วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2567

วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบพุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วยเพราะว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อันสำคัญที่สุดคือรักษาตัวอย่าให้มีโทษทางพระวินัย

วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบ
พุทธศาสนิกฝ่ายคฤหัสถ์ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วยเพราะว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อันสำคัญที่สุดคือรักษาตัวอย่าให้มีโทษทางพระวินัย

จึงจะสมเป็นที่ไว้วางพระหฤทัยของพระบรมศาสดาและจะได้สมเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นนาบุญของชาวโลกไม่บริโภคจตุปัจจัยของเขาให้เปลืองเปล่าเปรียบเหมือนอย่างพื้นนาอันปราศจากวัชพืชคือหญ้าที่เป็นโทษย่อมจะอำนวยให้ข้าวที่ชาวนาหว่านลงดินเจริญงอกงามมีผลเต็มเมล็ดเต็มรวงแต่หากว่านารกไปด้วยวัชพืชข้าวที่หว่านลงก็มีผลไม่เต็มที่

ข้อนี้ฉันใดพระภิกษุหรือสามเณรก็ฉันนั้นเหมือนกันถ้าศีลไม่ขาดไม่มีโทษทางพระวินัยก็เท่ากับนาที่ไม่รกพืชบุญที่หว่านลงก็ย่อมมีผลมากกำไรมากแต่ถ้าขาดศีลมากมีโทษทางพระวินัยมากก็เท่ากับนาที่รกพืชบุญที่ชาวโลกหว่านลงก็มีผลน้อยมีกำไรน้อยด้วยเหตุนี้พระภิกษุสามเณรผู้ตระหนักในหน้าที่ของตนจึงพยายามรักษาตัวมิให้เป็นเหมือนนาที่รกด้วยวัชพืช

ก็ในการรักษาตัวนั้นพระภิกษุ-สามเณรบางรูปบางเวลาบางครั้งบางคราวไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ-สตรีหรือทายกทายิกาผู้ไม่รู้วินัยของพระและมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆเช่นในคราวทำบุญแต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัยภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุจึงทำให้พระต้องอาบัติคือต้องโทษทางพระวินัยอย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริงแต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์เหมือนนาที่รกเสียแล้วอนึ่งบางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอหรือบางรูปรู้วินัยดีแล้วแต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆและคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะสมแก่พุทธศาสนิกชนเลย

ด้วยเหตุนี้เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาพระภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดีจะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่งๆขึ้นจึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบมาเรียงเป็นข้อๆพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ดังต่อไปนี้ :-

๑. สุภาพสตรีอย่าถูกต้องภิกษุสามเณร.

๒. สุภาพบุรุษหรือสุภาพสตรีไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามี-ภรรยากันแม้ชั่วครั้งชั่วคราว.

๓.สุภาพสตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วยไม่ควรเข้าไปหาภิกษุในที่ลับตาหรือลับหูเพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทก์ด้วยอาบัติต่างๆหรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก.

๔. สุภาพบุรุษหรือสตรีเมื่อมีศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุสามเณรต้องมอบให้แต่ไวยาวัจกร (ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบอย่ามอบให้ในมือหรือในย่ามหรือในบาตรเป็นต้นของท่าน.

๕. บุรุษผู้เป็นไวยาวัจกรเมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไรต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้นในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้นในเวลาที่ท่านขอถ้าเงินทองมากพระขอของน้อยก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการเก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายในคราวต่อไป.

๖. บุรุษ-สตรีผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้าไม่ควรขายของแก่พระภิกษุหรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง.

๗. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า๑เดือนแม้พระขอก็ไม่ต้องถวายเว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติและพระที่ตนปวารณาไว้.

๘. บุรุษ-สตรีเมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์ (ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเองหรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆก็ตามไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น

๙. บุรุษ-สตรีเมื่อเรียนธรรมกับพระอย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ.

๑๐. บุรุษเมื่อนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับพระครบ๓คืนแล้วต้องเว้นเสีย๑คืนต่อไปจึงนอนได้อีก.

๑๑. สตรีห้ามนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก.

๑๒. บุรุษ-สตรีถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วนไม่ควรขุดแต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้นหรือว่าต้องการให้ดินสูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้นก็ควรจัดการให้ตามประสงค์.

๑๓. บุรุษ-สตรีถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดินหรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆที่เกิดอยู่ในน้ำไม่ควรตัด-ดาย-รื้อถอนแต่ถ้าพระบอกว่าเราต้องการไม้-หญ้า-ผักหรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรังด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้นจึงทำให้.

๑๔. บุรุษ-สตรีนิมนต์ให้พระฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ๕คือข้าวสุกขนมสดขนมแห้งปลาเนื้อควรใช้กัปปิยโวหารคือคำพูดที่สมควรเช่นพูดว่า
“ ขอนิมนต์ฉันเช้า ” หรือว่า “ ขอนิมนต์ฉันเพล ” และต้องบอกวันเวลาสถานที่ให้ชัดเจนทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเองหรือจะมารับ, อนึ่งการที่นิมนต์ให้พระฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย.

