วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ผู้เห็นอริยะสัจสี่ดีแล้ว ย่อมไม่สะเทียนสทานกับวาทะของใคร

#ผู้เห็นอริยะสัจสี่ดีแล้ว ย่อมไม่สะเทียนสทานกับวาทะของใคร คือมาคัดง้างให้ความเห็นแปรเป็นอื่น

       วาทีสูตร
 ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ
 [๑๗๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีความต้องการวาทะ ผู้
แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า
จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดย
สหธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีรากลึกลงไป
ข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ...
ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร?  เพราะรากลึก
เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจาก
ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้นภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดยสหธรรม ข้อนั้นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔
เป็นไฉน?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
            จบ สูตรที่ ๑๐
        จบ สีสปาปรรณวรรคที่ ๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น