วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

มรรคสัญญา๒ประเภท คือ นาม กับ รูป

จิตใจเฮา มันคึแปลกแท้น้อ
คล้ายๆว่า มันบออยากสอนผุใด๋แล้ว
มันเมื่อยสอนมาโด้น...กะบอจัก
คึจั่งมันบอแล้ว....ในการสอนธรรมบารมี
คึจังมันทรงอยากวางเฉย...มันเมื่อย...อยากพักผ่อน
ครั้งสุดท้าย..
(ในสติปัฏฐานสี่ กะคือ
1.กายา 2.เวทนา 3.จิตตา 4.ธรรมมา
กายา คือ สิ่งที่ต้องทำให้มากเจริญให้มากคือการทำตามที่ กายคตาสติสูตรบอกไว้
ไปหาอ่านดูเองกายคตาสติสูตร
ในกายคตาสูตร ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่า มีมรรคคะสัญญา๒ประเภท
(คือมรรคคะสัญญาที่เป็นไปกับนาม๑ และมรรคสัญญาที่เป็นไปกับรูป๑
หรืออย่างที่หลวงตามหาบัวว่า สังขารฝ่ายมรรค กับ สังขารฝ่ายสมุทัย.
แต่อันนี้มุ้งไปที่สังขารฝ่ายมรรค ตามความเห็นของท่าน)
ถ้าเป็นเราๆจะใช้ ศัพท์ทางปริยัติว่า สัญญาฝ่ายมรรค" ดั่งเช่น
สัญญา๑๐ประการ.mp3
รูปสัญญา คือ อานาปานสติ ลงไปจนถึง สัมปะซันยะบรรพะ
นามสัญญาน คือ จตุธาตุววัฏฐาน ลงไปจนถึง อัฏฐิกะสัญญา และสัญญาที่
อยู่นอกพระสูตรนี้อีก อาทิ วรรณะกสิณนิมิต อาทิกรรมฐาน๔๐ ไปดูจะเห็นว่า
มีมรรคสัญญา๒ประเภท คือ นาม กับ รูป )
อาทิ สัญญา๑๐ประการ(เฉพาะส่วนที่เป็นนาม เช่น สัพพะสังขารเรสุ
อนภิรตะสัญญา)
อาทิ สัญญาว่าเป็นดังหัวฝี
อาทิ สัญญาว่าเป็นดั่งลูกศร
อาทิ ฯลฯ โดยอาการสิบหรือสิบสองนี่แหละ
และอาทิ สัญญาเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นสิ่งเสียดแ
ทง
และอาทิ สัญญาว่ารูปเป็นของร้อน
เสียงเป็นของร้อน
และ อนิจสัญญา ทุกขะสัญญา อนัตตะสัญญา
ที่พระสารีบุตร พิจารณาเวทนาในตอนที่พัดให้พระพุทธเจ้านั้น นั่นก็
เป็นนามสัญญา
แต่ท่านพิจารณาว่า เวทนาเป็นลูกศรหรือไม่อันนี้ก็ไม่ทราบ
แต่ว่าระดับบำเพ็ญบารมีมาเพื่อเป็นอัครสาวกผู้เรืองทางด้านปัญญา
ท่านคงตัดตรงเลย คือตัดตรงไปที่ อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตะสัญญา
แล้วเกิดภาวะที่ส่งต่อมาจนถึงนิพพิทาจนถึงหลุดพ้นจากการหลงปรุง
แต่งราคะกิเลส โทสะกิเลส โมหะกิเลส กามภพสังโยชน์ รูปภพสังโยชน์
อรูปภพสังโยชน์
ส่วนมากมรรคะสัญญา พระพุทธเจ้าจะชอบตรัสมากกว่า อริยสัจข้ออื่น
มรรคสัญญามันก็คือมรรคสัจนั่นเอง
ถ้าไปอ่านดูในพระสูตรที่ว่าด้วยกับขันธ์๕ หรืออายตนะ๑๒
พระพุทธองค์จะตรัสมรรคสัญญาไว้หลายชนิด
ทั้งนี้เพราะ สัตว์มีสัญญาหนักไปทางต่างๆ ต่างกัน เช่น พระจุลปันถก
ท่านเหมาะหนักไปทางสัญญา รโชหะระนัง ระชังหะระติ
เช่น พระที่เป็นสัทธวิหารของพระสารีบุตร
ที่พระสารีบุตรให้กรรมฐานไม่ถูกจริต แล้วนำไปเข้าเฝ้าพระพุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น