๑๕. บุรุษ-สตรีเมื่อเลยเวลาเพลแล้วคือตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงวันใหม่อย่านำอาหารไปประเคนพระหากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ไม่บูดไม่เสียเช่นข้าวสารปลาดิบเนื้อดิบอาหารสำเร็จบรรจุกระป๋องมีปลากระป๋องเป็นต้นก็มอบไว้แก่ไวยาจักรของท่านได้.

๑๖. บุรุษ-สตรีถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนมิได้ปวารณาไว้ไม่เป็นไข้ขอโภชนะอันประณีตคือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใสเนยข้นน้ำมันน้ำผึ้งปลาเนื้อนมสดนมส้มแม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวายแต่ถ้าขอไปเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้.

๑๗. บุรุษ-สตรีเมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้นทุกอย่างที่พระจะกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธีดังนี้
     ก. ภาชนะหรือห่อของนั้นไม่ใหญ่หรือหนักเกินไปยกคนเดียวได้อย่างพอดี.
     ข. เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระห่างจากพระประมาณ๑ศอกเป็นส่วนสุดของสิ่งหรือของบุคคลผู้ประเคน.
     ค. น้อมกายถวายด้วยความเคารพ.
     ฆ. กิริยาที่ถวายถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือเช่นช้อน-ภาชนะก็ได้.
     ง. พระรับด้วยมือหรือด้วยของที่เนื่องด้วยมือเช่นบาตร-ผ้าก็ได้.

๑๘. สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อนต้องไม่นั่งไม่นอนไม่ยืนไม่เดินในห้องกับพระแม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้.

๑๙. สตรีต้องไม่นั่งไม่นอนในที่แจ้งกับพระหนึ่งต่อหนึ่งถ้าสตรีหลายคนนั่งได้แต่การนอนนั้นไม่ควรแม้การยืนการเดินไปกับพระหนึ่งต่อหนึ่งด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร.

๒๐. บุรุษ-สตรีที่มิใช่ญาติของพระแม้จะเป็นเขยสะใภ้หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิตก็ชื่อว่ามิใช่ญาติถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย๔หรือสิ่งของต่างๆจากตนได้ก็ต้องปวารณาคือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ๔อย่างอย่างใดอย่างหนึ่งคือ :-
     ก. กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของเช่นจีวรบิณฑบาตที่นอนที่นั่งยาหนังสือสมุดปากกาฯลฯ.
     ข. กำหนดเวลาคือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวันเท่านั้นเดือนเท่านั้นปีตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร.
     ค. กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของและเวลา
     ฆ. ไม่กำหนดทั้งปัจจัยสิ่งของและเวลาถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ต้องบอกว่านิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์.

เมื่อปวารณาแล้วถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน๔เดือนไม่ควรถวายเว้นไว้แต่ตนปวารณาอีกหรือปวารณาเป็นนิตย์.

หมายเหตุ : - คำว่าญาติได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน๗ชั้นคือ๑. ทวด๒.ปู่ย่าตายาย๓.พ่อแม่๔.พี่น้อง๕.ลูก๖.หลาน๗.เหลน.

๒๑. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษเช่นสุราเมรัยฝิ่นเฮโรอีนกัญชาถวายพระ.

๒๒. บุรุษ-สตรีผู้นำสินค้าหนีภาษีไม่ควรเดินทางร่วมกับพระหรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ.

๒๓. สตรีไม่ควรชวนพระเดินทางไกลแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งแม้นั่งรถนั่งเรือไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควรแม้สตรีหลายคนแต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วยก็ไม่ควรแม้บุรุษไปด้วยหากสตรีขับรถขับเรือเองก็ไม่ควรเว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก.

๒๔. บุรุษ-สตรีจะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยวต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน.

๒๕. บุรุษ-สตรีเมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้วอย่าอาหารวางบนฝาบาตรหรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว.

๒๖. บุรุษ-สตรีเมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อมเช่นน้ำล้างเท้าผ้าเช็ดเท้าน้ำฉันน้ำใช้กระโถนผ้า-กระดาษเช็ดมือเช็ดปากช้อนส้อมและช้อนกลางอย่าให้บกพร่อง.

๒๗. บุรุษ-สตรีเมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนาหรือปาฐกถาธรรมต้องจัดที่ให้พระนั่งอย่าให้ยืนและต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง

๒๘. บุรุษ-สตรีเมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรมต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพแม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้นก็ต้องเคารพเช่นเดียวกันไม่ควรนั่งคุยกันเลยจะคุยได้ในเวลาพระหยุดสวดได้อยู่.

