วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

มานะ

มานะ ๙หมายถึงความยึดถือ อันเกิดจากการปรุงแต่ง คือราคะ(การให้ค่า ตีราคา)ว่าสิ่งต่างๆหยาบ ประณีต หรือเสมอ ทั้งที่สิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)ดับไปได้ด้วยการมองทุกสรรพสิ่งเป็นดุจความว่าง(สุญญตา)การสิ้นไปของมานะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า วิราคะ

ประเภทแก้ไข

สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้นสิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้นสิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น

อีกอย่างหนึ่ง

ถือว่าเราดีกว่าเขาถือว่าเราเสมอเขาถือว่าเราเลวกว่าเขา

เป็นกิเลสชั้นละเอียด เป็นทั้งอนุสัยกิเลส และสังโยชน์ ๑๐

>
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


อยู่ร่วมกันหมู่มากนะ ข้อสำคัญน่ะต่างคนต่างสำรวมจิตใจของตนให้ดีนี้นะ
ให้เป็นปกติอยู่ อย่าให้เกิดความยินดียินร้ายกับสิ่งที่มากระทบในตา เป็นต้น
ต้องอ่านให้มันออก รูปมากระทบในตาอย่างนี้นะ ถ้าหากว่าห้ามจิตไม่ได้ 
เป็นรูปที่น่าเกลียดมันก็เกลียดชังไป ถ้าเป็นรูปที่น่ารักมันก็รักก็ใคร่ไป 
ถ้าเป็นรูปที่ไม่น่ารักน่าชังอะไรมันก็เฉยๆ ไป นี่ข้อนี้สำคัญมากนะ 

ดังนั้น ให้พากันมีสติเมื่อรู้ว่าตนก็ยังละกิเลสไม่หมดอย่างนี้แล้ว
ก็ต้องสำรวมจิตใจอยู่ตลอดเวลา เมื่อรูปมากระทบในตานี่
ก็ต้องห้ามจิตให้มันหยุดนิ่งเสียก่อน ก่อนจะวิจารณ์รูปนั้นน่ะ 
เมื่อจิตมันหยุดนิ่งแล้วมันก็จะมองเห็นรูปนั้นว่า ไม่ใช่สวย ไม่ใช่ขี้ร้าย 
ไม่ใช่ว่าเป็นคนชั่วคนดีอะไร ถ้าเพ่งดูโดย "ปรมัตถธรรม" แล้ว
มันก็มีแต่ธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกันอยู่เท่านั้น
ไอ้ส่วนจิตใจนั่นน่ะเมื่อมันยังละกิเลสไม่หมด กิเลสมันรบกวนจิตใจอย่างไร
มันก็แสดงบทบาทออกมาอย่างนั้น กายนี้เป็นแต่เพียงหุ่นเชิดของจิตใจเท่านั้นเองนะ

เพราะฉะนั้นเมื่อเราพิจารณาลงสู่ปรมัตถธรรมแล้วอย่างนี้
มันก็ไม่เกลียดชังบุคคลที่แสดงบทบาทอันไม่ดีต่อตนนั้น 
มันก็ไม่เกลียดชังน่ะ เพราะมันเห็นแล้วว่า ไอ้ผู้แสดงนั้นก็ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล 
ไม่มีตัวตนอะไร เป็นแต่เพียงกิริยาอาการของสังขาร
ที่เกิดขึ้นตามอำนาจของกิเลสในหัวใจของคนเท่านั้นเอง 
แต่ถ้าคนคนนั้นน่ะเขาละกิเลสอย่างนั้นได้แล้ว
เขาก็จะไม่แสดงอาการกายวาจาออกมาอย่างนั้นเลย
นี่เราต้องอ่านดูให้ซึ้งเข้าไปอย่างนี้
เมื่อเราพิจารณาให้ลึกซึ้งเข้าไปอย่างนี้ มันก็อภัยให้กันได้เลยบาดนี่ 

