วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

๘. สังโยชนสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ [๓๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์. จบ สูตรที่ ๘.

๙. อุปาทานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน [๓๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งอุปาทาน. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน. จบ สูตรที่ ๙.

๑๐. สีลสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย [๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควร กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล. [๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล. [๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหน ไว้ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกร ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล. [๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล. [๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่น แล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดัง ลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ. จบ สูตรที่ ๑๐. 

๑๑. สุตวาสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย [๓๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา เย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ ได้สดับแล้ว ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป ฯลฯ อุปาทาน ขันธ์ คือ วิญญาณ. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้ได้สดับแล้ว กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. [๓๑๖] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบันเล่า ควรกระทำธรรมเหล่า ไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล. [๓๑๗] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เล่า ควรกระทำธรรมเหล่าไหน ไว้ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวนเป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว ย่อมไม่ มีแก่พระอรหันต์ และแม้ถึงธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะเท่านั้น. จบ สูตรที่ ๑๑

๑๒. กัปปสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการรู้เห็นเป็นเหตุไม่มีอหังการมมังการ และมานานุสัย [๓๑๘] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และ ในสรรพนิมิตภายนอก? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา. ดูกรกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัยในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก. จบ สูตรที่ ๑๒.

๑๓. กัปปสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการรู้การเห็นเป็นเหตุปราศจากอหังการมมังการ และมานานุสัย [๓๑๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่าง ไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล มนัสจึงจะปราศจาก อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่ มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา อย่างนี้แล้ว จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้แล มนัสจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และใน สรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว. จบ สูตรที่ ๑๓. จบธัมมกถิกวรรคที่ ๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น