๒๙. บุรุษ-สตรีจะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสีเช่นร่มผ้าดำล้วนร่มกระดาษร่มพลาสติคสีน้ำตาลสีดำสีเหลืองล้วน

๓๐. บุรุษ-สตรีจะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูงไม่มีปกสันไม่มีปกหลังเท้ามีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้วและมีสีหม่นหมองเช่นสีน้ำตาลแก่

๓๑. บุรุษ-สตรีเมื่อถวายเตียงตั่งแก่พระสงฆ์ต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน๘นิ้วพระสุคตหรือ๙นิ้วฟุตเว้นไว้แต่แม่แคร่และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้าเตียงเช่นเตียงจมูกสิงห์หรือบัลลังก์และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้๒คนที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียงฟูกเตียงฟูกตั่งและที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี

๓๒. บุรุษ-สตรีเมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง๒ศีรษะหมอนข้างไม่ควรถวาย

๓๓. สตรีต้องไม่นั่งบนอาสนะผืนเดียวกันบนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระแม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลยก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระไปในรถ-เรือมีที่จำกัดจะต้องนั่งที่ม้าเดียวกับพระต้องมีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน

๓๔. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระวัตถุอนามาสคือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้องมี๖ประเภทดังนี้ : -
     ก. คนหญิงคนกะเทยเครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้นแต่ที่เขาสละแล้วไม่นับตุ๊กตาหญิงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
     ข. ทองเงินมุกดามณีไพฑูรย์ประพาฬทับทิมบุษราคัมสังข์ที่ขัดแล้วศิลาชนิดดีเช่นหยกโมรา.
     ค. ศัสตราอาวุธต่างชนิดที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย.
     ฆ. เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ.
     ง. เครื่องประโคม.
     จ. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่.

๓๕. สตรีไม่ควรเกลี้ยกล่อมยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลมหรือด้วยการแต่งเนื้อแต่งตัวชะเวิกชะวากหรือล่อด้วยทรัพย์.

๓๖. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาของเด็กเล่นเช่นเรือน้อยๆรถน้อยๆถวายพระ.

๓๗. บุรุษ-สตรีไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนันมีแพ้มีชนะเช่นหมากรุกหมากแยกฯลฯ.

๓๘. บุรุษ-สตรีไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระและไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์-ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ – ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ในทางที่นำให้หลงงมงายเช่นหุงเงินหรือทองแดงให้เป็นทอง.

๓๙. บุรุษ-สตรีไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนาแต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนาเช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญได้อยู่.

๔๐. บุรุษ-สตรีไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระเพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้เช่นอันตรายในการเจริญสมณธรรมถูกปล้นถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย.

๔๑. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระเนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหารคือเนื้อมนุษย์ช้าง-ม้า-สุนัข-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว.

๔๒. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาเนื้อที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบไม่สุกด้วยไฟเช่นปูเค็มกุ้งส้มหอยเค็มปลาเค็มแหนมกะปิลาบเนื้อดิบไข่ลวกไม่สุกประเคนพระควรมอบไว้กับกัปปิยการกคือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ

๔๓. บุรุษ-สตรีไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระอุทิศมังสะคือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร.

๔๔. บุรุษ-สตรีอย่าเอาพืชคามคือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่างเช่นพริกสุกมะเขือสุกอ้อยที่ยังไม่ได้ปอกผักบุ้งขมิ้นกระชายกระเทียมหอมโหระพากะเพราฯลฯที่พ้นจากการที่เกิดที่อยู่แล้วแต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกได้แล้วจึงถวายพระ.

๔๕. บุรุษ-สตรีไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้วไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อลูกญาติมิตรหรือก็ข้องกันโดยสถานะไรๆก็ตามแม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ถือเอาก็ไม่ได้เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า

มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมดแม้พระจะพูดไว้ด้วยคำเป็นอนาคตว่า “ ถ้าฉันตายแล้วเธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป ” ดังนี้ก็ถือเอาไม่ได้แต่สิ่งใดที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบัน “ ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ ” ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึงหากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด.

๔๖. บุรุษ-สตรีเมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะต้องให้ครบองค์๓คือ : -
     ก. เคยเห็นกันเคยคบกันเคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง .
     ข. รู้ว่าถือเอาแล้วเจ้าของจักพอใจ .
     ค. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ .

๔๗. บุรุษ-สตรีเมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนักฉันอาหารไม่ได้ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัดหากมิได้อาหารอาจเป็นอันตรายจะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร (เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลวกรองให้หมดกากเอาแต่น้ำข้าวน้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลก็ได้.

การที่จะอ้างว่าแพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้แล้วนำอาหารชนิดต่างๆไปถวายในวิกาลนั้นไม่ควรเลยหากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้วควรให้สึกเสียก่อนจึงจัดถวายให้รับประทาน.

๔๘. สตรีที่เป็นโสเภณีเป็นหม้ายเป็นสาวเทื้อเป็นชีและกะเทยไม่ควรไปมาหาสู่กับพระโดยไม่เป็นกิจจะลักษณะหรือผิดเวลา.

๔๙. บุรุษ-สตรีไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุราจะเป็นที่ขายหรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม.

บุรุษหรือสตรีก็ตามเมื่อหวังความเจริญแก่ตนแก่วงศ์สกุลของตนและแก่พระพุทธศาสนาควรศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยของพระภิกษุสงฆ์บางข้อตามที่รวบรวมไว้นี้และปฏิบัติให้ถูกต้องก็ย่อมจะเหมาะสมแก่ความเป็นพุทธศาสนิกชนและย่อมช่วยประดับพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองแล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น