นั่นแหละการภาวนาการพิจารณาให้หยั่งความรู้ความเห็นลงไปถึง "ปรมัตถธรรม คือ ธรรมอันยิ่ง" 
ปรมัตถธรรมนี่หมายความว่า "พิจารณาถึงความจริงของสิ่งนั้นๆ" พิจารณาเห็นว่า 
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหมดนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา"
ต้องหยั่งปัญญาพิจารณาลงให้มันเห็นอย่างนี้ มันจึงจะถอน "อัตตานุทิฏฐิ"
ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา ออกจากจิตใจได้ 
ก็เมื่อตนเกิดมาเป็นรูปเป็นนามอย่างนี้แล้ว มันก็ต้องแก่เจ็บตายไป
เพราะว่าสังขารทั้งหลายมันเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับไป

ในปรมัตถธรรมท่านไม่ว่าคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย 
ท่านว่าเป็น "สังขาร" คือ สภาพที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา
ทั้งที่มีวิญญาณครองก็ดี ไม่มีวิญญาณครองก็ดี 
ก็มีสภาวะเป็นอย่างเดียวกันหมด เมื่อพิจารณาลงไป
ให้ถึงความจริงอย่างนี้แล้ว มันก็เกิดญาณความรู้ขึ้นมาว่า 
"สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหมดนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา"
เวลาที่มันยังไม่ดับนี่มันก็แปรปรวนไป ก็อย่างรูปร่างกายอันนี้แหละ 
เมื่อมันยังไม่แตกไม่ดับจริงจังมันก็มีแต่ทรุดโทรมไปทุกวั๊นทุกวันไปอย่างนี้ 
นานปีนานเดือนไป ร่างกายนี้ก็แปรผันไป ทรุดโทรมไป อยู่อย่างนี้นะ 
แล้วความจริงเป็นอย่างนี้แหละ แล้วจะมามัวเมาถือตัวถือตนว่าดีวิเศษอยู่ทำไมเล่า

การที่สำคัญว่าตนดีวิเศษนั้นเป็นมานะ เป็นกิเลสอันหนา เป็นกิเลสอันสำคัญ
ดังนั้นเราภาวนาลงไป วางจิตให้เป็นอุเบกขาลงหลังจากพิจารณา
เห็นทุกสิ่งทุกอย่างแล้วมีความเกิดความดับเป็นธรรมดาอย่างนั้นแล้ว 
ก็วางจิตให้เป็นอุเบกขาลงไปพร้อมด้วยญาณความรู้ปรากฏอยู่ในใจนั้น 
แล้วอย่างนี้น่ะ ไอ้ความมานะถือตัวถือตนมันก็ระงับลงแหละ
เมื่อวางจิตให้เป็นกลางลงไปด้วยปัญญาญาณ คือความรู้แจ้งเห็นจริง 
ก่อนจะวางอุเบกขาลงไปนะ ต้องรู้แจ้งเห็นจริงตามเป็นจริงในสภาวะธาตุ 
สภาวะสังขาร สิ่งที่เกิดมีขึ้นในโลกอันนี้ ทั้งมีวิญญาณครองได้แก่มนุษย์และสัตว์ 
ไม่มีวิญญาณครองได้แก่ต้นไม้ ใบหญ้า หิน กรวด ทราย อะไรต่ออะไรหมู่นั้นน่ะ 
มันก็มีเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับเหมือนกันหมดเลย 

นั่นล่ะพิจารณาให้มันเห็นความเกิดความดับแห่งสิ่งทั้งปวงเหล่านี้แล้ว
เราก็รู้แล้วไม่ใช่ของเราน่ะ ในใจนั่นรู้ชัดเลยว่าไม่ใช่ของเรา 
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วมันก็วางอุเบกขาลงได้ 
นั่นแหละ..เป็นอุบายละมานะทิฏฐิให้เบาบางออกไปจากจิตใจ
นี่ขอให้เข้าใจกันนะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น