รวมกับ ธรรมะพระอรหันต์ เว็บไชต ธรรมะพระอรหันต์ https://sitluangpormai.weebly.com เฟซบุ๊กแจกซีดีธรรมะhttps://www.facebook.com/JeakCDThamma
วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566
คนเรามีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน"
ลักษณะของผู้ที่ได้วิปัสนาญาณแล้ว
แต่ละเช้า คลื่นสมองของคนเราไม่เท่ากัน
วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566
แค่แชร์ก็เกิดบุญใช่หรือไม่การบอกบุุญต่อก็เกิดบุญใช่หรือไม่แค่พูดบอกต่อ แต่ไม่ทำก็เกิดบุญใช่หรือไม่คำตอบ ใช่ แต่ถ้าสำเร็จด้วยการกระทำแล้วจะได้มากกว่า
คนที่ไม่มีธรรมะเวลาทุกข์ใจ
พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า
มหาพรหมอนาคามีสายจิตตานุปัสนา
คนที่ใช่ต้องต้องเจอกันในเวลาที่มีสิทธิ์?
กายคตาสติสูตร ถ้าทำถูกต้องสำเร็จบรรลุผล จิตใจเจตสิก
พลังงานทางจิตมนุษย์จะถูกใช้ทิ้งออกไป ๓ ทาง
คนผูกคอตาย คนฆ่าตัวตาย คนข่มขืนลูกตัวเอง ก็มีสาเหตุมาจากจิต
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันนี้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒พระจันทร์เต็มดวง
ธรรมะคนค้าขาย
วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระอาจารย์มงคลชัย กิตติโสภโณ พิจารณาหางบบุคคลมีเงินให้เงินตนเดินงานcdต่อ
น้ำปานะ
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
เรื่องเกณิยชฎิล [๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ เสด็จถึง อาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับถึงอาปณนิคมแล้ว ก็เพราะกิตติศัพท์อันงามของท่าน พระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ ทวยเทพและมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรง ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ ทั้งหลายเห็นปานนั้นเป็นความดี. หลังจากนั้น เกณิยชฎิลได้ดำริว่า เราจะให้นำอะไรไปถวายพระสมณโคดมดีหนอ จึง ได้ดำริต่อไปว่า บรรดาฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคิ ฤษีอังคีรสะ ฤษีภารทวาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์มาก่อนพวกพราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ ที่ท่านขับแล้วบอกว่า รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้บอกไว้ เป็นผู้เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ฤษีเหล่านั้นได้ยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้ แม้พระสมณะ โคดมก็เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ก็ควรจะยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้บ้าง แล้วสั่งให้ ตกแต่งน้ำปานะเป็นอันมาก ให้คนหาบไปถึงพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยพอให้เป็น ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดมโปรดทรงรับน้ำปานะของข้าพระเจ้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เกณิยะ ถ้าเช่นนั้นจงถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงรับประเคนฉันเถิด ครั้งนั้น เกณิยชฎิลได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยน้ำปานะอันมากด้วยมือของตนจนยัง พระผู้มีพระภาคผู้ล้างพระหัตถ์ นำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. ครั้งนั้น เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติปราโมทย์ในวัน พรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนว่า เกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อมใส ยิ่งนักในหมู่พราหมณ์. เกณิยชฎิล ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเป็นคำรบที่สองว่า แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่าน พระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ กุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนเกณิยะว่า ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อมใส ยิ่งนักในหมู่พราหมณ์. เกณิยชฎิล ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเป็นคำรบสามว่า แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมาก ถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่าน พระโคดมพร้อมภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ กุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเกณิยชฎิลทราบอาการ รับอาราธนา ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป.พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเหง้าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด. ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรมของตนโดยผ่าน ราตรีนั้น แล้วให้คนกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหาร เสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จ พระพุทธดำเนินไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขา จัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงเกณิยชฎิลอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของ เคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาค ได้ทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลด้วยคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:- [๘๗] ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นหัวหน้า สาวิตติฉันท์ เป็นยอดของฉันทศาสตร์ พระมหาราชเจ้าเป็นประมุขของ มนุษยนิกร สมุทรสาครเป็นประธานของแม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงดาวนักษัตรในอากาศ ดวงภาณุมาศ ใหญ่กว่าบรรดาสิ่งของที่มีแสงร้อนทั้งหลาย ฉันใด พระ- *สงฆ์ ย่อมเป็นใหญ่สำหรับทายกผู้หวังบุญบำเพ็ญทานอยู่ ฉันนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิล ด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จกลับ.เตรียมการต้อนรับพระพุทธเจ้า [๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อาปณนิคมตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ จาริกไปทางพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป. พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินารา ได้ทรงทราบข่าวแน่ถนัดว่า พระผู้มีพระภาค กำลังเสด็จมาพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป มัลลกษัตริย์ เหล่านั้นได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาค จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ สมัยนั้น โรชะมัลลกษัตริย์เป็นพระสหายของพระอานนท์ ครั้นพระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครกุสินาราแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินาราได้จัดการ ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์รับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหา ท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ทรงอภิวาทแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอานนท์ได้ปราศรัยกะโรชะมัลลกษัตริย์ผู้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านโรชะ การรับเสด็จพระผู้มีพระภาคของท่านโอฬารแท้. โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสว่า พระคุณเจ้าอานนท์ พระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ ก็ดี ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โต พวกญาติต่างหากได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มี พระภาค จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ ข้าพเจ้านั้นแลได้ต้อนรับเสด็จพระผู้มี พระภาคเช่นนี้ เพราะกลัวพวกญาติปรับสินไหม. ทันใดท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่า ไฉน โรชะมัลลกษัตริย์จึงได้ตรัสอย่างนี้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้ เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก และความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้ มีอิทธิพลมากนัก ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่จะบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์เลื่อมใสใน พระธรรมวินัยนี้นั้น ตถาคตทำได้ไม่ยากเลย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์ แล้วทรงลุกจากที่ ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ อันพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคถูกต้องแล้ว ได้เที่ยวค้นหาตามวิหาร ตามบริเวณทั่วทุกแห่ง ดุจโคแม่ลูกอ่อน แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เวลานี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน เพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์. ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระทวารเสียแล้ว ขอท่าน โปรดสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น ค่อยๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้ว ทรงเคาะพระทวารเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร.โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารซึ่งปิดพระทวารเสีย แล้วนั้น ค่อยๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้วเคาะบานพระทวาร พระผู้มีพระภาค ทรงเปิดพระทวารรับ จึงโรชะมัลลกษัตริย์เสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่โรชะมัลลกษัตริย์ คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกาม ทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โรชะมัลลกษัตริย์ มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่โรชะมัลลกษัตริย์ ณ สถานที่ ประทับนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้ทรงบรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้องอาจไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว อย่ารับของ คนอื่น. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโรชะ แม้อริยบุคคลผู้ได้เห็นธรรมแล้วด้วยญาณของ พระเสขะ ด้วยทัสสนะของพระเสขะเหมือนอย่างท่าน ก็คงมีความปรารภอย่างนี้ว่า โอ พระคุณเจ้าทั้งหลายคงกรุณารับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเรา เท่านั้น คงไม่รับของผู้อื่นเป็นแน่ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจักรับปัจจัยของท่านด้วย ของคนอื่นด้วย. ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประณีตไว้ที่นครกุสินารา ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหารจึงได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงตรวจดู โรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ครั้นแล้วทรงตรวจดูในโรงอาหาร ไม่ทอดพระเนตรเห็นของ ๒ อย่าง คือผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ จึงเสด็จเข้าไปหา ท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้ทูลหารือว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เมื่อข้าพเจ้าไม่ได้ลำดับที่จะ ถวายภัตตาหาร ณ สถานที่แห่งนี้ ได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใด ไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ท่านพระอานนท์เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นเมื่อตรวจดู โรงอาหาร ไม่ได้เห็นของ ๒ อย่าง คือผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ หากข้าพเจ้าพึง ตกแต่งผักสดและของขบฉันที่ทำด้วยแป้งถวาย พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงรับของข้าพเจ้าหรือไม่ เจ้าข้า? ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้นอาตมาจะทูลถามพระผู้มีพระภาคดู แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นจงให้เขาตกแต่งเถิด. ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้น ท่านจงตกแต่งถวาย. โรชะมัลลกษัตริย์ จึงสั่งให้ตกแต่งผักสด และของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งเป็นอันมาก โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคพลางกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงโปรด รับผักสด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโรชะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจ ไม่รับประเคน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด. ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยผักสด และของ ขบฉันที่ทำด้วยแป้งมากมาย ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จนยังพระผู้มีพระภาคผู้ล้างพระหัตถ์แล้ว ทรงนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้ประทับเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.พระพุทธานุญาตผักและแป้ง ภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาแล้ว ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผักสดทุกชนิด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้งทุกชนิด.เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๓๖๔-๒๕๑๙ หน้าที่ ๙๖ - ๑๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2364&Z=2519&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=86&book=5 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=24 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=86 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=5&A=2525 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=5&A=2525 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
ทำธุรกิจอะไรดี ถึงจะรุ่ง ถึงจะมั่นคง? ต่อไปขายน้ำดีปะ
ทำธุรกิจอะไรดี ถึงจะรุ่ง ถึงจะมั่นคง? ต่อไป
ขายน้ำดีปะ
#555คิดเล่นๆ
_____
ใครที่จะไปทำงาน ก็ขอให้ได้งานดีๆค่าแรงวันละ900ไปเลย
และดูงานดีๆด้วยก่อนจะทำว่าเราเหมาะกับงานแบบไหน จะได้ไม่เสียเวลา
______
ตั้งแต่ เฟสบุ๊กเข้ามา เพื่อนๆเคยคิดจะไปดู Hi5 ที่เคยเล่นเมื่อก่อนไหมครับ
มันอาจจะมีบางคน ทักๆฝากข้อความ ถามหาหา๑ อยู่ก็ได้ พยามยามหาทางติดต่อกับคุณอยู่ เคยคิดจะไปดูกันเปล่า ^___^
______