วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

พระพุทธเจ้าตอบคำพระพุทธเจ้าหมดหรือไม่


 ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้า ไม่ทรงเหยียบผ้าขาว  (อ่าน 4550 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 27374
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธเจ้า ไม่ทรงเหยียบผ้าขาว
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 01:07:12 pm »
    0



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าขาว

          [๔๘๘] ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตร และจีวร เสร็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร. สมัยนั้น โพธิราชกุมารประทับยืนคอยรับเสด็จพระผู้มีพระภาคอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู. ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาค กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงเสด็จออกต้อนรับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วเสด็จนำหน้าเข้าไปยังโกกนุทปราสาท.

           ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคหยุดประทับอยู่ที่บันไดขั้นสุด.
           โพธิราชกุมารจึงกราบทูลว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญพระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน.

          เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย.
           แม้ครั้งที่สอง โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน.


           เมื่อโพธิราชกุมารทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย
           แม้ครั้งที่สาม โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ขอเชิญพระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน.





           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทอดพระเนตรท่านพระอานนท์.
           ท่านพระอานนท์ได้ถวายพระพรว่า ดูกรพระราชกุมาร จงเก็บผ้าขาวเสียเถิด พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้าพระตถาคตเจ้าทรงแลดูประชุมชนผู้เกิดในภายหลัง.
           โพธิราชกุมารรับสั่งให้เก็บผ้าแล้วให้ปูลาดอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน.
           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์.


           ครั้นพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จวางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว.
           โพธิราชกุมารถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล.



    อ้างอิง
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๗๖๙๐ - ๗๗๑๔. หน้าที่ ๓๓๕ - ๓๓๖.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=7690&Z=7714&pagebreak=0                         
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486
    ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/,http://www.manager.co.th/





    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
    โพธิราชกุมารสูตร เรื่องโพธิราชกุมาร

    อรรถกถาโพธิราชกุมารสูตร
         
             
           โพธิราชกุมารสูตรมีเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
           ในสูตรนั้น บทว่า โกกนโท ความว่า ดอกปทุม ท่านเรียกว่าโกกนท.
           ก็ปราสาทอันเป็นมงคลนั้น ท่านสร้างแสดงให้เหมือนดอกปทุมที่มองเห็นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงการนับว่า โกกนทปราสาท.
           แผ่นบันไดขึ้นแรก ท่านเรียกว่าบันไดขั้นสุดท้าย ในคำว่า ยาว ปจฺฉิมโสปานกเฬวรา นี้.

           บทว่า อทฺทสา โข ความว่า ผู้ที่ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูนั้นแล เพื่อต้องการดู ก็เห็นแล้ว.
           บทว่า ภควา ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงอยู่ว่า พระราชกุมารทรงกระทำสักการะใหญ่นี้ เพื่อประสงค์อะไรหนอ
           จึงทรงทราบว่า ทรงกระทำเพราะปรารถนาพระโอรส.

           ก็พระราชกุมารนั้นไม่มีโอรสทรงปรารถนาพระโอรส ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำอธิการ การกระทำที่ยิ่งใหญ่แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงจะได้สิ่งดังที่ใจปรารถนา ดังนี้.


           พระองค์ทรงกระทำความปรารถนาว่า ถ้าเราจักได้บุตรไซร้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยของเรา ถ้าเราจักไม่ได้ก็จักไม่ทรงเหยียบ จึงรับสั่งให้ลาดผ้าไว้.





          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า บุตรของพระราชานี้จักบังเกิดหรือไม่หนอ แล้วทรงเห็นว่า จักไม่บังเกิด.
           พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ได้ยินว่า ในปางก่อน พระราชานั้นทรงอยู่ในเกาะแห่งหนึ่ง ทรงกินลูกนก ด้วยมีฉันทะเสมอกัน. ถ้าหากมาตุคามของพระองค์จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นไซร้ ก็จะได้บุตร แต่คนทั้งสองมีฉันทะเสมอกัน กระทำบาปกรรมไว้ ฉะนั้น บุตรของเขาจึงไม่เกิด ดังนี้.

           แต่เมื่อเราเหยียบผ้า พระราชกุมารก็จะถือเอาผิดได้ว่า เสียงเล่าลือกันในโลกว่า บุคคลทำอธิการแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมจะได้สิ่งที่ตนปรารถนาแล้วๆ เราเองได้กระทำอภินิหารเสียมากมายด้วย เราก็ไม่ได้บุตรด้วย คำเล่าลือนี้ไม่จริง.
           แม้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายก็จะติเตียนว่า ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรทำของสมณะทั้งหลายไม่มี พวกสมณะเหยียบย่ำผ้าน้อยเที่ยวไป ดังนี้.


           และเมื่อเหยียบไป ในบัดนี้ ภิกษุเป็นอันมากเป็นผู้รู้จิตของคนอื่น ภิกษุเหล่านั้นทราบว่าควรก็จักเหยียบ ที่ทราบว่าไม่ควรก็จักไม่เหยียบ
           ก็ในอนาคตจักมีอุปนิสัยน้อยชนทั้งหลายจักไม่รู้อนาคต. เมื่อภิกษุเหล่านั้นเหยียบถ้าสิ่งที่เขาปรารถนา สำเร็จไซร้ ข้อนั้นก็จักว่าเป็นความดี ถ้าไม่สำเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงปรารถนาจะเหยียบจึงทรงนิ่งเสีย

           ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ พวกมนุษย์จักมีความเดือดร้อนในภายหลังว่า แต่ก่อนบุคคลกระทำอภินิหารแก่ภิกษุสงฆ์ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาแล้วๆ การทำนั้นบัดนี้ หาได้ไม่ ภิกษุทั้งหลายที่ปฏิบัติบริบูรณ์เห็นจะเป็นพวกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกนี้ย่อมไม่อาจปฏิบัติให้สมบูรณ์ ดังนี้.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าน้อย.
          แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ก้าวล่วงบทบัญญัติ เพื่อความเป็นมงคล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงวางอนุบัญญัติเพื่อให้เหยียบได้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคล เราอนุญาตเพื่อความเป็นมงคล แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ดังนี้.



    ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=48
    ขอบคุณภาพจาก http://www.thailandoffroad.com/,http://www.dailynews.co.th/
     บันทึกการเข้า
     ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น