย?แล?ว ได?ทรงแสดงเรื่องที่เราควรจะเห็นว?าน?า อัศจรรย?ยิ่งไปกว?านั้นอีก ดังต?อไปนี้ :-) อานนท? ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทรงจําสิ่งอันน?าอัศจรรย? ไม?เคยมีมาแต?ก?อนของตถาคต ข?อนี้ไว?. อานนท? ! ในกรณีนี้คือ :- เวทนา เป?นของแจ?มแจ?งแก?ตถาคตแล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึง ลับไป. สัญญา เป?นของแจ?มแจ?งแก?ตถาคตแล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึง ลับไป. วิตก เป?นของแจ?มแจ?งแก?ตถาคตแล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึง ลับไป.
________________________________ ๑. บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๔/๓๗๙. ตรัสแก?พระอานนท? ที่อุป?ฏฐานศาลา ณ เชตวนาราม.
ได้ตรัสรู้แล้ว –โปรดปัญจวัคคีย์ ๑๕๓
อานนท? ! เธอจงทรงจําสิ่งอันน?าอัศจรรย?ไม?เคยมีมาแต?ก?อนของตถาคต ข?อนี้แล. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่ว่า เวทนา เป?นของแจ?มแจ?งแก?พระผู?มีพระภาค แล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึงลับไป, สัญญา เป?นของแจ?มแจ?งแก?พระผู?มีพระภาค แล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึงลับไป, วิตก เป?นของแจ?มแจ?งแก?พระผู?มีพระภาค แล?วจึงเกิดขึ้น แล?วจึงตั้งอยู? แล?วจึงลับไป, แม้ใด; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ จะทรงจําไว้ว่า เป็นสิ่งอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค, ดังนี้.”
ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน ๓ ภิกษุ ท. ! แม?ตถาคต ผู?เป?นพระอรหันต?ตรัสรู?ชอบเอง ก็รู?ชัดซึ่ง นิพพานตามความเป?นนิพพาน. ครั้นรู?นิพพานตามความเป?นนิพพานแล?ว
________________________________ ๑. บาลี จุตกฺก. อํ. ๒๑/๔๗/๓๕. ตรัสแก?วัสสการพราหมณ? สวนไผ?, ราชคฤห?. ๒. คือทรงบังคับจิตให?คิดหรือไม?ให?คิดก็ได? หรือให?คิดเฉพาะเรื่องใดก็ได?. ๓. บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๙. ตรัสแก?ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต?นสาละ ในป?าสุภวัน ใกล?เมืองอุกกัฏฐะ.
๑๕๖ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ – ภาค ๓
ก็ไม?ทําความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมายในนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมาย โดยความเป?นนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมายว?า “นิพพานเป็นของเรา”, ไม?เพลิดเพลิน ลุ?มหลงในนิพพาน. ข?อนี้เพราะเหตุไรเล?า ? เพราะเหตุว?า นิพพานนั้นเป?นสิ่งที่ ตถาคตกําหนดรู?ทั่วถึงแล?ว. ภิกษุ ท. ! แม?ตถาคต ผู?เป?นพระอรหันต?ตรัสรู?ชอบเอง ก็รู?ชัดซึ่ง นิพพานตามความเป?นนิพพาน. ครั้นรู?นิพพานตามความเป?นนิพพานชัดแจ?งแล?ว ก็ไม?ทําความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมายในนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมาย โดยความเป?นนิพพาน ไม?ทําความมั่นหมายว?า “นิพพานเป็นของเรา”, ไม?เพลิดเพลิน ลุ?มหลงในนิพพาน. ข?อนี้เพราะเหตุไรเล?า ? เรากล?าวว?า เพราะรู?ว?าความเพลิดเพลิน เป?นมูลแห?งทุกข? และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป?นสัตว?แล?วต?องมีแก?และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู?อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ?ถอนไป โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น